ไฮเปอร์ (Hyperactivity) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
Default Thumbnail
ไฮเปอร์ (Hyperactivity) คือ ภาวะที่อยู่ไม่นิ่ง สมาธิสั้น และขาดสมาธิ ทำให้คนที่อยู่รอบตัวจัดการกับผู้ที่มีภาวะไฮเปอร์นี้ได้ยาก เช่น ครู นายจ้าง และผู้ปกครอง หากสมาธิสั้นอาจทำให้รู้สึกวิตกกังวล หรือหดหู่ เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ และปฏิกิริยาตอบสนองของผู้ใกล้ชิด ลักษณะของผู้ที่เป็นไฮเปอร์ :
  • เคลื่อนไหวตลอดเวลา
  • ก้าวร้าว
  • หุนหันพลันแล่น
  • ฟุ้งซ่าน
การอยู่ไม่นิ่ง หรือขาดสมาธิทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ตามมา
  • ปัญหาการใช้ชีวิตในโรงเรียนหรือที่ทำงาน
  • ความสัมพันธ์กับเพื่อนและครอบครัว
  • อุบัติเหตุและการบาดเจ็บ
  • เสี่ยงต่อการใช้แอลกอฮอล์และยาเสพติด
อาการไฮเปอร์ หรือสมาธิสั้น เป็นความผิดปกติจากสภาวะสุขภาพจิตหรือร่างกาย อาจจะมีสาเหตุมาจากโรคสมาธิสั้น (ADHD)  ผู้ป่วยสมาธิสั้นมักได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เด็กๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ใหญ่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าสมาธิสั้นก็สามารถได้รับการบำบัดได้ โรคไฮเปอร์ (Hyperactivity)

อาการของไฮเปอร์

เด็กสมาธิสั้นอาจส่งผลกระทบในการเรียน เด็กเหล่านี้อาจจะแสดงพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น ดังต่อไปนี้:
  • พูดแทรกการสนทนา
  • พูดเสียงดังออกมาโดยไม่มีที่มา
  • ตีเพื่อนร่วมชั้นเรียน
  • ไม่นั่งอยู่กับที่ในชั้นเรียน
ผู้ใหญ่สมาธิสั้นจะมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ :
  • สมาธิสั้น
  • ไม่สามารถใช้สมาธิในการจดจ่อทำงานได้
  • ไม่สามารถจดจำข้อมูลต่างๆ ได้
ผู้ที่มีสมาธิสั้น อาจรู้สึกวิตกกังวลหรือซึมเศร้า ในหลายกรณีพบว่าผู้ใหญ่ที่มีอาการสมาธิสั้นแสดงอาการเหมือนเด็กๆ

สาเหตุของไฮเปอร์

ไฮเปอร์หรือสมาธิสั้นอาจเกิดจากสภาพจิตใจหรือร่างกาย รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อระบบประสาทหรือต่อมไทรอยด์ สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการนี้ได้แก่:

การวินิจฉัยไฮเปอร์

ผู้ป่วยสมาธิสั้นทั้งวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่หากมีภาวะสมาธิสั้นเกินปกติให้ปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัย เริ่มแรกแพทย์จะทำการซักถามประวัติและอาการของผู้ป่วย และอาจจะสอบถามเกี่ยวกับยาใด ๆ ที่ผู้ป่วยได้รับ การตอบคำถามเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์สามารถระบุความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ ช่วยให้แพทย์ทราบว่าเป็นสมาธิสั้นจากปัญหาสุขภาพเดิม หรือผลข้างเคียงของการใช้ยา อาจจะมีการทดสอบเลือดหรือปัสสาวะ เพื่อตรวจสอบระดับฮอร์โมนของว่าฮอร์โมนมีความสมดุลหรือไม่  เช่น ความไม่สมดุลของฮอร์โมนไทรอยด์สามารถส่งผลให้เกิดสมาธิสั้นได้ เพื่อการรรักษาที่มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยควรได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

การรักษาไฮเปอร์

หากแพทย์วินิจฉัยว่า อาการสมาธิสั้นเกิดจากสภาพร่างกายพื้นฐาน แพทย์จะทำการสั่งยา เพื่อใช้รักษาอาการนั้น สมาธิสั้นอาจเกิดจากสภาวะสุขภาพจิต หากเป็นเช่นนี้แพทย์จะแนะนำให้ไปพบจิตแพทย์ หรืออาจจะใช้การรักษาด้วยยาร่วมกับการปรึกษาจิตแพทย์

การบำบัด

การบำบัดด้วยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรม (CBT) และการบำบัดด้วยการพูดคุยนิยมใช้ เพื่อรักษาสมาธิสั้น การบำบัด CBT เน้นการเปลี่ยนรูปแบบการคิดและพฤติกรรมของคุณ การบำบัดด้วยการพูดคุยกับนักจิตบำบัด นักจิตบำบัดสามารถช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรับมือกับอาการสมาธิสั้นได้

การรักษาด้วยยา

ผู้ป่วยสมาธิสั้นสามารถใช้ยา เพื่อช่วยในการควบคุมสมาธิสั้น โดยจะทำให้ผู้ป่วยสมาธิสามารถอยู่นิ่งได้มากขึ้น ยาที่ใช้ในการรักษาสมาธิสั้น ได้แก่
  • Dexmethylphenidate (Focalin)
  • Dextroamphetamine and Amphetamine (Adderall)
  • Dextroamphetamine (Dexedrine, Dextrostat)
  • Lisdexamfetamine (Vyvanse)
  • Methylphenidate (Ritalin)
ยาเหล่านี้บางชนิดหากใช้ผิดวิธีอาจทำให้เกิดการเสพติดได้ แพทย์จะทำการตรวจสอบติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย แพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงสารกระตุ้นที่อาจทำให้เกิดอาการสมาธิสั้น เช่น การหลีกเลี่ยงคาเฟอีนและนิโคติน

ภาพรวมการรักษา

หากอาการสมาธิสั้นไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลต่อการทำงาน การศึกษา และความสัมพันธ์ส่วนตัว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในคุณภาพชีวิต หากสงสัยว่าลูกๆ หรือตัวเองมีอาการสมาธิสั้นรุนแรงเกินปกติให้รีบปรึกษาแพทย์ แพทย์จะแนะนำการใช้ยา หรือการบำบัด หรือทั้งสองอย่าง ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดสมาธิสั้น การเข้ารับการรักษาสมาธิสั้น สามารถช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรับมือกับอาการเหล่านี้ได้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขั้น

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด