ภาวะเลือดออกในสมอง (Intracerebral Hemorrhage) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ภาวะเลือดออกในสมอง

ภาวะเลือดออกในสมองคืออะไร 

ภาวะเลือดออกในสมองภาษาอังกฤษเรียกว่า (Intracerebral Hemorrhage) เกิดขึ้นเมื่อเส้นเลือดเเตกเฉียบพลันทำให้เลือดไหลเข้าไปในเนื้อเยื่อสมองส่งผลทำให้สมองเกิดความเสียหาย โดยปกติมักมีอาการเกิดขึ้นทันทีในระหว่างที่มีเลือดออกในสมอง ได้แก่อาการปวดหัว อ่อนเเรง งุนงงสับสนและอัมพาตโดยเฉพาะอัมพาตครึ่งซีก ทำให้เกิดแรงกดอัดของเลือดภายในสมองและเข้าไปรบกวนออกซิเจนที่เข้าไปหล่อเลี้ยงในสมองจึงเป็นสาเหตุทำให้สมองและเส้นประสาทถูกทำลาย  ภาวะเลือดออกในสามารถจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากทีมแพทย์ฉุกเฉินทันที โดยทั่วไปแล้วภาวะเลือดออกในสมองมีความแตกต่างจากโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันซึ่งเป็นโรคที่มีสาเหตุเกิดจากมีลิ่มเลือดอุดตันในสมอง สำหรับภาวะเลือดออกในสมองเป็นอาการที่ไม่เป็นอันตรายร้ายเเรง  การรักษาขึ้นอยู่กับปริมาณของเลือดที่ออกมาและขนาดของสมองที่เกิดอาการบาดเจ็บขึ้น เนื่องจากสาเหตุส่วนใหญ่ของภาวะเลือดออกในสมองเกี่ยวข้องกับภาวะความดันเลือดสูงดังนั้นการควบคุมความดันเลือดให้ต่ำลงจึงเป็นการรักษาขั้นตอนเเรก บางครั้งอาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเพื่อลดความดันของเลือดที่สะสมและเพื่อซ่อมแซมหลอดเลือดที่เสียหาย สำหรับการรักษาในระยะยาวขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดเลือดออกในสมองและปริมาณของเลือดที่ทำให้สมองเสียหาย โดยการรักษาได้แก่การรักษาทางกายภาพ การบำบัดการพูดและกิจกรรมบำบัด ทั้งนี้ในผู้ป่วยหลายรายอาจพิการถาวร Intracerebral Hemorrhage

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเลือดออกในสมองคืออะไร 

ภาวะความดันเลือดสูงเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดภาวะเลือดออกในสมอง สำหรับผู้ป่วยที่เป็นวัยรุ่นสาเหตุทั่วไปคือมีหลอดเลือดออกในสมองผิดปกติ สาเหตุอื่นๆได้แก่
  • ได้รับบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ
  • หลอดเลือดในสมองที่โป่งขึ้นแตก (มีจุดที่ผนังหลอดเลือดบางเกิดขึ้นบนหลอดเลือดที่แตก)
  • โรคหลอดเลือดสมองเอวีเอ็ม (เป็นโรคหลอดเลือดในสมองผิดปกติชนิดหนึ่งที่ทำให้การไหลของกระเเสเลือดปกติถูกรบกวน) 
  • การใช้ยาเจือจางเลือด
  • ก้อนเนื้องอกที่มีเลือดออก 
  • การใช้ยาโคเคนหรือยาเมแทมเฟตามีน (ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะความดันสูงรุนเเรงและทำให้เกิดเลือดออกในสมอง)
  • เลือดออกผิดปกติ เช่นโรคเลือดไหลไม่หยุดหรือโรคเม็ดเลือดเเดงรูปเคี้ยว
ทุกคนสามารถมีภาวะเลือดออกในสมองได้แต่ความเสี่ยงขึ้นอยู่กับอายุ ข้อมูลจาก Mayfield Clinic ระบุว่าผู้ชายมีความเสี่ยงเกิดภาวะเลือดออกในสมองได้มากกว่าผู้หญิง นอกจากนี้ยังมีวัยกลางคนที่เป็นคนเชื้อชาติญี่ปุ่นและอเมริกัน-แอฟริกันมีความเสี่ยงเกิดภาวะเลือดออกในสมองเช่นกัน 

อาการของภาวะเลือดออกในสมองมีอะไรบ้าง

อาการของภาวะเลือดออกในสมองได้แก่
  • เกิดอาการอ่อนแรงเฉียบพลัน มีอาการชาหรืออัมพาตที่ใบหน้า แขนหรือขา โดยอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นบนร่างกายเพียงซีกเดียว
  • เกิดอาการปวดหัวเฉียบพลัน
  • เกิดอาการกลืนลำบาก
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นที่ตาข้างเดียวหรือสองข้าง
  • สูญเสียการทรงตัวและวิงเวียนศีรษะ
  • มีปัญหาเกียวกับทักษะการใช้ภาษาเช่น การอ่าน การเขียน การพูดและความเข้าใจภาษา
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • ไร้อารมณ์ นอนไม่หลับ เฉื่อยชา และสูญเสียสติสัมปชัญญะ
  • งุนงงสับสนและเกิดอาการเพ้อ
ภาวะเลือดออกในสมองเป็นภาวะที่อันตรายต่อชีวิตดังนั้นถ้าหากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการเหล่านี้ ควรโทรศัพท์เพื่อขอความช่วยเหลือฉุกเฉินที่เบอร์  191 หรือ 1678 ทันที

วิธีวินิจฉัยภาวะเลือดออกในสมอง

ถ้าหากผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกในสมอง แพทย์จะทำการตรวจระบบประสาทด้วยการสร้างภาพระบบประสาทเพื่อตรวจดูว่าผู้ป่วยมีภาวะหลอดเลือดอุดตันหรือมีเลือดออกในสมองหรือไม่    วิธีการวินิจฉัยภาวะเลือดออกในสมองได้แก่การทำ CT scan การวินิจฉัยโรคด้วยวิธีนี้เป็นการตรวจด้วยการสร้างภาพของสมองเพื่อตรวจดูให้มั่นใจว่ามีเลือดออกในสมองและมีความผิดปกติอื่นๆเกิดขึ้นในสมองหรือไม่  การตรวจด้วยภาพรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI เป็นวิธีที่ช่วยทำให้แพทย์สามารถมองเห็นภาพสมองได้ชัดเจนขึ้นเพื่อทำให้สามารถระบุสาเหตุที่ทำให้เลือดออกได้ดีมากขึ้น การตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดเป็นการตรวจที่ใช้เทคโนโลยีเอกซ์เรย์เพื่อทำให้เห็นภาพการไหลเวียนของเลือดภายในเส้นเลือดใหญ่และทำให้สามารถมองเห็นความผิดปกติของหลอดเลือดได้ ตัวอย่างเช่นภาวะหลอดเลือดโป่งหรือโรคหลอดเลือดในสมองผิดปกติตั้งแต่กําเนิด นอกจากนี้การตรวจเลือดยังสามารถช่วยระบุปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง การติดเชื้อและเส้นเลือดอุดตันที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เลือดออกในสมองได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเลือดออกในสมองมีอะไรบ้าง

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นมีสาเหตุจากตำแหน่งที่เกิดเลือดออกและระยะเวลาที่สมองขาดออกซิเจนซึ่งอาการที่เกิดขึ้นมีดังต่อไปนี้
  • ความบกพร่องของทักษะการใช้ภาษา
  • อ่อนล้าหมดเเรง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืน
  • สูญเสียการมองเห็น
  • ไร้ความรู้สึกเเละไม่สามารถขยับร่างกายครึ่งซีก
  • โรคปอดบวม
  • เกิดภาวะผิดปกติเกี่ยวกับความคิดเเละการรับรู้ เช่นสูญเสียความทรงจำ ไม่เข้าใจเหตุผลและมีอาการสับสนงุนงง
  • สมองบวม
  • ภาวะลมชัก
  • เกิดภาวะซึมเศร้าและปัญหาทางอารมณ์
  • มีไข้

วิธีรักษาภาวะเลือดออกในสมอง

โดยปกติการรักษาอาการของภาวะเลือดออกในสมองภายใน 3 ชั่วโมงแรกทำให้ผลลัพธ์ในการรักษาออกมาดีขึ้น การผ่าตัดสามารถช่วยบรรเทาเเรงกดดันในสมองและช่วยซ่อมเเซมเส้นเลือดใหญ่ที่สึกหรอได้ การใช้ยาบางชนิดสามารถช่วยรักษาอาการที่เกิดขึ้นจากภาวะเลือดออกในสมองได้อย่างเช่นการทานยาแก้ปวดเพื่อช่วยลดอาการปวดหัวอย่างรุนเเรงและการใช้ยาลดความดัน นอกจากนี้ถ้าแพทย์ระบุว่าคุณมีความเสี่ยงมีอาการลมชัก คุณอาจจำเป็นต้องใช้ยากันชัก   สำหรับการรักษาในระยะยาวจำเป็นต้องรักษาอาการที่เป็นสาเหตุทำให้สมองถูกทำลายก่อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการที่เกิดขึ้นซึ่งวิธีการรักษามีดังต่อไปนี้ได้แก่ กายภาพบำบัดและการบำบัดคำพูดเพื่อช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ส่วนนี้หรือปรับปรุงการสื่อสารให้ดีขึ้น สำหรับการรักษาด้วยการทำกิจกรรมบำบัดเป็นการช่วยฟื้นฟูทักษะบางประเภทและเป็นการทำกิจกรรมอิสระที่ช่วยปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันได้ 

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด