แมกนีเซียมต่ำ คืออะไร
แมกนีเซียม คือ หนึ่งในแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายมากที่สุด ธาตุแมกนีเซียมอยู่ในกระดูกของคนเราเป็นหลัก แต่ก็ยังมีแมกนีเซียมจำนวนเล็กน้อยที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือด แมกนีเซียมมีบทบาทในระบบเผาผลาญของร่างกาย ที่ส่งผลต่อกระบวนการต่างๆ ที่สำคัญ รวมไปถึง:- การสังเคราะห์โปรตีน
- การผลิตและการจัดเก็บพลังงานเซลล์
- ความเสถียรของเซลล์
- การสังเคราะห์ดีเอ็นเอ
- การส่งสัญญาณของระบบประสาท
- เมแทบอลิซึมของกระดูก
- การทำงานของหัวใจ
- การนำสัญญาณระหว่างกล้ามเนื้อและเส้นประสาท
- เมแทบอลิซึมของกลูโคสและอินซูลิน
- ความดันโลหิต
อาการขาดแมกนีเซียม
สัญญาณเริ่มต้นของแมกนีเซียมต่ำ ได้แก่ :- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ร่างกายอ่อนแอ
- เบื่ออาหาร
- ชา
- รู้สึกเสียวซ่า
- ปวดกล้ามเนื้อ
- ชัก
- กล้ามเนื้อเกร็ง
- บุคลิกภาพเปลี่ยน
- จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
สาเหตุของแมกนีเซียมต่ำ
โดยมาสาเหตุของแมกนีเซียมต่ำมักเกิดจากการลำไส้ไม่สามารถดูดซึมแมกนีเซียมได้เต็มที่ หรือมีการขับแมกนีเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น การไม่ได้รับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมเพียงพอเป็นระยะเวลานาน หรือมีโรคอื่น ๆ อาจจะทำให้เกิดภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ ภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำยังพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่รักษาอาการเจ็บป่วยบางประการ หรือการผ่าตัดบางอย่าง หรือการใช้ยาบางชนิด สำหรับผู้ป่วยหนักที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ภาวะที่เพิ่มความเสี่ยงของการขาดแมกนีเซียม ได้แก่ โรคทางเดินอาหาร ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภท 2 การใช้ยาขับปัสสาวะบางตัว การรักษาด้วยเคมีบำบัดบางชนิด แมกนีเซียมกับเรื่องน่ารู้ อ่านต่อที่นี่โรคทางเดินอาหาร
โรคเซลิแอค โรคโครห์น และท้องเสียเรื้อรัง สามารถทำให้สูญเสียการดูดซึมของแมกนีเซียมได้เบาหวานชนิดที่ 2
ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นอาจทำให้ไตขับปัสสาวะได้มากขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้สูญเสียแมกนีเซียมเพิ่มขึ้นผู้สูงอายุ
การดูดซึมแมกนีเซียมในลำไส้มีแนวโน้มลดลงตามอายุ และนอกจากนี้ผู้สูงอายุอาจมีภาวะเบื่ออาหาร หรือบริโภคอาหารที่มีแมกนีเซียมน้อยลง และในบางคนอาจจะต้องใช้ยารักษาโรคประจำตัว ที่อาจส่งผลต่อแมกนีเซียม (เช่น ยาขับปัสสาวะ) ปัจจัยเหล่านี้สามารถนำไปสู่ภาวะ Hypomagnesemia ในผู้สูงอายุได้การใช้ยาขับปัสสาวะ
การใช้ยาขับปัสสาวะ (เช่น Lasix) อาจทำให้สูญเสียอิเล็กโทรไลต์ เช่น โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมได้การรักษาภาวะแมกนีเซียมต่ำ
ภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำสามารถรักษาด้วยการรับประทานอาหารเสริมแมกนีเซียม หรือรับประทานอาหารทั่วไปที่มีแมกนีเซียมเพิ่มขึ้นอาหารที่มีแมกนีเซียมสูง
- ผักโขม
- อัลมอนด์
- เม็ดมะม่วงหิมพานต์
- ถั่ว
- ธัญพืชเต็มเมล็ด
- นมถั่วเหลือง
- ถั่วดำ
- ขนมปังโฮลวีต
- อะโวคาโด
- กล้วย
- แซลมอน
ภาวะแทรกซ้อนของแมกนีเซียมต่ำ
ระดับแมกนีเซียมต่ำอย่างรุนแรงสามารถพัฒนาไปสู่ Hypomagnesemia รุนแรง และอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่คุกคามถึงชีวิตเช่น:- อาการชัก
- ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- หลอดเลือดหัวใจตีบ
- เสียชีวิตกะทันหัน
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น