มะเร็งไต (Kidney Cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา 

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
มะเร็งไต
ไต (Kidney) เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายเม็ดถั่วเหลืองขนาดเท่ากำปั้นมือ มี2 ข้างอยู่ด้านหลังใต้กระดูกชายโครงบั้นเอวซ้ายขวาข้างละ1อัน ไตมีหน้าที่ขับของเสียออกจากเลือดและผลิตปัสสาวะ มีมะเร็งหลากหลายรูปแบบที่ส่งผลต่อไต จากข้อมูลการสำรวจของ Mayo Clinic แสดงให้เห็นว่ามีผู้ป่วยมะเร็งไตเพิ่มจำนวนมากขึ้น เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะว่ามีการตรวจด้วยซีทีสแกนมากขึ้นด้วย

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง

สาเหตุที่แน่ชัดของมะเร็งไตนั้นยังไม่แน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งดังต่อไปนี้:
  • การสูบบุหรี่
  • มีภาวะโรคอ้วน
  • มีระดับความดันโลหิตสูง
  • มีโรคทางพันธุกรรม
  • อายุที่มากขึ้น
  • เป็นเพศชาย
  • เป็นโรคไต
  • การสัมผัสสารเคมีบางอย่างในที่ทำงาน
มีโรคทางพันธุกรรมหลายชนิดที่อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดมะเร็งไตได้ เช่น โรควีเอชแอล (Von Hippel-Lindau disease) และโรคพีอาร์ซีซี( Papillary renal cell carcinoma) เป็นต้น 

อาการของโรคมะเร็งไต

มะเร็งไตมักไม่แสสดงอาการใดๆในระยะแรกๆ แต่เมื่อมะเร็งเติบโตมากขึ้นอาการต่างๆดังต่อไปนี้จึงปรากฎมาให้เห็น เช่น:
  • มีอาการปวดหลังโดยเฉพาะข้างลำตัวและอาการปวดนั้นไม่หาย
  • ปัสสาวะมีเลือดปน
  • ปวดท้อง
  • ท้องบวม
  • มีก้อนเนื้อในช่องท้อง
  • เหนื่อยล้า
  • อาการปวดหรือกดเจ็บบริเวณเอว
  • มีไข้สูงกลับไปกลับมา
  • น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ
  • มีภาวะโลหิตจาง

ชนิดของมะเร็งโรคไตมีอะไรบ้าง?

มีโรคมะเร็งมากมายหลายชนิดที่ส่งผลต่อไต ชนิดที่พบเห็นได้บ่อยในผู้ใหญ่คือมะเร็งคาร์ซิโดมาของเนื้อเยื่อไตหรือที่เราเรียกว่ามะเร็งไตแบบ Renal cell carcinoma เป็นมะเร็งที่เริ่มในส่วนตัวกรองเลือดของไต ส่วนแบบ Renal pelvis carcinoma จะเริ่มเป็นในส่วนถุงเก็บปัสสาวะของไต มะเร็งไตในเด็ก หรือวิมส์ทูเมอร์ (Wilms’ tumor)คือมะเร็งไตชนิดที่พบได้ในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า5ปี  มะเร็งไตอาจมีอีกหลายชนิดแต่พบได้ไม่บ่อยนักKidney Cancer

วินิจฉัยโรคมะเร็งไตได้อย่างไร

การวินิจฉัยโรคมะเร็งไตจำเป็นต้องสอบถามประวัติการรักษาร่วมกับการตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจดูการบวมที่หน้าท้องหรือก้อนเนื่้อบริเวณท้อง ในเพศชายแพทย์อาจตรวจหาการขยายและเกิดเส้นเลือดขอดหรือภาวะหลอดเลือดอัณฑะขอดในลูกอัณฑะเพิ่มเติม การตรวจบางอย่างสามารถวินิจฉัยโรคมะเร็งไตได้

การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด

ไตมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนตัวหนึ่งที่เรียกว่าอีริโทรโพอิติน ซึ่งช่วยในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง การตรวจความสมบูรณ์ของเลือดก็สามารถบอกได้หากพบว่ามีจำนวนเม็ดเลือดแดงที่สูงนั่นหมายความว่าอาจบ่งชี้ถึงโรคเลือดข้น และหากว่าพบว่าต่ำอาจหมายถึงโรคโลหิตจาง

การทดสอบทางเคมีในเลือด

การทดสอบทางเคมีในเลือดจะแสดงผลว่าไตยังคงทำงานดีอยู่หรือไม่ มะเร็งไตมักตรวจพบเจอระดับของเคมีบางตัวในเลือด เช่นเอมไซม์ในตับและแคลเซียม

การตรวจปัสสาวะ

แพทย์จะสามารถนำผลการตรวจปัสสาวะมาช่วยในการตัดสินใจโรคได้หากพบว่ามีเลือดอยู่ในปัสสาวะ นั่นอาจเป็นสัญญานของการติดเชื้อ

การอัลตราซาวน์ดูช่องท้องและไต

การตรวจอัลตราซาวน์สามารถรู้ขนาดและรูปร่างของไตได้ ถ้ามีเนื้องอกอยู่ก็จะสามารถเห็นได้

การถ่ายภาพหลอดเลือดของไต

แพทย์จะทำการสอดสายสวนผ่านหลอดเลือดแดงใหญ่ไปยังหลอดเลือดแดงไตผ่านทางหน้าขาหรือขาหนีบ และจะฉีดสารสีย้อมชนิดพิเศษเข้าสู่เส้นเลือด หลังจากฉีดเสร็จแล้วแพทย์จะดูผ่านการเอกซเรย์ในรูปแบบต่างๆเพื่อช่วยให้ในการมองเห็นรายละเอียดของเส้นเลือดที่ไปสู่ไต หากมีเนื้องอกแพทย์ก็จะเห็นเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงในบริเวณนั้นได้

การตรวจไตโดยการฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำ

การตรวจนี้แพทย์จะทำการฉีดสีเข้าทางหลอดเลือดดำด้วยสารย้อมพิเศษ จากนั้นทำการฉายเอกซเรย์ สารย้อมจะเน้นส่วนที่มีการเจริญเติบโตให้เห็นภายในไตได้อย่างชัดเจน เพื่อใช้ในการหาเนื้องอกหรือการอุดตันได้

การตรวจหน้าท้องด้วยเครื่องเอกซเรย์ซีทีสแกน

การสแกนด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ซีทีคือการตรวจร่างกายภายนอกที่ใช้การเอกซเรย์ที่สร้างภาพของอวัยวะในภาคตัดขวาง ทำให้เห็นส่วนต่างๆต่อไปนี้:
  • กระดูก
  • กล้ามเนื้อ
  • ไขมัน
  • อวัยวะต่างๆ
  • เส้นเลือดหลอดเลือด
และยังสามารถตรวจพบหากมะเร็งมีการกระจายตัวไปมากที่บริเวณไต การทดสอบต่อไปนี้สามารถช่วยค้นหาโรคมะเร็งไตที่กระจายตัวไปได้ด้วยเช่นกัน:
  • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าMRIที่บริเวณท้อง
  • การตรวจสแกนกระดูก
  • การเอกซเรย์บริเวณหน้าอก
  • การตรวจสแกนแบบ PET scan คือการถ่ายภาพความเปลี่ยนแปลงทางชีวะเคมีในเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกาย
  • การตรวจซีทีสแกนระบบช่องท้องและทรวงอก

ทางเลือกในการรักษาโรคมะเร็งไต

การรักษาโรคมะเร็งไตหลักจะมุ่งตรงไปที่การนำเอาก้อนเนื้องอกออกจากร่างกาย ซึ่งมักทำด้วยการผ่าตัด ทั้งแบบถอนทั้งหมดหรือแบบประคับประคอง

การผ่าตัดเอาเนื้อไตออกทั้งหมด

เป็นการผ่าตัดแบบเอาเนื้อไตออกทั้้งหมดพร้อมเนื่อเยื่อบริเวณรอบๆและต่อมน้ำเหลือง อาจรวมไปถึงต่อมหมวกไต การผ่าตัดอาจเป็นการผ่าตัดใหญ่หรืออาจผ่าตัดผ่านกล้องด้วยการใช้กล้องเรียวเล็กใส่ในท่อเล็กๆเพื่อเข้าไปส่องดูอวัยวะภายใน

การผ่าตัดไตแบบประคับประคอง

การผ่าตัดไตแบบประคับประคองจะเป็นการผ่าเอาเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้องอก ต่อมหมวกไตและเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆบริเวณออกเท่านั้น ยังคงเก็บส่วนของไตเอาไว้ หรือที่เราเรียกว่าการผ่าตัดแบบตัดเนื้อไตออกบางส่วน เซลล์มะเร็งสามารถฆ่าได้ด้วการแช่แข็งที่เรียกว่าการจี้เย็น (Cryosurgery) คือการทำลายมะเร็งโดยทำให้บริเวณนั้นเย็นจนเป็นน้ำแข็ง หรือด้วยการอาศัยความร้อนจากพลังงานคลื่นวิทยุผ่านเข็มเพื่อไปทำลายก้อนมะเร็ง

มะเร็งไตระยะลุกลามแพร่กระจาย

มะเร็งไตระยะลุกลามจะไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเพียงอย่างเดียวได้ หลังจากผ่าตัดนำเอาส่วนที่มีอาการออกไปให้มากที่สุดเท่าที่จะเอาออกได้แล้วด้วยการผ่าตัด จึงจำเป็นต้องมีการรักษาอย่างอื่นเข้ามาร่วมด้วย เช่น การรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัด การรักษาแบบเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งและการรักษาด้วยรังสี 

การรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัด

การรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันเป็นการรักษาโดยใช้หลักการให้ยาที่สังเคราะห์ขึ้นจากภูมิคุ้มกันของร่างกายเองเป็นตัวช่วยเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นอินเตอร์เฟียรอนและอัลเดสลูกิน(Proleukin) 

การใช้ยารักษาแบบตรงจุด

การรักษาแบบตรงจุดเป็นการใช้ยาไปยับยั้งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ยาที่ใช้ในการรักษาแบบตรงจุดเช่น:
  • Axitinib (Inlyta)
  • Bevacizumab (Avastin)
  • Pazopanib (Votrient)
  • Sorafenib (Nexavar)
  • Sunitinib (Sutent)
เป็นยาในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งไม่ให้เลือดไปเลี้ยงเซลล์มะเร็ง

การติดตามระยะยาว

การเฝ้าติดตามอาการสำหรับผู้ที่เป็นโรคมะเร็งไต การกระจายตัวของมะเร็งจะเร็วจะช้าขึ้นอยู่กับว่าโรคมีการตอบรับตอบสนองต่อการรักษาดีมากน้อยแค่ไหน เฉลี่ยประมาณ65เปอร์เซ็นต์ของโรคมะเร็งไตและมะเร็งกรวยไตเท่านั้นที่สามารถตรวจพบได้ก่อนเกิดการกระจายตัว มะเร็งสามารถกระจายตัวหรือแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของไตได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะกระจายไปยังบริเวณปอด มะเร็งไตในระยะลุกลามมีความยากในการรักษา อาการมะเร็งไตอาจก่อให้เกิดความยุ่งยากอย่างอื่นตามมา เช่น:
  • ระดับความดันโลหิตสูง
  • ระดับแคลเซียมในเลือดสูง
  • เม็ดเลือดแดงผลิตมากเกินไป
  • มีปัญหาเกี่ยวกับตับ
อัตรารอดของผู้ป่วยโรคมะเร็งไตจะมีสูงมากขึ้นหากโรคที่เกิดขึ้นได้รับการรักษาในช่วงระยะแรก ยกตัวอย่าง จากข้อมูลของAmerican Cancer Society รายงานว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งไตมีอัตราการมีชีวิตยืนกว่าเดิมหากได้รับการรักษาโรคในระยะขั้นที่ 1 มากถึง81เปอร์เซ็นต์ แต่ค่าที่ได้เป็นเพียงค่าเฉลี่ยเท่านั้น

การป้องกันโรคมะเร็งไต

การดำเนินชีวิตอย่างมีสุขภาพที่ดีเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งไต ขั้นตอนต่างๆดังต่อไปนี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงได้:
  • ไม่สูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารอย่างสมดุล
  • รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
  • ป้องกันตัวเองจากสารพิษสารเคมีจากที่ทำงาน
  • ควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับเหมาะสม

ภาวะข้างเคียงของโรคมะเร็งไต

มะเร็งไตหรือที่เรียกว่ามะเร็งเซลล์ไต สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ ขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง ตำแหน่งที่เกิดมะเร็ง และสุขภาพโดยรวมของแต่ละบุคคล ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากมะเร็งไต ได้แก่:
  • การแพร่กระจาย : มะเร็งไตสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ปอด กระดูก ตับ และสมอง สิ่งนี้เรียกว่าการแพร่กระจายและอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มเติมในอวัยวะที่ได้รับผลกระทบเหล่านั้น
  • การอุดตัน : เมื่อเนื้องอกในไตโตขึ้น ก็สามารถขัดขวางการไหลเวียนของปัสสาวะตามปกติจากไตที่ได้รับผลกระทบได้ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อในไต และแม้แต่ความเสียหายของไต
  • ภาวะโลหิตจาง : เนื้องอกในไตอาจทำให้เลือดปรากฏในปัสสาวะได้ ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด (เลือดในปัสสาวะ) อาจเป็นอาการถาวรของมะเร็งไต และอาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจางและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
  • ความดันโลหิตสูง : มะเร็งไตบางชนิดสามารถผลิตฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ ความดันโลหิตสูงสามารถนำไปสู่ปัญหาหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และปัญหาสุขภาพอื่นๆ
  • ความผิดปกติของไต : หากเนื้องอกส่งผลต่อการทำงานของไต อาจทำให้การทำงานของไตลดลงหรือไตวายได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลของของเหลวและอิเล็กโทรไลต์ โดยต้องมีการแทรกแซงทางการแพทย์หรือการฟอกไต
  • ความเจ็บปวด : เนื้องอกขนาดใหญ่อาจทำให้เกิดอาการปวดหรือไม่สบายบริเวณช่องท้อง สีข้าง หรือหลังส่วนล่าง สิ่งนี้อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลและอาจต้องใช้กลยุทธ์การจัดการความเจ็บปวด
  • กลุ่มอาการพารานีโอพลาสติก : มะเร็งไตบางชนิดสามารถผลิตฮอร์โมนหรือสารอื่น ๆ ที่นำไปสู่กลุ่มอาการพารานีโอพลาสติกได้ กลุ่มอาการเหล่านี้อาจส่งผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย และทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น น้ำหนักลด มีไข้ เหนื่อยล้า และมีปัญหาทางระบบประสาท
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด : การผ่าตัดเพื่อเอาเนื้องอกในไตออกอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การติดเชื้อ เลือดออก ความเสียหายต่อโครงสร้างบริเวณใกล้เคียง และปัญหาเกี่ยวกับการดมยาสลบ
  • ผลกระทบทางจิตสังคม : การวินิจฉัยโรคมะเร็งไตอาจมีผลกระทบทางอารมณ์และจิตใจต่อบุคคลและครอบครัว การรับมือกับการวินิจฉัย การรักษา และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่อาจเกิดขึ้นอาจเป็นเรื่องท้าทาย
  • การกลับเป็นซ้ำ : แม้หลังการรักษาสำเร็จแล้ว บางครั้งมะเร็งไตก็สามารถกลับเป็นซ้ำได้ การติดตามและติดตามอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจจับสัญญาณของการกลับเป็นซ้ำตั้งแต่เนิ่นๆ
สิ่งสำคัญที่ควรทราบก็คือความก้าวหน้าในการรักษาพยาบาลและการตรวจหาโรคตั้งแต่เนิ่นๆ ได้ปรับปรุงการพยากรณ์โรคของผู้ป่วยมะเร็งไตจำนวนมาก ตัวเลือกการรักษา ได้แก่ การผ่าตัด การรักษาแบบกำหนดเป้าหมาย การบำบัดด้วยภูมิคุ้มกัน และการฉายรังสี ภาวะแทรกซ้อนเฉพาะที่บุคคลอาจเผชิญอาจแตกต่างกันอย่างมาก และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อจัดการและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/kidney-cancer/symptoms-causes/syc-20352664
  • https://www.urologyhealth.org/urology-a-z/k/kidney-cancer
  • https://www.nhs.uk/conditions/kidney-cancer/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด