ตาแพ้แสง (Light Allergy Eyes) คืออาการที่ดวงตาเกิดอาการเจ็บปวดเมื่อโดนแสงจ้ากระทบดวงตา หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Photophobia เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป แต่อาการนั้นอาจจะมีตั้งแต่ขั้นเล็กน้อยไปจนถึงขั้นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์
ในกรณีที่ไม่รุนแรงอาการตาแพ้แสงอาจจะทำให้คุณต้องหรี่ตาในห้องที่มีแสงสว่างจ้าหรือขณะอยู่ท่ามกลางแสงแดดนอกบ้าน ในกรณีที่รุนแรงอาจจะทำให้เกิดความเจ็บปวดมากเมื่อดวงตาสัมผัสกับแสงเกือบทุกประเภท
สาเหตุและอาการของการแพ้แสง
ไมเกรน
อาการตาแพ้แสงเป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่เป็นไมเกรน ไมเกรนทำให้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาหาร ความเครียดและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม อาการคลื่นไส้และอาเจียนโรคทางสมอง
อาการตาแพ้แสงโดยส่วนใหญ่แล้วมักเกี่ยวข้องกับโรคบางอย่างที่ส่งผลต่อสมอง เช่น :ไข้สมองอักเสบ
โรคไข้สมองอักเสบเกิดขึ้นเมื่อสมองของคุณอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสหรือจากสาเหตุอื่น ๆ กรณีที่รุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบคือการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง แบคทีเรียนั้นอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น สมองถูกทำลาย การสูญเสียการได้ยิน อาการชักและถึงขั้นเสียชีวิตเลือดออกในสมอง
การตกเลือดใต้ผิวหนังเกิดขึ้นเมื่อคุณมีเลือดออกระหว่างสมองและเนื้อเยื่อรอบ ๆ อาจทำให้ถึงแก่ชีวิต หรือนำไปสู่ความเสียหายของสมอง หรือโรคหลอดเลือดสมองโรคที่เกี่ยวกับดวงตา
กระจกตาถลอก
กระจกตาถลอกเป็นการบาดเจ็บที่กระจกตาชั้นบนสุดของดวงตา ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ หากคุณโดนทราย หรือสิ่งสกปรก อนุภาคโลหะหรือสารอื่น ๆ เข้าตา สิ่งนี้สามารถนำไปสู่ภาวะร้ายแรงที่เรียกว่าแผลที่กระจกตาได้หากกระจกตาติดเชื้อ และทำให้เกิดอาการแสบตา แพ้แสงส่วนตาขาวอักเสบ
ส่วนตาขาวอักเสบเกิดขึ้นเมื่อส่วนสีขาวของดวงตาของคุณอักเสบ โดยจากสถิติกจำนวนผู้ป่วยมักมีสาเหตุจากโรคที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคลูปัส นอกจากอาการแพ้แสงแล้วยังก่อให้เกิดอาการปวดตา น้ำตาไหลและตามัวตาแดง
เยื่อบุตาอักเสบ หรือตาแดง เกิดขึ้นเมื่อชั้นของเนื้อเยื่อที่ปกคลุมส่วนสีขาวของดวงตาของคุณเกิดการติดเชื้อหรืออักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากไวรัส แต่ก็อาจเกิดจากแบคทีเรียและโรคภูมิแพ้ได้เช่นกัน อาการอื่น ๆ ได้แก่ อาการคันตาแดงและปวดตาโรคตาแห้ง
ตาแห้งเกิดขึ้นเมื่อต่อมน้ำตาของคุณไม่สามารถสร้างน้ำตาได้เพียงพอ ส่งผลให้ดวงตาของคุณแห้งมากเกินไป สาเหตุเกิดจากหลายประการเช่น อายุ ปัจจัยแวดล้อม โรคบางโรคและยาบางชนิดการรักษาตาแพ้แสง
การดูแลรักษาตัวเองที่บ้าน
การอยู่ให้พ้นแสงแดดและการหรี่ไฟในบ้านหรือที่ทำงานไม่ให้มีแสงจ้าจนเกินไป จะช่วยให้อาการแพ้แสงน้อยลง การสวมใส่แว่นตากรองแสงก็ช่วยได้เช่นกันการรักษาด้วยยา
ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ทันทีหากมีอาการตาไวต่อแสงอย่างรุนแรง แพทย์ของคุณจะทำการตรวจร่างกาย รวมถึงตรวจดวง พวกเขาอาจถามคำถามเกี่ยวกับความถี่และความรุนแรงของอาการของคุณเพื่อหาสาเหตุ ประเภทของการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยประเภทของการรักษา ได้แก่ :- ยารักษาไมเกรนหากคุณแพ้แสงเพราะไมเกรน
- ยาหยอดตา หากสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อที่ตา
- ยาปฎิชีวนะสำหรับโรคตาแดง
- น้ำตาเทียมในกรณีผู้ที่มีอาการตาแห้ง
- ยาแก้อักเสบ การนอนพัก การดื่มน้ำมาก ๆ สำหรับผู้ป่วยโรคไข้สมองอักเสบที่ไม่รุนแรง (ในกรณีที่รุนแรงต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเช่นเครื่องช่วยหายใจ)
- ยาปฏิชีวนะสำหรับโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย (โดยถ้าเป็นจากการติดเชื้อไวรัสมักจะหายไปเองภายใน 2 สัปดาห์)
ภาวะแทรกซ้อนของตาแพ้แสง
ต่อไปนี้คือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและอาการที่เกี่ยวข้องกับตาแพ้แสง:- ปวดตา : การหรี่ตาหรือหลับตาอย่างต่อเนื่องเพื่อหลีกเลี่ยงแสงอาจทำให้ปวดตา อ่อนล้า และรู้สึกไม่สบายได้
- อาการปวดหัว : อาการกลัวแสงสามารถกระตุ้นหรือทำให้อาการปวดหัวรุนแรงขึ้น รวมถึงปวดศีรษะจากความตึงเครียดและไมเกรน
- อาการไม่สบาย : ผู้ที่เป็นตาแพ้แสงแสงอาจรู้สึกไม่สบายหรือรู้สึกแสบตาเมื่อสัมผัสกับแสง
- การมองเห็นลดลง : ในกรณีที่รุนแรง ตาแพ้แสงแสงอาจทำให้การมองเห็นไม่ชัดหรือลดลงเนื่องจากการหลีกเลี่ยงแสงอย่างต่อเนื่อง
- ผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน : ตาแพ้แสงอย่างรุนแรงสามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อกิจกรรมประจำวัน เช่น การอ่านหนังสือ การทำงานกับคอมพิวเตอร์ หรือการออกไปข้างนอก ซึ่งทำให้คุณภาพชีวิตลดลง
- ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า : ตาแพ้แสงเรื้อรังอาจทำให้เกิดความทุกข์ทางอารมณ์เนื่องจากผลกระทบต่อกิจกรรมประจำวัน ซึ่งอาจนำไปสู่ความวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้า
ข้อสรุป
อาการตาแพ้แสงสามารถแก้ไขได้ แต่ก่อนอื่นผู้ป่วยควรต้องไปพบแพทย์เพื่อช่วยวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดอาการตาแพ้แสง การรักษาจากสาเหตุที่แท้จริงอาจช่วยอาการตาแพ้แสงของคุณให้กลับมาเป็นปกติได้ นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา- https://www.rnib.org.uk/eye-health/eye-conditions/light-sensitivity
- https://www.webmd.com/eye-health/photophobia-facts
- https://www.allaboutvision.com/conditions/lightsensitive.htm
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น