โรคโมโน (Infectious Mononucleosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคโมโน หรือ Infectious Mononucleosis เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจาก Epstein-Barr Virus (EBV) มักเกิดกับวัยรุ่น แต่คนทุกอายุมีโอกาสเป็นได้ ไวรัสกระจายได้ทางน้ำลาย บางคนจึงเรียกว่า“โรคจูบ”ในเด็กที่อายุน้อยๆ (อายุเกิน 1 ขวบ) อาจมีอาการน้อย หรือไม่มีเลย จึงไม่รู้ว่ามีการติดเชื้อเมื่อติดเชื้อแล้วจะมีภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต อาการอาจกำเริบขึ้นได้เมื่อร่างกายอ่อนแอ ในไทยพบว่าเด็กอายุ 15 ปี ติดเชื้อแล้วมากกว่า 90%

อาการ

ผู้ที่ติดเชื้อมักมีอาการไข้สูง ต่อมน้ำเหลืองที่คอ และรักแร้โต และเจ็บคอ ส่วนใหญ่อาการไม่มาก และหายได้เอง  อาการอื่นๆ เช่น บางครั้งอาจมีม้าม หรือตับโต แต่โดยทั่วไปโรคนี้ไม่อันตรายถึงตายโรคนี้แยกจากการติดเชื้อไวรัสอื่นๆได้ยาก( เช่น ไข้หวัดใหญ่) แต่หากอาการไม่ดีขึ้นใน 1-2 สัปดาห์ หลังจากการดูแลตัวเอง เช่น นอนพัก ดื่มน้ำมากๆ และกินอาการที่ดีต่อสุขภาพ ควรไปพบแพทย์

ระยะฟักตัวของโรค

ระยะฟักตัวคือเวลาตั้งแต่ร่างกายได้รับเชื้อจนถึงเริ่มมีอาการ ใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ อาการที่เกิดอาจนาน 1-2 เดือน แต่ระยะฟักตัวจะสั้นในเด็กเล็ก อาการบางอย่าง เช่น เจ็บคอและมีไข้ อาจลดลงภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่อาจมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต  อ่อนเพลีย และม้ามโตต่ออีก2-3 สัปดาห์

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อไวรัส Epstein-Barr ติดต่อจากการสัมผัสนำ้ลายจากปากของผู้ป่วย หรือจากของเหลวในร่างกาย เช่น เลือด และติดต่อได้จากการร่วมเพศ และการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะคุณอาจได้รับไวรัสจากการไอ จาม จูบ ดื่ม หรือกินอาหารร่วมกันกับผู้ที่มีไวรัส หากคุณได้รับเชื้อ จะเริ่มมีอาการหลังจากนั้น 4-6 สัปดาห์ในวัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ บางครั้งอาจไม่รู้สึกถึงอาการ ในเด็กมักไม่มีอาการ และจะหายเองโดยไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ

ไวรัส Epstein-Barr (EBV)

เป็นไวรัสในตระกูล Herpes และเป็นไวรัสที่พบได้ทั่วโลก หลังจากที่ติดเชื้อไปแล้ว มันจะอยู่กับคุณไปตลอดชีวิต ในบางกรณีที่หายาก อาจกลับเป็นใหม่ แต่มักไม่มีอาการ

เป็นโรคติดต่อ หรือไม่

เป็นโรคที่ติดต่อได้ เพราะเชื้อจะอยู่ในปาก ดังนั้นคนที่สัมผัสน้ำลายของผู้ที่มีเชื้อ เช่น การจูบ หรือการกินอาหารโดยใช้ช้อนร่วมกัน แต่เพราะระยะฟักตัวนาน บางครั้งเราจะไม่รู้ว่าติดเชื้อมา และจะติดต่อผู้อื่นได้ภายในสามเดือนหลังจากเริ่มมีอาการ 

ปัจจัยเสี่ยง

คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ
  • วัย 15-30 ปี
  • นักเรียน
  • แพทย์ฝึกหัด
  • พยาบาล
  • ผู้ดูแลผู้ป่วย
  • ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
ผู้ใดก็ตามที่ต้องสัมผัสใกล้ชิดคนจำนวนมาก จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่ม จึงทำให้นักเรียนนักศึกษาติดเชื้อได้บ่อย

การวินิจฉัยโรค

โรคจากไวรัสหลายโรคที่รุนแรง เช่น ตับอักเสบ A จะมีอาการใกล้เคียงกัน แพทย์จึงต้องตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม 1.ตรวจขั้นต้น  แพทย์จะถามว่ามีอาการมานานเท่าไร หากคุณอายุ 15-25 ปีแพทย์อาจถามว่าได้ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคนี้ หรือไม่ อายุเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยวินิจฉัย ร่วมกับอาการอื่น เช่น ไข้ เจ็บคอ และต่อมน้ำเหลืองโตแพทย์จะวัดไข้ และตรวจต่อมน้ำเหลืองที่คอ รักแร้และขาหนีบ และตรวจท้องด้านซ้ายบนเพื่อดูว่าม้ามโต หรือไม่ 2.ตรวจเลือด บางครั้งแพทย์จะให้ตรวจเลือด เพื่อดูปริมาณเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ เช่น ถ้าเม็ดเลือดขาวสูง แสดงว่ามีการติดเชื้อ 3.ตรวจนับเม็ดเลือดขาว การติดเชื้อนี้จะทำให้เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น เพราะต้องป้องกันร่างกาย การมีเม็ดเลือดขาวสูงไม่ได้บอกว่ามีการติดเชื้อนี้ แต่ก็แสดงว่ามีความเป็นไปได้สูง 4.การทดสอบ Monospot  ขั้นต่อไปคือ การทดสอบในห้องปฎิบัติการ คือ Monospot Test  หรือ (Heterophile Test) เพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกันบางชนิด ได้ผลภายในหนึ่งชั่วโมง แต่การตรวจนี้ยังระบุเจาะจงไม่ได้ 5.ตรวจภูมิคุ้มกัน EBV  หาก Monospot Test มีผลลบ แพทย์อาจให้ตรวจภูมิคุ้มกัน EBV ซึ่งตรวจพบได้ตั้งแต่สัปดาห์แรกที่เริ่มมีอาการ แต่ต้องรอผลนาน

Infectious Mononucleosis

การรักษา

ไม่มีการรักษาเฉพาะ แต่แพทย์อาจให้ยา Corticosteroid เพื่อลดการบวมของคอ และทอนซิล อาการจะหายไปเองภายใน 1-2 เดือนควรไปพบแพทย์ หากอาการเลวลง หรือปวดท้องมาก การดูแลตนเองที่บ้าน เพื่อช่วยลดอาการ เช่น การใช้ยาลดไข้ และช่วยลดการเจ็บคอเข่น การกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ และอื่นๆ เช่น
  • พักผ่อนมากๆ
  • ดื่มน้ำมากๆ
  • กินซุปไก่อุ่นๆ
  • เพิ่มภูมิคุ้มกันโดยการกินอาหารต้านการอักเสบ และมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก เช่น ผักใบเขียว แอปเปิล ข้าวกล้อง และแซลมอน 
  • ใช้ยาลดปวดทั่วไป เช่น พาราเซตามอล
ไม่ควรให้แอสไพรินกับเด็ก หรือวัยรุ่น เพราะอาจทำให้เกิด Reye’s Syndrome (โรคหายากที่ทำอันตรายต่อสมอง และตับ)

ผลข้างเคียงของโรค

โรคนี้ไม่อันตราย บางคนที่ติดเชื้อนี้ อาจติดเชื้อซำ้ เช่น คออักเสบจาก Strep ติดเชื้อที่ไซนัส หรือทอนซิลอักเสบ ในรายที่หายากอาจมีอาการดังนี้ 1. ม้ามโต คุณควรรออย่างน้อยหนึ่งเดือน ก่อนจะมีกิจกรรมทางร่างกายที่หนักหน่วง ยกของหนัก หรือเล่นกีฬาที่ถึงเนื้อถึงตัวที่อาจทำให้ม้ามแตกได้ เพราะอาจจะมีอาการม้ามโต ม้ามจะบวมจากการอักเสบปรึกษาแพทย์ว่าเมื่อใดที่คุณจะกลับไปมีกิจกรรมตามปกติได้ผู้ที่เป็นโรคนี้ และม้ามแตกนั้นเกิดได้ยาก แต่หากเกิดแล้วมีอันตรายถึงตาย หากคุณติดเชื้อ และปวดท้องกะทันหันบริเวณท้องด้านบนซ้าย ควรไปโรงพยาบาลทันที 2. ตับอักเสบ อาจเกิดตับอักเสบ และดีซ่าน (ตัวเหลืองตาเหลือง) ได้ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดได้ยาก
  • เลือดจาง คือ เม็ดเลือดแดงลดลง
  • Thrombocytopenia คือ เกล็ดเลือด (ที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว) น้อยลง
  • การอักเสบที่หัวใจ
  • ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับระบบประสาท เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือ Guillain-Barré Syndrome
  • ทอนซิลโต อาจอุดกั้นทางเดินหายใจ
  • มีการกลับเป็นซ้ำ
อาการ เช่น อ่อนเพลีย มีไข้ และเจ็บคอ อาจมีอยู่ต่ออีกสองสามสัปดาห์ เชื้อไวรัสนี้จะอยู่ในตัวคนผู้นั้นตลอดไป 

Monoในผู้ใหญ่

โรคนี้มักจะพบในคนวัยรุ่นจนถึง 20 ปี พบน้อยในคนอายุมากกว่า 30 ปี คนอายุมากที่ติดเชื้อมักมีไข้ แต่มักไม่มีอาการอื่น เช่นเจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองบวม หรือม้ามโต

 Mono ในเด็ก

เด็กจะติดเชื้อนี้จากการใช้ช้อนส้อมกินอาหาร หรือดื่มน้ำแก้วเดียวกัน หรืออยู่ใกล้กับผู้ที่ไอ จาม แต่เด็กมักมีอาการไม่มาก อาจแค่เจ็บคอ จึงอาจไม่รู้ว่าติดเชื้อเด็กที่เป็นโรคนี้ไปโรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงเด็กได้ แต่อาจหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่าง ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังการไอจาม 

Mono ในเด็กวัยหัดเดิน

คนส่วนใหญ่ติดเชื้อนี้ตั้งแต่อายุน้อย เด็กวัยหัดเดินติดเชื้อได้จากการใช้ช้อนส้อมกินอาหาร หรือดื่มน้ำแก้วเดียวกัน หรือจากการเอาของเล่น (ที่เด็กอื่นเคยอมแล้ว) มาอมเด็กวัยหัดเดินที่ติดเชื้อนี้มักไม่มีอาการ หากมีไข้ หรือเจ็บคอก็มักคิดว่าเป็นหวัด หากแพทย์สงสัยว่าเด็กของคุณติดเชื้อ จะแนะนำให้พักมากๆ และดื่มน้ำมากๆ

กลับเป็นอีก

โรคนี้เกิดจากไวรัส EB ที่จะอยู่ในตัวผู้นั้นตลอดไป แม้จะหายแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นไปได้ที่มันจะออกฤทธิ์ และเกิดอาการอีกหลายเดือน หรือหลายปีต่อมา หากอาการกลับเป็นอีก อาจไม่มีอาการ เว้นแต่คุณจะมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอในรายที่หายากมาก อาจเกิดอาการเรื้อรัง (Chronic Active EBV) คือ มีอาการนานกว่าหกเดือน หากคุณมีอาการของโรค และเคยเป็นโรคนี้มาแล้ว ควรไปพบแพทย์

การป้องกัน Mono 

โรคนี้เกือบจะป้องกันไม่ได้ เพราะคนที่สุขภาพดีแต่เคยติดเชื้อแล้วจะมีไวรัสในตัว และส่งต่อให้ผู้อื่นได้ตลอดชีวิต ผู้ใหญ่เกือบทุกคนเคยติดเชื้อมาแล้ว และมีภูมิคุ้มกันแล้ว คนทั่วไปติดโรคนี้เพียงครั้งเดียวในชีวิต

แนวโน้มและการฟื้นจากโรค

อาการของโรคนี้ไม่นานเกินสี่เดือน คนส่วนใหญ่จะหายภายใน 2-4 สัปดาห์ EBV ทำให้เกิดการติดเชื้อตลอดชีพแต่ไม่มีอาการ แต่ในกรณีที่หายาก ผู้ที่มีไวรัสอาจเป็นโรค Burkitt’s lymphoma หรือ Nasopharyngeal Carcinoma ซึ่งเป็นมะเร็งชนิดหายาก ดูเหมือนว่าไวรัสนี้มีส่วนในการเติบโตของมะเร็ง แต่ไม่ใช่สาเหตุ

การป้องกันโรคโมโน

Mononucleosis ที่ติดเชื้อหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Mono หรือ “โรคจูบ” คือการติดเชื้อไวรัสที่พบบ่อยที่สุดที่เกิดจากไวรัส Epstein-Barr (EBV) โรคติดต่อนี้มักติดต่อผ่านการแลกเปลี่ยนน้ำลาย ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น มีไข้ เจ็บคอ และต่อมบวม แม้ว่าจะไม่มีวิธีที่รับประกันภูมิคุ้มกันไม่ได้ แต่การใช้นิสัยการดำเนินชีวิตบางอย่างสามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิสได้อย่างมาก ในบทความนี้ เราจะสำรวจกลยุทธ์ต่างๆ ในการป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสและการรักษาสุขภาพโดยรวม
  • รักษาสุขอนามัยที่ดี: วิธีป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโมโนนิวคลีโอซิสที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่งคือการปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยที่ดี ส่งเสริมการล้างมือเป็นประจำด้วยสบู่และน้ำ โดยเฉพาะหลังการไอ จาม หรือใช้ห้องน้ำ นอกจากนี้ การหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน เช่น ช้อนส้อม เครื่องดื่ม และลิปบาล์มสามารถลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับไวรัสได้
  • เพิ่มระบบภูมิคุ้มกันของคุณ: ระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส การใช้ชีวิตเพื่อสุขภาพที่ดี รวมถึงการรับประทานอาหารที่สมดุลซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ การออกกำลังกายเป็นประจำ และการนอนหลับที่เพียงพอ จะช่วยเพิ่มความสามารถของร่างกายในการต่อสู้กับการติดเชื้อได้ ลองรวมอาหารที่สร้างภูมิคุ้มกัน เช่น ผลไม้ ผัก และโปรตีนไร้ไขมันเข้าไปในอาหารประจำวันของคุณ
  • การจัดการความเครียด: ความเครียดเรื้อรังอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น ฝึกเทคนิคการจัดการความเครียด เช่น การทำสมาธิ โยคะ หรือการฝึกหายใจเข้าลึกๆ เพื่อลดระดับความเครียด การนอนหลับที่เพียงพอและการออกกำลังกายเป็นประจำยังส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีและระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงอีกด้วย
  • ให้ความรู้และสร้างความตระหนักรู้: ความรู้เป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส ให้ความรู้แก่ตนเองและผู้อื่นเกี่ยวกับอาการ วิธีการแพร่เชื้อ และมาตรการป้องกันที่เกี่ยวข้องกับไวรัส ด้วยการสร้างความตระหนักรู้ในชุมชนของคุณ คุณมีส่วนช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่บุคคลได้รับข่าวสารและสามารถดำเนินการเพื่อปกป้องตนเองได้
  • การตรวจสุขภาพเป็นประจำ: กำหนดเวลาการตรวจสุขภาพเป็นประจำกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อติดตามสุขภาพของคุณและตรวจหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่เนิ่นๆ การรักษาการสื่อสารแบบเปิดกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณช่วยให้สามารถระบุปัจจัยเสี่ยงและการพัฒนากลยุทธ์การป้องกันส่วนบุคคลได้
แม้ว่าการขจัดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิสโดยสิ้นเชิงอาจเป็นเรื่องยาก แต่การใช้กลยุทธ์ป้องกันเหล่านี้สามารถลดโอกาสติดไวรัสได้อย่างมาก ด้วยการส่งเสริมหลักปฏิบัติด้านสุขอนามัยที่ดี ส่งเสริมพฤติกรรมที่รับผิดชอบในความสัมพันธ์ใกล้ชิด และจัดลำดับความสำคัญด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีโดยรวม บุคคลสามารถดำเนินการเชิงรุกเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิสและการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ โปรดจำไว้ว่า การผสมผสานระหว่างตัวเลือกที่มีข้อมูลครบถ้วนและวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีเป็นกุญแจสำคัญในการลดผลกระทบของโรคติดเชื้อต่อชีวิตของเรา
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด