Infective Endocarditis คืออาการติดเชื้อที่เกิดขึ้นบริเวณลิ้นหัวใจหรือเยื่อบุโพรงหัวใจที่เป็นผนังชั้นในสุดของหัวใจโดยเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่บนพื้นผิวของหัวใจแต่ละห้อง โดยปกติการติดเชื้อมักเกิดจากแบคทีเรียที่เข้าสู่กระเเสเลือดและการติดเชื้อที่หัวใจ โดยแบคทีเรียสามารถเกิดขึ้นจากบริเวณดังต่อไปนี้
- ปาก
- ผิวหนัง
- ลำไส้เล็ก
- ระบบหายใจ
- กระเพาะปัสสาวะ
- หลอดเลือดหัวใจอุดตัน
- อวัยวะอื่นๆเสียหาย
- หัวใจล้มเหลว
- เสียชีวิต
อาการของ Infective Endocarditis คืออะไร ?
อาการของโรคติดเชื้อที่หัวใจของแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนมีอาการแบบเฉียบพลัน ในขณะที่คนอื่นค่อยๆมีอาการของโรคเกิดขึ้นอย่างช้าๆ คุณควรปรึกษาแพทย์ถ้าหากคุณมีอาการใดอาการหนึ่งดังต่อไปนี้ ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเป็น Infective Endocarditis สูงจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยเฉพาะ อาการที่เกิดขึ้นได้แก่- มีไข้
- เจ็บหน้าอก
- หมดเเรง
- มีเลือดในปัสสาวะ
- หนาวสั่น
- มีเหงื่อออกมาก
- มีผื่นสีแดงเกิดขึ้น
- มีฝ้าสีขาวภายในช่องปากและลิ้น
- เจ็บปวดข้อต่อและข้อต่อบวม
- ปวดกล้ามเนื้อและเกิดจุดกดเจ็บ
- ปัสสาวะเปลี่ยนสีไม่ปกติ
- อ่อนล้าหมดเเรง
- ไอ
- หายใจสั้น
- เจ็บคอ
- คัดจมูกและปวดหัว
- คลื่นไส้หรืออาเจียน
- น้ำหนักลดลง
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเป็นInfective Endocarditis ?
คุณอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบได้ถ้าหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้- ใส่ลิ้นหัวเทียม
- โรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด
- โรคลิ้นหัวใจ
- ลิ้นหัวใจเกิดความเสียหาย
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ
- มีประวัติเคยเป็น Infective Endocarditis
- มีประวัติใช้ยาเสพติด
- โรคลิ้นหัวใจไมทรัลโป่งพองหรือแล่บและโรคลิ้นหัวใจรั่วและหรือโรคลิ้นหัวใจหนาขึ้น
- กระบวนการรักษาโรคทางทันตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเหงือก
- การใส่หลอดสวนของเหลวหรือการใช้เข็มฉีดยา
- วิธีการรักษาภาวะติดเชื้อ
การวินิจฉัย Infective Endocarditis
เมื่อคุณไปพบเเพทย์ แพทย์ของคุณจะทำการสอบถามเกี่ยวกับอาการก่อนเป็นอันดับเเรกจากนั้นจึงทำการตรวจร่างกาย พวกเขาจะทำการฟังเสียงหัวใจด้วยหูฟังของเเพทย์และตรวจสอบเสียงการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจที่สามารถบ่งบอกถึงโรคหัวใจอักเสบ จากนั้นแพทย์จะตรวจสอบดูว่าคุณมีไข้และรู้สึกมีม้ามโตขึ้นหรือไม่ด้วยการกดลงบนท้องด้านบนซ้าย ถ้าหากแพทย์ตรวจสอบแล้วพบอาการของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ แพทย์จะสั่งให้ตรวจหาแบคทีเรียในเลือด การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง (CBC) เป็นวิธีที่นำมาใช้เพื่อตรวจหาโรคโลหิตจาง แต่อย่างไรก็ตามการขาดเเคลนเม็ดเลือดเเดงสามารถเกิดขึ้นกับโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบได้เช่นกัน แพทย์จะสั่งให้ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (echocardiogram)หรืออัลตร้าซาวด์หัวใจ ซึ่งวิธีการตรวจเหล่านี้เป็นการใช้คลื่นเสียงเพื่อทำให้เกิดภาพ โดยการทำอัลต้าซาวด์เป็นการใช้อุปกรณ์ตรวจผ่านหน้าอกของคุณ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจด้วยใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กด้วยการสอดอุปกรณ์ใส่ลงในหลอดอาหารซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเป็นการตรวจดูความเสียหายของเนื้อเยื่อ รูรั่วหรือโครงสร้างของลิ้นหัวใจที่มีการเปลี่ยนแปลงไป แพทย์จะสั่งให้ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (EKG) เพื่อตรวจสอบการทำงานของคลื่นไฟฟ้าหัวใจของคุณ โดยการตรวจหัวใจด้วยวิธีนี้ไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและสามารถตรวจสอบความผิดปกติของการเต้นของหัวใจที่ทำให้เกิดโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบได้อีกด้วย การตรวจสอบภาพของหัวใจสามารถตรวจดูได้ว่าหัวใจของคุณโตขึ้นหรือไม่ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจหาว่าการติดเชื้อได้เเพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายแล้วหรือยัง ซึ่งสามารถทำการตรวจด้วยวิธีดังต่อไปนี้- การเอกซเรย์หน้าอก
- การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT scan)
- การตรวจด้วยเครื่องตรวจร่างกายโดยการสร้างภาพเหมือนจริง (MRI)
วิธีการรักษา Infective Endocarditis
โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสียหายต่อหัวใจที่ไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ ดังนั้นถ้าหากสามารถตรวจพบโรคเเละทำการรักษาได้เร็ว เป็นการลดความเสี่ยงที่โรคนี้จะเป็นภัยคุกคามต่อร่างกายได้ คุณจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อและอาการเจ็บปวดของโรคที่เลวร้ายลงและก่อให้เกิดภาวะเเทรกซ้อนได้ยาปฏิชีวนะและการรักษาเบื้องต้น
ในขณะที่คุณเข้ารับการรักษา Infective Endocarditis ในโรงพยาบาบ คุณจะได้รับยาปฏิชีวนะผ่านการฉีดเข้าเส้นเลือดดำและเมื่อแพทย์อนุญาตให้คุณกลับบ้านได้ คุณยังจำเป็นต้องทานยาปฏิชีวนะต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ในระหว่างนี้คุณยังคงจำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือดเเละดูว่าอาการติดเชื้อได้หายไปแล้วหรือไม่การผ่าตัด
การผ่าตัดทำเมื่อลิ้นหัวใจของคุณเกิดความเสียหายขึ้นเเล้ว ดังนั้นศัลยแพทย์จึงจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อทำการซ่อมแซมลิ้นหัวใจ โดยเป็นการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนลิ้นหัวใจอันใหม่ได้ซึ่งเป็นลิ้นหัวใจที่ทำมาจากเนื้อเยื่อของสัตว์หรือวัสดุเทียม การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำเมื่อใช้ยาปฏิชีวนะเเล้วไม่ได้ผลหรือเกิดการติดเชื้อจากเชื้อรา เนื่องจากยาต้านเชื้อราไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อที่หัวใจเสมอไปการป้องกัน
เพื่อเป็นมาตรการป้องกัน ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อจะได้รับยาปฏิชีวนะก่อนการผ่าตัด ทันตกรรม และการรักษาบางอย่าง ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ที่มี- เปลี่ยนวาล์วหัวใจ
- ความพิการแต่กำเนิดของหัวใจ
- หัวใจที่ปลูกถ่ายซึ่งมีลิ้นผิดปกติ
- เคยเป็นเยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อ
การฟื้นฟูและบทสรุป
เมื่อตรวจพบโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบควรเข้ารับการรักษาทันทีเพราะหากปล่อยไว้ไม่รักษาโรคที่สามารถทำให้เสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการดีขึ้นดจากการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ โอกาสที่ทำให้อาการของโรคหายดีขึ้นอยู่กับปัจจัยซึ่งได้แก่ อายุและสาเหตุของการติดเชื้อ นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโรคนี้เมื่อเริ่มมีอาการของโรคมีโอกาสหายจากโรคนี้ได้มากขึ้น ถ้าหากการรักษาโรคเยื่อบุหัวใจใช้ระยะเวลานานเกินไป แพทย์จำเป็นต้องทำการผ่าตัดเพื่อรักษานี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/endocarditis/symptoms-causes/syc-20352576
- https://www.heart.org/en/health-topics/heart-valve-problems-and-disease/heart-valve-problems-and-causes/heart-valves-and-infective-endocarditis
- https://www.nhs.uk/conditions/endocarditis/
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5240923/
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น