โรคฮิสทีเรีย (Histeria) หรือ HPD คือ กลุ่มความผิดปกติทางจิตที่เรียกว่า “Cluster B” หมายถึง ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติในหมวดหมู่นี้จัดอยู่ในประเภททั่วไปว่าดราม่า อารมณ์แปรปรวน หรือเอาแน่เอานอนไม่ได้
ผู้ป่วย HPD มีความผิดปกติด้านจิตใจ ผู้ป่วยเห็นคุณค่าตนเองจากการยอมรับของผู้อื่น โดยเรียกร้องความสนใจอย่างสังเกตเห็นได้ ด้วยเหตุนี้ผู้ที่มี HPD จึงอาจมีพฤติกรรมการเสแสร้ง แสดงละคร ผู้หญิงได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการฮิสทีเรียมากกว่าผู้ชาย
อาการโรคฮิสทีเรีย
ฮิสทีเรียไม่ใช่โรคทางจิตใจที่ร้ายแรง คนส่วนใหญ่มีอาการฮิสทีเรีย หรือ HPD ประสบความสำเร็จในสังคมและที่ทำงาน มักจะมีทักษะที่ยอดเยี่ยม แต่พวกเขามักใช้ทักษะเหล่านี้ เพื่อทำร้ายผู้อื่น อาการบ่งบอกว่าเป็นฮิสทีเรียมีดังนี้- รู้สึกไม่สบายใจในเมื่อไม่ได้รับความสนใจจากคนรอบข้าง
- มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นโดยมีพฤติกรรมยั่วยุทางเพศที่ไม่เหมาะสม
- อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
- ดึงดูดความสนใจจากผู้อื่นด้วยพฤติกรรมทางกาย
- พูดเพื่อสร้างความประทับใจอย่างเกินจริง
- เสแสร้ง แสดงละครและแสดงออกทางอารมณ์ที่เกินจริง
- ถูกครอบงำจากผู้อื่นได้ง่าย
- รู้สึกถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกว่าที่เป็นจริง
สาเหตุของฮิสทีเรีย
ความผิดปกติทางบุคลิกภาพชนิดนี้ยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นผลมาจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรม พบว่า บางครอบครัวที่มีประวัติผู้ที่มีอาการฮิสทีเรีย นั้นสามารถมีแนวโน้มว่าจะมีคนในครอบครัวเป็นฮิสทีเรียได้อีก นี่อาจจะแสดงให้เห็นว่าพันธุกรรมนั้นมีผลต่อฮิสทีเรีย ในทางกลับกันเด็กที่มีอาการฮิสทีเรีย อาจแสดงพฤติกรรมที่ได้รับการเลียนแบบพฤติกรรมจากผู้ปกครอง นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่าการขาดวินัย หรือการเสริมแรงพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจในวัยเด็ก ทำให้เด็กอาจเรียนรู้พฤติกรรมนี้เพื่อให้ได้รับความสนใจจากผู้ปกครอง อย่างไรก็ตามอาการฮิสทีเรียจะปรากฏในช่วงผู้ใหญ่ตอนต้นเป็นส่วนใหญ่วินิจฉัยฮิสทีเรีย
การวินิจฉัยฮิสทีเรียไม่มีวิธีการทดสอบโดยเฉพาะ หากสงสัยว่ามีอาการ และให้ไปพบแพทย์ โดยแพทย์จะเริ่มด้วยการซักประวัติทางการแพทย์โดยละเอียด รวมถึงทำการตรวจร่างกาย เพื่อตัดปัญหาทางกายภาพที่อาจทำให้เกิดอาการของคุณออกจาการวินิจฉัย กรณีที่แพทย์ไม่พบสาเหตุทางกายภาพที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว แพทย์อาจแนะนำให้คุณพบจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง จิตแพทย์จะสามารถใช้คำถามเฉพาะ เพื่อดูประวัติพฤติกรรมขออย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามผู้ที่มีอาการฮิสทีเรียส่วนใหญ่ ไม่เชื่อว่าพวกเขาต้องการการรักษา หรือความช่วยเหลือ จึงทำให้การวินิจฉัยเป็นเรื่องยาก ผู้ป่วยฮิสทีเรียโดยมากจะได้รับการวินิจฉัยหลังจากเข้ารับการบำบัดภาวะซึมเศร้า หรือวิตกกังวล ซึ่งอาจมาจากปัญหาความสัมพันธ์ที่ล้มเหลว หรือความขัดแย้งส่วนตัวอื่น ๆภาพรวมของผู้ป่วยฮิสทีเรีย
ผู้คนจำนวนมากที่มีอาการฮิสทีเรีย ยังสามารถดำเนินชีวิตตามปกติ ออกไปทำงาน และเข้าสังคมได้ ในความเป็นจริงหลายคนที่เป็นฮิสทีเรียหลายคนประสบปัญหาในความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด โดยจะส่งผลกระทบต่อการรักษาความสัมพันธ์ หรือมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายชีวิต ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุของผู้ป่วย โดยการรับมือขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์ ผู้ที่เป็นฮิสทีเรียมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าโดยสามารถส่งผลกระทบต่อวิธีที่เขาจัดการกับความล้มเหลวและความรู้สึกสูญเสีย ทั้งยังทำให้ผู้ป่วยหงุดหงิดเมื่อไม่ได้รับความสนใจ ควรพบแพทย์เมื่อมีอาการฮิสทีเรีย โดยเฉพาะเมืออาการนี้รบกวนชีวิตประจำวัน และการทำงาน รวมถึงทำให้ชีวิตไม่มีความสุขการรักษาฮิสทีเรีย
การรักษาอาจทำได้ยากหากผู้ป่วยไม่ต้องการการรักษาหรือพบว่ากิจวัตรประจำวันของโปรแกรมการบำบัดไม่น่าสนใจ อย่างไรก็ตามการบำบัดและยารักษาสามารถช่วยบรรเทาอาการฮิสทีเรียได้การบำบัดฮิสทีเรีย
จิตบำบัดเป็นวิธีการรักษาที่ใช้กันทั่วไป และมีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับผู้ที่มีอาการฮิทีเรีย การบำบัดแบบนี้ได้แก่ การพูดคุยกับนักบำบัดเกี่ยวกับความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้มีอาการฮิสทีเรีย การสนทนาดังกล่าวสามารถช่วยผู้ป่วยและนักบำบัดจิตกำหนดเหตุผลเบื้องหลังการกระทำ และพฤติกรรมที่ผู้ป่วยแสดงออก นักบำบัดอาจช่วยให้คุณเรียนรู้วิธีการสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนในเชิงบวกแทนที่การพยายามเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้างอย่างต่อเนื่องยารักษาฮิสทีเรีย
หากผู้ที่มีอาการฮิสทีเรียมีความซึมเศร้าหรือวิตกกังวล แพทย์จะให้ยาช่วยในการรักษาการรับมือกับโรคฮิสทีเรีย
หากคุณหรือคนที่คุณรักเคยมีอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคฮิสทีเรีย เช่น อารมณ์แปรปรวน สูญเสียความรู้สึก หรือประสาทหลอน การขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเป็นขั้นตอนที่ดี ในระหว่างนี้ ต่อไปนี้คือเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ที่จะช่วยให้คุณรับมือได้ดีขึ้น:- ฝึกสติ มีสมาธิอยู่กับปัจจุบันแทนที่จะจดจ่ออยู่กับเมื่อวานหรือพรุ่งนี้ สิ่งนี้สามารถช่วยให้คุณมีเหตุผล
- มีส่วนร่วมในแบบฝึกหัดการหายใจ ผ่อนคลายความรู้สึกวิตกกังวลด้วยการหายใจเข้าและออกในรูปแบบเฉพาะ
- เขียนในไดอารี่ ถ่ายทอดความรู้สึกของคุณออกมาบนกระดาษ ใส่แหล่งที่มาของความเครียดแล้วปล่อยมันไป
- ออกกำลังกาย ไปเดินเล่นหรือปีนเขาหรือขี่จักรยานไปรอบๆ ละแวกนั้น การออกกำลังกายช่วยเพิ่มสุขภาพจิตในขณะที่ส่งเสริมสุขภาพร่างกายในเวลาเดียวกัน
- พัฒนาตารางการนอนที่สม่ำเสมอ ให้ร่างกายได้พักผ่อนตามต้องการเพื่อช่วยจัดการกับอาการและอารมณ์ที่คุณกำลังประสบอยู่ได้ดีขึ้น
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.webmd.com/mental-health/histrionic-personality-disorder
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK542325/
- https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/9743-histrionic-personality-disorder
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น