โรคฉี่หนู (Leptospirosis): อาการ สาเหตุ การวินิจฉัยโรค การรักษา

เล็ปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) คือ แบคทีเรียหายากชนิดหนึ่งที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์ เชื้อแบคทีเรียนี้สามารถแพร่จากสัตว์ไปยังมนุษย์ได้ เมื่อผิวหนังของเราที่มีแผลสัมผัสกับน้ำหรือดินที่มีฉี่ของสัตว์ที่มีเชื้อแบคทีเรียนั้นๆ  โรคฉี่หนู คือ การที่แบคทีเรีย เล็ปโตสไปโรซิสนั้นเข้าสู่ร่างกายได้ทางช่องแผลที่เปิด ดวงตา หรือเยื่อหุ้มต่างๆ สัตว์จะเป็นตัวแพร่กระจายเชื้อโรคไปสู่มนุษย์ โดยสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคนี้ ได้แก่ หนู สกั๊งซ์  ออพอสซัม สุนัขจิ้งจอก และแรคคูน โดยสกุลของเชื้อแบคทีเรียเล็ปโตสไปโรซิสนั้นมีอยู่หลากหลาย เชื้อเหล่านี้สามารถทำให้เกิดอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ แต่เชื้อนี้จะไม่แพร่จากมนุษย์สู่มนุษย์ เล็ปโตสไปโรซิสเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและองค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า พบผู้ติดเชื้อในโลกนี้ ราวๆ 10 คน ต่อ 100,000 คนในแต่ละปี ในสภาพภูมิอากาศเขตอบอุ่น มีโอกาสพบที่ 1 คน ต่อ 100,00 คน ในพื้นที่ระบาดจะพบได้มากกว่า 100 คน ต่อ 100,000 คน โดยในภูมิอากาศเขตร้อนผู้คนนั้นมีโอกาสสัมผัสกับเชื้อได้มากกว่าภูมิอากาศโซนอื่นๆ เล็ปโตสไปโรซิส (Leptospirosis)

ประเภทของโรคฉี่หนู

เราสามารถแบ่งประเภทของโรคฉี่หนูได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

โรคฉี่หนูชนิดไม่รุนแรง: 

พบประมาณ 90% จากผู้ติดเชื้อเล็ปโตสไปโรซิส จะมีอาการเจ็บกล้ามเนื้อ หนาวสั่น หรืออาจจะปวดหัวได้ 

โรคฉี่หนูชนิดรุนแรง: 

 พบประมาณ 5 – 15% จากผู้ติดเชื้อเล็ปโตสไปโรซิส จะมีอาการสภาวะอวัยวะภายในล้มหลว, การตกเลือด ไปจนถึงการเสียชีวิตซึ่งอาจส่งผลตับหรือไตและอวัยวะสำคัญอื่น ๆ เกิดการติดเชื้อได้ สำหรับโรคฉี่หนูชนิดรุนแรงนั้นมักจะพบว่าเป็นโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยปอดบวม ที่อยู่ในวัยเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และพบในผู้สูงอายุ

อาการโรคฉี่หนู

สัญญาณและอาการของโรคฉี่หนู จะปรากฎในระยะเวลา 5 – 14 วัน หลังจากติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ระยะฟักตัวนั้นอยู่ที่ 2 – 30 วัน

อาการโรคฉี่หนูชนิดไม่รุนแรง

สัญญาณและอาการโรคฉี่หนูชนิดไม่รุนแรงประกอบไปด้วย: ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถรักษาให้หายได้ภายใน 1 สัปดาห์ และจะมีเพียงแค่ 10% ที่มีโอกาสพัฒนาเป็นโรคฉี่หนูชนิดรุนแรง

อาการโรคฉี่หนูชนิดรุนแรง

สัญญาณและอาการของโรคฉี่หนูชนิดรุนแรงจะปรากฎภายในไม่กี่วันหลังจากที่อาการโรคฉี่หนูชนิดไม่รุนแรงหายไปในกรณีที่เชื้อมีการพัฒนา อาการขึ้นอยู่กับอวัยวะสำคัญที่ได้รับการติดเชื้อ ซึ่งการติดเชื้อสามารถนำไปสู่ภาวะไตหรือตับล้มเหลวได้ หายใจติดขัด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และอาจถึงแก่ชีวิตได้

กรณีที่อวัยวะสำคัญติดเชื้อโรคฉี่หนู

การติดเชื้อที่หัวใจ ตับ หรือไต ผู้ป่วยจะมีลักษณะอาการดังนี้:

หากไม่ได้รับการรักษาสามารถนำไปสู่การเสียชีวิตด้วยภาวะไตวายได้

การติดเชื้อที่สมองหรือไขสันหลัง

กรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อที่สมองหรือไขสันหลัง อาจจะทำให้เยื้อหุ้มสมองอักเสบ หรือเยื่อหุ้มไขสันหลังอักเสบ หรืออาจจะเป็นได้ทั้งสองส่วนโดยทั้งสองส่วนจะทำให้เกิดอาการที่ใกล้เคียงกันดังนี้
  • มีความสับสนหรืออาการมึนงง
  • อาการง่วงนอน
  • อาการชัก
  • ไข้สูง
  • วิงเวียนศีรษะ
  • กลัวแสงหรือความไวต่อแสง
  • ปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางกายภาพ
  • คอเคล็ด
  • อาเจียน
  • พฤติกรรมก้าวร้าวกว่าปกติ
หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันเวลาอวัยวะทั้งสองส่วนจะได้รับการทำลายที่รุนแรงและสามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การติดเชื้อที่ปอด

กรณีที่ติดเชื้อโรคฉี่หนูที่ปอด ผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้:
  • ไข้สูง
  • หอบ
  • ไอเป็นเลือด
ในกรณีที่รุนแรงมากจะทำให้ผู้ป่วยเสียเลือดและหายใจไม่ออกได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อชีวิต

โรคฉี่หนูเกิดจากอะไร

แบคทีเรียเล็ปโตสไปโรซิสนั้นพบได้ในแรคคูน ค้างคาว แกะ สุนัข หนู ม้า วัว ควายและหมู แบคทีเรียชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในไตของสัตว์พาหะ และจะหลังออกมาพร้อมกับฉี่ของสัตว์ทำให้มีเชื้ออยู่ในดินหรือน้ำ ข้อควรระวังคือ เชื้อนี้สามารถอยู่ในน้ำหรือดินได้มากกว่าระยะเวลา 1 เดือน

การวินิจฉัยโรคฉี่หนู

ในระยะเริ่มต้นของโรคฉี่หนูนั้นยากที่จะวินิจฉัยได้ เพราะอาการจะคล้ายกับไข้หวัด(flu)และการติดเชื้อโดยทั่วไป หากแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยจะเป็นโรคฉี่หนูชนิดรุนแรง ผู้ป่วยจะต้องได้รับการทดสอบจนแน่ชัดเสียก่อนซึ่งวิธีการทดสอบมีหลากหลาย และจำเป็นต้องมีการทดสอบซ้ำๆ เพื่อทำการยืนยันผล แพทย์อาจจะทำการสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานที่ที่คุณไปก่อนจะเริ่มมีอาการว่าอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดโรคฉี่หนูหรือไม่

วิธีการรักษาโรคฉี่หนู

วิธีรักษาโรคฉี่หนูชนิดไม่รุนแรงนั้นแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะในการรักษา ได้แก่ ยาด็อกซี่ไซลิน(Doxycycline) หรือเพนนิซิลิน (Penicillin) ส่วนวิธีการรักษาโรคฉี่หนูชนิดรุนแรงนั้นต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพราะผู้ป่วยจำเป็นต้องไปรับยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือด และต้องการเครื่องช่วยหายใจ ในขณะที่หากมีการติดเชื้อที่ไตในบางกรณีจำเป็นจะต้องได้รับการฟอกไตร่วมด้วย และในบางกรณีอาจจะต้องมีการให้อาหารเหลวผ่านทางสายยาง การพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลนั้นอาจจะใช้เวลาไม่กี่วันหรืออาจจะเป็นเดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อการรักษาของคนไข้ และความเสียหายของอวัยวะสำคัญที่ถูกทำลาย ข้อควรระวังในหญิงที่ตั้งครรภ์คือ เล็ปโตสไปโรซิสสามารถติดเชื้อไปยังทารกในครรภ์มารดาได้ ดังนั้นสำหรับใครที่ติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์จำเป็นต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลและรับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด

การป้องกันโรคฉี่หนู

มาตราการป้องกันต่างๆ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคฉี่หนูได้ เช่น 

การหลีกเลี่ยงกีฬาทางน้ำในพื้นที่สุ่มเสี่ยง: 

อย่างไรก็ตามสำหรับนักกีฬาทางน้ำควรหลีกเลี่ยงพื้นที่น้ำจืด แต่ยังสามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติในพื้นที่ที่มั่นใจว่าน้ำปลอดจากเชื้อ และมั่นใจว่าบาดแผลหรือร่องรอยใดๆ บนผิวหนังถูกกันน้ำอย่างดีข้อควรระวังหลังจากที่เล่นกีฬาทางน้ำในน้ำที่ปลอดภัยแล้ว ควรรีบชำระล้างร่างกายด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งทันที

การหลีกเลี่ยงการสัมผัสในพื้นที่ทำงานที่มีความเสี่ยง:

สำหรับผู้ที่ทำงานในฟาร์มสัตว์ หรือทำงานร่วมกับน้ำและดินปนเปื้อนควรจะสวมใส่เสื้อผ้ารองเท้าที่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ เช่น ถุงมือ หน้ากาก รองเท้าบู๊ท และแว่นนิรภัย เป็นต้น

