ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่พบในเลือด แต่ไม่ใช่คอเลสเตอรอล โดยไขมันนี้ถูกเก็บไว้ในเซลล์ไขมัน เพื่อใช้ในภายหลัง ไตรกลีเซอไรด์เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ การมีไขมันนี้ในระดับที่ปกติมีความสำคัญต่อสุขภาพที่ดี การรับประทานไขมันมากกว่าที่ร่างกายเผาผลาญ จะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง (hypertriglyceridemia) ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงนั้นส่งผลให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว ทำให้ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวายและโรคหัวใจเพิ่มขึ้น ภาวะนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอาการเมตาบอลิซึม ซึ่งรวมถึงไขมันรอบเอวมากเรับประทานไป ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง และระดับคอเลสเตอรอลที่ผิดปกติ
บางครั้งระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูง หมายถึง การเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ที่มีการควบคุมที่ไม่ดี ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ โรคตับ หรือไต หรือภาวะทางพันธุกรรมอื่นๆ ที่หายาก
High Triglycerides” width=”500″ height=”277″ />
อาการและสาเหตุของไตรกลีเซอไรด์สูง
สาเหตุของไตรกลีเซอไรด์สูง ได้แก่ ภาวะน้ำหนักเกิน การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากเกินไป พันธุกรรม ปัญหาสุขภาพบางอย่างซึ่งรวมถึงโรคเบาหวานที่ไม่มีการควบคุมที่ดี โรคไต และต่อมไทรอยด์ไม่ทำงาน (hypothyroidism) ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ และยาคุมกำเนิด รวมทั้งการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปก็เป็นสาเหตุเช่นกัน คนส่วนใหญ่ที่มีภาวะนี้มักจะไม่แสดงอาการ ไตรกลีเซอไรด์ในระดับที่สูงมากจะทำให้เกิดไขมันสะสมใต้ผิวหนัง และตับอ่อนอักเสบการวินิจฉัยภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง
การวินิจฉัยทำได้โดยตรวจวัดระดับเลือด ระดับปกติจะมีค่าไตรกลีเซอไรด์ต่ำกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg / dL) ระดับสูง คือ 200 ถึง 499 ระดับที่สูงมาก คือ มากกว่า 500วิธีการรักษาไตรกลีเซอไรด์สูง
วิธีที่ดีที่สุดในการลดไตรกลีเซอไรด์ ได้แก่ การลดน้ำหนัก รับประทานอาหารให้แคลอรี่น้อยลง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (วันละ 30 นาที) การเปลี่ยนแปลงอาหารที่สามารถช่วยได้ ได้แก่ การหลีกเลี่ยงไขมัน และน้ำตาล รวมถึงอาหารที่ผ่านการแปรรูป (คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว เช่น น้ำตาลและอาหารที่ทำจากแป้งขาว) หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ และจำกัด การบริโภคไขมันที่พบในเนื้อสัตว์ที่มีไขมันอิ่มตัวสูง ไข่แดงและผลิตภัณฑ์จากนม ไขมันทรานส์ที่พบในอาหารทอด และขนมอบกรอบนั้นไม่ดีต่อสุขภาพ รับประทานไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวที่ดีต่อสุขภาพ เช่น น้ำมันมะกอก ถั่วลิสง และคาโนลา รับประทานปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง (ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน) แทนการรับประทานเนื้อแดง หากการเปลี่ยนแปลงอาหาร และการออกกำลังกายไม่ได้ผลยารักษาบางชนิด เช่น กรดนิโคติน (ไนอาซิน) ไฟเบรต (เช่นเฟโนไฟเบรต เจมไฟโบรซิล) และกรดไขมันโอเมก้า 3 (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลาที่จำหน่ายทั่วไป) สามารถช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ โดยไนอาซินอาจจะสร้างผลข้างเคียงให้กับผู้ใช้งาน (อาการคัน ปัญหาเกี่ยวกับตับ) ยาลดคอเลสเตอรอล Statins (เช่น Simvastatin, Atorvastatin, Rosuvastatin) สามารถลดไตรกลีเซอไรด์ได้เช่นกัน การควบคุมเบาหวานนั้นเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เพราะเมื่อระดับน้ำตาลสูงจะทำให้ไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้นด้วยคำแนะนำในการลดไตรกลีเซอไรด์
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- รับประทานผักผลไม้มากขึ้น และอาหารที่มีเส้นใยสูงเช่น ข้าวโอ๊ต ปรุงอาหารด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวเช่น น้ำมันมะกอก ถั่วลิสง และคาโนลา
- รับประทานปลา
- หยุดสูบบุหรี่
- ลดน้ำหนักโดยการเปลี่ยนอาหาร และออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น เดินจ็อกกิ้ง ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีทุกวัน
- รักษาและควบคุมโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น เบาหวาน และไทรอยด์ไม่ทำงาน
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ห้ามเปลี่ยนแปลงอาหารและหากอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.webmd.com/cholesterol-management/high-triglycerides-what-you-need-to-know
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-cholesterol/in-depth/triglycerides/art-20048186
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น