Hyperventilation คืออะไร
Hyperventialation คือ โรคหายใจเร็วเกินไป เป็นโรคที่ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจเร็วมาก การหายใจที่ดีคือความสมดุลระหว่างการหายใจเข้าเพื่อเอาออกซิเจนเข้าและการหายใจออกเพื่อเอาออกซิเจนออก โรคนี้เป็นการที่คุณหายใจเข้ามากกว่าหายใจออก ซึ่งทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว คาร์บอนในเลือดที่ต่ำทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองตีบลง การที่เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลงทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ และการชาตามนิ้วมือ หากมีอากการรุนแรงจะทำให้หมดสติได้ สำหรับบางคน การหายใจเร็วเกินไปเกิดขึ้นได้น้อย มักจะเกิดขึ้นเฉพาะเวลาที่ตื่นเต้น กลัว หรือเครียดเท่านั้น แต่สำหรับบางคน อาการนี้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่ออารมณ์ต่าง ๆ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล หรือโกรธ หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็จะกลายเป็รโรคหายใจเร็วเกินไปโรค Hyperventiliation อาการมีดังนี้
- หายใจเร็วลึก
- หายใจมากเกินไป
- อัตราการหายใจเร็ว
โรคหายใจเร็วกว่าปกติสาเหตุคืออะไร
มีปัจจัยหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหายใจเร็วเกินไป ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยได้แก่ วิตกกังวล ตกใจ ตื่นเต้น หรือเครียด สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่:- เลือดออก
- การใช้สารกระตุ้น
- การใช้ยามากเกินไป เช้น การใช้แอสไพรินมากเกินไป
- ความเจ็บปวดที่รุนแรง
- การตั้งครรภ์
- การติดเชื้อในปอด
- โรคปอด เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หรือ โรคหอบหืด
- โรคหัวใจ เช่น หัวใจวาย
- ภาวะเลือดเป็นกรด
- การบาดเจ็บที่ศีรษะ
- การขึ้นที่สูงกว่า 6,000 ฟุต
- เป็นโรคหายใจเร็วเกินไป
เมื่อไหร่ที่ควรรักษา
โรคหายใจเร็วเกินไปสามารถเป็นปัญหาที่ร้ายแรงได้ อาการอาจเกิดขึ้นประมาณ 20 – 30 นาที คุณควรพบแพทย์หากมีอาการเหล่านี้:- หายใจเร็ว ลึก เป็นครั้งแรก
- การหายใจเร็วนั้นแย่ลง ถึงแม้จะลองทำการรักษาด้วยตัวเองแล้ว
- ปวด
- มีไข้
- มีเลือดออก
- รู้สึกตื่นตระหนก เครียด
- หาวบ่อย
- หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
- มีปัญหากับการทรงตัว หรือ วิงเวียนศีรษะ
- ชามือ ชา เท้า หรือชารอบ ๆ ปาก
- เจ็บหน้าอก อึดอัด หรือเจ็บ
- ปวดหัว
- มีแก๊ส บวม หรือเรอ
- มีอาการกระตุก
- มีเหงื่อออก
- การมองเห็นเปลี่ยน เช่น เบลอ
- มีปัญหาเกี่ยวกับการจดจ่อ หรือความจำ
- เป็นลม หมดสติ
การรักษาโรคหายใจเร็วเกินไป
ผู้ป่วยควรใจเย็นเมื่อเกิดอาการอย่างกระทันหัน มันอาจจะช่วยได้หากมีใครคอยช่วยในเวลาที่มีอาการ เป้าหมายคือการทำให้ระดับคาร์บอนในร่างกายเพิ่มขึ้นและหายใจช้าลงการดูแลตัวเองที่บ้าน
คุณอาจลองเทคนิคเหล่านี้เพื่อช่วยรักษาโรคหายใจเร็วเกินไปแบบฉับพลันได้- หายใจผ่านการทำปากจู๋
- หายใจช้า ๆ ในถุงกระดาษหรือในอุ้งมือ
- พยายามหายใจเข้าไปในท้องให้มากกว่าหายใจเข้าไปที่หน้าอก
- กลั้นหายใจไว้ 10 – 15 นาทีต่อครั้ง
การลดความเครียด
หากคุณมีอาการหายใจเร็วเกินไป คุณควรหาสาเหตุว่าอะไรที่เป็นต้นเหตุ หากคุณรู้สึกกังวลหรือเครียด คุณอาจต้องพบจิตแพทย์เพื่อรักษาอาการของคุณ การเรียนรู้การลดความเครียดและเทคนิคการหายใจจะช่วยควบคุมโรคนี้ได้การฝังเข็ม
การฝังเข็มอาจเป็วิธีที่ได้ผลสำหรับโรคนี้ การฝังเข็มเป็นการรักษาแบบโบราณของจีน ซึ่งคือการแทงเข็มลงไปในร่างกายเพื่อให้เกิดการรักษา การศึกษาพบว่าการฝังเข็มช่วยลดความวิตกกังวลและการหายใจเร็วเกินไปชนิดรุนแรงได้ยา
แพทย์อาจสั่งยาให้รับประทาน ขึ้นอยู่กับความรุนแรง ยาที่ใช้รักษาโรคหายใจเร็วเกินไป มีดังนี้:- Alprazolam (Xanax)
- Doxepin
- Paroxetine (Paxil)
การป้องกันการหายใจเร็วเกินไป
คุณสามารถเรียนรู้เทคนิคการหายใจและการผ่อนคลายเพื่อป้องกันการเกิดการหายใจเร็วเกินไปได้ ดังนี้:- การทำสมาธิ
- การหายใจผ่านจมูกแต่ละข้าง
- การออกกำลังกายทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ เช่น ไทชิ โยคะ
ความเสี่ยงของโรคหายใจเร็วเกินไป
ภาวะหายใจเร็วเกินเป็นภาวะที่มีลักษณะการหายใจเร็วและตื้น ซึ่งอาจส่งผลให้ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในเลือดลดลง ภาวะนี้อาจส่งผลต่อคนทุกวัยและทุกภูมิหลัง แต่ปัจจัยและสถานการณ์บางอย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหายใจเร็วเกินไป ซึ่งรวมถึง:- ความวิตกกังวลและความเครียด:ความวิตกกังวลและความผิดปกติของความตื่นตระหนกเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะหายใจเร็วเกินปกติ ความเครียดทางอารมณ์และความวิตกกังวลสามารถนำไปสู่การหายใจมากเกินไป ซึ่งส่งผลให้ร่างกายสูญเสีย CO2 มากเกินไป
- Hyperventilation Syndrome:บุคคลบางคนมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะหายใจเร็วเกินเรื้อรังหรือเกิดขึ้นอีกเนื่องมาจากภาวะที่เรียกว่าอาการหายใจเร็วเกินปกติ มักเกิดจากความเครียดหรือปัจจัยทางอารมณ์
- โรคหอบหืด:ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดอาจมีอาการหายใจเร็วเกินในระหว่างที่เป็นโรคหอบหืด การหายใจเร็วอาจเกิดขึ้นได้ในขณะที่ร่างกายพยายามชดเชยปริมาณออกซิเจนที่ลดลง
- การติดเชื้อทางเดินหายใจ:การติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น โรคไข้หวัดหรือหลอดลมอักเสบ อาจทำให้หายใจลำบากและอาจกระตุ้นให้เกิดภาวะหายใจเร็วเกินไป
- การออกแรงทางกายภาพ:การออกแรงมากเกินไประหว่างออกกำลังกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกินระดับความฟิตในปัจจุบัน อาจนำไปสู่การหายใจเร็วและการหายใจเร็วเกินไป
- ความเจ็บปวดและไม่สบายตัว:ความเจ็บปวดอย่างรุนแรงหรือไม่สบาย ไม่ว่าจะเกิดจากการบาดเจ็บหรือสภาวะทางการแพทย์ อาจทำให้หายใจเร็วและหายใจเร็วเกินปกติในขณะที่ร่างกายพยายามรับมือกับความทุกข์ทรมาน
- ระดับความสูง:ที่ระดับความสูง อากาศจะมีออกซิเจนน้อยลง ซึ่งอาจนำไปสู่การหายใจเร็วเกินปกติเนื่องจากร่างกายพยายามชดเชยระดับออกซิเจนที่ต่ำกว่า
- อุณหภูมิสุดขั้ว:สภาพอากาศที่ร้อนจัดหรือเย็นจัดอาจทำให้บุคคลหายใจเร็วเพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ซึ่งอาจนำไปสู่การหายใจเร็วเกินไป
- การตั้งครรภ์:สตรีมีครรภ์บางรายอาจมีอาการหายใจเร็วเกินเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน แรงกดดันต่อกะบังลมที่เพิ่มขึ้น และความต้องการออกซิเจนที่เพิ่มขึ้นของร่างกาย
- เงื่อนไขทางการแพทย์:เงื่อนไขทางการแพทย์บางอย่าง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือความผิดปกติของระบบเผาผลาญ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการหายใจเร็วเกินปกติ
- ยา:ยาบางชนิด โดยเฉพาะยาที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจหรือระบบประสาท อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการหายใจเร็วเกินเป็นผลข้างเคียง
- การใช้สาร:การใช้ยาหรือสารบางชนิดอาจทำให้รูปแบบการหายใจเปลี่ยนแปลงไปและอาจทำให้เกิดการหายใจเร็วเกินไป
นี่คือที่มาในบทความของเรา
- https://www.webmd.com/lung/lung-hyperventilation-what-to-do
- https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/hyperventilation
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/323607
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น