ข้อควรระวังสำหรับนักท่องเที่ยว

สำหรับผู้ที่ไปท่องเที่ยวหรือเดินทางไปยังพื้นที่สุ่มเสี่ยงให้ปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้ :
  • หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ
  • ดื่มน้ำจากขวดที่ปิดผนึกเท่านั้น
  • ทำความสะอาดแผลและปกปิดแผลให้พ้นจากน้ำ

ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันโรคฉี่หนู

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการป้องกันโรคฉี่หนู มีดังนี้ :
  • การควบคุมสัตว์พาหะนำโรคโดยเฉพาะหนู
  • ล้างมือด้วยสบู่และน้ำหลังทันทีหลังจากสัมผัสกับสัตว์
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่ตายแล้วด้วยมือเปล่า
  • ทำความสะอาดแผลและปิดด้วยวัสดุกันน้ำ
  • สวมชุดป้องกันระหว่างปฎิบัติงานให้รัดกุม
  • หลีกเลี่ยงการลุยลุยน้ำหรือสัมผัสกับแหล่งน้ำจืด และรีบชำระล้างร่างกายด้วยน้ำสะอาดทันทีหากได้รับการสัมผัส
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งของและรับประทานอาหารในพื้นที่สุ่มเสี่ยง
  • ดื่มน้ำสะอาดจากขวดที่ปิดผนึกแล้วเท่านั้น หรือดื่มน้ำที่มั่นใจว่าผ่านการต้ม
  • นำสุนัขไปรับวัคซีนป้องกันโรคฉี่หนู

คำถามที่พบบ่อย

โรคฉี่หนูสามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีธรรมชาติหรือไม่  ขิง เป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคฉี่หนู จากการศึกษาในหนูพบว่าสารสกัดจากขิงลดไซโตไคน์ที่ต้านการอักเสบซึ่งสามารถควบคุมความเสียหายของอวัยวะเนื่องจากโรคเลปโตสไปโรซิส คุณสามารถบริโภคขิงโดยใส่ในซุป ดาล และอื่นๆ เป็นโรคฉี่หนูแล้วจะหายไหม หากไม่มีการรักษา โรคเลปโตสไปโรซิสสามารถนำไปสู่ความเสียหายของไต เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (การอักเสบของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง) ตับวาย หายใจลำบาก และอาจเสียชีวิตได้ โรคฉี่หนูรักษาง่ายไหม รักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ หากได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ อาจฟื้นตัวได้เร็วกว่า และความเสียหายของอวัยวะใดๆ ก็อาจรุนแรงน้อยกว่า อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาอื่นๆ เช่น การฟอกเลือดและการบำบัดด้วยความชุ่มชื้น โรคฉี่หนูติดง่ายแค่ไหน วิธีทั่วไปในการติดเชื้อ คือ ปัสสาวะของหนูที่ปนเปื้อนเข้าตา จมูก ปาก หรือผิวหนังที่แตก (เช่น บาดแผลหรือรอยขีดข่วน) คุณสามารถติดเชื้อได้จากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อน ผู้ที่เป็นโรคฉี่หนูบางคนไม่มีอาการใดๆ ใครเสี่ยงต่อโรคฉี่หนูมากที่สุด โรคนี้เป็นอันตรายต่ออาชีพสำหรับคนจำนวนมากที่ สำหรับผู้ที่ทำงานกลางแจ้งหรือกับสัตว์ เช่นเกษตรกร คนงานเหมือง พนักงานท่อน้ำทิ้ง  โรคฉี่หนูอยู่ในปัสสาวะได้นานแค่ไหน คนส่วนใหญ่ป่วยตั้งแต่ 1 ถึง 3 สัปดาห์ หรือนานประมาณ 1 เดือน ผู้คนสามารถติดโรคฉี่หนูจากผู้ติดเชื้อรายอื่นได้เช่นกัน แต่พบได้ยาก โรคฉี่หนูสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะและยาอื่นๆ ผลกระทบระยะยาวของโรคฉี่หนูคืออะไร การฟื้นตัวจากการติดเชื้อเลปโตสไปโรซีสอาจทำได้ช้า ผู้คนสามารถมีอาการเจ็บป่วยที่คล้ายความเหนื่อยล้าเรื้อรังซึ่งกินเวลานานหลายเดือน คนอื่นอาจมีอาการปวดศีรษะหรือซึมเศร้าอย่างต่อเนื่อง บางครั้งแบคทีเรียสามารถคงอยู่ในดวงตาและทำให้ตาอักเสบเรื้อรังได้

ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งที่มาข้อมูลของเรา

  • https://www.cdc.gov/leptospirosis/index.html
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC88975/
  • https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-is-leptospirosis
  • https://www.nhs.uk/conditions/leptospirosis/
  • https://www.who.int/zoonoses/diseases/leptospirosis/en/

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด