แผลพุพอง (Impetigo) : ประเภท สาเหตุ วิธีการรักษา อาการ 

 
พญ.พรรณิภา สุขสมบูรณ์กิจเรียบเรียงและปรับปรุงข้อมูลทางการแพทย์โดย : พญ. พรรณิภา สุขสมบูรณ์กิจ

แผลพุพองหรือโรคตุ่มน้ำพุพองคืออะไร

แผลพุพอง (Impetigo) คือ หรือโรคตุ่มน้ำพอง ถือเป็นโรคติดต่อทางผิวหนังชนิดหนึ่งที่ผิวติดเชื้อแบคทีเรีย โดยผิวหนังจะมีแผลพุพอง มีน้ำอยู่ข้างใน เป็นตุ่มน้ำพอง หรือบางครั้งอาจเป็นแผลพุพองเป็นหนอง หรือตุ่มน้ำ แตกง่าย แผลพุพองเป็นน้ำใส ๆ เมื่อแตกออกมาแล้วจะมีสะเก็ดสีน้ำตาลหรือเหลือง เกิดขึ้นได้บ่อยบริเวณใบหน้า  ปาก มือและเท้า และสามารถลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ โดยการสัมผัสหรือเกาที่บริเวณแผล และผู้อื่นสามารถติดเชื้อแบคทีเรียแผลพุพองนี้ได้จากการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วยที่มีอาการ เช่นใช้ผ้าผืนเดียวกัน ใช้แก้วน้ำ หรืออุปกรณ์และการสัมผัสทางร่างกายอื่น ๆ กรณีที่เดินเท้าเปล่าในที่สกปรกอาจเกิดแผลพุพองที่เท้าได้ โรคแผลพุพอง ตุ่มน้ำนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกวัย แต่สามารถพบได้บ่อยในทารกและเด็ก

สาเหตุการเกิดแผลพุพองคือ

แผลพุพองเป็นตุ่มหนอง สามารถเกิดขึ้นโดยมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สองชนิดคือ
  • เชื้อแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) 
  • เชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอดคัส พัยโอจีเนส (Streptococcus Pyogenes)
โดยที่เชื้อแบคทีเรียเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยการเข้าผ่านผิวหนังมีบาดแผล เมื่อได้รับเชื้อแล้วแบคทีเรียจะแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วภายในร่างกายผู้ป่วยเอง หรือสามารถส่งผ่านต่อไปยังบุคคลอื่น ๆ ได้

อาการของโรคพุพอง

หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้วผู้ป่วยจะเริ่มมีผื่นสีแดง ผื่นสีแดงนี้จะกลายเป็นตุ่มน้ำพองและสามารถกระจายไปได้ทั้งตัว จากการเกาหรือ ผ่านเสื้อผ้าหรือจากการถู ตุ่มพองนี้สามารถแตกออกง่าย มีน้ำเหลือง มีแผลที่แขน ผิวหนังพอง แผลพุพองที่เท้า แผลพุพองเป็นหนอง แผลพุพองนั้นสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท
  • เป็นแผลพุพองแบบไม่มีตุ่มน้ำ (Non-Bullous Impetigo) บริเวณผิวจะเป็นตุ่ม ผื่นแดง ขนาดเกิดแผลจากการเกา จะไม่รู้สึกเจ็บที่บริเวณแผลแต่จะมีอาการคัน แผลอาจกระจายเป็นบริเวณกว้างอย่างรวดเร็ว จึงไม่ควรเกาหรือสัมผัสกับแผล
  • เป็นแผลพุพองแบบมีตุ่มน้ำ (Bullous Impetigo) จะมีลักษณะของแผลที่มีตุ่มน้ำพองใสบริเวณทั่วร่างกายผู้ป่วยควรงดการเกาหรือสัมผัสบริเวณแผลเพื่อไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียไปยังบริเวณอื่น ๆ  ของร่างกาย รวมทั้งงดการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  • เป็นแผลพุพองแบบรุนแรง (Ecthyma) ผิวหนังพอง เกิดจากการติดเชื้อที่ชั้นหนังแท้ มีอาการเช่นเดียวกันกับแผลพุพองแบบไม่มีตุ่มน้ำแต่ลึกกว่าเนื่องจากอยู่ชั้นหนังแท้  และเป็นอาการแทรกซ้อนหนึ่งของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่องเช่นผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV หรือผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดแผลพุพอง

แผลพุพองในเด็ก

โรคพุพองนั้นสามารถพบได้ในเด็กอายุ 2-6 ปี โดยตุ่มน้ำมักจะเกิดบริเวณใบหน้า จมูกและปาก ซึ่งเด็กอาจจะติดเชื้อนี้เด็กคนอื่นที่เป็น และเชื้อชนิดนี้สามารถแพร่กระจายจากการสัมผัสทางผิวหนัง น้ำมูก เล่นของเล่นเดียวกัน ใช้ผ้าผื่นเดียวกัน หรือนอนเตียงนอนเดียวกัน หรือกิจกรรมอื่น ๆ  ที่เด็กอาจจะได้มีการสัมผัสทางร่างกายกัน อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ โรคแผลพุพอง (Impetigo)

ภาวะแทรกซ้อนของแผลพุพอง

โรคแผลพุพองหากปล่อยอาการไว้นานและไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ก็อาจจะก่อให้เกิดผลข้างเคียง หรือภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ดังนี้
  • รอยแผลเป็น
  • ไข้รูมาติก (Rheumatic Fever) เชื้อสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาจจะส่งผลให้มีการอักเสบของหัวใจได้ด้วยเช่นกัน
  • การติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicaemia) อุณหภูมิในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง  ทำให้มีไข้ หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว มีอาการสั่น หากเข้ารับการรักษาไม่ทัน อาจส่งผลทำให้การทำงานของอวัยวะล้มเหลวและเสียชีวิตได้
  • โรคสะเก็ดเงินชนิดพุพอง (Guttate Psoriasis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ผิวแห้งแดง คัน และตกสะเก็ดเป็นสีเทาหรือสีเงิน
  • ไข้อีดำอีแดง (Scarlet Fever) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง
  • เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชั้นหนังแท้และเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการแดง บวม ตึง เจ็บ แสบร้อนที่ผิวหนัง หรืออาเจียนและมีไข้สูงร่วมด้วย
  • ไตอักเสบ  หลังการติดเชื้อสเตรปโทคอคคัส เป็นเหตุให้ไตวายได้

วิธีรักษาแผลพุพอง

แผลพุพองรักษาอย่างไร โดยทั่วไปแล้วแผลพุพองอาจจะหายได้เอง ภายใน 7-10 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการและระดับความรุนแรงของผู้ป่วย แพทย์อาจจะสั่งจ่ายยาปฎิชีวนะซึ่งเป็นยารักษาแผลพุพองชนิดทาน หรือยาทาแผลพุพองเพื่อรักษาอาการ ทั้งนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องปฎิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดหลังจาก รับยา ในการดูแลตัวเองต่อที่บ้าน โดยมีข้อพึงปฎิบัติดังนี้
  • รักษาความสะอาดและสุขอนามัยเป็นอย่างดี
  • ทำความสะอาดแผลบริเวณที่ติดเชื้อ
  • หากแผลมีอาการรุนแรงขึ้นหรือเป็นเรื้อรังหายช้า ควรกลับไปพบแพทย์
  • ไม่ควรใช้ผ้าขนหนูหรือของใช้ร่วมกับผู้อื่น
  • ทานยาหรือทายาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

การรักษาพุพองด้วยยาปฏิชีวนะ

ปัจจุบันเราสามารถเลือกใช้ยาปฏิชีวนะมารักษาแผลพุพองได้เช่นกัน โดยจะเป็นยาที่แพทย์สั่งเท่านั้น ดังนี้
  • ยาปฏิชีวนะแบบทา เมื่อมีแผลเล็กน้อย
  • ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน ในกรณีที่มีแผลลุกลามมากขึ้น
ผู้ป่วยควรระมัดระวังไม่สัมผัสหรือใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่นจนกว่าแผลจะหาย เนื่องจากแบคทีเรียสามารถแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นได้ และนอกจากนี้ผู้ป่วยควรรักษาสุขอนามัยเป็นอย่างดี   หากผู้ป่วยมีบาดแผลเปิดหรือติดเชื้อที่ผิวหนัง ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมดังต่อไปนี้:
  • อ่างน้ำร้อน
  • สระว่ายน้ำ
  • แหล่งน้ำธรรมชาติ (เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำ มหาสมุทร)

ข้อควรรู้

พุพองพุพองในเด็กแรกเกิด เด็ก หรือผู้ใหญ่ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและ/หรือกำลังประสบกับภาวะไตวาย สามารถพัฒนาไปสู่รูปแบบที่รุนแรงและมีลักษณะทั่วไปที่เรียกว่า Staphylococcal scalded skin syndrome (SSSS) อัตราการเสียชีวิตน้อยกว่า 3% สำหรับเด็กที่ติดเชื้อ แต่สูงถึง 60% สำหรับผู้ใหญ่ แผลพุพองเกิดจากความเครียดได้หรือไม่ ไม่ ความเครียดไม่ได้ทำให้เกิดแผลพุพอง อย่างไรก็ตาม ความเครียดอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณอ่อนแอลงได้ ด้วยระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ แบคทีเรียจะติดเชื้อได้ง่ายขึ้นและร่างกายจะต่อสู้กับพวกมันได้ยากขึ้น

การป้องกันโรคแผลพุพอง

  • หมั่นรักษาความสะอาดทางสุขอนามัย หากมีแผลควรรักษาแผลให้สะอาด
  • อยู่ห่างหรือไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วยแผลพุพอง
  • ล้างมือหรือบริเวณที่สัมผัสทันทีเมื่อคุณมีการ สัมผัสกับผู้ป่วยแผลพุพอง
  • หากมีบาดแผล ควรล้างแผลและปิดแผล จนกว่าแผลจะหายดี
  • หากเด็กที่เป็นแผลพุพอง ควรแยกให้อยู่แต่ในบ้านจนกว่าจะหาย ไม่ควรให้ไปโรงเรียนหรือเล่นกับเด็กอื่น ๆ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญหากคุณเป็นผู้ป่วยโรคพุพอง คุณจำเป็นต้องรักษาความสะอาดบริเวณแผลเป็นอย่างดี ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไปยังบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไปยังบุคคลอื่น ควรรับประทานยาและทาบาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และไม่ควรปล่อยให้ตัวเองอยู่ในภาวะเครียด เนื่องจากจะไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นและอาจจะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ก่อให่เกิดอันตรายได้ หากมีข้อสงสัยควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรึกษาและหาแนวทางแก้ไข

ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งข้อมูลบทความของเรา 

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/impetigo/symptoms-causes/syc-20352352
  • https://www.nhs.uk/conditions/impetigo/
  • https://medlineplus.gov/impetigo.html
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด