โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Ischemic Cardiomyopathy) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดคืออะไร

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Ischemic Cardiomyopathy) เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอซึ่งเป็นผลมาจากภาวะหัวใจล้มเหลวหรือโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดแดงทำหน้าที่นำเลือดไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดภาวะตีบตันส่งผลทำให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้อย่างเพียงพอจึงทำให้เกิดความเสียหายขึ้น ถ้าหากคุณมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่หัวใจห้องล่างซ้าย หัวใจของคุณจะพองโตขึ้นและเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนเเรงส่งผลทำให้หัวใจไม่สามารถปั๊มเลือดได้และทำให้เกิดหัวใจวายได้ แพทย์จะทำการวางแผนการรักษาโรคด้วยการพิจารณาถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับหัวใจและความสามารถในการทำงานของหัวใจในขณะพยายามรักษาอาการต่างๆของภาวะหัวใจขาดเลือดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่นๆของโรคและช่วยทำให้การทำงานของหลอดเลือดหัวใจดีขึ้นรวมถึงรักษาอาการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้แพทย์ยังแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต ทานยาหรือเข้ารับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆเช่นกัน การดูแลสุขภาพช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนและลดโอกาสการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเบื้องต้นได้   Ischemic Cardiomyopathy

อาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมีอะไรบ้าง 

เป็นไปได้ว่าโรคที่เกี่ยวกับหัวใจไม่มีอาการใดเกิดขึ้นในระยะแรก แต่ถ้าหากเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเนื่องจากโรคหลอดเลือดหัวใจ คุณอาจเคยมีอาการดังต่อไปนี้เกิดขึ้นได้แก่
  • เหนื่อยมาก
  • หายใจสั้น
  • วิงเวียนศีรษะหรือเป็นลม 
  • เจ็บหน้าอกและมีความดันเกิดขึ้นซึ่งเรียกว่าอาการปวดเค้นในหน้าอก
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • ขาและเท้าบวมซึ่งเรียกว่าอาการบวมน้ำ
  • ท้องบวม
  • ไอเรื้อรังเนื่องจากมีของเหลวคั่งอยู่ในปอด
  • นอนหลับยาก
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น
หากคุณมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นความไปพบแพทย์ทันที

สาเหตุของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

โดยปกติภาวะหัวใจขาดเลือดเกิดจากภาวะหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดหัวใจ สำหรับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆได้แก่ โดยส่วนใหญ่โรคหลอดเลือดหัวใจมักเกิดขึ้นกับผู้ชาย แต่ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนก็สามารถเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน เนื่องจากมีช่วงวัยที่ใกล้เคียงกัน ถ้าหากคุณเป็นผู้หญิงมีอายุมากกว่า 35 ปีที่ทานยาคุมกำเนิดและสูบบุหรี่ คุณมีความเสี่ยงเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดสูง

วิธีรักษาโรคหัวใจขาดเลือดทำอย่างไรบ้าง

แพทย์จำเป็นต้องระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดก่อนเพื่อวางแผนการรักษา ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ดังนั้นแพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาที่ผสมผสานกันได้แก่
  • เปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิต
  • การใช้ยารักษา
  • การผ่าตัดหรือการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ

การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต

สำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน สามารถทำได้ด้วยการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีไขมันต่ำรวมถึงมีคอลเลสตอรอลและโซเดียมต่ำด้วย นอกจากนี้คุณควรได้รับคำแนะนำในการออกกำลังกายที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อสุขภาพ ถ้าคุณเป็นคนที่สูบบุหรี่แพทย์จะแนะนำให้คุณเลิกสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการใช้ยาและลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลให้น้อยลง  ทั้งนี้ไม่ควรเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าวในระยะสั้น ควรปรับเปลี่ยนให้เป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัตเป็นประจำในระยะยาว

การใช้ยา

แพทย์จะให้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนรวมถึงช่วยปรับปรุงการทำงานของหัวใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการที่เป็นสาเหตุของภาวะขาดเลือดได้แก่
  • ยาเบต้าบล็อกเกอร์เป็นยาที่ใช้ช่วยลดความดันเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจ
  • ยาปิดกั้นแคลเซียมนำมาใช้เพื่อขยายหลอดเลือดและลดความดันเลือด 
  • ยากลุ่ม  aldosterone inhibitor เป็นยาที่ใช้ลดควาดันและขับของเหลวส่วนเกินออกจากร่างกายเพื่อช่วยบรรเทาอาการบวมเเละหายใจสั้น
  •  ยาขับปัสสาวะชนิดอื่น เพื่อขับของเหลวส่วนเกินและลดความดันเลือดรวมถึงลดอัตราการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจให้เป็นปกติ
  • ยาชนิดอื่นๆที่ช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ
  • ยาเจือจางเลือด
  • ยาที่ใช้ลดภาวะคอลเลสเตอรอลสูง

การผ่าตัดและวิธีการรักษาประเภทอื่นๆ

แพทย์อาจเเนะนำให้วิธีการผ่าตัดหรือการรักษาวิธีอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการรักษาหลอดเลือดหัวใจหรือส่วนอื่นของหัวใจ เช่นวิธีดังต่อไปนี้
  • การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เครื่องกระตุ้นหัวใจหรือใช้อุปกรณ์ดังกล่าวทั้งสองอย่างเพื่อกระตุ้นการทำงานของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • การใช้สายสวนพร้อมกับอุปกรณ์ตัดหมุนเพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในหลอดเลือด 
  • การทำบอลลูนหัวใจเพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดภายในเส้นเลือดที่เกิดการตีบตัน
  • การผ่าตัดใส่ขดลวดตาข่าย เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อทำให้หลอดเลือดหัวใจเปิดอยู่ตลอดเวลา
  • การฉายแสงบำบัดหลังจากใส่ลวดตาข่ายที่หลอดเลือดหัวใจ เป็นการป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบไม่ให้เกิดขึ้นอีกครั้ง 
ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดอย่างรุนเเรงมาก แพทย์อาจแนะนำให้ใช้การรักษาด้วยการผ่าตัดบายพาสเส้นเลือดหัวใจ ในระหว่างการผ่าตัดเปิดทรวงอก ศัลยแพทย์จะพยายามรักษาหลอดเลือดส่วนที่มีสุขภาพดีไว้แล้วนำไปต่อเข้ากับหลอดเลือดที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงหัวใจเพื่อทำการซ่อมแซมหลอดเลือด การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจนี้ทำให้เลือดไหลเบี่ยงออกจากหลอดเลือดที่เกิดการตีบตันไปยังหลอดเลือดเส้นใหม่และไหลต่อไปยังหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจหรือหลอดเลือดโคโรนารี ถ้าหากหัวใจได้รับความเสียหายมากเกินไปจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ คุณจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ

แนวทางโภชนาการสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

จำกัด ผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อสัตว์ และไข่ เนื่องจากเป็นแหล่งหลักของไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอล การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลต่ำอาจช่วยลดการลุกลามของหลอดเลือดได้ National Cholesterol Education Program (NCEP) แนะนำให้ลดไขมันทั้งหมดในระดับปานกลาง (30% ของแคลอรี่) ไขมันอิ่มตัว (≤7% ของพลังงาน) และคอเลสเตอรอล (< 200 มก./วัน) เพิ่มกากใยอาหาร เส้นใยที่ละลายน้ำได้ที่พบในข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ และถั่ว มีผลอย่างมากในการปกป้องหัวใจ ผักและผลไม้ยังเป็นแหล่งที่ดีของไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้และเพคติน ซึ่งช่วยลดการลุกลามของหลอดเลือด ใช้ถั่วเหลืองและพืชตระกูลถั่วอื่นๆ ทั้งการศึกษาทางระบาดวิทยาและทางการแพทย์ แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง (เช่น นมถั่วเหลืองและเนื้อสัตว์ทดแทน) สามารถลดความเสี่ยงของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ นอกจากการลดไขมันในเลือดแล้ว ถั่วเหลืองยังมีฤทธิ์ปกป้องหัวใจ เช่น ลด LDL ที่ถูกออกซิไดซ์ และลดความดันโลหิต พืชตระกูลถั่วอื่นๆ ยังลดคอเลสเตอรอลรวมและ LDL ในการศึกษาแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม เพิ่มผักและผลไม้ ผักและผลไม้สามารถช่วยลดหลอดเลือดและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากอาหารมีไขมันอิ่มตัวต่ำ อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของอาหารเหล่านี้จะลดลงหากอาหารปราศจากคอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัวต่ำมาก และมีไฟเบอร์สูง สารออกฤทธิ์ที่พบในผักและผลไม้ชนิดนี้ ได้แก่ วิตามินซี สารต้านอนุมูลอิสระฟลาโวนอยด์ และกรดโฟลิก ลดเกลือลง  เกลือในปริมาณมากเกินไปไม่ดีต่อความดันโลหิต ให้ใช้สมุนไพร เครื่องเทศ หรือเครื่องปรุงเพื่อเพิ่มรสชาติอาหารแทน ดื่มน้ำให้เพียงพอ. การให้ความชุ่มชื้นอยู่เสมอจะช่วยให้คุณรู้สึกกระปรี้กระเปร่ามากขึ้นและรับประทานอาหารได้น้อยลง แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ 32 ถึง 64 ออนซ์ (ประมาณ 1 ถึง 2 ลิตร) ต่อวัน แต่หากต้องการทราบปริมาณที่แน่นอน ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อปกป้องสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดโดยทั่วไปและตรวจหาสัญญาณเริ่มต้นของโรคหัวใจและหลอดเลือด  

บทสรุปเกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

เมื่อเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดขึ้นควรทำการรักษาเนื่องจากหากปล่อยให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดและไม่ทำการรักษาอาจทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันและหัวใจล้มเหลวจนกระทั่งเสียงชีวิตได้ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรรักษาอาการที่เกิดขึ้นจากภาวะหัวใจขาดเลือดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน การรักษาในระยะยาวขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพดังต่อไปนี้
  • หัวใจของคุณเสียหายไปเท่าไหร่
  • ประสิทธิที่เป็นผลลัพธ์จากการรักษาของคุณ
  • วิธีการใช้ชีวิต
คุณมีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากขึ้น ถ้าหาก
  • มีวิธีการใช้ชีวิตที่มีความเสี่ยงสูงเช่นสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอลมากเกินกว่าปกติ
  • ขาดการทานยาอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่ไปพบแพทย์ตามนัดหมาย 
  • เกิดการติดเชื้อ
  • มีปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ
ควรสอบถามแพทย์เกี่ยวกับข้อมูลเกี่ยวกับอาการและแผนการรักษาของคุณ

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17145-ischemic-cardiomyopathy
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK537301/

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด