ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
ฮอร์เนอร์ซินโดรม
ฮอร์เนอร์ซินโดรม (Horner’s Syndrome) เป็นภาวะที่พบได้ยากซึ่งมีลักษณะของการหดตัวของรูม่านตา หนังตาตก เปลือกตาบนหย่อนยาน ไม่มีเหงื่อออกที่ใบหน้า  มันเกิดจากความเสียหายต่อเส้นประสาทหนึ่งของใบหน้า 

อาการ

อาการของฮอร์เนอร์ซินโดรม การหลบของหนังตาบน (Ptosis) การหดตัวของรูม่านตา (Miosis) การจมของลูกตาเข้าไปในเบ้าหน้า และเหงื่อไม่ออก (Anhidrosis) อาการเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และอาการอื่นๆ อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แท้จริงของอาการ อาการอื่นๆ ที่อาจพบได้ ได้แก่ ไม่สามารถปิด หรือเปิดเปลือกตาได้อย่างสมบูรณ์ หน้าแดง ปวดศีรษะ ฯลฯ

สาเหตุ

มีหลายสาเหตุที่เป็นไปได้ของ Horner’s syndrome อาจเกิดจากการหยุดชะงักของการทำงานของเส้นประสาทที่สำคัญบนใบหน้า ที่ทำหน้าที่ประสานกับไขสันหลังส่วนบนใกล้กับหลอดเลือดแดง Carotid ไปที่ใบหน้า การทำงานของเส้นประสาทอาจลดลงเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น การบาดเจ็บ การกดทับ หรือบางปัญหาสุขภาพ
  • การบาดเจ็บจากการคลอดที่คอ และไหล่
  • ความผิดปกติในก้านสมอง
  • การบาดเจ็บ ลิ่มเลือด หรือการผ่าหลอดเลือดแดง
  • การบาดเจ็บหรือการผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับคอ ไขสันหลังส่วนบน หรือหน้าอก
  • เนื้องอกในก้านสมอง ไฮโปทาลามัส ไขสันหลังส่วนบน คอ ตา ช่องท้อง หรือช่องอก โดยเฉพาะเนื้องอกในเซลล์ประสาท หรือเนื้องอกที่ปอดส่วนบน
  • ไมเกรน หรือปวดหัวคลัสเตอร์
  • โรคที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเกราะป้องกันที่ล้อมรอบเส้นใยประสาท
  • การพัฒนาของโพรง หรือซีสต์ที่เต็มไปด้วยของเหลวภายในไขสันหลัง (Syringomyelia)
  • อาร์โนลด์-เคียรี ผิดปกติ
  • การอักเสบ หรือการเจริญเติบโตที่ส่งผลต่อต่อมน้ำเหลืองที่คอ
Horner's Syndrome

การวินิจฉัย และการรักษา

Horner’s syndrome ควรได้รับการวินิจฉัยเป็นระยะ จะเริ่มต้นด้วยการตรวจร่างกายโดยแพทย์เฉพาะทางแต่ละอาการ ส่วนมากจะถูกส่งต่อไปยังจักษุแพทย์ จักษุแพทย์จะทำการทดสอบการหยอดตา เพื่อเปรียบเทียบปฏิกิริยาของรูม่านตาทั้งสอง หากผลการทดสอบนี้ระบุว่า อาการของคุณเกิดจากความเสียหายของเส้นประสาท จะทำการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง โดยการทดสอบเพิ่มเติมได้แก่
  • MRI
  • CT Scan
  • X-ray
  • การตรวจเลือด
  • การตรวจปัสสาวะ
สำหรับตัวเลือกการรักษา ยังไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรค Horner’s syndrome แต่จะรักษาสภาพที่ก่อให้เกิดโรคแทน และในบางกรณี หากอาการไม่รุนแรง ไม่จำเป็นต้องรับรักษา
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด