ชื่อสามัญ: Ibuprofen (EYE bue PROE fen)
ขนาด: ยาแคปซูลแบบทาน (200 มก.)
ยาน้ำแขวนตะกอนชนิดรับประทาน (100 มก./5 มล.; 50 มก./1.25 มล.)
ยาเม็ด Ibuprofen 400 (100 มก.; 200 มก.; 400 มก.; 600 มก.; 800 มก.)
ยาเม็ดแบบเคี้ยว(100 มก.; 50 มก.)
ยาไอบูโพรเฟน คืออะไร
ไอบูโพรเฟนเป็นยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ทำงานโดยการลดฮอร์โมนที่ทำให้เกิดการอักเสบและความปวดในร่างกาย ใช้ลดไข้และลดอาการปวดหรือการอักเสบที่เกิดจากหลายอาการเช่น ปวดศีรษะ ปวดฟัน ปวดหลัง ปวดตามข้อ ปวดประจำเดือนและอาการบาดเจ็บเล็กน้อย ผู้ที่ใช้ยานี้ได้คือผู้ใหญ่และเด็กที่อายุอย่างน้อย 6 เดือนก่อนใช้ยาแก้ปวด Ibuprofen
ห้ามใช้ยานี้หากมีอาการแพ้ หรือเคยเกิดอาการหอบหืด หรือมีอาการแพ้ที่รุนแรงหลังใช้ยาแอสไพรินหรือยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรว่าสามารถใช้ยานี้ได้หรือไม่หากเคยมีอาการเหล่านี้- โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคเบาหวาน หรือสูบบุหรี
- หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือลิ่มเลือดอุดตัน
- โรคแผลหรือเลือดออกในกระเพาะอาหาร
- โรคตับหรือโรคไต
- โรคหอบหืด
- หากคุณกำลังทานยาแอสไพรินเพื่อป้องกันการเกิดหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง
การใช้ยา Ibuprofen
ใช้ยาตามคำแนะนำบนฉลากหรือตามแพทย์สั่ง ใช้ปริมาณที่น้อยที่สุดที่สามารถรักษาอาการได้ การใช้ยานี้มากเกินไปอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อกระเพาะหรือลำไส้ ปริมาณที่ผู้ใหญ่ใช้ได้มากที่สุดคือ 800 มก.ต่อหนึ่งครั้ง หรือ 3200 มก.ต่อวัน ทานได้มากที่สุด 4 ครั้งต่อวัน การใช้ยาในเด็กขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนัก ทำตามคำแนะนำบนฉลากของยาไอบูโพรเฟนสำหรับเด็ก ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหากมีคำถาม ทานยานี้คู่กับอาหารหรือนมเพื่อลดอาการปวดท้อง ก่อนใช้ยาน้ำแขวนตะกอนชนิดรับประทานให้เขย่าขวดก่อน วัดปริมาณยา ใช้ไซรินจ์วัดยาที่ได้มาหรือใช้อุปกรณ์วัดปริมาณยา ต้องเคี้ยวยาชนิดเคี้ยวก่อนกลืน เก็บยาในอุณหภูมิห้องห่างจากความชื้นและความร้อน ระวังอย่าให้ยาชนิดน้ำกลายเป็นน้ำแข็งคำเตือนก่อนใช้ ยา Ibuprofen
ยานี้สามารถเพิ่มโอกาสการเกิดหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองที่ถึงแก่ชีวิตได้ ห้ามใช้ยานี้ก่อนหรือหลังการผ่าตัดบายพาสหัวใจ อาจทำให้เกิดเลือดออกในช่องท้องหรือในทางเดินอาหารซึ่งอาจถึงแก่ชีวิตได้ อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการใช้ยาโดยไม่มีอาการเตือนโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ห้ามใช้ยามากกว่าที่ได้รับคำแนะนำ การใช้ยามากเกินไปอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้ยาในจำนวนที่น้อยที่สุดที่จำเป็นในการลดอาการปวด บวม หรือลดไข้หากลืมทานยา
ยานี้ทานเมื่อมีอาการจึงไม่จำเป็นต้องมีเวลาทานประจำ หากใกล้ถึงเวลาทานครั้งต่อไปแล้วให้ข้ามไปทานครั้งแต่ไปได้เลยโดยไม่ต้องทานทดแทน ห้ามทานมากกว่าปริมาณที่กำหนดต่อหนึ่งครั้งหากใช้ยามากเกินไป
ให้พบแพทย์โดยด่วนหากคุณคิดว่าใช้ยามากเกินไป อาการมีดังนี้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ง่วงนอน อุจจาระเป็นสีดำหรือมีเลือด ไอเป็นเลือด หายใจเร็ว เป็นลม หมดสติสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาอื่นเพื่อลดอาการปวด ลดไข้ ลดบวมหรือมีอาการหวัด ไข้หวัดใหญ่ ยาพวกนี้อาจมีส่วนประกอบคล้ายไอบูโพรเฟนเเช่น แอสไพริน คีโตโพรเฟน นาพรอกเซน ซึ่งจะทำให้ได้รับยามากเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินยกเว้นแพทย์สั่ง หากคุณใช้ยาแอสไพรินเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจวาย การทานไอบูโพรเฟนอาจทำให้แอสไพรินมีประสิทธิภาพน้อยลงในการปกป้องหัวใจและเส้นเลือด หากคุณทานยาทั้งสองตัว ทานไอบูโพรเฟนก่อนทานแอสไพรินอย่างน้อย 8ชั่วโมง หรือ 30นาทีหลังทานแอสไพริน(ชนิดไม่เคลือบ) หลีกเลี่ยงการดื่มสุราเพราะอาจทำให้เพิ่มโอกาสในการเกิดเลือดออกในกระเพาะอาหารผลข้างเคียง
พบแพทย์โดยด่วนหากมีสัญญาณallergy-0094/”>แพ้ยา เช่น ลมพิษ หายใจลำบาก หน้าหรือคอบวม อาการแพ้รุนแรงที่ผิวหนัง ไข้ขึ้น เจ็บคอ แสบตา เจ็บผิวหนัง ผื่นสีแดงหรือม่วง มีอาการพุพองและลอก พบแพทย์โดยด่วนหากมีสัญญารการเกิดโรคหัวใจหรือหลอดเลือดสมอง เช่น เจ็บหน้าอกร้าวไปถึงกรามหรือไหล่ อาการชาเฉียบพลันหรือร่างกายด้านใดด้านหนึ่งอ่อนแรง พูดช้าลง ขาบวม หายใจตื้น หยุดใช้ยานี้และติดต่อแพทย์ทันทีหากมีอาการดังนี้- สายตาพร่ามัว
- หายใจลำบาก แม้ออกแรงเพียงเล็กน้อย
- บวมหรือน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
- ผื่นที่ผิวหนัง ไม่ว่าจะน้อยแค่ไหน
- สัญญาณเลือดออกในกระเพาะอาหาร เช่น มีเลือดใน อุจจาระหรือมีลักษณะสีดำเหนียวคล้ายยางมะตอย ไอเป็นเลือด หรืออาเจียนออกมามีสีคล้ายกาแฟ(น้ำตาลแก่)
- ปัญหาของตับ เช่น คลื่นไส้ ปวดท้องด้านบน คัน รู้สึกเหนื่อย มีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ ไม่อยากอาหาร ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระเป็นอ่อน(สีซีดออกเทา) ดีซ่าน (ผิวหรือตาเป็นสีเหลือง)
- เซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ(เลือดจาง) ผิวสีซีด วิงเวียนศีรษะ หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว ขาดสมาธิ
- ปัญหากับไต ปัสสาวะน้อยหรือไม่ปัสสาวะ เจ็บเมื่อปัสสาวะหรือปัสสาวะลำบาก เท้าหรือข้อเท้าบวม รู้สึกเหนื่อย หายใจลำบาก
- คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด
- เลือดออก
- วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
- Cyclosporine
- Lithium
- Methotrexate
- ยาเจือจางเลือด (Warfarin, Coumadin, Jantoven)
- ยาโรคหัวใจ หรือยาลดความดันโลหิต รวมถึง ยาขับปัสสาวะ
- ยาสเตียรอยด์ (เช่น เพรดนิโซโลน )
การตั้งครรภ์ ให้นมบุตร และภาวะเจริญพันธุ์กับรับประทานหรือยาใช้ไอบูโพรเฟน
ไอบูโพรเฟนและการตั้งครรภ์
โดยปกติแล้วไม่แนะนำให้ใช้ไอบูโพรเฟนในผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ เว้นแต่แพทย์จะสั่งจ่ายยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณตั้งครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ เนื่องจากไอบูโพรเฟนอาจส่งผลต่อการไหลเวียนและไตของทารก หรือถ้าจำเป็นต้องใช้อาจรับประทานไอบูโพรเฟนระยะสั้น (ไม่เกิน 3 วัน) ได้ แต่จะขึ้นอยู่กับว่าคุณตั้งครรภ์กี่สัปดาห์และเหตุผลที่คุณต้องรับประทานยา การรักษาอื่นๆ อาจจะเหมาะกับคุณมากกว่า พูดคุยกับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนรับประทานไอบูโพรเฟนหากคุณกำลังตั้งครรภ์ แพทย์ของคุณสามารถให้คำแนะนำคุณเกี่ยวกับประโยชน์และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการรับประทานยาได้ นอกจากนี้ พาราเซตามอลถือเป็นยาแก้ปวดที่ดีที่สุดที่ควรใช้ในระหว่างตั้งครรภ์ไอบูโพรเฟนและการให้นมบุตร
คุณสามารถรับประทานไอบูโพรเฟนหรือใช้บนผิวหนังขณะให้นมบุตรได้ เพราะไอบูโพรเฟนเป็นหนึ่งในยาแก้ปวดที่มักแนะนำหากคุณกำลังให้นมบุตร ปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่จะเข้าสู่น้ำนมแม่ และไม่น่าจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อลูกน้อยของคุณ หลายคนใช้มันขณะให้นมบุตรโดยไม่มีปัญหาใดๆ หากคุณสังเกตเห็นว่าลูกน้อยของคุณไม่ได้ดูดนมตามปกติ หรือหากคุณมีข้อกังวลอื่น ๆ เกี่ยวกับลูกน้อยของคุณ ให้พูดคุยกับพยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาดูแลสุขภาพ เภสัชกร หรือแพทย์โดยเร็วที่สุดไอบูโพรเฟนและการเจริญพันธุ์
ไม่มีหลักฐานว่าการใช้ไอบูโพรเฟนลดภาวะเจริญพันธุ์ในผู้ชายหรือผู้หญิง อย่างไรก็ตาม การใช้ในระยะยาวบางครั้งอาจส่งผลต่อการตกไข่ หากคุณประสบปัญหาในการมีบุตร ให้ปรึกษาแพทย์ของคุณทันทีข้อมูลเพิ่มเติม
เก็บยานี้แและยาอื่นๆให้ไกลจากมือเด็ก ไม่ใช้ยาร่วมกับผู้อื่นและใช้ยาเฉพาะตามที่สั่งเท่านั้นนี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.nhs.uk/medicines/ibuprofen-for-adults/
- https://www.webmd.com/drugs/2/drug-5166-9368/ibuprofen-oral/ibuprofen-oral/details
- https://www.nhsinform.scot/tests-and-treatments/medicines-and-medical-aids/types-of-medicine/ibuprofen
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น