เหงื่อออกมากเกินไป (Hyperhidrosis Disorder) คือ การที่เหงื่อออกเยอะผิดปกติ และมีเหงื่อออกในสถานการณ์ที่ไม่ควรมีเหงื่อ เช่นในสภาพอากาศหนาวเย็น หรือมีเหงื่อออกโดยไม่มี สิ่งใดกระตุ้น อาจเกิดจากโรคหรือภาวะต่างๆ เช่น ภาวะหมดประจำเดือน ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เหงื่อออกมากเกินไปทำให้ไม่สุขสบายแต่มีการรักษาที่ช่วยให้ดีขึ้นได้
สาเหตุของเหงื่อออกมาก
เหงื่อออกเป็นการตอบสนองโดยธรรมชาติต่อสถานการณ์เช่น อากาศร้อน มีการออกกำลังกาย ความเครียด และความโกรธหรือกลัว แต่ในภาวะเหงื่อออกมากเกินไป เหงื่อจะออกมากตลอดเวลาโดยไม่มีเหตุผล สาเหตุนั้นขึ้นกับชนิดของโรค
เหงื่อออกมากเฉพาะที่แบบปฐมภูมิ
จะมีเหงื่อที่เท้า มือ ใบหน้า ศีรษะและรักแร้ มักเกิดในวัยเด็ก ราว 30-50% ของผู้ป่วยมักมีประวัติคนในครอบครัวมีอาการเหงื่อออกมากเกินไป
เหงื่อออกมากเกินไปทั้งตัวแบบทุติยภูมิ
คือมีอาการเนื่องจากเป็นโรคหรือจากอาการข้างเคียงของยา มักเกิดในผู้ใหญ่ และจะมีเหงื่อออกทั้งตัว หรือที่ใดที่หนึ่งก็ได้ และมักมีเหงื่อออกในเวลาที่นอนหลับ
โรคหรือภาวะที่ทำให้เกิด เช่น
-
โรคมะเร็ง
-
โรคของต่อมอดรีนอล
-
หมดประจำเดือน วัยทอง
-
บาดเจ็บที่ไขสันหลัง
-
โรคของปอด
ยาต่างๆที่แพทย์สั่งและที่ซื้อเองได้ หลายชนิดทำให้เกิดเหงื่อออกมากเกินไปได้ ซึ่งคนทั่วไปมักจะนึกไม่ถึง ยาต้านเศร้าหลายชนิดที่มีผลข้างเคียงทำให้เหงื่อออกมากเกินไป เช่น
-
desipramined (Norpramin)
-
nortriptyline (Pamelor)
-
protriptyline
ผู้ที่ได้รับยา pilocarpine แก้ปากแห้ง หรือได้รับอาหารเสริมธาตุสังกะสี มักมีเหงื่อออกมากเกินไป
การรักษาอาการเหงื่อออกมาก
มีการรักษาหลายอย่างเช่น
ยาทาลดเหงื่อชนิดพิเศษ
แพทย์มักสั่งยาทาที่มีส่วนผสมของอลูมินัมคลอไรด์มากกว่าชนิดที่ขายในตลาด ที่ผลิตเพื่อใช้รักษาอาการนี้โดยเฉพาะ
Iontophoresis
คือเครื่องมือที่ส่งกระแสไฟฟ้าตำ่ๆเข้าสู่ร่างกาย ขณะที่แช่ตัวในน้ำ กระแสไฟฟ้าจะถูกส่งไปที่มือ เท้า รักแร้ เพื่อปิดกั้นการทำงานของต่อมเหงื่อชั่วคราว
ยา Anticholinergic
เพื่อลดอาการเหงื่อออกเยอะที่เป็นทั้งตัว ยาเช่น glycopyrrolate (Robinul) กดการทำงานของa cetylcholine ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมเหงื่อ
ยานี้ใช้เวลาราวสองสัปดาห์ จึงจะออกฤทธิ์เต็มที่ และอาจทำให้ท้องผูก และวิงเวียนศีรษะ แต่เป็นวิธีแก้เหงื่อออกเยอะที่ได้ผลวิธีหนึ่ง
โบท็อกซ์ Botox (botulinum toxin)
การฉีดโบท็อกซ์เพื่อรักษาภาวะเหงื่อออกมากเกินไปชนิดร้ายแรง จะช่วยสกัดกั้นเส้นประสาทที่มาเลี้ยงต่อมเหงื่อ ต้องฉีดหลายครั้งกว่าจะได้ผล
การผ่าตัด
หากมีเหงื่อออกเฉพาะที่รักแร้ การผ่าตัดช่วยได้โดยการตัดต่อมเหงื่อออกจากรักแร้ หรือตัดเส้นประสาทในช่องอกที่มาเลี้ยงต่อมเหงื่อบริเวณนั้น
การดูแลตนเอง
ท่านอาจลองลดเหงื่อโดยการปฎิบัติตามคำแนะนำดังนี้
-
ใช้ยาทาลดเหงื่อที่มีขายทั่วไปทาบริเวณที่มีเหงื่อ
-
อาบน้ำทุกวัน ลดการสะสมของแบคทีเรีย
-
ใช้ถุงเท้า รองเท้าที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ
-
ใส่รองเท้าแตะหรือถอดรองเท้าบ้าง
-
เปลี่ยนถุงเท้าบ่อยๆ
ภาวะแทรกซ้อนของเหงื่อออกมาก
เหงื่อออกมากเกินไปเป็นภาวะทางการแพทย์ที่มีลักษณะเหงื่อออกมากเกินไปซึ่งเกินความจำเป็นในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย แม้ว่าจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนและความท้าทายต่างๆ สำหรับบุคคลที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคนี้ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคเหงื่อออกมาก ได้แก่:- การติดเชื้อที่ผิวหนัง:ความชื้นคงที่ในบริเวณที่ได้รับผลกระทบสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อรา สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การติดเชื้อทางผิวหนัง เช่น รูขุมขนอักเสบจากแบคทีเรีย หรือการติดเชื้อรา เช่น เชื้อราที่เท้า
- การระคายเคืองต่อผิวหนัง:การได้รับความชื้นเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง เกิดรอยแดง และไม่สบายตัวได้ ซึ่งอาจเป็นปัญหาโดยเฉพาะบริเวณที่เสี่ยงต่อการเสียดสี เช่น ใต้วงแขน ขาหนีบ และระหว่างรอยพับของผิวหนัง
- ผลกระทบทางสังคมและอารมณ์:เหงื่อออกมากสามารถส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของแต่ละบุคคล การมีเหงื่อออกมากเกินไปอาจทำให้เกิดความลำบากใจ ความวิตกกังวล และการแยกตัวจากสังคม อาจนำไปสู่การขาดความมั่นใจในตนเอง สร้างความสัมพันธ์ได้ยาก และหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคม
- ความท้าทายด้านอาชีพ:งานที่ต้องมีรูปลักษณ์ที่เป็นมืออาชีพหรือต้องสัมผัสใกล้ชิดกับผู้อื่นอาจกลายเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่เป็นโรคเหงื่อออกมาก การมีเหงื่อออกอย่างต่อเนื่องอาจทำให้รู้สึกไม่สบาย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และแม้แต่ความท้าทายในการจัดการเครื่องมือหรืออุปกรณ์
- ปัญหาเกี่ยวกับเสื้อผ้าและรองเท้า:เหงื่อออกมากเกินไปอาจทำให้เสื้อผ้าและรองเท้าเสียหายได้ ส่งผลให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนเพิ่มขึ้น การค้นหาเสื้อผ้าที่เหมาะสมที่ช่วยจัดการเหงื่อและกลิ่นอย่างมีประสิทธิภาพอาจเป็นเรื่องยากเช่นกัน
- ผลกระทบทางจิตวิทยา:ไม่ควรมองข้ามผลกระทบทางจิตใจของภาวะเหงื่อออกมากเกินไป ความเครียดและความวิตกกังวลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเหงื่ออย่างต่อเนื่องสามารถส่งผลต่อสภาวะต่างๆ เช่น โรควิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า
- กิจกรรมที่จำกัด:ผู้ที่เป็นโรคเหงื่อออกมากอาจหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่าง เช่น กีฬาหรือการออกกำลังกาย เนื่องจากกลัวว่าจะเหงื่อออกมากเกินไปและความลำบากใจ
- ผลข้างเคียงจากการรักษา:การรักษาบางอย่างสำหรับภาวะเหงื่อออกมาก เช่น ยาระงับเหงื่อ ไอออนโตโฟรีซิส และการใช้ยา อาจมีผลข้างเคียงหรือไม่สะดวกที่จะใช้ ทางเลือกในการผ่าตัด เช่น การผ่าตัด Sympathectomy มีความเสี่ยง รวมถึงการที่เหงื่อออกเพื่อชดเชยในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
ภาพรวม
เหงื่อออกมากเกินไปแบบเฉพาะที่ปฐมภูมินั้นรักษาได้
เหงื่อออกมากเกินไปที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ มักหายไปเองเมื่อแก้ไขสาเหตุได้ ปรึกษาแพทย์เมื่อท่านคิดว่าเหงื่อออกมากอาจเป็นผลข้างเคียงจากยา เพื่อจะได้ตัดสินใจเปลี่ยนหรือลดยา
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hyperhidrosis/symptoms-causes/syc-20367152
-
https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/hyperhidrosis2#1
-
https://www.medicalnewstoday.com/articles/182130
-
https://www.nhs.uk/conditions/excessive-sweating-hyperhidrosis/