โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System Disorders)

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีหน้าที่ป้องกันและต่อสู้กับเชื้อโรค รวมถึงการรุกรานที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย หากไม่มีระบบภูมิต้านทานนี้คุณอาจมีอาการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อโรค เช่นเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส ระบบภูมิต้านทานทำงานด้วยเซลล์พิเศษภายในเนื้อเยื่อและอวัยวะที่ทำงานร่วมกันเพื่อปกป้องร่างกาย  ระบบน้ำเหลืองเป็นส่วนประกอบหลักของระบบภูมิต้านทาน ต่อมน้ำเหลืองและเส้นเลือดมีลักษณะเป็นเครือข่าย โดยท่อน้ำเหลืองหมายถึงท่อบางๆที่กระจายไปเหมือนเส้นเลือดที่มีทั่วร่างกาย ในท่อดังกล่าวจะมีน้ำใสๆที่เรียกว่าน้ำเหลือง ซึ่งน้ำเหลืองประกอบไปด้วยของเหลวในเนื้อเยื่อ ได้แก่ของเสียและเซลล์ระบบภูมิต้านทาน โดยต่อมน้ำเหลืองจะมีเซลล์ระบบภูมิต้านทานเป็นก้อนรูปทรงคล้ายถั่วขนาดเล็ก  ติดต่อกับท่อน้ำเหลือง ระบบน้ำเหลืองจะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ไว้ดักจับเชื้อไวรัส แบคทีเรียและผู้รุกรานอื่นๆ รวมถึงเซลล์มะเร็ง เซลล์เม็ดเลือดขาวคือเซลล์ของระบบภูมิต้านทาน เป็นเซลล์ที่อยู่ในอวัยวะชนิดหนึ่งที่มีองค์ประกอบของน้ำเหลืองเช่นม้าม หรือต่อมไทมัส และในไขกระดูก

ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายมีอะไรบ้าง 

เมื่อระบบภูมิต้านทานทำงานไม่ดีเราจะเรียกว่าอาการนี้ว่าโรคภูมิต้านทานทำลายตนเอง คุณอาจ :
  • เกิดมาพร้อมกับระบบภูมิต้านทานอ่อนแอเรียกว่าภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดปฐมภูมิ
  • เป็นโรคที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เรียกว่าโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ระบบภูมิต้านทานทำงานมากเกินไป อาจเกิดขึ้นร่วมกับปฏิกิริยาภูมิแพ้
  • ระบบภูมิต้านทานหันกลับมาทำร้ายตนเอง ที่เรียกว่าโรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตนเอง

โรคระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

  • โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (SCID) คือตัวอย่างหนึ่งของภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เป็นมาแต่กำเนิด เด็กที่เกิดการติดเชื้อจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสและเชื้อรา โรคชนิดนี้บางครั้งเรียกว่า “bubble boy disease” (ผู้ที่เกิดมาพร้อมความบกพร่องทางภูมิคุ้มกันแบบปฐมภูมิทำให้อ่อนแอ ต้องอาศัยในสภาพแวดล้อมที่ปลอดเชื้อ) ในปี 1970 เด็กต้องอาศัยอยู่ในบับเบิ้ลพลาสติกที่ผ่านการฆ่าเชื้อ เด็กที่เป็นโรค SCID จะไม่มีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่สำคัญ เป็นโรคที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษา   
  • โรคภุมิคุ้มกันบกพร่องชั่วคราว ระบบภูมิต้านทานอาจอ่อนแอด้วยยาบางชนิด มักเกิดขึ้นกับคนที่ได้รับเคมีบำบัดหรือยาอื่นๆมี่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง หรือเกิดขึ้นกับคนหลังการได้รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะที่จำเป็นต้องได้รับยาป้องกันการเกิดปฏิกิริยาต่อต้านอวัยวะใหม่ ดังนั้นการติดเชื้อเช่นไวรัสไข้หวัดใหญ่ โรคโมโนนิวคลิโอซิสและโรคหัด ก็สามารถทำให้ระบบภูมิต้านทานอ่อนแอในระยะสั้นได้ นอกจากนี้ระบบภูมิต้านทานของคนเรายังสามารถอ่อนแอได้เนื่องจากการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์และภาวะโภชนาการพร่องได้เช่นกัน
  • โรคเอดส์ (AIDS) หรือการติดเชื้อ HIV มีสาเหตุจากโรคติดเชื้อไวรัสที่มาภายหลัง ซึ่งทำพลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่สำคัญและทำให้ระบบภูมิต้านทานอ่อนแอ โดยผู้ที่เป็นโรคเอดส์สามารถป่วยรุนแรงได้ เนื่องจากสามารถเกิดการติดเชื้อโรคที่คนปกติสามารถสู้ได้ ซึ่งการติดเชื้อนี้เรียกว่า “โรคติดเชื้อฉวยโอกาส” เพราะมักเป็นโรคที่มักเกิดขึ้นเฉพาะกับผู้ที่มีระบบภูมิต้านทานอ่อนแอเท่านั้น   <a href=โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน” width=”600″ height=”388″ />

ระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไป

หากเกิดมาพร้อมกับยีนนี้ ระบบภูมิต้านทานของเราจะทำปฏิกิริยาต่อสสารบางชนิดในสิ่งแวดล้อมที่ปกติ แต่เป็นสิ่งที่ไม่ได้เป็นอันตรายมากนัก โดยสารนี้เรียกว่าสารก่อภูมิแพ้ เมื่อมีอาการที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้สารก่อภูมิแพ้เป็นตัวอย่างหนึ่งของภาวะที่ระบบภูมิต้านทานของร่างกายทำงานหนักมากเกินไปของ ฝุ่น เชื้อรา ละอองเกสรและอาหารเป็นตัวอย่างของสารก่อภูมิแพ้  โรคบางชนิดอาจเป็นสาเหตุทำให้ระบบภูมิต้านทานทำงานมากเกินไปได้ เช่น :
  • โรคหอบหืด การตอบสนองของปอดเป็นสาเหตุของอาการไอ จาม หรือหายใจลำบาาก โรคหอบหืดสามารถถูกกระตุ้นได้ด้วยสารก่อภูมิแพ้ทั่วๆไป เช่นฝุ่นหรือละอองเกสร หรืออาการระคายเคืองจากควันบุหรี่
  • โรคผิวหนังอักเสบเกิดสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นสาเหตุของอาการผื่นคัน ที่เรียกว่าโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง 
  • โรคไข้ละอองฟาง (โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้) อาการจาม น้ำมูกไหล หายใจขัดหรือโพรงจมูกบวมจากสารก่อภูมิแพ้ภายในอาคารเช่น ฝุ่นและขนสัตว์ หรือสารก่อภูมิแพ้จากภายนอกอาคารเช่น ละอองเกสรหรือเชื้อรา 
  • ภูมิแพ้อาหาร เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่มีความรุนแรงมีสาเหตุมาจากอาหาร

โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตนเอง

โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตนเอง เป็นโรคที่จู่โจมตัวเอง โรคที่ผู้เชี่ยวชาญเองก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดได้ ดูเหมือนอาจเกิดขึ้นร่วมกันจากยีนและบางสิ่งบางอย่างในสิ่แวดล้อมที่เป็นตัวไปกระตุ้นยีนดังกล่าว โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตนเองปกติแล้วมักแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด :
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นโรคระบบภูมิต้านทานจู่โจมเซลล์ในตับอ่อนซึ่งผลิตอินซูลิน อินซูลินจะนำเอาน้ำตาลจากเลือดมาใช้เป็นพลังงาน
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นชนิดหนึ่งของข้ออักเสบทำให้เกิดอาการบวมและความผิดปกติของข้อต่อ. ออโต้แอนติบอดีที่เรียกว่ารูมาตอยด์ แฟคเตอร์ หรือ  anti-CCP จะอยู่มนเลือดของคนที่มีภาวะโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • โรคลูปัส เป็นโรคที่จู่โจมเนื้อเยื่อของร่างกาย รวมถึงปอด ไต และผิวหนัง สามารถพบเจอสารออโต้แอนติบอดี้หลายชนิดในเลือดของคนที่เป็นโรคลูปัส
ผู้เชี่ยวชาญเองก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดถึงสาเหตุโรคภูมิต้านทาน แต่พบว่ามีปัจจัยที่หลากหลายรวมอยู่ในนั้น หากคุณมีภาวะโรคภูมิต้านทาน ควรทำการศึกษาเพิ่มเติมอย่างใกล้ชิดกับแพทย์เพื่อการจัดการที่ดียิ่งขึ้น

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด