ปวดท้องข้างซ้าย (Left Abdominal Pain) : อาการ สาเหตุ การรักษา

การปวดท้องข้างซ้าย (Left Abdominal Pain) : ส่วนล่างสุดของท้องด้านซ้ายเป็นที่อยู่ของส่วนท้ายสุดของลำไส้ และสำหรับผู้หญิงก็ยังเป็นที่อยู่ของรังไข่ซ้ายด้วย อาการปวดเล็ก ๆ น้อย ๆ บริเวณนี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องกังวล มันจะหายไปเองใน 1 ถึง 2 วัน  หากอาการปวดนั้นมาจากอุบัติเหตุหรือได้รับบาดเจ็บ คุณควรจะโทรหาบริการแพทย์ฉุกเฉินทันที หากรู้สึกปวดหรือเหมือนมีอะไรกดที่หน้าอก ควรพบแพทย์ในทันที  ควรไปห้องฉุกเฉินทันทีหากมีอาการ: 
  • ไข้ 
  • กดเจ็บอย่างรุนแรงในบริเวณที่ติดเชื้อ 
  • ท้องบวม 
  • อุจจาระมีเลือด 
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ 
  • ตัวเหลือง

โรคถุงผนังลำไส้อักเสบเป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อย 

ในหลาย ๆ กรณี อาการปวดบริเวณท้องส่วนล่างเกิดจากถุงผนังลำไส้อักเสบ  โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ (Diverticula) เกิดขึ้นจากส่วนของลำไส้ที่อ่อนแอสร้างกระเปาะขึ้นมา โรคนี้พบได้ทั่วไป และพบมากขึ้นในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี เมื่อกระเปาะฉีกขาด มันจะทำให้เกิดการบวมและการติดเชื้อ ทำให้เกิดถุงผนังลำไส้อักเสบ  อาการอื่น ๆ ได้แก่: 
  • ไข้ 
  • คลื่นไส้ 
  • อาเจียน 
  • กดเจ็บบริเวณท้อง 
ที่พบได้น้อย ท้องผูกและท้องเสียสามารถเป็นสัญญาณของโรคถุงผนังลำไส้อักเสบได้  ในโรคถุงผนังลำไส้อักเสบที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยตอบสนองต่อการพักรักษา เปลี่ยนอาหาร และยาปฏิชีวนะ หากอาการรุนแรงหรือกลับมาเป็นซ้ำ ๆ ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการผ่าตัด 

สาเหตุที่พบได้บ่อยอื่น ๆ ของการปวดท้องส่วนล่าง

เหล่านี้คือเหตุผลที่ทำให้เกิดการปวดในท้องส่วนล่าง ไม่ว่าจะข้างไหนก็ตาม 

แก๊ส 

การผายลมหรือการเรอเป็นเรื่องปกติ เรามีแก๊สอยู่ในระบบทางเดินอาหารของเรา ตั้งแต่กระเพาะอาหารจนถึงลำไส้ใหญ่ แก๊สเป็นผลมาจากการกลืนและการย่อยอาหาร  แก๊สสามารถเกิดได้จาก: 
  • กลืนอากาศเข้าไปมากกว่าปกติ 
  • กินมากเกินไป 
  • สูบบุหรี่ 
  • เคี้ยวหมากฝรั่ง 
  • อาหารบางอย่างไม่ย่อย
  • กินอาหารที่ก่อให้เกิดแก๊ส 
  • แบคทีเรียในลำไส้หยุดทำงาน 
แก๊สนั้นไม่ใช่เรื่องร้ายแรง หากมีอาการเหล่านี้อย่างต่อเนื่องควรปรึกษาแพทย์: 
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย 
  • ท้องผูก 
  • น้ำหนักลด
  • จุกเสียดท้อง 
  • มีเลือดปนในอุจจาระ 

อาหารไม่ย่อย 

อาหารไม่ย่อยนั้นปกติเกิดหลังจากรับประทานอาหาร กระเพาะอาหารสร้างกรดเมื่อเรารับประทานอาหาร กรดนี้สามารถระคายเคืองหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้ได้ อาการปปวดมักเกิดขึ้นที่ท้องส่วนบน ในเคสที่ไม่พบมากนักมันอาจส่งผลต่อท้องส่วนล่างด้วย  อาหารไม่ย่อยนั้นเป็นอาการที่ไม่รุนแรง และส่วนมากเราจะรู้สึกไม่สบายตัว ปวด หรือแสบร้อน อาการอื่น ๆ มีดังนี้: 
  • จุกเสียดท้อง
  • รู้สึกอิ่ม หรือ ท้องบวม 
  • ผายลม 
  • คลื่นไส้ 
ควรพบแพทย์หากอาการอาหารไม่ย่อยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและแย่ลง 

ไส้เลื่อน 

 ไส้เลื่อนเป็นผลมาจากการที่อวัยวะภายในหรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกายดันออกมาผ่านกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ อาจพบก้อนบริเวณท้องหรือขาหนีบ  อาการอื่น ๆ ได้แก่: 
  • มีก้อนนูนใหญ่ขึ้น 
  • ปวดบริเวณที่เป็นมากขึ้น 
  • ปวดเวลายกของ 
  • ปวดแบบหนึบ ๆ 
  • รู้สึกอึดอัด 
  • ปวดท้องด้านซ้ายล่าง
ไส้เลื่อนแต่ละชนิดนั้นมีอาการต่างกัน เช่น ไส้เลื่อนกระบังลมจะไม่นูนออกมา  สาเหตุที่ทำให้เกิดจะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของไส้เลื่อน ไส้เลื่อนอาจทำให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรง ควรพบแพทย์หากสงสัยว่าเป็นโรคนี้ 

นิ่วในไต

นิ่วในไตจะเริ่มก่อปัญหาเมื่อมันเคลื่อนที่อยู่ในไตหรือท่อไต  นิ่วอาจทำให้เกิดอาการปวดบริเวณข้างลำตัวและหลัง อาการปวดอาจเป็น ๆ หาย ๆ เมื่อนิ่วเคลื่อนที่ไปยังทางเดินปัสสาวะ บางคนอา่จจะเจ็บท้องด้านซ้าย คุณอาจมีอาการเหล่านี้ด้วย: 
  • ปัสสาวะสีชมพู แดง น้ำตาล คล้ำ และมีกลิ่นเหม็น
  • ปวดเวลาปัสสาวะ 
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • มีไข้ หรือ หนาวสั่น 
ยังไม่มีสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดนิ่วในไต หากคนในครอบครัวเป็น ความเสี่ยงของคุณก็อาจเพิ่มขึ้น หากคุณมีอาการที่ทำให้กังวล ควรพบแพทย์ 

โรคงูสวัด 

คุณเคยเป็นอีสุกอีใสหรือไม่ หากเคยเป็น เชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ยังคงอยู่ในร่างกายของคุณ ซึ่งมันสามารถแสดงอาการขึ้นมาได้อีกครั้งในรูปแบบของงูสวัด เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ก็มีความเสี่ยงมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากอายุ 50  งูสวัดทำให้เจ็บปวด และมันมีลักษณะเหมือนแผลพุงพองเป็นเส้นขึ้นรอบ ๆ ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย บางครั้งก็ที่คอ หรือที่ในหน้า บางคนปวดแต่ไม่มีผื่น  อาการอื่น ๆ ได้แก่: 
  • แสบร้อนหรือชา 
  • แตะแล้วเจ็บ 
  • แผลพุพองแตกและเปิดทำให้เกิดสะเก็ด 
  • คัน 
วัคซีนงูสวัดสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดได้ หากคุณมีอาการของโรคงูสวัด ควรพบแพทย์ การเริ่มรักษาแต่เนิ่น ๆ จะช่วยทำให้อาการติดเชื้อสั้นลงและลดความเสี่ยงของการเกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้น 

สาเหตุที่ส่งผลต่อผู้หญิงเท่านั้น 

สาเหตุของการปวดท้องส่วนล่างด้านซ้ายบางอย่างเกิดขึ้นกับผู้หญิงเท่านั้น ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถเป็นปัญหาร้ายแรงและจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา อาการปวดอาจเริ่มจากท้องส่วนล่างด้านขวาได้ด้วย 

