เรียบเรียงและปรับปรุงข้อมูลทางการแพทย์โดย : พญ. พรรณิภา สุขสมบูรณ์กิจ
คาวาซากิ Kawasaki Disease คือ
คาวาซากิ หรือ (Kawasaki disease) คืออาการของโรคต่อมน้ำเหลืองที่ โรคที่ทำให้เกิดการอักเสบในหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำและเส้นเลือดฝอย ทำให้หลอดเหลือดหัวใจโป่งพอง มีผลต่อต่อมน้ำเหลืองของผู้ป่วยและ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของโรคหัวใจในเด็ก คาวาซากิ (Kawasaki) มักพบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ โรค นี้อาจจะทำให้หัวใจอักเสบ และหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ โรคนี้อาจจะทำให้เกิดการเสียชีวิตเฉียบพลันได้ ในประเทศไทยพบเด็กทีเป็นโรคคาวาซากิคร้ังแรกเมื่อพ.ศ.2519 สาเหตุของโรคคาวาซากิ สาเหตุที่แท้จริงของโรคคาวาซากินั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดการณ์ว่าอาจจะเป็นสาเหตุจากพันธุกรรมและปัจจัยสิ่งแวดล้อมอาจทำให้เกิดคาวาซากินี้ ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสกับจุลินทรีย์บางชนิด ไปกระตุ้นปฏิกริยาทางระบบภูมิคุ้มกันให้ผิดปกติ และโรคนี้มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูกาลที่เฉพาะเจาะจงและมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อเด็กเชื้อสายเอเชียเท่านั้น บางครั้งมือเท้าบวม สาเหตุของมือลอก ร่วมกับอาการบวม เกิดจากไข้คาวาซากิ ดังนั้นผู้ปกครองควรสังเกตุอาการของลูกน้อยโรคคาวาซากิอาการเป็นอย่างไร
โรคคาวาซากิแบ่งเป็นสองระยะคือระยะแรก
ซึ่งอาจจะเป็นได้ถึงสองอาทิตย์ จะมีอาการดังนี้:- ต่อมน้ำเหลืองบวม
- มือบวมเท้าบวม เท้าบวม 2 ข้าง
- ผื่น (skin rash) ขึ้นตามลำตัว เป็นผื่นที่หน้า
- อาการไข้สูงมากกว่าห้าวัน
- ตาแดง
- ปากบวมแดง
- อาการลิ้นสตอร์เบอร์รี่
- ฝ่ามือและฝ่าเท้าสีแดง
- นิ้วมือลอก นิ้วเท้าลอก ผิวหนังลอก ฝ่าเท้าลอก
ระยะที่สอง
หลังจากนั้นอาการจะเริ่มภายในสองสัปดาห์หลังจากมีไข้ ผิวที่มือและเท้าของเด็กอาจเริ่มลอกและหลุดออกเป็นแผ่น เด็กบางคนอาจเป็นโรคข้ออักเสบหรือปวดข้อได้ชั่วคราว และจะมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วยการรักษาโรคคาวาซากิ (Kawasaki disease)
ในเด็กที่เป็นโรคคาวาซากิควรได้รับการรักษาอย่างทันทีเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับหัวใจ
- การรักษาแรกคือการให้ยา อิมมูโนโกลบูลินทางหลอดเลือดดำ สามารถช่วยลดภาวะเส้นเลือดหัวใจโป่งพอง แต่ยานี้อาจจะทำให้เด็กเกิดการ แพ้ยาได้ (drug allergy)
- การให้ยาแอสไพรินลดไข้ ลดอาการปวดบวม
- การให้ยาต้านลิ่มเลือด
- ยากันเลือดแข็งตัว
- ผนังหลอดเลือดหัวใจโป่งพอง
- กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
- การเต้นของหัวใจผิดปกติ
การวินิจฉัยคาวาซากิ
ตอนนี้ยังไม่มีการทดสอบเฉพาะสำหรับโรคคาวาซากิ และโรคคาวาซากิมักมีความคล้ายคลึงกับโรคหลายโรคเช่น- ไข้อีดำอีแดง (Scarlet fever)
- โรคหัด
- การแพ้ยากลุ่มสตีเฟนส์-จอห์นสัน (drug allergy)
- โรคเอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus)
- การรับสารพิษจากปรอท
- โรคข้ออักเสบในเด็ก
- การเอกซเรย์ (X-Ray) ที่หน้าอกเพื่อตรวจอาการเตือนของหัวใจล้มเหลว
- การตรวจเลือด เนื่องจากเด็กที่เป็นคาวาซากิจะมีจำนวนเม็ดเลือดขาวมากกว่าเม็ดเลือดแดง
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อตรวจดูว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือไม่
ภาพรวมของโรคคาวาซากิ
โรคนี้สามารถเกิดกับเด็กทารกได้ เด็กอาจจะมีไข้สูงหลายวันและผิวลอกร่วมด้วย โรคคาวาซากิเป็นโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกายโดยเฉพาะหลอดเลือดและต่อมน้ำเหลือง ส่วนใหญ่จะมีผลกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี แต่มันก็สามารถเกิดได้ในผู้ใหญ่แต่ไม่มากนัก เมื่อพบว่าเกิดอาการควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีคำถามที่พบบ่อย
สาเหตุหลักของโรคคาวาซากิคืออะไร ไม่ ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคคาวาซากิ เนื่องจากทำให้เกิดไข้สูงและต่อมน้ำเหลืองบวม โรคคาวาซากิจึงมีความเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ อาจเกิดขึ้นในเด็กที่มีความบกพร่องทางพันธุกรรมต่อโรค โรคนี้ไม่ติดต่อ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณเป็นโรคคาวาซากิ โรคคาวาซากิเริ่มขึ้นทันที โรคนี้อาจทำให้หลอดเลือดอักเสบหรือบวมทั่วร่างกาย หากไม่ได้รับการรักษา อาการบวมอาจนำไปสู่ความเสียหายของผนังหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ (หลอดเลือดหัวใจ) ส่วนหนึ่งของผนังหลอดเลือดสามารถพองตัวและอ่อนแอได้ โรคคาวาซากิร้ายแรงแค่ไหน โรคคาวาซากิทำให้หลอดเลือดอักเสบและบวม ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนในหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจ (หลอดเลือดแดงโคโรนารี) หากไม่ได้รับการรักษา เด็กประมาณ 1 ใน 4 ที่เป็นโรคคาวาซากิจะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่หัวใจ ซึ่งอาจถึงแก่ชีวิตได้ประมาณ 2 ถึง 3% ของกรณี COVID นำไปสู่โรคคาวาซากิได้หรือไม่ โรคคาวาซากิ (KD) โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบที่รุนแรง – โรคคาวาซากิช็อกซินโดรม (KDSS) – พบได้ยากในผู้ใหญ่ รายงานล่าสุดบางฉบับแสดงให้เห็นว่า COVID-19 เกี่ยวข้องกับการปรากฏตัวของโรคที่คล้ายคาวาซากิ (KLD) โดยเฉพาะในเด็ก ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคคาวาซากิ โรคคาวาซากิส่วนใหญ่เกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เพศ: เด็กผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคคาวาซากิมากกว่าเด็กผู้หญิงเล็กน้อย เชื้อชาติ: โรคคาวาซากิพบได้บ่อยในคนเชื้อสายเอเชียหรือหมู่เกาะแปซิฟิกลิงค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น