โรคลำไส้กลืนกัน (Intussusception) คือ สาเหตุของลำไส้อุดตันที่พบบ่อยในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี และทำให้ปวดมาก เกิดจากส่วนของลำไส้มุดเข้าไปในลำไส้ส่วนที่อยู่ล่างลงไป
ลำไส้กลืนกันเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ แต่รักษาได้ทั้งวิธีศัลยกรรมและไม่ศัลยกรรม เมื่อเด็กเติบโตขึ้น ความเสี่ยงที่จะเกิดลำไส้กลืนกันก็จะน้อยลง
ลำไส้กลืนกันคืออะไร
ลำไส้กลืนกัน เกิดเมื่อลำไส้ส่วนต้นเคลื่อนตัวมุดเข้าไปในโพรงลำไส้ส่วนที่อยู่ถัดไปทางด้านปลาย มักเกิดบริเวณที่ลำไส้เล็กเชื่อมต่อกับลำไส้ใหญ่
อาหารและของเหลวจะผ่านลำไส้ไปได้ยาก ทำให้เลือดไปเลี้ยงลำไส้บริเวณนั้นน้อยลง ทำให้เกิด
-
ผนังลำไส้ฉีกขาด
-
การติดเชื้อ
-
อาจเกิดเนื้อตาย
อาการระยะแรกของลำไส้กลืนกัน
อาการนั้นจะเกิดอย่างเฉียบพลันทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ คือ มีอาการปวดท้องและอาจมีอาการอื่นด้วย แต่ในเด็กโต และผู้ใหญ่มักมีเพียงอาการปวดท้องเท่านั้น
อาการในเด็ก
เนื่องจากโรคลำไส้กลืนกันมักเกิดในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี เด็กจึงบอกอะไรไม่ได้มากนัก แต่มักพบว่าเด็กจะร้องไห้เพราะปวดท้อง ตัวงอ (งอเข่าขึ้นมาที่หน้าอก) การปวดท้องจะปวดๆหายๆทุก 15 นาที โดยประมาณ และจะปวดนานขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะได้รับการรักษา
อาการอื่นในเด็ก เช่น
อาจคลำพบก้อนเล็กๆในท้องส่วนล่าง
อาการในผู้ใหญ่
โรคลำไส้กลืนกันในผู้ใหญ่จะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เป็นๆ หายๆ จึงทำให้ผู้ป่วยไม่รีบไปพบแพทย์
สาเหตุของโรคลำไส้กลืนกัน
ลำไส้กลืนกันมักเกิดกับลำไส้เล็ก ซึ่งเป็นลำไส้ส่วนที่ดูดซึมสารอาหารเข้าไปในร่างกาย ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงสาเหตุของการเกิดลำไส้กลืนกัน
ติ่งเนื้อหรือเนื้องอกในลำไส้
บางกรณีพบว่าลำไส้กลืนกันจากการมีติ่งเนื้อหรือเนื้องอกในลำไส้
ในขณะที่มีการย่อยอาหาร ลำไส้จะขยับไปมา การที่มีสิ่งแปลกปลอมในลำไส้จะทำมีโอกาสที่ลำไส้จะเคลื่อนไหวผิดปกติ และกลืนกันได้
อาการอื่นในเด็ก
ไวรัสก็มีส่วนเช่นกัน เด็กมักมีอาการคล้ายหวัดมาก่อน และมักเกิดโรคนี้ในฤดูหนาว ช่วงที่โรคหวัดกำลังระบาด
อาการอื่นในผู้ใหญ่
ติ่งเนื้อ เนื้องอก และแผลเป็นในลำไส้ มักกระตุ้นการเกิดลำไส้กลืนกันในผู้ใหญ่
ความผิดปกติของการย่อยอาหาร เช่น โรคโครห์น และ การผ่าตัดลำไส้ เพื่อลดน้ำหนักหรือการผ่าตัดลำไส้อื่นๆ อาจทำให้เกิดภาวะลำไส้กลืนกันได้
ไม่วาจะเกิดจากสาเหตุใดหรือผู้ป่วยวัยใด อาการลำไส้กลืนกันก็เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องรักษาเร่งด่วน
การรักษาโรคลำไส้กลืนกัน
การรักษาโรคลำไส้กลืนกันขึ้นกับความรุนแรงของโรค อายุ และความแข็งแรงของเด็กก็มีส่วนในการเลือกวิธีรักษา แต่อย่างไรก็ดี จะเลือกใช้วิธีการรักษาแบบไม่ผ่าตัดก่อน
การรักษาโดยไม่ผ่าตัด
การสวนด้วยการฉีดอากาศ แป้งแบเรียม หรือน้ำเกลือมักได้ผล โดยการฉีดอากาศ แบเรียมหรือนำ้เกลือเข้าไปในลำไส้ใหญ่ ผ่านทางทวารหนัก ความดันของอากาศ และของเหลวจะผลักให้ลำไส้กลับที่เดิมได้
การรักษาโดยการผ่าตัด
หากการสวนไม่ได้ผล ต้องมีการผ่าตัด โดยการให้ยาสลบและผ่าเข้าไปทางหน้าท้อง และศัลยแพทย์จะจัดลำไส้ให้อยู่ในสภาพปกติ หากมีเนื้อตาย ก็จะตัดลำไส้ส่วนนั้นออกและเย็บลำไส้กลับคืน แต่สำหรับการเลือกใช้วิธีผ่าตัด ใช้ในกรณีที่คนไข้มีอาการหนักเท่านั้น
ภาวะแทรกซ้อนของโรคลำไส้กลืนกัน
ภาวะลำไส้กลืนกันเป็นภาวะทางการแพทย์ที่เกิดขึ้นเมื่อกล้องโทรทรรศน์ลำไส้ส่วนหนึ่งเข้าไปในอีกส่วนหนึ่งทำให้เกิดการอุดตัน พบบ่อยที่สุดในทารกและเด็กเล็ก แต่สามารถเกิดได้กับคนทุกวัย ภาวะลำไส้กลืนกันถือเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์และต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้แก่:- ภาวะขาดเลือด: เมื่อกล้องโทรทรรศน์ลำไส้เข้าไปในตัวเอง อาจทำให้เลือดไหลเวียนไปยังส่วนที่ได้รับผลกระทบลดลง ภาวะขาดเลือดขาดเลือดเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อและเนื้อเยื่อตาย ซึ่งอาจนำไปสู่การเจาะหรือรูในลำไส้ได้
- ลำไส้ทะลุ: หากความดันภายในส่วนที่มองเห็นด้วยกล้องส่องทางไกลของลำไส้ยังคงเพิ่มขึ้นเนื่องจากการอุดตัน ในที่สุดก็สามารถนำไปสู่การทะลุในลำไส้ได้ สิ่งนี้อาจทำให้เกิดทำให้เกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่เยื่อบุช่องท้องอย่างรุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
- การติดเชื้อ: ภาวะลำไส้กลืนกันอาจเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อในส่วนของลำไส้ที่ได้รับผลกระทบหรือในช่องท้อง การติดเชื้อนี้สามารถเกิดขึ้นเฉพาะที่หรือแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อ ซึ่งเป็นการติดเชื้อในระบบขั้นรุนแรงที่อาจถึงแก่ชีวิตได้
- การอุดตันของลำไส้: ภาวะแทรกซ้อนหลักของภาวะลำไส้กลืนกันคือการอุดตันของลำไส้ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน และบวมได้ หากไม่บรรเทาการอุดตัน อาจนำไปสู่การขาดสารอาหารและความชุ่มชื้น ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้
- ความเสียหายของลิ้นหัวใจ : ในบางกรณี ภาวะลำไส้กลืนกันอาจส่งผลต่อลิ้นหัวใจ ซึ่งแยกลำไส้เล็กออกจากลำไส้ใหญ่ ความเสียหายต่อลิ้นหัวใจนี้อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนในการดูดซึมสารอาหารและการขนส่งอุจจาระ
- การกลับมาป็นซ้ำ: หลังการรักษา ผู้ป่วยบางรายโดยเฉพาะเด็ก อาจมีอาการลำไส้กลืนกันซ้ำ ซึ่งอาจต้องได้รับการรักษาหรือการผ่าตัดเพิ่มเติม
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/intussusception/symptoms-causes/syc-20351452
-
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/10793-intussusception
-
https://kidshealth.org/en/parents/intussusception.html
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team