ระดับเชาวน์ปัญญา หรือ IQ หรือ Intelligence Quotient เป็นดัชนีบ่งชี้ความสามารถทางปัญญาของบุคคล สามารถนำมาเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นในช่วงอายุเดียวกัน รวมทั้งใช้พิจารณากระบวนการทางความคิด วิธีการทำงาน ความผิดปกติ หรือความสามารถที่เด่นชัดจากการทำงานของสมอง และช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยติดตามอาการที่เกี่ยวก้องกับพัฒนาการทางความคิด และจิตเวช เช่น ปัญหาพัฒนาการทางร่างกาย พูดได้ช้า ออทิสติก ปัญหาทางการเรียน สมาธิสั้น เป็นต้น
พัฒนาการทาง IQ
IQ เป็นสิ่งที่จำเพาะของแต่ละบุคคล มีติดตัวกันมาตั้งแต่เกิด และจะเริ่มพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนสมบูรณ์ตามอายุ และการเรียนรู้ IQ ของแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไป ขึ้นกับองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่- พันธุ์กรรม พันธุ์กรรมคือสิ่งที่ได้รับถ่ายทอดสืบต่อมาจากบรรพบุรุษ โดยทั่วไปมนุษย์จะมี IQ ดีหรือไม่ดีขึ้นกับพันธุกรรมถึง 80% องค์ประกอบอื่น ๆ 20%
- สมอง และระบบประสาท ความสมบูรณ์ในการทำงานของสมอง และระบบประสาท หากสมองผิดปกติก็อาจมีผลต่อการเสื่อมของไอคิวที่มาก่อนเวลาอันสมควร ตัวอย่างเช่น กรณีการพบเนื้องอกในสมอง เป็นลมชัก สมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง
- สภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมคือตัวกระตุ้น และส่งเสริมให้บุคคลคนนั้นได้เรียนรู้ และพัฒนา เช่น พ่อแม่ที่คอยเอาใจใส่ดูแล และพูดคุยกับลูก ส่งเสริมให้ลูกได้เรียนอย่างดี และช่วยสร้างเชาวน์ปัญญาที่ดีได้ การมอบความรักที่อบอุ่น การยอมรับ สนับสนุน เลี้ยงดูอย่างมีเหตุมีผล นั้นส่งผลต่อสุขภาพจิต และมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของไอคิว
- เมื่อเด็ก ๆ ที่กำลังมีพัฒนาการได้รับการตอบสนองขั้นพื้นฐานที่ดี พวกเขาก็พร้อมในการสร้างพัฒนาการความสามารถขึ้นมาอย่างเต็มที่ การที่ผู้ปกครองเลี้ยงเด็กแบบถนุถนอมมากเกินไปก็อาจทำให้พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเด็กลดลงได้ การให้เด็ก ๆ ได้อ่านหนังสือดี ๆ ที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ดี รวมถึงการออกเดินทาง ท่องเที่ยว ตามสถานที่ที่น่าสนใจ ก็จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางไอคิวในด้านต่าง ๆ ได้ ส่งเสริมให้เด็กรู้จักคิด วิเคราะห์ สังเกต และแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
- อายุ ระดับอายุควรสอดคล้องกับพัฒนาการของ IQ โดยทั่วไปพัฒนาการจะเกิดขึ้นเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีอายุประมาณ 15 – 25 ปี เชาวน์ปัญญาที่พัฒนาถึงขั้นสูงสุดอาจค่อย ๆ เสื่อมลงตามวัยได้ แต่จะมีลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป จนบางคนอาจแทบสังเกตไม่ได้ การเสื่อมของ IQ ในแต่ละด้าน แต่ละบุคคลนั้นจะมีความเร็ว ช้าไม่เท่ากัน
- เพศ เพศชายมักมีความสามารถทางการคำนวณมากกว่า มักมีความถนัดในงานด้านกลไก การกระทำที่ใช้ไหวพริบ และความรวดเร็วได้ดีกว่าผู้หญิง เพศหญิงก็มักมีความสามารถในการใช้มือ งานที่ต้องใช้สมาธิ และฝีมือ งานที่มีรายละเอียด ความสามารถทางภาษา และความจำที่ดีกว่า
- เชื้อชาติ พบว่าเด็กที่มีหลายเชื้อชาติมักมีเชาวน์ปัญญาสูงกว่าเด็กที่ไม่มีการผสมระหว่างเชื้อชาติ
ระดับเชาวน์ปัญญา และไอคิว
การจัดระดับเชาวน์ปัญญา คือ การแสดงผลเปรียบเทียบให้รู้ว่าบุคคลคนหนึ่งมีความสามารถในเกณฑ์เฉลี่ยปกติ สูงกว่า หรือต่ำกว่า เมื่อเทียบกับผู้ที่มีอายุใกล้เคียงกัน ระดับเชาวน์ปัญญาคือคะแนนจากแบบทดสอบทางเชาวน์ปัญญา ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดเพื่อให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของผู้รับการทดสอบ อาจเป็นแบบทดสอบความสามารถพิเศษเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง และความสามารถทั่ว ๆ ไปรวมกัน ผลการทดสอบมักให้คะแนนเป็นตัวเลข เช่น ไอคิวหรือคะแนนที่บ่งบอกถึงระดับความสามารถ อย่างเกรด และอายุสมอง ขึ้นกับวิธีคำนวณของแบบทดสอบที่ใช้ทดสอบ ส่วนไอคิว เป็นตัวเลขที่ได้จากการทดสอบทางเชาวน์ปัญญาเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยของผู้ที่มีอายุ เพศ หรือปัจจัยอื่น ๆ ใกล้เคียงกับผู้ทดสอบ กล่าวคือการคำนวณค่าไอคิวนั้นได้จากการทำแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา ฉะนั้นไอคิวคือเครื่องแสดงให้ทราบว่าบุคคลนั้นมีระดับเชาวน์ปัญญาเป็นอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน เชาวน์ปัญญาของมนุษย์จะเพิ่มขึ้นตามวัย ทั้งในด้านของคุณภาพ และสอดคล้องกับโอกาสในการเรียนรู้ ทำกิจกรรม และโอกาสในการแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ อย่างไรก็ตามในระหว่างที่ทำการทดสอบต้องมีการควบคุมตัวแปรอย่างเหมาะสม เพราะจะทำให้ผลการทดสอบเชาวน์ปัญญา หรือค่าไอคิวคลาดเคลื่อน หรือไม่คงที่ได้ ตัวแปรที่ดีต้องไม่ทำให้ผู้เข้ารับการทดสอบรู้สึกเครียด หรือเจ็บป่วยทางกาย ภาวะการขาดแรงจูงใจหรือสมาธิในการทดสอบนั่นเอง เชาวน์ปัญญาคือสิ่งที่สามารถกระตุ้น ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาได้ หากผู้ปกครองเข้าใจเด็ก และคอยกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเด็กอย่างสม่ำเสมอ ถูกต้อง และเหมาะสมก็จะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีเชาวน์ปัญญาที่มีศักยภาพอย่างเต็มที่เหตุผลที่ควรทำการทดสอบ IQ
บางครั้งผู้ปกครองอาจแสดงความสนใจที่จะทดสอบไอคิวของบุตรหลาน เมื่อสังเกตพบทักษะบางอย่างที่แสดงว่าเด็กมีสติปัญญาสูง หรือต่ำผิดปกติได้ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการให้ความสนใจต่อการพัฒนาทางเชาวน์ปัญหาของเด็ก ยิ่งเร็วเท่าใดก็ยิ่งมีโอกาสส่งเสริม กระตุ้น และฝึกให้เกิดพัฒนาได้เร็วขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ทราบถึงปัญหาเฉพาะของเด็ก ๆ ได้แก่- ความแปลกแยกทางสังคม
- การขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
- ข้อจำกัดในการตัดสินใจ และการเข้าสังคม
- มุ่งเน้นส่งเสริมทักษะได้อย่างเหมาะสม
- ส่งเสริมวิชาการที่สอดคล้องกับความสามารถของเด็กได้ดี
- ในทางกลับกันก็จะช่วยลดความล่าช้า หรือข้อบกพร่องทางพัฒนาการได้ ยิ่งรักษา และฝึกฝนได้ทัน เด็ก ๆ ก็จะยิ่งมีโอกาสใช้ชีวิตได้ปกติมากขึ้น
ข้อควรรู้เกี่ยวกับ IQ
IQ หรือ Intelligence Quotient คือการวัดความสามารถทางปัญญา และไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงระหว่าง IQ กับความถี่ที่ผู้อื่นถามคำถาม ผู้ที่มีระดับไอคิวต่างกันอาจมีพฤติกรรมอยากรู้อยากเห็นและอยากรู้อยากเห็นด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันต่อไปนี้เป็นจุดที่ควรพิจารณา:
- ความอยากรู้อยากเห็นและความฉลาด:
-
-
- แม้ว่าความฉลาดจะทำให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นได้ แต่ทั้งสองก็ไม่มีความหมายเหมือนกัน บุคคลที่มีความฉลาดสูงบางคนอาจอยากรู้อยากเห็นโดยธรรมชาติและถามคำถามมากมาย ในขณะที่คนอื่นๆ อาจแสดงความฉลาดในรูปแบบที่แตกต่างกัน
-
- รูปแบบการสื่อสาร:
-
-
- พฤติกรรมการตั้งคำถามยังอาจเกี่ยวข้องกับรูปแบบการสื่อสารและทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมากกว่าความฉลาดเพียงอย่างเดียว โดยธรรมชาติแล้วบางคนใช้คำถามเพื่อมีส่วนร่วมในการสนทนา ค้นหาข้อมูล หรือแสดงความสนใจ
-
- ปัจจัยทางวัฒนธรรมและสังคม:
-
-
- ปัจจัยทางวัฒนธรรมและสังคมมีบทบาทสำคัญในการกำหนดรูปแบบการสื่อสาร ในบางวัฒนธรรม การถามคำถามอาจเป็นเรื่องปกติและได้รับการสนับสนุนมากกว่า ในขณะที่ในบางวัฒนธรรมอาจถือว่าเป็นเรื่องปกติน้อยกว่า
-
- ปฐมนิเทศการเรียนรู้:
-
-
- คนที่ถามคำถามบ่อยๆ อาจมีแนวทางการเรียนรู้ที่เข้มแข็ง พวกเขาอาจได้รับแรงบันดาลใจจากความปรารถนาที่จะเข้าใจ สำรวจ และได้รับความรู้ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับความอยากรู้อยากเห็นทางปัญญา
-
- ลักษณะบุคลิกภาพ:
-
- ลักษณะบุคลิกภาพ เช่น การเปิดกว้างต่อประสบการณ์ สามารถมีอิทธิพลต่อแนวโน้มที่ใครบางคนจะถามคำถาม บุคคลที่มีความเปิดกว้างในระดับสูงอาจมีแนวโน้มที่จะค้นหาข้อมูลและแนวคิดใหม่ๆ มากกว่า
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.verywellmind.com/how-are-scores-on-iq-tests-calculated-2795584
- https://www.healthline.com/health/iq-testing
- https://www.mensa.org.uk/iq-tests
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น