เจ็บท้องคลอด (Labor and Delivery) : อาการแสดง ระยะ

ภาพรวม

เมื่อทารกในครรภ์เติบโตได้ 9 เดือน การเจ็บท้องคลอด (Labor Pain) และการคลอดบุตรก็จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันข้างหน้า แต่บรรดาคุณแม่ตั้งครรภ์มักจะใจจดใจจ่อกับกระบวนการคลอดมากที่สุด

อาการแสดงของการเจ็บท้องคลอด

อาการต่อไปนี้ บอกได้ว่าคุณแม่ตั้งครรภ์กำลังมีอาการเจ็บท้องใกล้คลอด เช่น:
  • มีความดันในมดลูกเพิ่มขึ้น
  • มีพลังงานในร่างกายเปลี่ยนไป
  • มีมูกปนเลือดออกมา
การเจ็บท้องคลอดจริง ๆ มักจะเกิดพร้อมกับการหดตัวตามปกติของมดลูก และจะรู้สึกปวดตามมา

อาการเจ็บเตือนก่อนคลอดจริง

คุณแม่มักมีภาวะมดลูกหดตัวแบบเป็น ๆ หาย ๆ เมื่อตั้งครรภ์ได้ 20 สัปดาห์ ซึ่งเรียกว่า อาการเจ็บเตือนก่อนคลอด (เจ็บท้องก่อนปวดท้องคลอดจริงๆ) ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์จะไม่มีอาการปวดมาก หรืออย่างมากที่สุด ก็แค่รู้สึกเจ็บเล็กน้อยและปวดเป็น ๆ หาย ๆ บางครั้ง อาการเจ็บเตือนก่อนคลอดอาจเกิดจากคุณแม่ทำกิจกรรมเยอะขึ้น หรือมีการเคลื่อนไหวของทารกมากขึ้น หรืออาจเป็นเพราะกระเพาะปัสสาวะเต็มก็ได้ ทั้งนี้ ยังไม่มีใครทราบจริง ๆ ว่า เหตุผลที่แน่นอนของการเกิดอาการเจ็บเตือนก่อนคลอดในช่วงตั้งครรภ์นั้นมาจากอะไร อย่างไรก็ตาม อาการเจ็บเตือนก่อนคลอดนี้ช่วยให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น ช่วยรักษาสุขภาพมดลูกในระหว่างตั้งครรภ์ หรือเตรียมพร้อมมดลูกเพื่อการคลอดบุตรต่อไป

ระยะแรกของอาการเจ็บท้องคลอด

อาการเจ็บท้องคลอดและการคลอดบุตรแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยระยะแรกของอาการเจ็บท้องคลอดประกอบด้วย การเริ่มเจ็บท้องคลอดเนื่องจากปากมดลูกเปิดแล้ว ระยะนี้จะแบ่งออกเป็นอีก 3 ระยะย่อย ได้แก่

อาการเจ็บท้องคลอดระยะเริ่มต้น

โดยปกติแล้ว ระยะนี้จะเป็นระยะเจ็บท้องคลอดที่เกิดนานที่สุดแต่ความเจ็บปวดน้อยที่สุด อาการเจ็บท้องคลอดระยะเริ่มต้นนี้ เรียกอีกอย่างว่า ระยะเจ็บท้องคลอดแฝง โดยในระยะนี้ ปากมดลูกจะบางลงและขยายออก 3-4 ซม. โดยอาการปวดอาจเกิดนานติตด่อกันหลายวัน หลายสัปดาห์ หรืออาจจะแค่เพียงไม่กี่ชั่วโมงสั้น ๆ ก็ได้ ในระยะนี้ การหดตัวของมดลูกแตกต่างกันไป โดยอาจมีตั้งแต่ หดตัวแบบไม่รุนแรง ไปจนถึง หดตัวแบบรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นสม่ำเสมอและเป็นประจำ หรืออาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวก็ได้ อาการอื่น ๆ ในระยะนี้อาจรวมถึง อาการปวดหลัง เป็นตะคริว และมีมูกปนเลือด คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ถือว่าพร้อมที่จะไปโรงพยาบาลได้เมื่อพ้นช่วงเจ็บครรภ์ระยะเริ่มต้นนี้ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ตั้งครรภ์จำนวนมากมักจะเข้าโรงพยาบาลหรือศูนย์คลอดก่อนก็ได้ เมื่ออาการเจ็บครรภ์ระยะเริ่มต้นเริ่มปรากฎ

อาการเจ็บท้องคลอดระยะปากมดลูกขยาย

ระยะต่อมาของอาการเจ็บท้องคลอดระยะแรกเกิดขึ้นเมื่อปากมดลูกขยายจาก 3-4 ซม. เป็น 7 ซม. การหดตัวของมดลูกจะแรงขึ้น และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วม เช่น อาการปวดหลังและมีเลือดออก

อาการเจ็บท้องคลอดระยะเปลี่ยนผ่าน

ระยะนี้จะเป็นระยะที่หนักที่สุดของอาการเจ็บท้องคลอด เพราะมีการหดตัวของมดลูกบ่อยขึ้นและถี่ขึ้น ซึ่งอาการจะแรงขึ้น และจะเกิดขึ้นห่างกันประมาณ 2-3 นาที และโดยเฉลี่ย 60 ถึง 90 วินาที ทั้งนี้ ภาวะปากมดลูกเปิด 3 ซม. จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาช่วงสั้น ๆ

การเจ็บครรภ์ระยะที่ 2

การคลอดบุตร

ในระยะที่ 2 นี้ ปากมดลูกจะขยายเต็มที่ คุณแม่บางรายอาจรู้สึกอยากเบ่งคลอดขึ้นมาทันที หรือหลังจากที่ปากมดลูกขยายตัว แต่สำหรับคุณแม่บางราย ทารกอาจยังอยู่ในอุ้งเชิงกรานระดับสูง ทั้งนี้ อาจต้องใช้เวลาสักพักเพื่อให้ทารกเคลื่อนตัวลงมาพร้อมกับการบีบตัวของมดลูก เพื่อให้ทารกลงมาอยู่ในตำแหน่งที่คุณแม่จะเบ่งออกมาได้ คุณแม่ที่ไม่ได้รับยาแก้ปวดมักจะมีอยากจะเบ่งคลอดเป็นอย่างมาก หรือมีแรงกดจากทวารหนักอย่างมากเช่นกัน เมื่อทารกในกระดูกเชิงกรานเลื่อนลงมาต่ำมากพอที่คุณแม่จะเบ่ง ส่วนคุณแม่ที่ได้รับยาแก้ปวดก็อาจยังรู้สึกเบ่งคลอดได้และอาจรู้สึกมีแรงกดจากทางทวารหนัก แม้จะแรงไม่มากเท่าคุณแม่ที่ไม่ได้รับยาแก้ปวดก็ตาม ทั้งนี้ คุณแม่อาจรู้สึกปวดหรือแสบภายในช่องคลอดเนื่องจากศีรษะของทารกโผล่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ทั้งนี้ ที่สำคัญคือ คุณแม่จะต้องพยายามผ่อนคลายและนั่งพักช่วงที่มดลูกมีการหดตัว ในระยะนี้ หากมีพยาบาลมาช่วยแนะนำการเบ่งคลอดช่วงที่กำลังคลอดก็จะช่วยได้เยอะ

อาการเจ็บครรภ์ระยะที่ 3

การคลอดรก

จากนั้น รกจะถูกขับออกมาหลังจากทารกคลอดแล้ว การหดตัวของมดลูกเพียงเล็กน้อยจะช่วยดึงรกแยกออกจากผนังมดลูกและเคลื่อนตัวลงมาทางช่องคลอด ทั้งนี้ แพทย์จะทำการเย็บแผลฉีกขาดบริเวณฝีเย็บที่เกิดจากการคลอดหรือทำการผ่าตัด (episiotomy) หลังจากการคลอดรกแล้ว

ยาแก้ปวด

ยาแก้ปวดแผนปัจจุบันอาจใช้เป็นทางเลือกเพื่อช่วยจัดการกับความเจ็บปวดและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการคลอดบุตรได้ ยาบางชนิดที่มีในโรงพยาบาลหรือศูนย์คลอดบุตรได้แก่

ยาแก้ปวดในกลุ่มยาเสพติด

ยาแก้ปวดในกลุ่มยาเสพติดมักใช้บรรเทาอาการปวดช่วงที่เจ็บท้องคลอด การใช้งานจะจำกัดเฉพาะในช่วงที่เจ็บท้องคลอดระยะแรกเท่านั้น เนื่องจากมักจะทำให้เกิดการกดประสาทของมารดา ทารกในครรภ์ และทารกแรกที่เกิดมากเกินไป โดยทั่วไปแล้ว ยาแก้ปวดในกลุ่มยาเสพติดจะให้แก่สตรีที่กำลังเจ็บท้องคลอดโดยการฉีดเข้ากล้ามหรือทางหลอดเลือดดำ ศูนย์ทำคลอดบางแห่งให้บริการนี้ด้วยโดยต้องอยู่ภายใต้การควบคุม นั่นหมายความว่า คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถเลือกได้ว่าจะต้องใช้ยาเมื่อไร ยาแก้ปวดในกลุ่มยาเสพติดที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ :
  • มอฟีน
  • เมเพอริดีน
  • เฟนทานิล
  • บิวเทนอล
  • นัลบูไฟน์

 ไนตรัสออกไซด์

ในบางกรณี แพทย์อาจใช้ยาแก้ปวดชนิดสูดพ่นในช่วงเจ็บท้องคลอด ซึ่งแพทย์อาจเลือกใช้ก๊าซไนตรัสออกไซด์ หรือที่มักเรียกว่า ก๊าซหัวเราะ มาใช้บ่อย ๆ โดยก๊าซดังกล่าวสามารถบรรเทาอาการปวดเพียงพอสำหรับบางกรณี โดยให้ใช้เป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงแรกของการเจ็บครรภ์

การระงับความรู้สึกทางไขสันหลังชั้นนอก

การบรรเทาความเจ็บปวดที่ใช้บ่อยที่สุดในช่วงคลอดบุตรคือ การระงับความรู้สึกทางไขสันหลังชั้นนอก หรือที่เรียกภาษาชาวบ้านว่า “การบล็อคหลัง”   ใช้เพื่อให้ยาระงับความรู้สึกช่วงเจ็บท้องคลอดและคลอดบุตร และระหว่างการผ่าตัดคลอด (C-section) การบรรเทาอาการปวดด้วยวิธีนี้เป็นผลมาจากการฉีดยาชาเข้าไปในช่องไขสันหลัง ซึ่งอยู่นอกเยื่อบุไขสันหลัง โดยยาจะไปปิดกั้นการส่งผ่านความรู้สึกเจ็บปวดผ่านเส้นประสาทที่ผ่านบริเวณไขสันหลังชั้นนอกก่อนจะไปยังไขสันหลัง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การบล็อคหลังร่วมกับการเดินยาแก้ปวดที่เป็นตัวยาเดียวกันแต่ใช้ในปริมาณน้อยได้รับความนิยมมาก โดยแพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กแทงเข้าไปในเข็มที่ใช้ฉีดบล็อคหลังก่อนที่จะวางยาชา เมื่อเข็มที่มีขนาดเล็กกว่านี้จะอยู่ในช่องว่างใกล้ไขสันหลังแล้ว แพทย์จะเดินยาชาเฉพาะที่เป็นยาแก้ปวดในกลุ่มยาเสพติดหรือยาชาเฉพาะที่ในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้นเข้าไป การใช้ยาชาแบบผสมนี้จะมีผลต่อการทำงานของประสาทสัมผัสเท่านั้น โดยทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ยังสามารถเดินและเคลื่อนไหวได้ในระหว่างคลอด ทั้งนี้ โดยปกติแล้ว จะใช้เทคนิคนี้ในช่วงแรกของการเจ็บครรภ์

เคล็ดลับของคุณพ่อเมื่อภรรยาเจ็บท้องคลอด

เมื่อภรรยาของคุณอยู่ในช่วงคลอดบุตรและกำลังจะคลอดบุตร สิ่งสำคัญคือต้องให้กำลังใจและเตรียมพร้อม นี่คือสิ่งที่คุณสามารถทำได้:
  • สงบสติอารมณ์:บางครั้งการคลอดลูกอาจเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและตกใจ ผู้เป็นพ่ออาจจะมีภาวะตื่นตระหนก ดังนั้นคุณจึงควรสงบสติอารมณ์ เนื่องจากพฤติกรรมของคุณสามารถส่งผลต่อสภาวะทางอารมณ์ของภรรยาได้
  • การสื่อสาร:รับฟังความต้องการและความชอบของภรรยาคุณ เปิดช่องทางการสื่อสารและให้แน่ใจว่าคุณทั้งคู่เข้าใจตรงกันเกี่ยวกับแผนการคลอดบุตร
  • เตรียมพร้อม:ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีทุกสิ่งที่จำเป็นในการบรรจุและพร้อมที่จะไปโรงพยาบาลหรือศูนย์การคลอดบุตร ซึ่งรวมถึงเอกสารสำคัญ เสื้อผ้า ขนม และของใช้ส่วนตัวอื่นๆ
  • ขับรถอย่างปลอดภัย:หากคุณต้องการขับรถภรรยาไปโรงพยาบาล ก็ควรขับอย่างปลอดภัย ปฏิบัติตามกฎจราจรและระมัดระวังในขณะขับรถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเธอรู้สึกไม่สบายตัว
  • ให้กำลังใจระหว่างคลอด:ในระหว่างคลอด ให้ให้การสนับสนุนทางร่างกายและอารมณ์ มอบความสบายใจด้วยการนวด คำพูดที่ผ่อนคลาย และอะไรก็ตามที่ช่วยให้ภรรยาของคุณรู้สึกสบายใจ
  • ชวนพูดคุยเพื่อดึงดูดความสนใจ:การคลอดลูกอาจเป็นกระบวนการที่ใช้เวลานาน และบางครั้งสิ่งรบกวนสมาธิก็ช่วยได้ นำสิ่งของต่างๆ เช่น เพลง หนังสือ หรือภาพยนตร์มาเพื่อช่วยฆ่าเวลา
  • คิดบวก:เสนอคำพูดให้กำลังใจและคิดบวกตลอดกระบวนการทำงาน เตือนภรรยาของคุณถึงความแข็งแกร่งของเธอและเป้าหมายสุดท้ายในการพบปะกับลูก
  • บันทึกช่วงเวลา:หากเหมาะสมและได้รับอนุญาตจากภรรยาของคุณ ให้บันทึกภาพแรงงานและการคลอดบุตรผ่านรูปถ่ายหรือวิดีโอเพื่อสร้างความทรงจำที่ยั่งยืน
  • รับทราบข้อมูล:หากมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ให้รับทราบถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและถามคำถามหากคุณไม่แน่ใจเกี่ยวกับสิ่งใด ทำความเข้าใจกับการตัดสินใจที่เกิดขึ้นและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
  • เตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง:แผนการคลอดบุตรอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ มีความยืดหยุ่นและปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้
  • ช่วยเหลือด้วยเทคนิคการหายใจ:หากภรรยาของคุณใช้เทคนิคการหายใจระหว่างการคลอดบุตร ให้เตือนเธอและช่วยให้เธอหายใจปกติ
  • อยู่กับปัจจุบัน:ใส่ใจกับสัญญาณและปฏิกิริยาของภรรยาคุณ การมีอยู่และการสนับสนุนของคุณสามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างมาก
  • สร้างความผูกพันกับลูกน้อย:เมื่อทารกเกิดมา ให้มีส่วนร่วมในช่วงแรกของความผูกพัน คุณสามารถช่วยในการสัมผัสเนื้อแนบเนื้อและการดูแลเบื้องต้นอื่นๆ ได้
โปรดจำไว้ว่า ประสบการณ์การคลอดลูกทุกครั้งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการอยู่เคียงข้าง ให้การสนับสนุน และตอบสนองต่อความต้องการและความชอบของภรรยาคุณ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.healthline.com/health/pregnancy/labor-and-delivery
  • https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/labor-and-delivery/in-depth/stages-of-labor/art-20046545
  • https://www.webmd.com/baby/guide/normal-labor-and-delivery-process
  • https://www.medicinenet.com/labor_and_delivery/article.htm

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด