เม็ดเลือดขาวต่ำ (Leukopenia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

เม็ดเลือดขาวต่ำ Leukopenia คือภาวะที่ปริมาณของเม็ดเลือดขาวต่ำกว่าค่าปกติ ร่างกายของคนเราประกอบไปด้วยเซลล์เม็ดเลือดแตกต่างกันหลายรูปแบบ รวมไปถึงเซลล์เม็ดเลือดขาวหรือลูคะไซด์ เซลล์ล์เม็ดเลือดขาวมีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ ซึ่งมีไว้เพื่อช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับโรคและการติดเชื้อ หากพบว่าคุณมีจำนวนเม็ดเลือดขาวน้อยเกินไปคุณอาจเป็นwbcต่ำ เม็ดเลือดต่ำมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับว่าเม็ดเลือดขาวชนิดไหนของร่างกายที่ต่ำ:
  • เม็ดเลือดขาวชนิดบาโซฟิล(basophils)
  • เม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิล(eosinophils)
  • เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์(lymphocytes)
  • เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์(monocytes)
  • เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิล(neutrophils)
เม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดก็มีหน้าที่ปกป้องร่างกายของคนเราจากการติดเชื้อที่แตกต่างกันออกไป หากร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลต่ำ คุณอาจเป็นเม็ดเลือดขาวต่ำที่เรียกว่านิวโทรพีเนีย นิวโตรฟิลเป็นเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อจากเชื้อราและแบคทีเรีย เม็ดเลือดขาวต่ำบ่อยครั้งมักเกิดจากนิวโตรฟิลที่ลดจำนวนลง อาจเรียกว่าเป็นภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำหรือนิวโทรพีเนียได้ทั้งสองแบบ wbcต่ำอีกรูปแบบที่พบได้บ่อยก็คือ  lymphocytopenia เกิดจากเม็ดเลือดขาวลิมโฟไชต์ต่ำกว่าปกติ ลิมโฟเซต์เป็นเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อจากเชื้อไวรัส

อาการของเม็ดเลือดขาวต่ำ

คุณอาจไม่เคยสังเกตเห็นสัญญานของการเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ แต่หากพบว่ามีจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำมากกว่าปกติ นั่นอาจเป็นสัญญานหนึ่งที่บอกถึงการติดเชื้อซึ่งอาจมีอาการร่วมดังต่อไปนี้:
  • มีไข้สูงเกินกว่า 38˚C
  • มีอาการหนาวสั่น
  • เหงื่อออก
หากมีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์

สาเหตุของเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ

มีหลายโรคหลายอาการที่สามารถเป็นสาเหตุของภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำได้ เช่น:

การเจ็บป่วยเกี่ยวกับไขกระดูกและเซลล์เม็ดเลือดแดง

เช่น:
  • โลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ(aplastic anemia)
  • Hypersplenism หรือการที่ม้ามทำงานมากเกิดไป
  • โรคไมอีโลดิสพลาสติก ซินโดรม(myelodysplastic syndromes)
  • โรคมัยอีโลโพรลิฟเฟอเรทีฟ ซินโดรม(myeloproliferative syndrome)
  • โรคมัยอีโลไฟโบรซิส(myelofibrosis)

โรคมะเร็งและการรักษาโรคมะเร็ง

โรคมะเร็งมีมากมายหลายรูปแบบซึ่งรวมไปถึงโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวด้วย โรคดังกล่าวสามารถนำไปสู่ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำได้ การรักษาโรคมะเร็งก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำเช่น:
  • การรักษาด้วยเคมีบำบัด
  • การักษาด้วยการฉายรังสี (โดยเฉพาะอบ่างยิ่งเมื่อใช้ตรงบริเวณกระดูกชิ้นใหญ่ เช่นบริเวณส่วนขาและกระดูกเชิงกราน)
  • การปลูกถ่ายไขกระดูก

ความผิกปกติที่มีมาแต่กำเนิด

โรคที่เป็นมาแต่กำเนิด สามารถนำไปสู่ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำได้รวมไปถึงอาการป่วยที่ทำให้การทำงานของไขกระดูกมีผลต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง เช่น:
  • โรคคอสแมนน์(Kostmann syndrome), หรือความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดชนิดรุนแรงที่ทำให้ร่างกายผลิตเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลได้น้อย
  • ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำเรื้อรัง เนื่องจากโรคไมโลคาเธซิส (myelokathexis)

โรคติดเชื้อต่างๆ

โรคติดเชื้อที่นำไปสู่ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ เช่น:

โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง

โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองนั้นจะฆ่าเซลล์เม็ดเลือดขาวหรือเซลล์ไขกระดูก ซึ่งส่งผลในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และนำไปสู่ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ เช่น:

ภาวะขาดสารอาหาร

เม็ดเลือดขาวต่ำอาจมีสาเหตุมาจากการขาดวิตามินหรือขาดสารอาหารต่าง ๆ  เช่นขาดวิตามินดังต่อไปนี้:
  • วิตามินบี12 
  • โฟเลต
  • ธาตุทองแดง
  • ธาตุสังกะสี

การรักษาโดยการใช้ยา

การรักษาด้วยยาบางชนิดก็สามารถทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำได้ เช่น :
  • บูโพรพิออน(bupropion) (ชื่อการค้าWellbutrin)
  • โคลซาปีน(clozapine) (ชื่อการค้าClozaril)
  • ไซโคลสปอริน(cyclosporine) (ชื่อการค้าSandimmune)
  • ยากลุ่มอินเตอร์เฟียร์รอน(interferons)
  • ลาโมไตรจีน(lamotrigine) (ชื่อการค้าLamictal)
  • มิโนซัยคลิน(minocycline) (ชื่อการค้าMinocin)
  • ไมโคฟิโนเลตโมฟิทิล(mycophenolate mofetilป (ชื่อการค้าCellCept)
  • ยาเพนนิซิลิน
  • ไซโลลิมัส(sirolimus) (ชื่อการค้าRapamune)
  • โซเดียมวาลโพรเอท(sodium valproate)
  • สเตียรอยด์
  • ทาโครลิมัส(tacrolimus) (ชื่อการค้าPrograf)

โรคซาร์คอยโดสิส(Sarcoidosis)

โรคซาร์ตอยโดสิสเป็นผลมาจากการเจ็บป่วยที่มีต่อระบบของร่างกายเพราะการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่มากเกินไป และมีลักษณะโดยทั่วไปเกิดจากการอักเสบชนิดแกรนูโลมา หรือเกิดการอักเสบในพื้นที่เล็กๆในระบบต่างๆของร่างกาย เมื่อเกิดการอักเสบชนิดแกรนูโลมาขึ้นในไขกระดูกก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำได้ 

การติดเชื้อไวรัส

การติดเชื้อไวรรัสอาจส่งผลต่อการทำงานของไขกระดูกหรือการติดเชื้อรุนแรงตัวอื่นๆก็นำไปสู่ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำได้เช่นกัน

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง

ทุกคนที่มีภาวะการเจ็บป่วยที่อาจนำไปสู่ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำถือว่าเป็นคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงทั้งสิ้น เม็ดเลือดขาวต่ำตามปกติแล้วนั้นจะสังเกตอาการได้ไม่ค่อยชัดเจนนัก ดังนั้นแพทย์จึงมีความจำเป็นต้องใช้การตรวจติดตามอย่างละเอียดด้วยการนับจำนวนเม็ดเลือดหากคนไข้มีอาการที่อาจนำไปสู่ภาวะนั้นๆ นั้นหมายถึงว่าต้องมีการนำเลือดไปตรวจบ่อยๆ

การวินิจฉัยภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ

หากมีการตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดขาวแล้วพบว่ามีจำนวนต่ำ สิ่งนี้จะเป็นตัวช่วยให้แพทย์สามารถบ่งชี้ถึงสาเหตุของอาการป่วยได้ ตามปกติแล้วแพทย์มักจะพบว่าคนไข้มีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำหลังจากสั่งตรวจเลือดในห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาอาการเจ็บป่วยอื่นๆ

การดูแลรักษาภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ

การรักษาสำหรับภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจะขึ้นอยู่กับชนิดของเม็ดเลือดขาวที่ต่ำ และอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้น คนไข้อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาดูแลการติดเชื้อต่างๆที่อาจเกิดมาจากการมีเม็ดเลือดขาวไม่เพียงพอ การรักษาโดยทั่วไปมีดังนี่้:

การรักษาด้วยยา

การรักษาด้วยยาเพื่อใช้เป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายของเราสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงเพิ่มมากขึ้น หรือแพทย์อาจสั่งยารักษาเพื่อกำจัดสาเหตุของการลดจำนวนเม็ดเลือด เช่นการสั่งยาต้านเชื้อราเพื่อรักษาการติดเชื้อรา หรือยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียเป็นต้น

หยุดการรักษาบางอย่างที่เป็นสาเหตุของภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ

บางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องหยุดการรักษาบางอย่างไว้ก่อนเช่นการรักษาด้วยเคมีบำบัด เพื่อปล่อยให้ร่างกายมีเวลาสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงเพิ่มมากขึ้น จำนวนเซลล์เม็ดเลือดอาจเพิ่มขึ้นได้เองตามธรรมชาติเมื่อการรักษาอย่างเช่นการฉายรังสีถูกยกเลิกหรือหยุดในระหว่างขั้นตอนการบำบัดด้วยเคมีก็เช่นเดียวกัน ควรจดจำจำนวนครั้งที่เราใช้ในการเพิ่มเซลล์เม็ดเลือดให้คืนสู่สภาพปกติเนื่องจากแต่ละคนใช้เวลาไม่เหมือนกัน

การใช้สารเร่งการเจริญเติบโต

การใช้Granulocyte colony-stimulating factorและสารเร่งการเจริญเติบโตอื่นๆที่ได้มาจากไขกระดูกจะสามารถช่วยได้หากภาวะการเกิดเม็ดเลือดขาวต่ำนั้นๆเกิดจากพันธุกรรมหรือเกิดจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด สารเร่งการเจริญเติบโตคือโปรตีนที่จะไปเป็นตัวกระตุ้นร่างกายให้ผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นได้ 

ภาวะโภชนาการ

การใช้โภชนาการสำหรับผู้มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือที่เรียกว่าอาหารแบคทีเรียต่ำหรือ neutropenic diet แพทย์อาจแนะนำให้ปฏิบัติตามหากพบว่าจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำมากๆ โภชนาการรูปแบบดังกล่าวจะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคจากอาหารหรือจากขั้นตอนการเตรียมอาหาร

การดูแลตัวเองที่บ้าน

แพทย์อาจแนะนำคนไข้ในการดูแลตัวเองที่บ้านในช่วงเวลาที่อยู่ในภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ เช่นการให้เกร็ดความรู้ในการทำให้รู้สึกสบายดีและหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ ยกตัวอย่างเช่น: การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ: ในการเยียวยาร่างกายของเราจำเป็นต้องได้รับวิตามินและสารอาหารที่ครบถ้วน แพทย์จะแนะนำให้คนไข้รับประทานผักและผลไม้ให้เยอะ หากคุณมีอาการเจ็บปากหรือคลื่นไส้ ควรปรึกษาแพทย์ถึงชนิดอาหารที่คุณจะสามารถรับประทานได้ การพักผ่อน: ลองเพิ่มเติมกิจกรรมที่ต้องใช้เวลาที่มากพอที่ให้คุณใช้พลังงานมากๆ และควรพักผ่อนอย่างพอเพียง อาจปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในการช่วยวางแผนกิจกรรมดังกล่าว ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง: คนไข้ควรหลีกเลี่ยงรอยแผลหรือรอยข่วนถลอกทุกชนิดเพราะเมื่อหากเกิดขึ้นแล้วอาจนำไปสู่การติดเชื้อโรคได้ ขอความช่วยเหลือบุคคลอื่นในการใช้มีดระหว่างการทำอาหารหรือรับประทาน ควรใช้เครื่องโกนหนวดไฟฟ้าเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดบาดแผลจากการโกนหนวด ลดความรุนแรงในการแปรงฟันเพื่อไม่ทำให้เหงือกเกิดการระคายเคือง อยู่ให้ห่างจากแหล่งเชื้อโรค: ล้างมือบ่อยๆตลอดทั้งวันหรือใช้เจลล้างมือเสมอ อย่าเข้าใกล้คนป่วยหรือแหล่งผู้คนพลุกพล่าน ไม่ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือทำความสะอาดถังขยะกรงสัตว์หรือแม้แต่อ่างเลี้ยงปลา

การเฝ้าสังเกตอาการ

หากคุณอยู่ในภาวะที่อาจเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดwbcต่ำ แพทย์จะทำการแนะนำให้ตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดขาวเป็นประจำทุกวันเพื่อป้องกันหรือลดโอกาสที่อาจนำไปสู่ภาวะที่ยุ่งยากกว่าเดิม นี่คือหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ทำไมเราจึงควรเฝ้าติดตามผลตรวจเลือดเสมอ: เมื่อคุณป่วย อาการต่างๆที่เกิดขึ้นมาจากระบบภูมิคุ้มกันของเราจะทำงาน นั่นรวมไปถึงเซลล์เม็ดเลือดขาวด้วย พวกมันจะพยายามต่อสู้เพื่อฆ่าเชื้อโรค ดังนั้นหากพบว่ามีจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ อาจแสดงว่าคุณกำลังติดเชื้อแม้จะไม่แสดงอาการก็ตาม ยังไรก็ควรพบแพทย์ในทันที ภาวะแทรกซ้อนของภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำบางอย่างที่อาจเกิดขึ้น:
  • ความจำเป็นในการชะลอการรักษาโรคมะเร็งออกไปก่อนเพราะเกิดการติดเชื้อไม่รุนแรง
  • การติดเชื้อรุนแรงที่อาจถึงแก่ชีวิต รวมถึงภาวะโลหิตเป็นพิษซึ่งเป็นการติดเชื้อแบบวงกว้าง
  • การเสียชีวิต

การป้องกันภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ

คุณไม่สามารถป้องกันการเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำได้แต่คุณสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ในช่วงเวลาที่คุณมีจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมคุณจึงควรดูแลรักษาตัวด้วยการรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ พักผ่อนอย่างเพียงพอและหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บและแหล่งเชื้อโรค ถ้าประสบกับปัญหาตามที่กล่าวมาให้ปรึกษาแพทย์ นางพยาบาลหรือนักโภชนาการ พวกเขาจะสามารถให้คำแนะนำแก่คุณได้

ภาวะแทรกซ้อนของเม็ดเลือดขาวต่ำ

ภาวะแทรกซ้อนของเม็ดเลือดขาวเกิดขึ้นหลักจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ซึ่งอาจทำให้บุคคลเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากเม็ดเลือดขาว ได้แก่:
  • ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการติดเชื้อ: เมื่อมีเซลล์เม็ดเลือดขาวน้อยลง ความสามารถของร่างกายในการต่อสู้กับการติดเชื้อจึงลดลง แม้แต่การติดเชื้อเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจไม่ส่งผลกระทบต่อบุคคลที่มีจำนวนเม็ดเลือดขาวปกติก็อาจรุนแรงหรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้สำหรับผู้ที่มีเม็ดเลือดขาว
  • ภาวะติดเชื้อ: ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตซึ่งเกิดขึ้นเมื่อการตอบสนองของร่างกายต่อการติดเชื้อมีมากเกินไปและทำให้เกิดการอักเสบ บุคคลที่เป็นเม็ดเลือดขาวต่ำมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะติดเชื้อเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • การติดเชื้อบ่อยครั้งและเกิดขึ้นอีก: บุคคลที่มีเม็ดเลือดขาวอาจพบการติดเชื้อบ่อยครั้งหรือการติดเชื้อที่เกิดขึ้นอีกไม่นานหลังการรักษา การติดเชื้อเหล่านี้อาจส่งผลต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงทางเดินหายใจ ผิวหนัง ทางเดินปัสสาวะ และอื่นๆ
  • ความยากลำบากในการวินิจฉัยการติดเชื้อ: จำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำสามารถปกปิดสัญญาณทั่วไปของการติดเชื้อ เช่น ไข้และการอักเสบ สิ่งนี้อาจทำให้เกิดความท้าทายสำหรับแพทย์ในการวินิจฉัยการติดเชื้อในผู้ป่วยเม็ดเลือดขาวโดยทันที
  • แผลหายช้า:เ ซลล์เม็ดเลือดขาวมีบทบาทในกระบวนการบำบัดโดยการป้องกันและต่อสู้กับการติดเชื้อในบาดแผล บุคคลที่มีเม็ดเลือดขาวอาจพบการสมานแผลที่ล่าช้าและเพิ่มความไวต่อการติดเชื้อที่บาดแผล
  • การติดเชื้อฉวยโอกาส: การติดเชื้อบางชนิดเรียกว่าการติดเชื้อฉวยโอกาสเกิดจากสิ่งมีชีวิตที่มักไม่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อเหล่านี้สามารถใช้ประโยชน์จากการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอในผู้ที่เป็นเม็ดเลือดขาว
  • การตอบสนองต่อการรักษาไม่ดี: บุคคลที่เป็นเม็ดเลือดขาวอาจมีความสามารถในการตอบสนองต่อการรักษาทางการแพทย์ลดลง รวมถึงยาปฏิชีวนะและยาอื่นๆ ที่ใช้ในการต่อสู้กับการติดเชื้อ
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ที่เป็นเม็ดเลือดขาวเกี่ยวข้องกับการติดตามสุขภาพของตนเองอย่างระมัดระวัง การรับรู้การติดเชื้อโดยทันที และการแทรกแซงทางการแพทย์อย่างทันท่วงที ในบางกรณี แพทย์าจแนะนำให้ปรับเปลี่ยนยาหรือการรักษาเพื่อแก้ไขสาเหตุของการเกิดเม็ดเลือดขาวและปรับปรุงการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาว

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/symptoms/low-white-blood-cell-count/basics/definition/sym-20050615
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2154209/
  • https://www.webmd.com/lung/qa/what-is-leukopenia

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด