ภาพรวม
Hypertrichosis หรือที่เรียกว่า โรคมนุษย์หมาป่า คือภาวะที่มีลักษณะของการมีขนดกขึ้นทั่วร่างกายที่มากเกินไป สามารถส่งผลได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่พบได้ยากมากๆ การมีขนขึ้นผิดปกติ มีขนที่หน้าและร่างกาย หรือเกิดขึ้นเป็นแผ่นเล็กๆ โรคมนุษย์หมาป่าสามารถปรากฏให้เห็นตั้งแต่แรกเกิดหรือมาเกิดขึ้นภายหลังได้ชนิดของโรคมนุษย์หมาป่า
ชนิดของโรคมนุษย์หมาป่ามีหลายชนิด:- ชนิด Congenital hypertrichosis lanuginosa: โรคมักปรากฏครั้งแรกเป็นขนอ่อนตามปกติ เป็นขนเส้นเล็กที่พบในเด็กทารกตอนแรกเกิด แต่แทนที่จะหายไปในช่วงระหว่างหลายสัปดาห์ต่อมา ขนเส้นเล็กอ่อนนุ่มกลับยังคงเจริญเติบโตตามที่ต่างๆตามร่างกายของเด็กทารก
- ชนิด Congenital hypertrichosis terminalis: มีเส้นขนเจริญเติบโตผิดปกติเริ่มตั้งแต่แรกเกิดและยังคงเติบโตตลอดชั่วชีวิต มักเป็นเส้นขนยาวและหนา ปกคลุมทั่งใบหน้าและร่างกาย
- ชนิด Nevoid hypertrichosis: มีเส้นขนเจริญเติบโตมากเกินไปปรากฏเป็นหย่อมๆในพื้นที่เฉพาะจุด มีไม่มากนักที่มีผมมากกว่าหนึ่งหย่อม
- ชนิด Hirsutism: คือรูปแบบของโรคมนุษย์หมาป่าที่เกิดขึ้นเฉพาะในเพศหญิง ส่งผลให้เกิดเส้นขนที่หนา สีเข้มในบริเวณที่ปกติแล้วมักไม่มีขนขึ้นเช่นบริเวณหน้า หน้าอกและแผ่นหลัง
- ชนิด Acquired hypertrichosis: ต่างจากชนิดที่เป็นมาแต่กำเนิด รูปแบบนี้มักเกิดขึ้นในช่วงปลายของชีวิต ส่งผลให้เกิดขนสองชนิดนอกจากชนิดขนอ่อน ยังมีขนชนิดเวลลัสหรือเส้นขนชนิดเทอร์มินัล เส้นผมส่วนเกินจะเจริญเติบโตเป็นหย่อมเล็กๆหรือเส้นขนอาจขึ้นปกคลุมทั่วร่างกาย
อาการของโรคมนุษย์หมาป่า
อย่างที่กล่าวไว้ ว่าโรคมนุษย์หมาป่าสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่แรกเกิดหรืออาจเกิดขึ้นในช่วงปลายของชีวิต โรคมนุษย์หมาป่ามักก่อให้เกิดเส่นขนหนึ่งในสามชนิดดังต่อไปนี้:- ชนิดเวลลัส: รูขุมขนสำหรับเส้นขนชนิดนี้มักจะสั้น (น้อยกว่า 1/13th นิ้วของความยาวเส้นขน ) สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่เว้นแต่ที่ฝ่าเท้า หลังหู ริมฝีปากและฝ่ามือหรือรอยแผลเป็น ขนชนิดเวลลัสอาจมีสีหรือไม่มีก็ได้
- ชนิดลานูโก: ขนชนิดนี้จะอ่อนนุ่ม เส้นเล็กยาว เหมือนกับที่ขึ้นตามร่างกายของเด็กแรกเกิด ปกติมักไม่มีสี ขนลานูโกในเด็กทารกส่วนใหญ่จะหลุดร่วงไปภายในสองสามวันหรือไม่กี่สัปดาห์หลังคลอด หากเกิดภาวะของโรคมนุษย์หมาป่า ขนชนิดลานูโกนี้จะยังคงอยู่เว้นแต่ได้รับการรักษาและกำจัดออก
- ชนิดเทอร์มินัล: เส้นขนชนิดนี้จะยาวและหนา และปกติมักเป็นสีเข้มมากๆ
สาเหตุของโรค
สาเหตุของโรคมนุษย์หมาป่ายังไม่เป็นที่รู้ชัดแน่นอน แต่มักพบว่าเป็นโรคที่มักเกิดขึ้นเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ โรคมนุษย์หมาป่าแต่กำเนิดอาจมีสาเหตุมาจากยีนที่เป็นสาเหตุเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของเส้นขน ยีนนี้เป็นสาเหตุทำให้การแพร่กระจายการเจริญเติบโตของเส้นขนในมนุษย์ยุคแรกนั้นถูก “ปิดตัวลง” ในระหว่างการวิวัฒนาการ ความผิดพลาดนี้ยังไม่รู้สาเหตุแน่ชัด ยีนการเจริญเติบโตของเส้นขนนี้จะถูก “เปิด” ในขณะที่ทารกยังคงอยู่ในครรภ์ โรคมนุษย์หมาป่าที่มีขนเจริญเติบโตทุกที่หรือเป็นหย่อมๆ บางทีอาจมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้:- porphyria cutanea tarda คือภาวะที่ผิวมีความไวต่อแสงมากเป็นพิเศษ
- ภาวะทุพโภชนา
- การลดน้ำหนักหรือการรับประทานมีปัญหาเช่นโรคอะนอเร็กเซีย เนโวซา
- โรคมะเร็ง
- ยาบางชนิด เช่น แอนโดรจีนิกสเตียรอยด์ ยาปลูกผมไมนอกซิดิลและไซโคลสปอริน (แซนดิมมูน)
- ผิวหนังอักเสบที่ทำให้เกิดอาการคันและเกิดผื่นที่ผิวหนัง
- เข้าเฝือกชั่วคราว
- หลอดเลือดเพิ่มขึ้น การเพาะกายที่ทำให้เกิดเส้นเลือดใกล้กับชั้นของผิว
การรักษาโรคมนุษย์หมาป่า
โรคมนุษย์หมาป่าไม่มีทางรักษาหายขาด และไม่สามารถทำสิ่งใดๆเพื่อป้องกันการเกิดโรคได้ การรักษาโรคมนุษย์หมาป่าคือการกำจัดขนด้วยวิธีต่างๆเช่น:- การโกน
- การกำจัดขนด้วยสารเคมี
- การแว๊กซ์
- การดึง
- การย้อมเส้นขน
การรับมือ
ภาวะนี้อาจส่งผลต่อความภาคภูมิใจในตนเอง ภาพลักษณ์ และคุณภาพชีวิตของแต่ละบุคคล กลุ่มสนับสนุน การให้คำปรึกษา และการเชื่อมต่อกับผู้อื่นที่มีประสบการณ์คล้ายคลึงกันสามารถให้การสนับสนุนทางอารมณ์ที่มีคุณค่าและกลยุทธ์ในการรับมือสำหรับบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไขมันในเลือดสูงหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น