ไฮออสซีน บิวทิลโบรไมด์ (Hyoscine Butylbromide) : วิธีใช้ และข้อควรระวัง

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ไฮออสซีน บิวทิลโบรไมด์
ชื่อทางการค้า : บุสโคพาน Common Brand Name(s): Buscopan สิ่งสำคัญ: รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการใช้ นี่คือบทสรุป และไม่ใช่ข้อมูลที่เป็นไปได้ทั้งหมดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นี้ รวมถึงข้อมูลนี้ยังไม่มีความแน่ใจมากพอว่าผลิตภัณฑ์นี้มีความปลอดภัย มีประสิทธิผลหรือเหมาะสมสำหรับคุณ ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นี้

ยาบุสโคพานแก้อะไร

สโคโปตามีน (ที่รู้จักกันในชื่อ ไฮออสซีน) Hyoscine คือ  ยาแก้ปวดเกร็งท้อง มีอาการเกร็งของกระเพาะอาหาร ลำไส้ ไตและกระเพาะปัสสาวะ ยา ) ยาไฮออสซีนหรือยาบุสโคพานนี้จะช่วยบรรเทาความรู้สึกไม่สบายท้องที่มีสาเหตุมาจากโรคเช่น โรคลำไส้แปรปรวน นิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในไต และภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน การทำงานของยาจะทำให้การเคลื่อนตัวตามธรรมชาติของลำไส้ช้าลง และทำให้กล้ามเนื้อในส่วนนี้ของร่างกายผ่อนคลายลง ยานี้มี  belladonna alkaloid ซึ่งเป็นกลุ่มของยาที่รู้จักกันดีว่าเป็นยาแก้เกร็ง             

วิธีการใช้ Hyoscine Butylbromide

รับประทานทางปากโดยตรงตามแพทย์สั่ง ปริมาณยาขึ้นอยู่โรคที่คุณเป็นและการตอบสนองต่อการรักษา ห้ามเพิ่มปริมาณยาหรือรับประทานยาเกิดกว่าที่แพทย์สั่งโดยไม่ปรึกษาแพทย์ ไม่ควรเกินมากกว่า 60มิลลิแกรมต่อวัน รับประทานยาพร้อมน้ำ ควรดื่มน้ำเยอะๆในช่วงที่รับประทานยานี้ยกเว้นแพทย์จะสั่งเป็นอย่างอื่น ยาลดกรดและยาแก้ท้องเสียบางชนิด (ยาชนิดดูดซึมเช่น เคโอลินและแพ็คติน แอปต้าพูไกท์) ทำให้ดูดซึมสโคโปลามีนได้ต่ำ หากคุณรับประทานยาชนิดนี้ ควรทานสโคโปลามีนก่อนอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนรับประทานยาดังกล่าว แจ้งให้แพทย์ทราบหากโรคยังคงเป็นอยู่หรือแย่ลง

ผลข้างเคียง

อาจเกิดอาการปากแห้ง คลื่นไส้ เหงื่อออกน้อยลง หน้าแดง สายตามัว ท้องผูก มึนวิงเวียนหรือง่วงซึมขึ้นได้ หากอาการข้างเคียงเหล่านี้ยังคงอยู่หรือแย่ลง แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทันที เพื่อบรรเทา ให้อมลูกอม (น้ำตาลน้อย) หรือน้ำแข็ง เคี้ยวหมากฝรั่ง(น้ำตาลน้อย) ดื่มน้ำ จำไว้ว่าเมื่อแพทย์สั่งจ่ายยาก็เป็นเพราะแพทย์ตัดสินใจแล้วว่ายานี้มีประโยชน์ต่อคุณมากกว่าความเสี่ยงที่ได้จากผลข้างเคียง หลายคนที่ใช้ยาชนิดนี้จะไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง แจ้งให้แพทย์ทราบทันทีหากพบว่าอาจมีอาการจากผลข้างเคียงที่รุนแรงเช่นr:
  • หายใจถี่
  • มีปัญหาเกี่ยวกับปัสสาวะ
  • หัวใจหัวใจเต้นผิดปกติ หรือเร็ว
  • อารมณ์ จิตใจเปลี่ยน (เช่นสับสน)
ยาบุสโคพานอาจเพิ่มความดันภายในตาของคนที่มีโรคตาบางประเภท (ต้อหินชนิดมุมปิด) หรือคนที่มีความเสี่ยงในโรคนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันทีหากมีอาการแม้จะพบได้ไม่บ่อยก็ตามแต่ก็อาจเกิดปลข้างเคียงที่รุนแรงได้เช่น 
  • มีปัญหาการมองเห็น (เช่นสูญเสียการมมองเห็น)
  • เจ็บปวดตา
คนที่มีปฏิกิริยาแพ้ยาขั้นรุนแรงจากยานี้พบได้น้อยมาก แต่อย่างไรก็ตามควรรีบพบแพทย์ทันทีหากสังเกตเห็นอาการแพ้รุนแรงขึ้นเช่น:
  • ขึ้นผื่น
  • คัน บวม (โดยเฉพาะที่ใบหน้า ลิ้น คอ)
  • วิงเวียนศีรษะรุนแรง
  • มีปัญหาด้านการหายใจ
อาการที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ยังไม่ใช่อาการของผลข้างเคียงทั้งหมด หากคุณสังเกตเห็นอาการข้างเคียงอื่นๆที่ไม่มีตามรายการข้างต้น ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรHyoscine Butylbromide

คำเตือน

ก่อนรับประทานยาสโคโปลามีน แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณมีอาการแพ้ยาดังกล่าว หรือแพ้ยาเบลลาดอนนา อัลคาลอยด์ (เช่นอะโทรปีน ไฮออสไซยามีน) หรือแพ้ยาตัวอื่นๆ ผลิตภัณฑ์นี้อาจมีส่วนผสมที่สามารถทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่นๆได้ ปรึกษาเภสัชกรสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม ก่อนรับประทานยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับโรคประจำตัว โดยเฉพาะ: ยานี้อาจทำให้ง่วงนอนหรึอเวียนศีรษะ การมองไม่ชัดเจน การดื่มแอลกอฮอล์หรือกัญชาอาจทำให้มึนงงมากขึ้น ไม่ควรขับี่ยานพาหนะ ใช้เครื่องจักรหรือทำใดๆที่ต้องใช้ความตื่นตัวหรือการมองชัดเจนจนกว่าคุณจะทำได้อย่างปลอดภัยเต็มที่ จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์  ยานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคฮีทสโตรคเพราะทำให้เหงื่อลดน้อยลง หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ร้อนมากๆในอากาศร้อน ซาวน่าและในระหว่างการออกกำลังกาย ผู้สูงอายุอาจไว้ต่อยานี้ โดยเฉพาะอาการมึนงง งาวงนอน ปากแห้ง มีปัญหาปัสสาวะ ตามีปัญหา ในระหว่างการตั้งครรภ์ ยานี่ควรใช้เมื่อมีความจำเป็นจริงๆเท่านั้น ปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงและประโยชน์ของยาก่อนการใช้ ยานี้อาจส่งต่อผ่านการให้นมบุตร ปรึกษาแพทย์ก่อนการให้นมบุตร

การทำปฏิกิริยากับยาอื่นๆ

การเกิดปฏิกิริยากับยาอาจเปลี่ยนการทำงานของตัวยาหรืออาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เก็บรายชื่อทุกผลิตภัณฑ์ที่คุณใช้ (ทั้งยามีใบสั่งแพทย์และไม่มีรสมถึงยาสมุนไพร) และแจ้งให้แพทย์ เภสัชกรทราบ ห้ามเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนปริมาณยาเองโดยไม่มีคำสั่งจากแพทย์ ผลิตภัณฑ์บางตัวที่อาจเกิดปฏิกิริยากับยานี้เช่น:
  • ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางตัว (ไดโซไพราไมด์ โพรเคนาไมด์  ควินิดีน)
  • ยากลุ่มต้านแอนตีโคลิเนอร์จิก (เช่น อะโทรปีน ไกลโคไพโรเลต)
  • ยาต้านอาการซึมเศร้าบางชนิด (ไตรไซคลิก เช่น อะมิทริปไทลีน)
  • ยาคลายหดเกร็งของกล้ามเนื้อ (เช่น คลิดิเนียม ไดโซโคลมีน โปรแพนธีลีน) 
  • ยาต้านโรคพาร์กินสันบางชนิด (เช่น ไตรเฮกซีเฟนิดิล)
  • เบลลาดอนนา อัลคาลอยด์
  • ยาต้ารเศร้ากลุ่มเอ็มเอโอไอ (MAO inhibitors (ไอโซคาร์บอกซาซิด ไลนิโซลิด เมทิลีน บลู ม็อกโคลบีไมด์ ฟีเนลซีน ราซาจิลีน เซเลกิลีน ทรานิลไซโปรมีน)
  • พรามิลินไทด์
  • โปรแตสเซียมแบบเม็ด/แคปซูล
แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณรับประทานผลิตภัณฑ์อื่นๆที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการง่วงนอนเช่น ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์หรือยาบรรเทาอาการไอ (เช่น โคเดอีน ไฮโดรโคโดน ) แอลกอออล์ กัญชา ยานอนหลับหรือยาแก้วิตกกังวล (เช่น  อัลปราโซแลม ลอราซีแพม โซลพิเดม)  ยาคลายกล้ามเนื้อ (คาริโซโพรดอล ไซโคลเบนซาพรีน) หรือ ยาแก้แพ้ (เช่น เซทิริซีน ไดเฟนไฮดรามีน) ตรวจเช็คฉลากยาของคุณทุกครั้ง (เช่นแก้แพ้หรือผลิตภัณฑ์แก้ไอ-หวัด) เพราะยาพวกนี้ออาจมีส่วนผสมที่เป็นสาเหตุของอาการง่วงนอนหรืออาจทำให้หัวใจเต้นเร็ว ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาที่ปลอดภัย

การรับประทานยาเกินขนาด

หากมีการรับประทานยาเกินขนาดและมีอาการรุนแรงเช่นหายใจไม่ได้หรือมีปัญหาเรื่องการหายใจ โทรเรียกฉุกเฉิน อาการของการรับประทานยาเกินขนาดเช่น ง่วงนอนมากเกินไป มีปัญหาการหายใจ ผิวแห้งหรือร้อน มีไข้ จิตใจ/อารมณ์เปลี่ยน หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ ชัก หมายเหตุ ห้ามใช้ยาร่วมกับผู้อื่น

หากรับประทานยาขาดไป

หากคุณลืมรับประทานยาให้รีบประทานทันทีที่นึกขึ้นได้ หากใกล้เวลาในมื้อถัดไปให้ข้ามมื้อยามื้อที่ลืมไปเลย รับประทานยาในมื้อถัดไปตามเวลาเดิม ห้ามรับประทานยาเพิ่มเป็นสองเท่าเพื่อทานยาให้ครบเด็ดขาด

การเก็บรักษา

เก็บยาไว้ในอุณหภูมิห้อง ห่างไกลจากแสงแดดและความชื้น ไม่ควรเก็บยาไว้ในห้องน้ำ เก็บยาให้ห่างไกลจากเด็กเอื้อมถึงและสัตว์เลี้ยง ห้ามทิ้งยาลงในโถชักโครกหรือทิ้งลงในท่อระบายน้ำยกเว้นมีคำแนะนำ ควรทิ้งยาอย่างเหมาะสมเมื่อยาหมดอายุ ปรึกษาเภสัชกรหรือเจ้าหน้าที่ขยะท้องถิ่นเพื่อการกำจัดที่ถูกต้อง

ใครที่ควรหลีกเลี่ยง

Scopolamine butylbromide หรือที่เรียกว่า hyoscine butylbromide เป็นยาที่ใช้ในการบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารและทางเดินปัสสาวะ เช่นเดียวกับยาอื่นๆ มีบุคคลบางคนที่ควรหลีกเลี่ยงหรือใช้สโคโพลามีน บิวทิลโบรไมด์ด้วยความระมัดระวัง สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนรับประทานยานี้ และกลุ่มคนต่อไปนี้อาจต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ:
  • ปฏิกิริยาการแพ้:
    • บุคคลที่แพ้สโคโพลามีนหรือส่วนผสมใดๆ ในยาควรหลีกเลี่ยงการใช้ ปฏิกิริยาการแพ้อาจมีตั้งแต่ผื่นผิวหนังเล็กน้อยไปจนถึงปฏิกิริยารุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • ต้อหิน:
    • Scopolamine butylbromide อาจเพิ่มความดันในลูกตา และโดยทั่วไปไม่แนะนำสำหรับผู้ที่เป็นโรคต้อหิน สิ่งสำคัญคือต้องแจ้งให้ผู้ให้บริการด้านการแพทย์ทราบเกี่ยวกับสภาพดวงตาที่มีอยู่ก่อน
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงกราวิส:
    • Myasthenia Gravis เป็นโรคประสาทและกล้ามเนื้อที่มีลักษณะกล้ามเนื้ออ่อนแรงและเหนื่อยล้า Scopolamine butylbromide อาจทำให้อาการเหล่านี้แย่ลง และควรใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ที่เป็นโรค myasthenia gravis
  • เมกะโคลอน:
    • Scopolamine butylbromide อาจทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง บุคคลที่มีภาวะ เช่น ลำไส้ใหญ่ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นภาวะที่มีลำไส้ใหญ่ขยายใหญ่ อาจมีอาการแย่ลง และควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา
  • อาการลำไส้ใหญ่บวมเป็นแผลรุนแรง:
    • Scopolamine butylbromide อาจทำให้อาการของโรคลำไส้ใหญ่บวมเป็นแผลรุนแรงแย่ลง บุคคลที่มีอาการนี้ควรใช้ยาด้วยความระมัดระวังและอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • ภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง:
    • สโคโพลามีน บิวทิลโบรไมด์อาจมีฤทธิ์ต้านโคลิเนอร์จิค และการใช้อาจมีความเสี่ยงในบุคคลที่มีภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง เนื่องจากอาจลดการหลั่งของเหลวได้อีก
  • การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:
    • ความปลอดภัยของสโคโพลามีน บิวทิลโบรไมด์ในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรยังไม่เป็นที่แน่ชัด บุคคลที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพก่อนใช้ยานี้
  • ผู้สูงอายุ:
    • ผู้สูงอายุอาจไวต่อฤทธิ์ต้านโคลิเนอร์จิคของสโคโพลามีน บิวทิลโบรไมด์มากกว่า ซึ่งอาจรวมถึงอาการปากแห้ง ตาพร่ามัว และท้องผูก อาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาและติดตามอย่างใกล้ชิด
  • ยาอื่นๆ:
    • บุคคลที่รับประทานยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับสโคโพลามีน บิวทิลโบรไมด์ เช่น ยาต้านโคลิเนอร์จิคบางชนิด หรือยาที่ส่งผลต่อจังหวะการเต้นของหัวใจ ควรแจ้งผู้ให้บริการด้านสุขภาพของตน การโต้ตอบกับยาอื่น ๆ อาจมีผลข้างเคียงได้
ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเสมอก่อนเริ่มหรือหยุดใช้ยาใดๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดเตรียมประวัติทางการแพทย์ที่ครอบคลุมและเปิดเผยยาที่ใช้อยู่ทั้งหมดเพื่อให้แน่ใจว่ามีการใช้สโคโพลามีน บิวทิลโบรไมด์หรือยาตามใบสั่งแพทย์อื่นๆ อย่างปลอดภัยและเหมาะสม

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.nhs.uk/medicines/buscopan-hyoscine-butylbromide/
  • https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17547475/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด