ธาตุเหล็กคืออะไร
ธาตุเหล็ก คือ แร่ธาตุที่ให้ฮีโมโกลบินทำงานได้เป็นปกติ นอกจากนี้ ธาตุเหล็กยังมีบทบาทต่อกระบวนการสำคัญอื่น ๆ ของร่างกาย การขาดธาตุเหล็กในเลือดสามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รันแรงได้ เช่น โรคโลหิตจางที่ขาดธาตุเหล็กปริมาณที่แนะนำให้รับประทาน
ปริมาณธาตุเหล็กที่แต่ละคนต้องได้รับต่อวัน ผู้ที่รับประทานอาหารเจก็ต้องการธาตุเหล้กในปริมาณที่แตกต่างไปเหมือนกัน ทารก:- 0 ถึง 6 เดือน: 0.27 มิลลิกรัม
- 7 ถึง 12 เดือน: 11 มิลลิกรัม
- 1 ถึง 3 ปี: 7 มิลลิกรัม
- 4 ถึง 8 ปี: 10 มิลลิกรัม
- 9 ถึง 13 ปี: 8 มิลลิกรัม
- 14 ถึง 18 ปี: 11 มิลลิกรัม
- 19 ปี และแก่กว่า: 8 มิลลิกรัม
- 9 ถึง 13 ปี: 8 มิลลิกรัม
- 14 ถึง 18 ปี: 15 มิลลิกรัม
- 19 ถึง 50 ปี: 18 มิลลิกรัม
- 51 ปี และแก่กว่า: 8 มิลลิกรัม
- ระหว่างตั้งครรภ์: 27 มิลลิกรัม
- ระหว่างให้นมบุตร 14 และ 18 ปี: 10 มิลลิกรัม
- ระหว่างให้นมบุตรที่แก่กว่า 19 ปี: 9 มิลลิกรัม
ประโยชน์ของธาตุเหล็ก
ธาตุเหล็กมีส่วนช่วยในการทำงานสำคัญต่าง ๆ ในร่างกาย รวมไปถึงพลังงานทั่วไป การจดจ่อ ระบบทางเดินอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน และการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ประโยชน์ของธาตุเหล็กมักไม่ถูกทราบจนกว่าคน ๆ นั้นจะขาด โรคโลหิตจางที่ขาดธาตุเหล็กมีกทำให้เกิดการอ่อนล้า ใจสั่น ผิวซีด และหายใจหอบวิตามินเสริมธาตุเหล็กกับสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์
ปริมาณเลือดและการสร้างเซลลืเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นในระหว่างที่ตั้งครรภ์เพื่องใช้เลี้ยงตัวอ่อนด้วยออกซิเจนและสารอาหาร ผลลัพท์ที่ได้ ความต้องการธาตุเหล็กของร่างกายเพิ่มขึ้น ในขณะที่ร่างกายจะดูดซับธาตุเหล็กมากขึ้น การรับประทานธาตุเหล็กไม่เพียงพอทำให้เกิดอาการขาดธาตุเหล็ก การได้รับธาตุเหล็กต่ำระหว่างตั้งครรภ์จะทำให้ความเสี่ยงของการตลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้นและทารกมีน้ำหนักตัวน้อย เมื่อมีธาตุเหล็กต่ำ และพร่องการเรียนรู้หรือการพัฒนาพฤติกรรมในทารก หญิงตั้งครรภ์ที่มีธาตุเหล็กต่ำอาจมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อเพราะธาตุเหล็กมีหน้าที่สนับสนุนระบบภูมิคุ้มกัน ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และขาดธาตุเหล็กจำเป็นต้องรับประทานยาธาตุเหล็ก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการวิจัยเกี่ยวกับการแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์รับปะทานอาหารเสริมธาตุเหล็กถึงแม้ว่าจะมีธาตุเหล็กปกติก็ตาม ควรจะรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก 30 ถึง 60 มิลลิกรัมทุกวันในช่วงที่ตั้งครรภ์พลังงาน
การขาดธาตุเหล็กส่งผลต่อประสิทธิภาพที่ร่างกายใช้พลังงาน ธาตุเหล็กลำเลียงออกซิเจนไปสู่กล้ามเนื้อและสมองซึ่งสำคัญต่อการทำงานของร่างกายและจิตใจ การมีธาตุเหล็กต่ำทำให้ไม่มีสมาธิ หงุดหงิดมากขึ้น และลดความแข็งแกร่งประสิทธิภาพการออกกำลังกายดีขึ้น
การขาดธาตุเหล้กพบได้มากในหมู่นักกีฬา โดยเฉพาะนักกีฬาผู้หญิงที่อายุยังน้อย การขาดธาตุเหล็กในนักกีฬาทำให้ประสิทธิภาพการออกกำลังกายลดลงและระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง การขาดฮีโมโกลบินจะไปลดประสิทธิภาพเมื่อร่างกายต้องใช้แรง เพราะร่างกายขาดความสามารถที่จะส่งออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อต่าง ๆ อาหารที่มีธาตุเหล็ก ลำไส้ของเราไม่สามารถดูดซึมธาตุเหล็กในปริมาณมาก ๆ ได้ ซึ่งทำให้โอกาสที่จะขาดธาตุเหล็กนั้นเพิ่มมากขึ้น ประสิทธิภาพของการดูดซึมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้:- ที่มาของธาตุเหล็ก
- สารอาหารอื่นในอาหาร
- สุขภาพของระบบทางเดินอาหาร
- การใช้ยาหรืออาหารเสริม
- สถานะของธาตุเหล็กในร่างกาย
- ตัวส่งเสริมธาตุเหล็ก เช่น วิตามินซี
- หอยลายกระป๋อง
- ข้าวโอ๊ต
- ถั่วขาว
- ดาร์คช็อคโกแลต (45-69 % ของโกโก้)
- หอยนางรม
- ผักโขมสุก
- ตับวัว
- ถั่วต้ม
- เต้าหู้แข็ง
- ถั่วลูกไก่ต้ม
- มะเขือเทศกระป๋อง
- เนื้อบด
- มันฝรั่งอบ
- ถั่วอบ
ความเสี่ยง
ในผู้ใหญ่ ปริมาณอาหารเสริมธาตุเหล็กที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 60 ถึง 120 มิลลิกรัมต่อวัน ปริมาณเหล่านี้เป็นปริมาณที่ใช้สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ขาดธาตุเหล็กรุนแรง ท้องไส้ปั่นป่วนเป็นข้างเคียงหนึ่งของการรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก การรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็กมากกว่า 20 มิลลิกรัมอาจทำให้เกิดการคลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่รับประทานพร้อมมื้ออาหาร ในกรณีที่รุนแรง การรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็กมากไปอาจทำให้อวัยวะล้มเหลว มีเลือดออกภายใน โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ อาหารเสริมธาตุเหล็กสามารถไปลดประสิทธิภาพของยาหลายชนิด รวมไปถึง levodopa ซึ่งใช้สำหรับรักษาโรคขาอยู่ไม่สุข และโรคพาร์กินสัน และ Levothyroxine ที่ใช้รักษาไทรอยด์ต่ำ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ก่อนที่จะรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก การรับประทานธาตุเหล็กมากไปอาจเป็นอันตราย และการรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็กก็จะไม่ถูกแนะนำให้ใช้จนกว่าถูกวินิจฉัยว่าขาดธาตุเหล็กหรือมีโอกาสขาดธาตุเหล็กเมื่อเด็กขาดธาตุเหล็ก
เหล็กเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย โดยเฉพาะในวัยเด็ก เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนในเลือด เมื่อเด็กขาดธาตุเหล็กเพียงพอ อาจนำไปสู่ภาวะที่เรียกว่าโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก การขาดธาตุเหล็กอาจส่งผลหลายอย่างต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก:- ความเหนื่อยล้าและความอ่อนแอ:
-
-
- การขาดธาตุเหล็กอาจส่งผลให้การขนส่งออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อของร่างกายลดลง นำไปสู่ความเหนื่อยล้า อ่อนแรง และลดระดับพลังงาน
-
- การพัฒนาทางปัญญาบกพร่อง:
-
-
- ธาตุเหล็กที่ไม่เพียงพออาจส่งผลต่อการทำงานของการรับรู้และนำไปสู่พัฒนาการล่าช้า ปัญหาการเรียนรู้ และลดผลการเรียน
-
- ปัญหาด้านพฤติกรรม:
-
-
- การขาดธาตุเหล็กมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาด้านพฤติกรรม เช่น ความหงุดหงิด สมาธิสั้น และเพิ่มโอกาสที่จะเกิดอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคสมาธิสั้น (ADHD)
-
- การเจริญเติบโตและการพัฒนาล่าช้า:
-
-
- ธาตุเหล็กเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสม เด็กที่ขาดธาตุเหล็กอาจมีพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาล่าช้า
-
- ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ:
-
-
- ธาตุเหล็กมีบทบาทในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การขาดธาตุเหล็กอาจทำให้ความสามารถของเด็กในการต่อสู้กับการติดเชื้อลดลง ส่งผลให้เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยมากขึ้น
-
- ผิวและเยื่อบุตาซีด:
-
-
- สัญญาณที่มองเห็นได้ของโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กคือความซีดของผิวหนังและเยื่อบุชั้นในของเปลือกตา (เยื่อบุตา)
-
- เล็บเปราะและผมร่วง:
-
-
- ธาตุเหล็กที่ไม่เพียงพออาจทำให้เล็บเปราะและในบางกรณีก็ทำให้ผมร่วงได้
-
- โรคขาอยู่ไม่สุข:
-
- การขาดธาตุเหล็กเชื่อมโยงกับโรคขาอยู่ไม่สุข ซึ่งเป็นภาวะที่ขารู้สึกไม่สบายและมีความอยากขยับขาอย่างไม่อาจต้านทานได้
นี่คือที่มาในบทความของเรา
- https://www.webmd.com/vitamins-and-supplements/features/iron-supplements
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3999603/
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น