ภาวะตัวเย็นเกิน (Hypothermia) คือ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิต่ำกว่า 36 ° C และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ และสามารถนำไปสู่อันตรายถึงกับชีวิตได้ ภาวะตัวเย็นเกินไปส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองอย่างเห็นได้ชัด โดยอาจจะส่งผลถึงการไม่สามารถขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ได้
อาการภาวะตัวเย็นเกิน
นี่คืออาการของภาวะตัวเย็นเกิน
-
ตัวสั่นอย่างมาก
-
หายใจช้า
-
พูดช้า
-
สะดุด
-
ความสับสน
สำหรับผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียอย่างมาก ชีพจรอ่อนลง หรือหมดสติ ก็อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ตัวเย็นเกินไปได้
สาเหตุของภาวะตัวเย็นเกิน
สภาพอากาศหนาวเย็นเป็นสาเหตุหลักของภาวะอุณหภูมิต่ำของร่างกาย เมื่อร่างกายสัมผัสกับอุณหภูมิที่เย็นจัดจะทำให้สูญเสียความร้อนเร็วกว่าที่ร่างกายจะสร้างได้ หรือแม้แต่การอยู่ในน้ำเย็นนานเกินไปก็ส่งผลต่อร่างกายได้เช่นกัน
การที่ร่างกายไม่สามารถสร้างความร้อนได้อย่างเพียงพอเป็นอันตราย เพราะจะทำให้อุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว
การสัมผัสกับอุณหภูมิที่เย็นกว่าปกติ เช่น การเข้าในห้องแอร์ที่เย็นจัดทันทีหลังจากไปพื้นที่กลางแจ้งด้านนอก ก็ทำให้เกิดภาวะตัวเย็นเกินไปได้
ความเสี่ยงของการเกิดภาวะตัวเย็นเกิน
อายุ
อายุเป็นปัจจัยเสี่ยงของภาวะอุณหภูมิต่ำ โดยเด็ก และผู้สูงอายุมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะตัวเย็นเกินไป เนื่องจากความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิร่างกายต่ำ ดังนั้นคนกลุ่มนี้ต้องระมัดระวังในเรื่องการควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้เหมาะสม
ภาวะทางจิต และสมองเสื่อม
อาการป่วยทางจิต เช่น โรคจิตเภท และโรคอารมณ์สองขั้วทำให้มีความเสี่ยงต่อภาวะตัวเย็นเกิน รวมทั้งภาวะสมองเสื่อมหรือการสูญเสียความทรงจำที่ทำให้สูญเสียความาสามารถในการสื่อสาร และการเข้าใจก็เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะตัวเย็นเกินได้ ผู้ที่มีปัญหาทางจิตใจไม่สามารถแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพอากาศหนาวเย็น เพราะพวกเขาอาจจะไม่ทราบว่าอุณหภูมิที่เป็นอยู่ตอนนี้หนาวเกินไป
การใช้แอลกอฮอล์ และยาเสพติด
การใช้แอลกอฮอล์ หรือยาเสพติดจะทำให้การตัดสินใจลดลง และอาจทำให้หมดสติท่ามกลางอากาศเย็นที่เป็นอันตรายได้ แอลกอฮอล์เป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะทำให้เกิดความหลงผิดได้ และทำให้ร่างกายภายในร้อน แต่ในความเป็นจริงจะทำให้หลอดเลือดขยายตัว และส่งผลให้ผิวหนังสูญเสียความร้อนมากขึ้น
ปัจจัยทางการแพทย์อื่นๆ
ปัจจัยทางการแพทย์บางอย่างส่งผลต่อความสามารถของร่างกายในการรักษาอุณหภูมิให้เพียงพอ โดยได้แก่
-
ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนน้อยเกินไป
-
เสียเหงื่อ
สิ่งต่อไปนี้อาจจะทำให้ร่างกายขาดความรู้สึก
-
ไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ
ยาบางชนิด
ยาแก้ซึมเศร้า ยากล่อมประสาท และยารักษาโรคจิตบางชนิด สามารถส่งผลกระทบต่อการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย หากผู้ใช้ยาจำเป็นต้องทำงาน หรือทำกิจกรรมท่ามกลางอากาศหนาวควรปรึกษาแพทย์
ที่พักอาศัย
พื้นที่พักอาศัยอาจมีความเสี่ยงต่ออุณหภูมิร่างกายที่เย็นเกินไป และทำให้ร่างกายต้องสัมผัสกับความหนาวเย็นบ่อยครั้ง
วิธีการรักษาภาวะตัวเย็นเกิน
ภาวะตัวเย็นเกินเป็นเรื่องฉุกเฉินทางการแพทย์ ควรพบแพทย์ทันทีที่มีอาการตัวเย็นเกินไป โดยเป้าหมายของการรักษา คือ การทำให้ร่างกายอยู่ในอุณหภูมิปกติ ด้วยการทำตาม 2-3 ขั้นตอนนี้
ดูแลผู้ที่มีภาวะตัวเย็นเกินด้วยความระมัดระวัง
ดูแลผู้ที่มีภาวะตัวเย็นเกินด้วยความระมัดระวัง ห้ามนวดเพื่อจะช่วยให้เลือดไหลเวียน เพราะการที่ร่างกายขยับมากเกินไปอาจจะทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ ควรเคลื่อนย้าย หรือป้องกันพวกเขาจากความหนาวเย็น
ถอดเสื้อผ้าที่เปียกออก
ถอดเสื้อผ้าที่เปียกของผู้ที่มีภาวะตัวเย็นเกินออก ควรตัดเสื้อผ้าออก เพื่อหลีกเลี่ยงการเคลื่อนย้ายบุคคล จากนั้นคลุมด้วยผ้าห่มอุ่น ๆ รวมทั้งส่วนใบหน้า แต่ต้องไม่ปิดปาก หรือสามารถใช้ความร้อนจากร่างกายให้ความอบอุ่นได้
หากผู้ที่มีภาวะตัวเย็นเกินยังมีสติให้ดื่มน้ำ หรือซุปอุ่นๆ
การประคบอุ่น
ใช้น้ำอุ่น (ไม่ร้อน) ประคบตามร่างกาย โดยใช้ขวดน้ำอุ่น หรือผ้าขนหนูอุ่น ประคบที่หน้าอก คอ หรือขาหนีบเท่านั้น อย่าประคบที่แขน หรือขา และอย่าใช้แผ่นความร้อน หรือโคมไฟร้อน หากไม่ประคบตามคำแนะนำจะทำให้เลือดเย็นกลับไปที่หัวใจ ปอด และสมองซึ่งจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้
เฝ้าดูการหายใจ
เฝ้าดูการหายใจของผู้ที่มีภาวะตัวเย็นเกิน หากการหายใจช้าลง และหมดสติให้ทำการ CPR (แต่ต้องได้รับการฝึกฝน)
การรักษาด้วยยา
ภาวะตัวเย็นเกินไปอย่างรุนแรงต้องรับการรักษาทางการแพทย์ด้วยของเหลวอุ่น ๆ ผ่านทางสายน้ำเกลือเข้าเส้นเลือด แพทย์จะทำการให้เลือดอีกครั้ง ด้วยการนำเลือดออกมาทำให้อุ่น และนำกลับเข้าไปในร่างกายอีกครั้ง
สามารถใช้หน้ากากช่วยหายใจเพิ่มความอุ่นของลมหายใจ การทำให้ช่องท้องอุ่นขึ้นสามารถใช้กระเป๋าน้ำร้อน หรือการปั๊มหน้าท้องได้เช่นกัน
การป้องกันภาวะตัวเย็นเกิน
การป้องกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง
เสื้อผ้า
ขั้นตอนที่ง่ายที่สุด คือ การสวมใส่เสื้อผ้าสองชั้นในวันที่อากาศหนาว แม้ว่าจะไม่รู้สึกหนาวก็ตาม ปกปิดส่วนต่างๆ ของร่างกาย และสวมหมวก ถุงมือ และผ้าพันคอในช่วงฤดูหนาว การออกกำลังกลางแจ้งท่ามกลางอากาศที่หนาว จะทำให้เหงื่อออก และร่างกายเย็นลง จนทำให้ร่างกายอ่อนแอต่อภาวะอุณหภูมิต่ำยิ่งขึ้น
ทำตัวให้แห้งอยู่เสมอ
การทำร่างกายให้แห้งนั้นสำคัญ หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำเป็นเวลานาน และตรวจสอบให้แน่ใจว่าสวมเสื้อผ้าที่กันน้ำได้ในขณะที่ฝนตก และหิมะตก หากต้องตกอยู่ในสถานะการณ์เรือล่มให้งดการว่ายน้ำ แต่พยายามอยู่ให้พ้นน้ำมากที่สุด และขอความช่วยเหลือ
การรักษาร่างกายให้อยู่ในอุณหภูมิปกติเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันภาวะตัวเย็นเกิน เมื่อร่างกายอุณหภูมิต่ำว่า 36 ° C ควรรีบขอความช่วยเหลือจากแพทย์ แม้จะไม่รู้สึกหนาวก็ตาม
อาการแทรกซ้อนของภาวะตัวเย็นเกิน
อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติคือภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายสูญเสียความร้อนเร็วกว่าที่สามารถสร้างความร้อนได้ ส่งผลให้อุณหภูมิแกนกลางร่างกายต่ำจนเป็นอันตราย ภาวะแทรกซ้อนของภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติอาจรุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที ภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบบางประการของภาวะอุณหภูมิร่างกายลดลง ได้แก่:- การสั่นและความแข็งของกล้ามเนื้อ:ในระยะแรกของภาวะอุณหภูมิร่างกายลดลง ร่างกายจะตอบสนองด้วยการสั่น ซึ่งเป็นการหดตัวของกล้ามเนื้อโดยไม่สมัครใจเพื่อสร้างความร้อน เมื่อภาวะอุณหภูมิลดลง อาการสั่นอาจมีประสิทธิภาพน้อยลง และกล้ามเนื้ออาจแข็งเกร็ง ส่งผลให้เคลื่อนไหวลำบาก
- ความสับสนและการตัดสินที่บกพร่อง:ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำอาจส่งผลต่อการทำงานของการรับรู้ ทำให้เกิดความสับสน สับสน และตัดสินใจได้ไม่ดี บุคคลอาจไม่ตระหนักถึงอาการของตนเองหรือความรุนแรงที่เกิดขึ้น
- พูดไม่ชัด:ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำอาจทำให้คำพูดบกพร่อง ทำให้เกิดการสื่อสารที่เบลอหรือไม่ต่อเนื่องกัน
- ความอ่อนแอและความเหนื่อยล้า:เมื่ออุณหภูมิของร่างกายลดลง ระดับพลังงานจะลดลง และบุคคลจะอ่อนแอและเหนื่อยล้ามากขึ้น
- ภาวะหัวใจหยุดเต้นที่เกี่ยวข้องกับภาวะอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ:ในกรณีที่รุนแรง ภาวะอุณหภูมิต่ำกว่าปกติสามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจหยุดเต้นได้ ซึ่งหัวใจจะหยุดเต้นอย่างมีประสิทธิภาพ นี่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่คุกคามถึงชีวิตจากภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ และจำเป็นต้องได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ทันทีและการแทรกแซงทางการแพทย์
- ภาวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ:อุณหภูมิที่เย็นอาจรบกวนกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจ และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ความผิดปกติเหล่านี้สามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจหยุดเต้นได้
- ความทุกข์ทรมานจากระบบทางเดินหายใจ:ภาวะอุณหภูมิร่างกายลดลงอาจทำให้การทำงานของระบบทางเดินหายใจช้าลง ส่งผลให้หายใจตื้น การแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลง และหายใจลำบาก
- การสูญเสียสติ:เมื่ออุณหภูมิลดลง บุคคลอาจหมดสติหรือไม่ตอบสนอง
- อาการบวมเป็นน้ำเหลือง:การสัมผัสกับอุณหภูมิที่เย็นจัดเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการบวมเป็นน้ำเหลือง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผิวหนังและเนื้อเยื่อข้างใต้แข็งตัว การถูกความเย็นกัดอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อ การติดเชื้อ และในกรณีที่รุนแรงอาจเกิดเนื้อตายเน่าซึ่งอาจต้องตัดแขนขาออก
- ความล้มเหลวของอวัยวะหลายส่วน:ภาวะอุณหภูมิร่างกายลดลงอย่างรุนแรงอาจทำให้ระบบอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว รวมถึงหัวใจ ปอด ไต และตับ มักพบเห็นได้บ่อยในกรณีที่ต้องเผชิญกับความหนาวเย็นจัดเป็นเวลานาน
- เสียชีวิต:หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ภาวะอุณหภูมิร่างกายลดลงอย่างรุนแรงอาจถึงแก่ชีวิตได้ ความตายมักเกิดขึ้นเนื่องจากภาวะหัวใจหยุดเต้นหรือความล้มเหลวของอวัยวะหลายส่วน
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hypothermia/symptoms-causes/syc-20352682
-
https://www.cdc.gov/disasters/winter/staysafe/hypothermia.html
-
https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-is-hypothermia
-
https://www.nhs.uk/conditions/hypothermia/
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team