ยาระบาย (Laxative) : วิธีใช้ และข้อควรระวัง

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
ยาระบาย
เมื่อคนเรามีภาวะที่ลำไส้ไม่สามารขับถ่ายอุจจาระได้ง่าย และสม่ำเสมอ หรือความถี่ของการอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ ร่วมกับเมื่อเวลาผ่านไปอุจจาระที่อยู่ภายในลำไส้ใหญ่ก็จะถูกลำไส้ดูดเอาน้ำออกไปเรื่อยๆทำให้อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง และยากต่อการขับถ่ายออกมาก ผู้ที่มีอาการเหล่านี้เรียกว่า อาการท้องผูก ซึ่งก่อให้เกิดความเจ็บปวดเวลาขับถ่าย และต้องออกแรงในการเบ่ง กรณีที่เป็นมีประวัติเป็นโรคหัวใจ การเบ่งอุจจาระจะเป็นอัตรายต่อภาวะหัวใจจนถึงแก่ชีวิตได้ ฉะนั้นการเลือกใช้ยาระบายจึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยในการขับถ่าย

ข้อบ่งใช้

รักษาผู้ที่มีภาวะท้องผูก Laxative

การใช้ยาระบาย

กลุ่มของยาระบาย ชื่อยาทางการค้า กลไกการออกฤทธิ์ ข้อควรระวัง
1. กลุ่มยาที่ช่วยเพิ่มปริมาณกากอาหารในลำไส้ (Bulk Formimg laxatives) Ispaghula Husk เป็นสารประเภทกากใยอาหาร สามารถอุ้มน้ำ และเพิ่มมวลอุจจาระ ทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น ยากลุ่มนี้ใช้ได้ผลดีในผู้ที่ท้องผูกเล็กน้อย รวมไปถึงสตรีมีครรภ์ ต้องให้สารเกิดการพองตัวให้เต็มที่ในน้ำก่อนการรับประทาน และควรดื่มน้ำตามอย่างน้อย 1 แก้ว มิ เช่น นั้นอาจเกิดการอุดตันในทางเดินอาหารได้ ไม่เหมาะในเด็กเล็ก ในผู้ที่ท้องผูกรุนแรงมักใช้ไม่ได้ผลและอาจทำให้เกิดอาการเเน่น และอึดอัดท้อง ไม่เหมาะในผู้ป่วยที่หลังผลให้ถ่ายอุจจาระภายใน 24 ชม. เนื่องจากตัวยาออกฤทธิ์ช้า ประมาณ 1-3 วัน
2. กลุ่มยาที่เพิ่มปริมาณน้ำในลำไส้ (Osmotic & Saline laxatives) Polyethylene glycol Lactulose Sorbitol Magnesium Hydroxide Sodium Phosphate เพิ่มปริมาณน้ำในลำไส้ใหญ่และทำให้ลำไส้เกิดการบีบตัว หากใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลต่อระดับอิเล็กโทรไลต์ และปริมาณน้ำในร่างกายได้ โดยเฉพาะผู้ที่ไตทำงานบกพร่อง
3. กลุ่มยาที่กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ (Stimulant laxatives) Bisacodyl Sennosides Senokot (มะขามแขก) กระตุ้นให้ลำไส้บีบตัว โดยออกฤทธิ์ค่อนข้างแรง และเร็ว อาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง รวมถึงอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของลำไส้หากใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน
4. กลุ่มยาระบายชนิดสวน (Enemas) และชนิดเหน็บ (Suppositories) Glycerin Suppository เป็นการสวนยาระบายที่จะทำให้ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายโป่งพองจนเกิดการกระตุ้นภายในลำไส้ ร่วมกับทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มลง ทำให้ขับถ่ายออกมาได้ ออกฤทธิ์เร็วภายใน 15-30 นาที  มักใช้ในผู้ที่หวังผลให้ถ่ายภายในระยะเวลาสั้นๆ ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอาจเกิดจากการสวนที่ไม่ถูกวิธี ทำให้น้ำยาที่ใช้สวนรั่วซึมเข้าสู่ผนังลำไส้ และอาจทำให้เกิดแผลได้ Bisacodyl ชนิดเหน็บ อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุลำไส้ หากใช้ในขนาดสูงจะทำให้เยื่อบุผนังลำไส้ถูกทำลายได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้เป็นประจำ
5. ยาระบายกลุ่มอื่นๆ Prucalopride Lubiprostone ใช้สำหรับรักษาอาการท้องผูกเรื้อรังในรายที่ใช้ยากลุ่มอื่นแล้วไม่ได้ผล
หมายเหตุ : หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วยังเกิดอาการท้องผูก การใช้ยาระบายอาจเป็นตัวช่วยในการรักษาอาการท้องผูกได้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนเริ่มใช้ยาระบาย และควรเริ่มใช้ยาระบายที่ช่วยให้เกิดการขับถ่ายอย่างเป็นธรรมชาติ และปลอดภัยก่อน เช่น กลุ่มที่เพิ่มปริมาณกากอาหารในลำไส้ หรือกลุ่มที่เพิ่มการดูดน้ำเข้ามาในอุจจาระ หรือลำไส้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด