อาการอาหารไม่ย่อย (Indigestion) คืออะไร อาหารไม่ย่อยสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทำไมจึงเกิดอาการอาหารไม่ย่อย เพราะอาหารที่กินเข้าไปหรือเพราะปัญหาที่เกิดจากกระเพาะอาหาร
สาเหตุของการไม่ย่อยอาหาร
อาหารไม่ย่อยเกิดจากจากการกินอาหารมากจนเกินไป หรือกินเร็วจนเกินไป รวมทั้งการกินอาหารรสจัด หรืออาหารที่มันมากจนเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้อาหารไม่ย่อยอีกด้วย หรือการนอนเร็วเกินไปหลังจากเพิ่งกินอาหารก็จะยิ่งทำให้อาหารย่อยได้ยากขึ้น และทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง อาการอาหารไม่ย่อยมีดังนี้:- อาการปวดท้องหรือท้องอืด
- อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุก เสียดท้อง
- คลื่นไส้ อาเจียน
- รู้สึกอิ่มระหว่างมื้ออาหาร ไม่สามารถทานอาหารได้หมด
- รู้สึกอิ่มมากทั้งๆที่ทานอาหารในปริมาณที่ปกติ
- รู้สึกแสบร้อนช่วงกลางอก มีอาการผิดปกติของหลอดอาหาร
- รู้สึกปวดบิดในกระเพาะอาหาร
- มีก๊าซในกระเพาะอาหาร
- อาเจียนอย่างรุนแรง
- อาเจียนเป็นเลือด หรืออาเจียนออกมาเป็นสีดำคล้ำ
- น้ำหนักลดไม่มีสาเหตุ
- อุจจาระสีดำ
- กลืนอาหารลำบาก
- เป็นโรคกรดไหลย้อน (Gerd)
- เป็นมะเร็งในกระเพาะอาหาร
- มีอาการผิดปกติของตับอ่อนหรือท่อน้ำดี
- เป็นแผลในกระเพาะอาหาร
การวินิจฉัยอาการอาหารไม่ย่อย มีดังนี้
แพทย์จะสอบถามสาเหตุอาการ โดยทั่วไปของผู้ป่วย รวมทั้งสอบถามถึงพฤติกรรมการกินอาหาร ประวัติการรักษาเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหาร และอาจมีการเอ็กซเรย์หน้าท้องร่วมด้วย เพื่อตรวจดูระบบการทำงานภายในกระเพาะอาหารว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ แพทย์อาจตรวจเลือด วัดการหายใจ หรือตรวจอุจจาระ เพื่อตรวจเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุของทำให้กระเพาะอาหารเป็นแผล และอาจใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อตรวจหาอาการผิดปกติของกระเพาะอาหาร ในระหว่างที่แพทย์ทำการส่องกล้อง แพทย์จะใช้กล้องที่ลักษณะหลอดเล็กใส่ผ่านเข้าไปในหลอดอาหารของผู้ป่วย เพื่อให้หลอดได้เข้าไปตรวจเช็คระบบการทำงานของกระเพาะอาหาร และแพทย์จะตรวจเช็คเยื่อบุของทางเดินอาหาร และเก็บตัวอย่างเนื้อเยื้อออกมาเพื่อทำการวินิจฉัยต่อไป การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน (GI) สามารถวินิจฉัยอาการได้ดังนี้- กรดไหลย้อน
- แผลในกระเพาะอาหาร
- โรคที่เกิดจากอากรอักเสบ
- โรคมะเร็งติดเชื้อ
การรักษาอาหารไม่ย่อยด้วยการใช้ยา
มีตัวยาหลายชนิดที่สามารถรักษาอาการอาหารไม่ย่อยได้ แต่การใช้ยาอาจส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงได้ การใช้ยาลดกรดที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไป เช่นยา Maalox และ Mylanta ช่วยต้านกรดในกระเพาะอาหาร แต่อาจทำให้ท้องเสียหรือท้องผูกได้ ตัวยาประเภท H2 receptor antagonists (H2RAs) ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร แต่ส่งผลค้างเคียงดังนี้- มีอาการคลื่นไส้ พะอืดพะอม
- อาเจียน
- ท้องเสีย ท้องผูก
- ขึ้นผื่น คัน
- ปวดหัว
- เกิดภาวะเลือดออก ผิดปกติ
- ผักผลไม้อย่างมะละกอ แอปเปิล ผักชีลาวมีเอนไซม์ช่วยย่อยอาหาร ส่วน แครอต พาร์สลีย์ กะหล่ำปลี และน้ำมันมะกอกชนิดพิเศษ ก็มีสรรพคุณเป็นยาลดกรด ลดการระคายเคือง
- นำตะไคร้แก่สดๆ ทุบพอแหลกประมาณ 1 กำมือ (50-60 กรัม) ต้มเอาน้ำ แก้อาการแน่นจุกเสียด
- นำขิงสด 30 กรัม ชงในน้ำเดือด 500 มิลลิกรัม แช่ไว้ 1 ชั่วโมง แล้วกรองดื่มครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ แก้ท้องอืดอาหารไม่ย่อยและปวดท้อง
- อาหารรสขมช่วยกระตุ้นให้น้ำย่อยออกมาทำงานได้ดี ลองกินมะกอก หรือชาสมุนไพรรสขมก่อนอาหารก็จะไม่มีอาการอึดอัดแน่นท้องตามมา
- ชงชากะเพรา โดยต้มใบกะเพราและยอดสด 1 กำมือ ประมาณ 25 กรัม ในน้ำเปล่า 1 ลิตร ดื่มแทนน้ำ เพื่อช่วยบำรุงธาตุ ขับลม ลดอาการจุกเสียด ชากะเพรานี้เหมาะสำหรับขับลมในเด็ก
- ในแต่ละวันควรกินอาหารมื้อเล็ก ไม่ควรกินมากเกินไปในแต่ละมื้อ
- หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด รสชาติมันจนเกินไป หรืออาหารที่ทำให้เกิดอาหารปวดท้อง หรืออาหารที่ย่อยยาก
- ไม่ควรกินเร็วเกินไป และไม่ควรเอนตัวลงนอนทันที ภายหลังการกินอาหาร
- งดสูบบุหรี่
- ลดน้ำหนักส่วนเกิน
- ลดการกินกาแฟ กินน้ำอัดลม และเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- หยุดยาที่ส่งผลต่อเยื่อบุในกระเพาะอาหาร และทำให้กระเพาะอาหารระคายเคือง เช่น NSAIDs
- ควรลดความเครียด หรือเล่นโยคะ ผ่อนคลายความเครียด
- มีอาการเรื้อรัง
- เจ็บปวดรุนแรง
- ดื้อยาหรือร่างกายไม่ตอบสนองต่อยาที่สั่งโดยแพทย์
คำถามที่พบบ่อย
อาหารไม่ย่อยกินเวลานานแค่ไหน ระยะเวลาที่อาหารไม่ย่อย อาการอาหารไม่ย่อยที่ไม่รุนแรงส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์หรือแม้แต่ยา ในกรณีเหล่านี้ อาการจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง และแม้ว่าอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นอีกเป็นเวลา 2-3 วัน อาการจะหายไปเองหรือหลังจากปรับเปลี่ยนอาหารหรือวิถีชีวิต อาหารไม่ย่อยหายได้เองหรือไม่ อาหารไม่ ย่อยมักจะหายไปเองและจะผ่านไปตามเวลา ตัวอย่างเช่น หากคุณมีอาการอาหารไม่ย่อยหลังจากรับประทานอาหารมื้อใหญ่ อาการไม่สบายท้องของคุณอาจลดลงเมื่อร่างกายของคุณเริ่มย่อยอาหารที่คุณรับประทานเข้าไป อย่างไรก็ตาม การใช้ยาและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบางอย่างสามารถช่วยรักษาและป้องกันอาการอาหารไม่ย่อยได้ อาหารไม่ย่อยร้ายแรงหรือไม่ อาหารไม่ย่อยขั้นรุนแรงอาจทำให้เกิดปัญหาในระยะยาวกับส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหารเช่น แผลเป็นที่หลอดอาหารหรือทางเดินอาหารจากกระเพาะอาหาร อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่เป็นไปได้ของอาหารไม่ย่อยอย่างรุนแรง อาหารไม่ย่อยเป็นปัญหาร้ายแรงหรือไม่ หากคุณมีอาการอาหารไม่ย่อยและอาการใดๆ ต่อไปนี้ คุณอาจมีอาการที่ร้ายแรงกว่านั้นและควรไปพบแพทย์ทันที: อุจจาระสีดำคล้ายน้ำมันดิน อาเจียนเป็นเลือด กลืนลำบากหรือกลืนลำบาก ทำไมอาหารไม่ย่อยถึงไม่หายไป อาหารไม่ย่อยมักเป็นสัญญาณของปัญหาพื้นฐาน เช่น โรคกรดไหลย้อน (GERD) แผลในกระเพาะอาหาร หรือโรคถุงน้ำดีแทนที่จะเป็นอาการของมันเอง เรียกอีกอย่างว่าอาการอาหารไม่ย่อย หมายถึงอาการปวดหรือรู้สึกไม่สบายในช่องท้องส่วนบนอย่างต่อเนื่องหรือเกิดขึ้นซ้ำๆ น้ำดื่มช่วยเรื่องท้องอืดท้องเฟ้อหรือไม่ ประการแรก น้ำสามารถช่วยเจือจางกรดในกระเพาะ อาหารและทำให้ระคายเคืองต่อหลอดอาหารน้อยลง สิ่งนี้สามารถลดอาการแสบร้อนกลางอกที่เป็นลักษณะของอาการเสียดท้องได้ นอกจากนี้ การดื่มน้ำยังช่วยชะล้างกรดในกระเพาะอาหารกลับลงไปในกระเพาะอาหาร อาหารไม่ย่อยทุกวันแย่ไหม เมื่อไหร่ควรพบแพทย์สำหรับอาการเสียดท้อง? หากคุณมีอาการแสบร้อนกลางอกบ่อยครั้ง (มากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์) หรือมีอาการเสียดท้องร่วมด้วย เช่น เจ็บหน้าอกหรือหายใจลำบาก คุณควรไปพบแพทย์ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งข้อมูลบทความของเรา
- https://www.nhs.uk/conditions/indigestion/
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/indigestion/symptoms-causes/syc-20352211
- https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/stomach-liver-and-gastrointestinal-tract/indigestion
- https://www.niddk.nih.gov/health-information/digestive-diseases/indigestion-dyspepsia/symptoms-causes
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น