ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) คืออะไร ไข้หวัดใหญ่หรือที่รู้จักกันว่าไข้หวัด ซึ่งไข้หวัดใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อและทำลายระบบทางเดินหายใจของของผู้ที่ติดเชื้อชนิดนี้
ไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่สามารถแพร่เชื้อในมนุษย์ได้แบ่งออกเป็น 3 สายพันธ์ คือ A, B และ C ประเภท A เป็นการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ค่อนข้างจะร้ายแรงและอาจจะทำให้เกิดการระบาดและแพร่เชื้อ
อาการทั่วไปของการติดเชื้อชนิด A อาจจะมีอาการต่างจากไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ในบางกรณีที่รุนแรงน้อยกว่าไข้หวัดใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยตนเองโดยไม่มีอาการที่ผิดสังเกตแต่อย่างใด หากในกรณีที่รุนแรงโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ A สามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน
อาการของไข้หวัดใหญ่
อาการไข้หวัดใหญ่มีอาการอย่างไร
ไข้หวัดใหญ่มักจะเกิดขึ้นพร้อมกับอาการที่ปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการทั่วไปของผู้ที่คาดว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ :- ไอ
- น้ำมูกไหลหรือคัดจมูก
- จาม
- เจ็บคอ (Sorethroat)
- มีอาการปวดหัว (Headache)
- เมื่อยล้า
- มีอาการไข้สูง หนาวสั่น
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- หูอักเสบ
- โรคท้องร่วง (Diarrhea)
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- เวียนหัว
- ปวดท้อง
- เจ็บหน้าอก
- โรคหอบหืด
- โรคปอดอักเสบ
- โรคหลอดลมอักเสบ
- มีปัญหาการเต้นของหัวใจ
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A กับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B
ไข้หวัดใหญ่ประเภท A และ B พบได้บ่อยในการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ อาจมีสาเหตุมาจากอาการเป็นไข้หวัดตามฤดูกาล ส่วนประเภท C เป็นไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจแต่จะไม่ค่อยรุนแรงนัก มนุษย์เป็นพาหะในการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ B ไวรัสชนิด B จะกลายพันธุ์ได้ช้ากว่าประเภท A และถูกจำแนกตามสายพันธุ์ ซึ่งไม่ใช่ชนิดย่อย เชื้อไวรัสสายพันธุ์ B ใช้เวลานานในการกลายพันธ์มากว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A และมีความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อน้อยกว่า อาการของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ B ผู้ป่วยจะมีไข้สูงมากถึง 40 องศาเซลเซียส ปวดเมื่อยตามตัว มีน้ำมูก เจ็บคอไอ และคัดจมูก หากมีภาวะแทรกซ้อนก็จะเกิดภาวะปอดอักเสบและอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉลี่ยระยะเวลาป่วยประมาณ 6-7 วันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A อันตรายไหม
ไข้หวัดใหญ่ประเภท A อาจเป็นอันตรายได้ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ A สามารถแพร่เชื้อได้ง่าย ซึ่งแตกต่างจากประเภทย่อยคือ ไวรัสสายพันธ์ B และ ไวรัสสายพันธ์ A ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A กลายพันธุ์เร็วกว่าไข้หวัดใหญ่สายสายพันธุ์ B แต่ไวรัสทั้งคู่มักจะมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาสามารถสร้างสายพันธุ์ใหม่จากขั้นเดิมไปยังอีกขั้น การฉีดวัคซีนไข้ป้องกันหวัดใหญ่ที่อาจไม่สามารถไม่ป้องกันการติดเชื้อจากสายพันธุ์ใหม่ได้ นกป่าเป็นพาหะเริ่มแรกของไวรัสสายพันธ์ A หรือที่เรียกว่าไข้หวัดนก การติดเชื้อนี้สามารถแพร่กระจายไปยังสัตว์และมนุษย์ได้ เมื่อรวมกับความสามารถในการกลายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่ชนิด A ที่จะกลายพันธุ์ได้เร็วกว่าชนิด B อาจทำให้เกิดการระบาดใหญ่ได้การวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A
ก่อนที่จะทำการรักษาแพทย์จะต้องตรวจสอบไวรัสไข้หวัดใหญ่ และตรวจสอบระดับโมเลกุลของผู้ป่วย ในขั้นตอนนี้แพทย์จะทำการป้ายในจมูกหรือลำคอ การทดสอบด้วยวิธีนี้สามารถตรวจพบเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ภายใน 30 นาทีหรืออาจใช้เวลาน้อยกว่านั้น ผลลัพธ์อาจจะไม่แน่นอนเสมอไปและแพทย์อาจต้องทำการวินิจฉัยตามอาการของผู้ป่วยหรืออาจมีการวินิจไข้หวัดใหญ่ประเภทอื่น ๆร่วมด้วยระยะเวลาของผู้ป่วยที่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้
หากผู้ป่วยมีไข้ เชื้อจะอยู่ในตัวผู้ป่วยอย่างน้อย 1 วันก่อนที่ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการมากกว่า 5 วันหลังจากที่ได้รับเชื้อในกรณีที่รุนแรงมากขึ้นอาจติดต่อกันได้มากขึ้น และอาจมีอาการผันผวนได้หากระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยอ่อนแอหรือไม่ได้รับการดูแลโดยเฉพาะในกรณีมีไข้หวัดใหญ่ในเด็กหรือผู้สูงอายุ หากมีในครอบครัวมีเด็กที่มีอาการไข้หวัดใหญ่ พ่อและแม่ควรดูแลลูกที่เป็นไข้หวัดใหญ่อย่างใกล้ชิด เพราะอาการในเด็กเล็กควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดแนวทางการรักษาไข้หวัดใหญ่ สายพันธ์ A
ในบางกรณีอาการไข้หวัดใหญ่ A สามารถหายได้ด้วยตัวเองด้วยการพักผ่อนอย่างเพียงพอและดื่มน้ำให้เพียงพอ แพทย์อาจสั่งจ่ายยาต้านไวรัสเพื่อรักษาอาการการติดเชื้อ ใบสั่งยาต้านไวรัสทั่วไป ได้แก่ :- Zanamivir (Relenza)
- Oseltamivir (Tamiflu)
- Peramivir (Rapivab)
วิธีการป้องกัน
วิธีการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สามารถปฏิบัติได้ดังนี้- หากมีไข้เกิน 40 องศาควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อลดการแพร่เชื้อ
- หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ป่วย
- ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
- หากป่วยควรรักษาตัวอยู่บ้านงดอยู่ร่วมกับคนหมู่มาก
- ผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่ควรกินผลไม้เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทาน เช่น
- ฝรั่ง ฝรั่งสดหนึ่งลูกมีวิตามิน C มากกว่าส้ม 6 เท่า
- กล้วย 20 เท่า ฝรั่งช่วยป้องกันหวัดและการติดเชื้อในที่ต่างๆ ลดเสมหะ บรรเทาอาการไอ และฆ่าเชื้อโรคบริเวณทางเดินหายใจ
- ผลไม้ ตระกูลส้ม วิตามิน C สำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและมีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการหวัดไวขึ้น เกรปฟรุ๊ต เลมอน ส้ม และมะนาว คือแหล่งบำรุงภูมิต้านทานเป็นอย่างดี ประกอบไปด้วยฟลาโวนอยด์ ซึ่งช่วยในการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันทั้งหมด
- ผลไม้ จำพวกเบอร์รี มีส่วนช่วยลดอาการปวดศีรษะและต่อต้านอาการไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่รวมไปถึงอาการไข้อื่นๆ อีกด้วย
คำถามที่พบบ่อย
วิธีรักษาไข้หวัดใหญ่ให้หายเร็วที่สุดคืออะไร พักผ่อนให้มากๆ ดื่มน้ำมาก ๆ รวมทั้งน้ำผลไม้และน้ำ รับประทานยาอะเซตามิโนเฟนหรือยาแก้ปวดที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์เพื่อลดไข้ (ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ว่ายาชนิดใดปลอดภัยที่สุดสำหรับตน) หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรืออยู่ใกล้คนที่สูบบุหรี่ ใช้เวลานานเท่าใดในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ อาการส่วนใหญ่จะหายไปใน4 ถึง 7วัน อาการไอและเหนื่อยอาจคงอยู่นานหลายสัปดาห์ บางครั้งไข้ก็กลับมา บางคนอาจรู้สึกเบื่ออาหาร ไข้หวัดใหญ่หายเองได้หรือไม่ คนส่วนใหญ่ป่วยเป็นไข้หวัดประมาณ 3-5 วัน และหายได้เอง ผู้ที่ไม่มีภาวะเสี่ยงสูงและไม่ได้ป่วยมากมักไม่จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากแพทย์ แต่ควร: อยู่บ้าน หลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้อื่นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อไม่ให้ความเจ็บป่วยของคุณแพร่กระจายไปยังผู้อื่น อะไรทำให้ไข้หวัดใหญ่หายไว ยาต้านไวรัสสามารถช่วยรักษาอาการไข้หวัดได้: ยาต้านไวรัสแตกต่างจากยาปฏิชีวนะ ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ (ยาเม็ด ยาน้ำ ยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือยาผงสูดดม) และไม่มีจำหน่ายตามเคาน์เตอร์ ยาต้านไวรัสสามารถทำให้อาการป่วยเบาลงและทำให้ระยะเวลาที่คุณป่วยสั้นลง ยาที่แรงที่สุดสำหรับไข้หวัดคืออะไร ผู้ให้บริการด้านการแพทย์กำหนด Oseltamivir (ชื่อทางการค้า Tamiflu®)สำหรับการรักษาไข้หวัดที่ไม่ซับซ้อนแต่เนิ่นๆ ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป [1] ยาต้านไวรัสอีก 2 ชนิดคือ zanamivir (Relenza®) และ peramivir (Rapivab®)[1] ยาต้านไวรัสเหล่านี้แตกต่างจากยาที่ใช้รักษาโควิด-19 ไข่ดีต่อไข้หวัดใหญ่หรือไม่ สุดยอดอาหารนี้เป็นอาวุธลับของคุณที่จะช่วยสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันของคุณตามธรรมชาติ เต็มไปด้วยวิตามินและสารอาหารที่แตกต่างกันถึง 11 ชนิด Sharon Natoli ผู้อำนวยการผู้ก่อตั้ง Food and Nutrition Australia กล่าวว่า ” สารอาหารมากมายที่พบในไข่สามารถช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราแข็งแรง และช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคได้ ระยะของไข้หวัดใหญ่คืออะไร- วันที่ 1–3: มีไข้อย่างกะทันหัน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อและอ่อนแรง ไอแห้งๆ เจ็บคอ และบางครั้งอาจมีอาการคัดจมูก
- วันที่ 4: ไข้และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อลดลง เสียงแหบ คอแห้งหรือเจ็บ ไอ และอาการไม่สบายหน้าอกเล็กน้อยที่เป็นไปได้จะสังเกตเห็นได้ชัดเจนขึ้น …
- วันที่ 8: อาการลดลง
ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งข้อมูลบทความของเรา
- https://www.cdc.gov/flu/about/viruses/types.htm
- https://www.healthdirect.gov.au/influenza-a-flu
- https://www.webmd.com/cold-and-flu/advanced-reading-types-of-flu-viruses#1
- https://www.verywellhealth.com/learn-about-different-types-of-flu-770509
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น