ปวดท้องประจำเดือน 

อาการปวดเกร็งสามารถเกิดขึ้นก่อนหรือระหว่างการมีประจำเดือน ถึงแม้ว่าการปวดนั้นจะเป็นการปวดน้อย ๆ ที่ทำให้รำคาญ หรือเป็นการปวดอย่างรุนแรงที่รบกวนกิจกรรมประจำวัน แต่การปวดประจำเดือนนั้นไม่อันตราย  คุณควรพบแพทย์หากมีอาการเหล่านี้: 
  • อาการปวดรบกวนการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน 
  • อาการแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป 
  • คุณอายุมากกว่า 25 ปี แล้วอาการปวดก็รุนแรงขึ้น 

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ 

เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่คือการที่เนื้อเยื่อในมดลูกเจริญอยู่ด้านนอกมดลูก ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดช่องท้องและเกิดภาวะมีบุตรยาก  อาการอื่น ๆ ได้แก่: 
  • อาการปวดประจำเดือนที่แย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป 
  • เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ 
  • ปวดเวลาอุจจาระหรือปัสสาวะ 
  • ประจำเดือนมามาก 
  • มีเลือดออกกระปริบกระปรอยในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน 
สาเหตุของเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่นั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด ควรพบแพทย์หากอาการรุนแรงหรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน 

เนื้องอกถุงน้ำรังไข่

เนื้องอกถุงน้ำรังไข่เป็นถุงที่มีของเหลวอยู่ข้างในหรือบนพื้นผวของรังไข่ ซึ่งเป็นส่วนนึงของการเกิดรอบเดือนของผู้หญิง  ซิสต์ส่วนมากนั้นไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ และจะหายไปโดยไม่ต้องรักษาในเวลาไม่กี่เดือน หากซิสต์มีขนาดใหญ่อาจทำให้เกิดการไม่สบายตัว มันอาจไปกดกระเพาะปัสสาวะและทำให้ฉี่บ่อยขึ้น  ซิสต์นั้นสามารถแตกออกได้ ซึ่งจะทำให้เกิดปัยหาร้ายแรง เช่น ปวดอย่างรุนแรงหรือเลือดออกภายใน  ควรพบแพทย์ในทันทีหากมีอาการเหล่านี้: 
  • ปวดช่องท้องเฉียบพลันและรุนแรง 
  • ปวดร่วมกับมีไข้ และ อาเจียน 
  • มีสัญญาณที่จะช็อค เช่น ตัวเย็น หายใจหอบ บ้านหมุน หรือออ่นแรง 

การบิดของรังไข่ 

ซิสต์ที่มีขนาดใหญ่อาจทำให้รังไข่เปลี่ยนตำแหน่ง ซึ่งทำให้ความเสี่ยงของการเกิดการบิดของรังไข่เพิ่มขึ้น การบิดอย่างรุนแรงของรังไข่อาจทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงได้ ท่อนำไข่ก็อาจได้รับผลกระทบไปด้วย  การบิดตัวของรังไข่มีแนวโน้มที่จพเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่ใช้ฮอร์โมนทำให้เกิดการตกไข่  การบิดตัวของรังไข่นั้นไม่ได้พบได้ทั่วไป โดยปกติแล้วจะเกิดกับหญิงวัยเจริญพันธุ์ ควรพบแพทย์หากมีอาการปวดที่ท้องร่วมกับอาเจียน บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการบิดตัว  Left Abdominal Pain

การตั้งครรภ์นอกมดลูก 

การตั้งครรภ์นอกมดลูกเป็นการที่ตัวอ่อนฝังตัวก่อนที่จะถึงมดลูก ปกติแล้วเกิดขึ้นที่ท่อนำไข่ คุณอาจจะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้  อาการต่าง ๆ มีดังนี้: 
  • ประจำเดือนขาด และ มีสัญญาณของการตั้งครรภ์อื่น ๆ 
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด 
  • ตกขาวเป็นน้ำ 
  • รู้สึกไม่สบายตัวเวลาปัสสาวะหรืออุจจาระ 
  • ปวดไหล่ 
ควรพบแพทย์หากคิดว่าตั้งครรภ์และมีอาการเหล่านี้ ถึงแม้ว่าผลการตรวจตั้งครรภ์จะเป็นลบก็ตาม  หากการตั้งครรภ์ภายนอกมดลูกนั้นแตกออก ท่อนำไข่จำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซม พบแพทย์ทันทีเมื่อคุณมีอาการ: 

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ 

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบในผู้หญิง เกิดขึ้นจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในเทียม และ โรคหนองในแท้ แต่การติดเชื้ออื่น ๆ ก็ทำให้เกิดอาการอักเสบได้เช่นกัน  ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบอาจแสดงหรือไม่แสดงอาการก็ได้  อาการต่าง ๆ มีดังนี้: 
  • มีไข้ 
  • ตกขาวมีเลือด มีกลิ่นเหม็น 
  • เจ็บ หรือ มีเลือดออกเมื่อมีเพศสัมพันธ์ 
  • รู้สึกแสบเวลาปัสสาวะ 
  • มีเลือดออกที่ไม่ใช่ประจำเดือน 
พบแพทย์หากคิดว่าผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ คุณมีอาการต่าง ๆ ที่อวัยวะเพศ เช่น ปวดและมีตกขาวที่ไม่ปกติ 

สาเหตุที่ส่งผลต่อผู้ชายเท่านั้น 

สาเหตุที่ปวดท้องล่างบางอย่างเกิดขึ้นกับผู้ชายเท่านั้น วึ่งอาจรุนแรงและต้องเข้ารับการรักษา อาการปวดอาจเกิดขึ้นกับท้องด้านขวาด้วย 

ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ 

ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบเกิดจากการที่ลำไส้เล็กดันออกมาจากส่วนที่อ่อนแอในช่องท้องล่าง ซึ่งพบได้น้อยในผู้หญิง  อาการมีดังนี้: 
  • มีส่วนที่นูนออกมาที่ตรงขาหนีบ มีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป และจะหายไปตอนที่นอนลง
  • อาการปวดที่ขาหนีบแย่ลงเมื่อออกแรง ยกขแง ไอ หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ 
  • อ่อนแรง รู้สึกหนัก แสบร้อน และปวดที่ขาหนีบ 
  • อัณฑะใหญ่ขึ้น 
ไส้เลื่อนชนิดนี้สามารถทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงได้ ควรพบแพทยืทันที: 
  • กดเจ็บมาก หรือแดงตรงบริเวณที่นูน 
  • ปวดแบบฉับพลันรุนแรงและปวดต่อเนื่อง 
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการผายลมและการอุจจาระ 
  • คลื่นไส้ และ อาเจียน 
  • มีไข้ 

อัณฑะบิดตัว 

การบิดตัวของอัณฑะ ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงอัณฑะน้อยลง ทำให้เกิดการปวดอย่างรุนแรงและบวม สาเหตุของโรคนี้ยังไม่มีใครทราบ การบิดตัวของอัณฑะสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ชายทุกคน แต่พบมากในผู้ชายอายุ 12 ถึง 16 ปี  อาการต่าง ๆ มีดังนี้: 
  • ปวดอย่างรุนแรงและฉับพลันร่วมกับการบวมขึ้นของอัณฑะ 
  • ปวดช่องท้อง 
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ปัสสาวะเเล้วปวด 
  • มีไข้ 
อัณฑะบิดนั้นร้ายแรงมาก ควรพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการปวดเฉียบพลันที่อัณฑะ หากอาการปวดนั้นหายไปเอง คุณก็ยังจำเป็นต้องพบแพทย์ การผ่าตัดอาจป้องกันความเสียหายของอัณฑะและช่วยให้ยังสามารถมีลูกได้ 

ควรพบแพทยืเมื่อไหร่ 

คุณกำลังกังวลกับการปวดท้องหรือไม่? มีอาการมีหลายวันแล้วหรือไม่? หากคำตอบคือใช่ ควรไปพบแพทย์  อาการปวดท้องด้านซ้ายอาจมีสาเหตุหลายประการ ตั้งแต่ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ เช่น แก๊สหรือความเครียดของกล้ามเนื้อ ไปจนถึงอาการที่ร้ายแรงกว่า เช่น ไส้ติ่งอักเสบ หรือโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ แม้ว่าอาการปวดท้องข้างซ้ายไม่ได้ทุกกรณีจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ทันที แต่ก็มีบางสถานการณ์ที่คุณควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทันที คำแนะนำบางประการเมื่อต้องไปพบแพทย์เมื่อมีอาการปวดท้องข้างซ้าย:
  • อาการปวดรุนแรงหรือฉับพลัน:หากคุณมีอาการปวดเฉียบพลันอย่างฉับพลันที่ช่องท้องด้านซ้ายซึ่งไม่ดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างรวดเร็ว ให้ไปพบแพทย์ทันที สิ่งนี้อาจบ่งบอกถึงสภาวะร้ายแรง เช่น อวัยวะที่มีรูพรุนหรือไส้ติ่งอักเสบ
  • อาการปวดพร้อมกับอาการอื่นๆ:หากปวดท้องด้านซ้ายร่วมกับอาการต่างๆ เช่น มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง อุจจาระมีเลือด หรือพฤติกรรมการขับถ่ายเปลี่ยนแปลง สิ่งสำคัญคือต้องไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
  • อาการปวดเรื้อรัง:หากอาการปวดยังคงอยู่เป็นเวลาหลายชั่วโมงหรือหลายวันโดยไม่มีการปรับปรุง ให้ปรึกษาผู้ให้บริการด้านการแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง
  • การผ่าตัดช่องท้องครั้งก่อน:หากคุณมีประวัติการผ่าตัดช่องท้อง และพบอาการปวดท้องครั้งใหม่หรือผิดปกติ แนะนำให้ไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาจทำให้เกิดการยึดเกาะหรือภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดครั้งก่อนได้
  • การตั้งครรภ์:หญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการปวดท้องข้างซ้ายควรปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพ เนื่องจากบางครั้งอาจบ่งบอกถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์หรืออวัยวะสืบพันธุ์ได้
  • อายุและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ:กลุ่มอายุบางกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดปัญหาเกี่ยวกับช่องท้อง เช่น โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ หากคุณอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ควรมีการประเมินอาการปวดท้องที่เกิดขึ้นใหม่หรือไม่ทราบสาเหตุ
  • อาการปวดแบบแผ่กระจาย:หากอาการปวดเริ่มต้นที่ช่องท้องด้านซ้ายแต่ลามไปยังบริเวณอื่นๆ เช่น หลังหรือไหล่ อาจเป็นสัญญาณของอาการร้ายแรง และควรได้รับการประเมินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • ปวดเมื่อปัสสาวะ:อาการปวดท้องด้านซ้ายที่มาพร้อมกับปัสสาวะอย่างเจ็บปวดอาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหรือปัญหาไตซึ่งควรได้รับการประเมินโดยแพทย์
  • ประวัติอาการทางการแพทย์:หากคุณมีประวัติเกี่ยวกับอาการทางเดินอาหาร เช่น โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) หรือโรคลำไส้อักเสบ (IBD) หรือภาวะสุขภาพเรื้อรังอื่น ๆ สิ่งสำคัญคือต้องหารือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของอาการปวดท้องกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ .
  • ความกังวลส่วนบุคคล:หากคุณมีข้อสงสัยหรือกังวลเกี่ยวกับอาการปวดท้องด้านซ้าย ควรทำผิดข้างและไปพบแพทย์จะดีกว่าเสมอ
โปรดทราบว่าอาการปวดท้องด้านซ้ายอาจมีสาเหตุหลายประการ และแพทย์สามารถช่วยวินิจฉัยปัญหาที่ซ่อนอยู่ได้ผ่านการตรวจร่างกาย ประวัติทางการแพทย์ และอาจรวมถึงการทดสอบวินิจฉัย เช่น การถ่ายภาพหรือการตรวจเลือด การวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ มักมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแก้ไขปัญหาทางการแพทย์ที่ร้ายแรงที่อาจก่อให้เกิดความเจ็บปวด

นี่คือที่มาในบทความของเรา

  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/320069
  • https://www.medicinenet.com/abdominal_pain_causes/views.htm
  • https://www.healthgrades.com/right-care/symptoms-and-conditions/left-lower-quadrant-pain
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด