โพแทสเซียมในเลือดสูง (Hyperkalemia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
Default Thumbnail

ภาวะโพแทสเซียมสูง (Hyperkalemia) คือการที่ปริมาณค่าโพแทสเซียมในเลือดสูงเกิดกว่าค่าปกติ และอาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายให้เป็นโรคได้หลายโรคเช่นโรคหัวใจ ไตวาย ไตวายเฉียบพลัน อ่อนเพลีย ไม่มีแรง

ค่าโพแทสเซียมในเลือดตามปกติจะอยู่ระหว่าง 3.6 ถึง 5.2 มิลลิโมลต่อลิตร (mmol / L) หากระดับโพแทสเซียมสูงกว่า 5.5 mmol / L จะถือว่าผิดปกติ และหากระดับโพแทสเซียมมีมากกว่า 6 mmol / L อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การวัดผลอาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละการทดสอบ การเกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงไม่ว่าจะเล็กน้อยหรือรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

โพแทสเซียมเป็นเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย เพื่อควบคุมให้ร่างกายทำงานได้อย่างถูกต้อง โพแทสเซียมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบประสาท กล้ามเนื้อ และหัวใจของมนุษย์

แม้ว่าโพแทสเซียมจะจำเป็นต่อร่างกาย แต่หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่น เดียวกัยในกรณีที่ได้รับโพแทสเซียมไม่เพียงพอ โดยปกติไตคืออวัยวะที่ใช้รักษาสมดุลของโพแทสเซียมในร่างกาย โดยทำหน้าที่ขับโพแทสเซียมส่วนเกินออกจากร่างกาย แต่ด้วยปัจจัยความผิดปกติของร่างกายบางประการจะส่งผลให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่าปกติได้ เรียกว่า

สาเหตุของภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงนั้นมีหลายสาเหตุรวมถึงปัญหาด้านสุขภาพและการใช้ยาบางชนิด:

ไตวาย: ไตวายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้โพแทสเซียมสูงผิดปกติ เมื่อไตวายหรือทำงานไม่ปกติ ไตจะไม่สามารถกำจัดโพแทสเซียมส่วนเกินออกจากร่างกายได้ ทำให้เกิดการสะสมโพแทสเซียมในเลือดได้

ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ: ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงมักสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพบางอย่างเช่น:

  • ยาสำหรับเคมีบำบัดบางชนิด

  • ยายับยั้ง แองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอนไซม์ (ACE)

  • ยาลดความดันกลุ่มแองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล็อกเกอร์

  • อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีโพแทสเซียมมากเกินไปสามารถเพิ่มระดับโพแทสเซียมให้อยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติำด้ และอาจรุนแรงจนถึงระดับที่เป็นอันตราย

การใช้แอลกอฮอล์หรือยา: การใช้แอลกอฮอล์หรือยาอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้กล้ามเนื้อเกิดความเสียหาย ความเสียหายนี้อาจปลดปล่อยโพแทสเซียมจำนวนมากจากเซลล์กล้ามเนื้อออกมาแล้วเข้าสู่กระแสเลือด

การบาดเจ็บ: การบาดเจ็บบางอย่างส่งผลต่อระดับโพแทสเซียมที่เพิ่มขึ้น เกิดจาดโพแทสเซียมส่วนเกินรั่วไหลออกจากเซลล์ของร่างกายแล้วเข้าสู่กระแสเลือด  แผลไฟไหม้ หรือแผลกดทับที่ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อจำนวนมากบาดเจ็บมักส่งผลกระทบในลักษณะนี้

อาการของภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง

อาการโพแทสเซียมในเลือดสูงขึ้นกับระดับของแร่ธาตุในเลือดของผู้ป่วย ผู้ป่วยอาจไม่แสดงอาการใด ๆ เลย แต่หากระดับโพแทสเซียมสูงมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดอาการ ดังนี้:

ในกรณีที่รุนแรงระดับโพแทสเซียมที่สูงผิดปกติอาจทำให้เกิดอาการอัมพาต หรือหัวใจล้มเหลวได้ หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำการรักษา อาจส่งผลให้หัวใจหยุดเต้นได้

ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงอาจร้ายแรงถึงชีวิตจึงจำเป็นต้องจัดการกับภาวะนี้ทันที หากตรวจพบระดับโพแทสเซียมที่ผิดปกติ และต้องเข้ารับการรักษาจนกว่าระดับโพแทสเซียมจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

การรักษาภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง

การวินิจฉัยภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง

การตรวจเลือดหรือปัสสาวะจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงได้ เลือดมักถูกตรวจในการตรวจสุขภาพประจำปี หรือหากผู้ป่วยได้รับยาตัวใหม่ ปัญหา เกี่ยวกับระดับโพแทสเซียมจะพบได้จากการทดสอบเหล่านี้ หากพบว่าตนเองมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง สิ่งสำคัญคือต้องตรวจร่างกายเป็นประจำ เนื่องจากอาจไม่พบอาการใด ๆ แม้ว่าระดับโพแทสเซียมจะสูงผิดปกติก็ตาม

เป้าหมายโดยทั่วไปของการรักษาภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงคือ การช่วยให้ร่างกายสามารถกำจัดโพแทสเซียมส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว และควบคุมให้หัวใจทำงานได้ปกติ ได้แก่:

การรักษาด้วยการฟอกเลือด

หากระดับโพแทสเซียมสูงเนื่องจากไตวาย การฟอกเลือดคือวิธีการรักษาที่ดีที่สุด การฟอกเลือดจะใช้เครื่องช่วยกำจัดของเสียออกจากเลือด รวมถึงโพแทสเซียมส่วนเกินด้วย ใช้วิธีนี้เมื่อไตของผู้ป่วยไม่สามารถกรองเลือดได้เองอย่างมีประสิทธิภาพ

การรักษาด้วยการใช้ยา

แพทย์อาจสั่งยาเพื่อรักษาระดับโพแทสเซียมในร่างกายผู้ป่วย ซึ่งรวมถึง:

  • แคลเซียมกลูโคเนต: แคลเซียมกลูโคเนตช่วยลดผลกระทบของโพแทสเซียมกับหัวใจ เป็นการรักษาอาการจนกว่าระดับโพแทสเซียมจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

  • ยาขับปัสสาวะ: แพทย์จะสั่งยาขับปัสสาวะเพื่อทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อยขึ้น ยาขับปัสสาวะบางชนิดช่วยให้ปริมาณโพแทสเซียมถูกขับออกมาจากไตได้มากขึ้น แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาขับปัสสาวะประเภทต่อไปนี้อย่างน้อย 1 ชนิดขึ้นอยู่กับระดับของโพแทสเซียมในเลือดผู้ป่วย

  • ยาขับปัสสาวะแบบวนซ้ำ

  • ยาขับปัสสาวะที่ช่วยรักษาระดับโพแทสเซียม

  • ยาขับปัสสาวะกลุ่มไธอะไซด์ไดยูเรติก

ยาขับปัสสาวะแต่ละประเภทล้วนมีเป้าหมายที่ส่วนต่างๆของไตต่างกัน

การรักษาด้วยเรซิน

บางกรณีผู้ป่วยอาจได้รับยาที่เรียกว่าเรซินเพื่อรับประทานทางปาก เรซินจะจับกับโพแทสเซียมเพื่อให้ร่างกายสามารถขับออกไปได้ ในระหว่างการทำงานของลำไส้

การเยียวยาด้วยตนเองที่บ้าน

แพทย์เลือกใช้วิธีที่ในกรณีที่ระดับโพแทสเซียมผอดปกติเพียงเล็กน้อย ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อรักษาภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง ตามวิธีการดังนี้

ลดปริมาณโพแทสเซียม: เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการลดระดับโพแทสเซียม คือลดปริมาณโพแทสเซียมในอาหารของผู้ป่วย เป็นการจำกัดอาหารและอาหารเสริมและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูงบางชนิด ได้แก่ :

  • กล้วย

  • ถั่วเปลือกแข็ง

  • ถั่วที่อยู่ในฝัก

  • นม

  • มันฝรั่ง

  • แอปริคอต

  • ปลาคอด

  • เนื้อวัว

ปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการกำหนดอาหารที่จะรับประทานได้

ตรวจสอบสารทดแทนเกลือแร่ที่ใช้อยู่

สารทดแทนเกลือแร่บางชนิดมีโพแทสเซียมสูง จึงควรหลักเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนเกลือแร่ที่มีโพแทสเซียมคลอไรด์เป็นส่วนผสม อาหารที่มีสารปรุงแต่งสูง เช่น ขนมอบจากโรงงานอุตสาหกรรม และเครื่องดื่มกีฬาที่มีโพแทสเซียมสูง เป็นต้น

ดื่มน้ำให้มาก

ภาวะขาดน้ำอาจทำให้ระดับโพแทสเซียมสูงได้ จึงควร พยายามดื่มน้ำให้มาก

หลีกเลี่ยงสมุนไพรบางชนิด

สมุนไพรจะทำให้ระดับโพแทสเซียมสูงขึ้นได้ เช่น อัลฟัลฟ่า ตำแย และแดนดิไลออน เป็นต้น

อาการแทรกซ้อนของภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง

ภาวะโพแทสเซียมสูงในเลือดสูงเป็นภาวะทางการแพทย์ที่มีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ (ความเข้มข้นของโพแทสเซียมในเลือดมากกว่า 5.0 mEq/L) อาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น ความผิดปกติของไต ยาบางชนิด ความผิดปกติของระบบเมตาบอลิซึม และอื่นๆ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาหรือจัดการไม่ถูกต้อง ภาวะโพแทสเซียมสูงอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรงหลายประการ ได้แก่:
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ: ระดับโพแทสเซียมที่สูงสามารถรบกวนกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจ นำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ (จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ) Ventricular fibrillation เป็นภาวะที่อันตรายที่สุดที่เกี่ยวข้องกับภาวะโพแทสเซียมสูง และอาจส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันได้
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง: ระดับโพแทสเซียมที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อโครงร่าง และทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือแม้แต่อัมพาตได้ สิ่งนี้อาจเป็นอันตรายอย่างยิ่งหากส่งผลต่อกล้ามเนื้อทางเดินหายใจ อาจทำให้หายใจลำบาก
  • การเปลี่ยนแปลง EKG: ภาวะโพแทสเซียมสูงอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเฉพาะในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG หรือ ECG) รวมถึงคลื่น T สูงสุด คอมเพล็กซ์ QRS ที่กว้างขึ้น และในที่สุดจะเกิดรูปแบบคลื่นไซน์ การเปลี่ยนแปลง EKG เหล่านี้บ่งบอกถึงการทำงานของหัวใจผิดปกติ
  • ความผิดปกติของไต: ภาวะโพแทสเซียมสูงเป็นเวลานานหรือรุนแรงอาจทำให้การทำงานของไตแย่ลง และทำให้อาการแย่ลง ไตมีบทบาทสำคัญในการควบคุมระดับโพแทสเซียมในร่างกาย และเมื่อไตได้รับผลกระทบ ไตก็สามารถสร้างวงจรที่เลวร้ายของภาวะโพแทสเซียมสูงที่เลวลงได้
  • ภาวะหัวใจหยุดเต้น: ในกรณีที่รุนแรงของภาวะโพแทสเซียมสูง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจหยุดเต้นซึ่งหัวใจจะหยุดเต้นไปเลย นี่เป็นภาวะฉุกเฉินที่คุกคามถึงชีวิตซึ่งต้องได้รับการแทรกแซงทางการแพทย์ทันที เช่น การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) และการให้ยา เช่น แคลเซียมกลูโคเนตและโซเดียมไบคาร์บอเนต
  • อาการทางระบบประสาท: ระดับโพแทสเซียมที่สูงมากอาจส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง และทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น สับสน กระสับกระส่าย รู้สึกเสียวซ่า และแม้กระทั่งอาการชัก
  • อาการระบบทางเดินอาหาร: บุคคลบางคนที่มีภาวะโพแทสเซียมสูงอาจพบอาการทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้อง
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือความรุนแรงของภาวะโพแทสเซียมสูงและภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องอาจแตกต่างกันอย่างมาก ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แท้จริงและสุขภาพโดยรวมของแต่ละบุคคล การวินิจฉัยอย่างทันท่วงทีและการรักษาที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันและจัดการภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ การรักษาอาจรวมถึงการเปลี่ยนแปลงอาหาร การใช้ยาเพื่อลดระดับโพแทสเซียม และการจัดการสาเหตุของภาวะโพแทสเซียมสูงสูง เช่น โรคไต หรือการปรับเปลี่ยนยา หากคุณสงสัยว่าคุณหรือบุคคลอื่นมีภาวะโพแทสเซียมสูงหรือกำลังมีอาการของภาวะโพแทสเซียมสูงอย่างรุนแรง ให้ไปพบแพทย์ทันที สร้างใหม่

สรุปภาพรวมภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง

เนื่องจากภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงอาจไม่มีอาการใด ๆ ปรากฏในระยะแรก บุคคลจึงควรได้รับการตรวจเลือดเป็นประจำเพื่อลดความความเสี่ยง

กรณีตรวจพบว่าระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง แพทย์จะเลือกแผนการรักษาที่เหมาะกับผู้ป่วย กรณีระดับโพแทสเซียมสูงจนเป็นอันตราย แพทย์อาจให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหรือฟอกไต แต่หากระดับโพแทสเซียมสูงเพียงเล็กน้อย และไม่มีอาการข้างเคียง แพทย์อาจตรวจสภาพและทดสอบอาการเพื่อติดตามผล

ไม่ว่าการรักษาจะเป็นกรณีใดอาจพบภาวะแทรกซ้อนจากภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงผิดปกติได้


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/symptoms/hyperkalemia/basics/definition/sym-20050776

  • https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-does-potassium-do-body

  • https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15184-hyperkalemia-high-blood-potassium

  • https://www.kidney.org/atoz/content/what-hyperkalemia


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด