ภาพรวม
การย่อยอาหารของมนุษย์มีระยะทางถึง 25 ฟุตในร่างกาย ซึ่งมีลำไส้เป็นส่วนหนึ่งของการย่อยอาหาร การย่อยอาหารจนเหลือแต่กากอาหารเป็นการที่ลำไส้บีบตัวสม่ำเสมอ ถ้าหากมีสิ่งอุดตันในลำไส้ทำให้ลำไส้หยุดบีบตัว ภาวะลำไส้อุดตันเกิดขึ้นเมื่อลำไส้ใหญ่หรือลำไส้เล็กอุดตัน ซึ่งอาจเกิดการอุดตันเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด ส่งผลทำให้กากอาหารหรือของเหลวไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านลำไส้ได้ ถ้าหากเกิดการอุดตันขึ้นภายในลำไส้ กากอาหาร ของเหลวและแก๊สจะเกิดขึ้นในบริเวณที่เกิดการอุดตัน ถ้าหากมีเเรงดันมากเพียงพอ ลำไส้อาจแตกออกได้ ทำให้มีเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายรั่วไหลออกจากลำไส้เข้าสู่ช่องท้องได้ ซึ่งก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายตามมาได้ มีปัจจัยหลายอย่างที่ก่อให้เกิดการอุดตันในลำไส้ได้ โดยส่วนใหญ่เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นการวินิจฉัยโรคและการรักษาโดยเร็วที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากปล่อยให้เกิดลำไส้อุดตันเเละไม่ทำการรักษาสามารถทำให้เสียชีวิตได้อาการลำไส้อุดตัน
ลำไส้อุดตันทำให้เกิดอาการไม่สบายหลายอย่างตามมาได้แก่- ท้องอืดอย่างรุนเเรง
- ปวดท้อง
- น้ำย่อยลดลง
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ไม่สามารถผายลมหรือขับอุจจาระได้
- ท้องผูก
- ท้องเสีย
- ท้องเป็นตะคริวอย่างรุนเเรง
- ท้องบวม
สาเหตุของลำไส้อุดตัน
การอุดตันของลำไส้อาจเกิดขึ้นเพียงบางส่วน ซึ่งสามารถหายเองได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่ถ้าหากเกิดการอุดตันในลำไส้ทั้งหมดจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดภาวะลำไส้ตีบตัน
ภาวะลำไส้ตีบตันเกิดขึ้นเมื่อมีบางส่วนของลำไส้เกิดการอุดตัน ถ้าหากเกิดขึ้นในลำไส้เล็กจะมีอาการดังต่อไปนี้- เกิดพังผืดในลำไส้ ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อไฟบรัสที่สามารถเกิดขึ้นได้ในช่องท้องหลังจากการผ่าตัดหรือการติดเชื้ออย่างรุนเเรง
- ไส้บิดเกลียวหรือลำไส้บีบพันเป็นเกลียว
- โรคลำไส้กลืนกัน “เกยกัน” หรือเสียบเข้าไปในส่วนใดส่วนหนึ่งของลำไส้ที่อยู่ถัดจากกัน
- การทำงานผิดปกติของลำไส้ โดยส่วนใหญ่มักพบในเด็กแรกเกิด แต่สามารถเกิดขึ้นกับเด็กโตหรือวัยรุ่นได้เช่นกัน
- มีเนื้องอกภายในลำไส้เล็ก
- นิ่วในถุงน้ำดีเป็นสาเหตุที่พบได้น้อย
- การกลืนวัตถุเข้าไป มักเกิดขึ้นกับเด็ก
- ไส้เลื่อนหมายถึงมีส่วนหนึ่งของลำไส้หลุดออกมาอยู่ด้านของร่างกายหรือลำไส้กลายเป็นอีกส่วนหนึ่งของร่างกาย
- โรคที่ทำให้ลำไส้อักเสบเช่น โรคโคร์หน
- การอุดตันของอุจจาระ
- เกิดพังผืดจากการติดเชื้อที่อุ้งเชิงกรานหรือการผ่าตัด
- โรคมะเร็งรังไข่
- โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ภาวะอุดกั้นจากก้อนขี้เทาในเด็กทารกเกิดใหม่ (ก้อนขี้เทากลายเป็นอุจจาระของเด็กเเรกเกิด)
- ลำไส้บิดเกลียวหรือลำไส้กลืนกัน
- โรคถุงผนังลำไส้อักเสบหมายถึงการอักเสบหรือติดเชื้อบริเวณผนังลำไส้
- การตีบตันของลำไส้ ที่ทำให้ลำไส้ส่วนโคลอนตีบลง ซึ่งเกิดจากแผลหรือการติดเชื้อ
ภาวะลำไส้อืด
ลำไส้เล็กเเละลำไส้ใหญ่ทำงานสอดคล้องกันเเละบีบตัวเป็นจังหวะ ถ้าหากมีสิ่งใดที่มารบกวนการบีบตัวของลำไส้ อาจเป็นสาเหตุทำให้ลำไส้เกิดการตีบตันได้ โดยปกติภาวะนี้เรียกว่าภาวะลำไส้อืด ถ้าหากภาวะลำไส้อืดเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเรียกว่าลำไส้เป็นอัมพาต สำหรับภาวะลำไส้อืดที่เกิดขึ้นแบบเรื้อรังเรียกว่าภาวะลำไส้บีบตัวไม่สัมพันธ์กัน สาเหตุของลำไส้อืดได้แก่ :- ความผิดปกติหรือการผ่าตัดอุ้งเชิงกราน
- การติดเชื้อที่กระเพาะอาหารหรือไส้ติ่ง
- การใช้ยาบางชนิดเช่นกลุ่มยาระงับปวดโอปิออยด์
- ความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์
- โรคพากินสันและโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง รวมถึงความผิดปกติเกี่ยวกับเส้นประสาทหรือกล้ามเนื้อชนิดอื่นๆ
- โรคลำไส้ใหญ่โป่งพองเป็นความผิดปกติเกี่ยวกับการขาดเเคลนเส้นประสาทที่ทำงานในลำไส้ใหญ่บางส่วนในเด็กทารกแรกเกิด
- ความผิดปกติที่ทำให้เส้นประสาทบาดเจ็บเช่นโรคเบาหวาน
- ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติเช่นทำงานมากหรือน้อยเกิดไป
โรคลำไส้ตันในเด็กทารก
โดยปกติภาวะลำไส้อุดตันในเด็กทารกมักทำให้เกิดการติดเชื้อและโรคเกี่ยวกับอวัยวะ รวมถึงการหมุนเวียนเลือดภายในลำไส้ลดลงเนื่องจากลำไส้เกิดการบีบรัด ในเด็กบางรายอาจเคยมีอาการไข้หวัดลงกระเพาะ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อในลำไส้ ภาวะลำไส้กลืนตัวเองพบได้มากที่สุดในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อส่วนหนึ่งของลำไส้เกิดการเกยกันหรือทับกับอีกส่วนส่งผลให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน ภาวะลำไส้อุดตันชนิดใดก็ตามทำการวินิจฉัยได้ยากเมื่อเกิดขึ้นกับเด็กทารกเนื่องจากไม่สามารถระบุอาการได้ ดังนั้นพ่อและแม่ต้องสังเกตุความเปลี่ยนแปลงและอาการที่สามารถบ่งบอกถึงการเกิดภาวะลำไส้อุดตันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีตัวอย่างของอาการดังต่อไปนี้- ท้องบวม
- งอเข่าชิดหน้าอก
- ง่วงซึมอย่างรุนเเรง
- มีไข้
- ร้องเสียงดัวด้วยความเจ็บปวด
- ขับถ่ายอุจจาระที่มีเลือดปนหรืออุจจาระที่ขับออกมามีลักษณะคล้ายเจลลี่
- ร้องไห้เสียงดัง
- อาเจียนออกมามีลักษณะที่คล้ายกับน้ำดี ซึ่งมีสีเขียวเหลือง
- มีสัญญาณของร่างกายอ่อนล้า
การรักษาภาวะลำไส้อุดตัน
การรักษาขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดการอุดตันในลำไส้และความรุนเเรง ทั้งนี้ไม่ควรพยายามรักษาอาการลำไส้อุดตันด้วยตนเองที่บ้าน สำหรับวิธีการรักษาลำไส้อุดตันที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับประเภทของการเกิดลำไส้อุดตัน สำหรับการอุดตันของลำไส้บางส่วนหรือภาวะลำไส้อืดจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีพักลำไส้เเละให้เกลือแร่ทางหลอดเลือดดำ การพักลำไส้หมายถึงการไม่ทานอาหารหรือดื่มน้ำในระหว่างทำการรักษา ถ้าหากทราบสาเหตุของภาวะลำไส้อุดตัน แพทย์จะทำการรักษาด้วยเช่นกัน การรักษาภาวะขาดน้ำเป็นสิ่งสำคัญ แพทย์จะให้น้ำเกลือเพื่อทำให้เกิดความสมดุลของสารอิเล็กโทรไลต์ และใช้ท่อเจาะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะเพื่อระบายของเหลวออก การสอดท่อเข้าไปผ่านจมูกลงสู่ลำคอ กระเพาะอาหารและลำไส้เพื่อบรรเทาอาการดังต่อไปนี้- ความดัน
- บวม
- อาเจียน
- ยาปฏิชีวนะเพื่อบรรเทาการติดเชื้อ
- ยาต้านอาเจียนเพื่อทำให้ไม่อาเจียน
- ยาบรรเทาอาการปวด
ภาวะแทรกซ้อนของลำไส้อุดตัน
การอุดตันของลำไส้เป็นภาวะทางการแพทย์ที่ร้ายแรงซึ่งมีการอุดตันของลำไส้บางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งทำให้อาหาร ของเหลว และก๊าซไม่สามารถไหลผ่านทางเดินอาหารได้ตามปกติ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่างหากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที ภาวะแทรกซ้อนบางประการที่เกี่ยวข้องกับการอุดตันของลำไส้ ได้แก่:- การบีบรัด:หากปริมาณเลือดไปยังส่วนที่อุดตันของลำไส้ถูกทำลาย อาจทำให้เนื้อเยื่อตาย (ขาดเลือด) และเนื้อเยื่อทะลุในที่สุด นี่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่คุกคามถึงชีวิตซึ่งต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ทันที
- ลำไส้ทะลุะ:การอุดตันของลำไส้อาจทำให้เกิดแรงกดดันภายในลำไส้เพิ่มขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป ความกดดันนี้อาจนำไปสู่การทะลุในผนังลำไส้ได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของสิ่งที่อยู่ในลำไส้เข้าไปในช่องท้อง นำไปสู่การติดเชื้อร้ายแรงที่เรียกว่าเยื่อบุช่องท้องอักเสบ
- การติดเชื้อ:หากลำไส้ทะลุ แบคทีเรียจากลำไส้สามารถเข้าสู่ช่องท้องทำให้เกิดการติดเชื้อได้ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ หรือการอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง ซึ่งอาจร้ายแรงอย่างยิ่ง และต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉินและต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
- การขาดน้ำและความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์:การอุดตันของลำไส้อาจทำให้อาเจียนและลดปริมาณของเหลวได้ เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งนี้อาจส่งผลให้เกิดภาวะขาดน้ำและความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานของร่างกายต่างๆ และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน เช่น ปัญหาไตและความผิดปกติของหัวใจ
- ภาวะทุพโภชนาการ:เมื่อลำไส้ถูกปิดกั้น การดูดซึมสารอาหารจากอาหารจะลดลง การอุดตันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ น้ำหนักลด และการขาดวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น
- ลำไส้ขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจตาย:หากเลือดไปเลี้ยงลำไส้ลดลงเนื่องจากการอุดตัน อาจทำให้เกิดภาวะขาดเลือด (ขาดเลือดไหลเวียน) และแม้แต่กล้ามเนื้อหัวใจตาย (เนื้อเยื่อตาย) ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ร้ายแรงซึ่งต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อเอาส่วนที่ได้รับผลกระทบของลำไส้ออก
- ภาวะช็อกจากภาวะติดเชื้อ:หากการติดเชื้อจากลำไส้ทะลุแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว อาจทำให้เกิดภาวะช็อกจากภาวะติดเชื้อ ซึ่งเป็นภาวะที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยมีลักษณะของการตอบสนองการอักเสบอย่างเป็นระบบ ความดันโลหิตต่ำ และอวัยวะหลายส่วนล้มเหลว
บทสรุป
หากปล่อยให้เกิดภาวะลำไส้อุดตันและไม่รักษาสามารถทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่เกิดการอุดตันตายได้หรือลำไส้เน่าได้ ซึ่งก่อให้เกิดรูหรือมีเชื้อที่อันตรายออกจากลำไส้ เป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้ออย่างรุนเเรงในช่องท้อง สำหรับภาพรวมของการรักษาภาวะลำไส้อุดตันขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยส่วนใหญ่ภาวะลำไส้อุดตันสามารถรักษาได้ อย่างไรก็ตามภาวะลำไส้อุดตันที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆเช่นโรคมะเร็งจำเป็นต้องสังเกตุอาการเเละใช้เวลาในการรักษายาวนานนี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/intestinal-obstruction/symptoms-causes/syc-20351460
- https://www.webmd.com/digestive-disorders/what-is-bowel-obstruction
- https://medlineplus.gov/intestinalobstruction.html
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น