โรคตับอักเสบ (Hepatitis) คือ ภาวะอักเสบของตับ โดยทั่วไปเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แต่มีก็สาเหตุอื่นที่เป็นไปได้ รวมถึงโรคภูมิต้านทานทำลายเนื้อเซลล์ตับและตับอักเสบที่เกิดขึ้นจากผลของยาบางชนิด ยาพิษและแอลกอฮอล์ โรคภูมิต้านทานทำลายเนื้อเซลล์ตับเป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายทำแอนติบอดี้ต่อเนื้อเยื่อตับ
ตับมีหน้าทำหน้าที่สำคัญ ที่ส่งผลต่อการเผาผลาญทั่วร่างกายรวมไปถึง :
- ผลิตน้ำดีที่จำเป็นต่อการย่อยอาหาร
- กรองสารพิษออกจากร่างกาย
- ขับถ่ายของบิลิรูบิน (ผลิตภัณฑ์ของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ถูกทำลาย) คอเลสเตอรอล ฮอร์โมนและยาเสพติด
- สลายคาร์โบไฮเดรตไขมันและโปรตีน
- กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ซึ่งเป็นโปรตีนเฉพาะที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย
- เก็บไกลโคเจน (รูปแบบของน้ำตาล) เกลือแร่และวิตามิน (A, D, E, และ K)
- สังเคราะห์โปรตีนในเลือด เช่น อัลบูมิน
- สังเคราะห์สารที่ทำให้เลือดแข็งตัว
อาการตับอักเสบโดยทั่วไป
อาการตับอักเสบเรื้อรัง เช่น ไวรัสตับอักเสบ B และC อาจจะไม่มีอาการตั้งแต่แรก อาการจะปรากฏเมื่อความเสียหายนั้นกระทบกับการทำงานของตับ สัญญาณของอาการตับอักเสบ:- เมื่อยล้า
- อาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่
- ปัสสาวะสีเข้ม
- อุจจาระเหลว
- ปวดท้อง
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ
- ผิวหนังและดวงตาสีเหลือง
โรคตับอักเสบจากไวรัสทั้ง 5 ประเภท
การติดเชื้อไวรัสของตับสามารถจัดอยู่เป็นประเภทไวรัสตับอักเสบต่างๆ ได้ดังนี้ ได้แก่ ตับอักเสบ A, B, C, D และ E ไวรัสตับอักเสบ A มักเป็นโรคเฉียบพลันระยะสั้น ในขณะที่ไวรัสตับอักเสบ B C และ D มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเรื้อรัง ไวรัสตับอักเสบ E มักจะเป็นเฉียบพลัน และเป็นอันตรายอยากมากในหญิงตั้งครรภ์ไวรัสตับอักเสบ A
ไวรัสตับอักเสบ A เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ A (HAV) โรคไวรัสตับอักเสบชนิดนี้ มักเกิดจากการบริโภคอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนโดยอุจจาระจากผู้ที่มีเชื่อไวรัสนี้ไวรัสตับอักเสบ B
ไวรัสตับอักเสบ B สามารถติดต่อจากของเหลวในร่างกายของผู้ที่ติดเชื้อ เช่น เลือด สารคัดหลั่งในช่องคลอดหรือน้ำอสุจิ ซึ่งมีไวรัสตับอักเสบB (HBV) การใช้ยาฉีดการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่ติดเชื้อ หรือแม้กระทั่งการใช้มีดโกนร่วมกับผู้ติดเชื้อ นั้นเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคตับอักเสบ Bไวรัสตับอักเสบ C
ไวรัสตับอักเสบ C นั้นมีสาเหตุมาจากไวรัสตับอักเสบซี (HCV) ไวรัสตับอักเสบ C จะถูกส่งผ่านการสัมผัสโดยตรงกับของเหลวในร่างกายผู้ที่ติดเชื้อมัก โดยมักจะผ่านการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันและการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไวรัสตับอักเสบ D
ไวรัสตับอักเสบ D เรียกอีกอย่างว่า “ไวรัสตับอักเสบเดลต้า” ไวรัสตับอักเสบ D เป็นโรคตับร้ายแรงที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบดี HDV ติดเชื้อโดยการสัมผัสโดยตรงกับเลือดผู้ที่ติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบชนิดนี้หายาก และจะเกิดร่วมกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B เท่านั้นไวรัสตับอักเสบ E
ไวรัสตับอักเสบ E เป็นโรคติดต่อทางน้ำ ที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบอี (HEV) ไวรัสตับอักเสบอีส่วนใหญ่พบในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี และส่วนมากจะได้รับการติดเชื้อจากการบริโภคน้ำประปาที่ปนเปื้อนไปด้วยอุจจาระของผู้ติดเชื้อโรคตับอักเสบเกิดจากอะไรกรณีที่ไม่ติดเชื้อ
การตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ
ในบางกรณีระบบภูมิคุ้มกันนั้นทำงานผิดพลาด ส่งผลให้ตับตกอยู่ในสภาวะอันตรายและเริ่มที่จะถูกทำลาย นี่สามารถนำไปสู่การติดเชื้อโดยสามารถแสดงอาการที่ไม่รุนแรง ไปจนถึงรุนแรงได้ โดยอาการผิดปกติคือขัดขวางการทำงานของตับ และพบในเพศหญิงได้บ่อยกว่าเพศชายแอลกอฮอล์หรือสารพิษ
การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจส่งผลให้ตับถูกทำลายและอักเสบได้ บางครั้งเรียกว่าตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์นั้นทำอันตรายต่อเซลล์ตับของคุณโดยตรง หากผ่านไปเป็นระยะเวลานานสามารถทำให้เกิดความเสียหายอย่างถาวร และนำไปสู่ตับวาย(Acute liver failure)และโรคตับแข็ง สาเหตุของตับอักเสบที่มาจากการได้รับสารพิษ จะเกิดขึ้นในกรณีที่ได้รับยามากเกินไป หรือการสัมผัสกับสารพิษวิธีรักษาโรคตับอักเสบ
การรักษาตับอักเสบนั้นขึ้นกับประเภทของตับอักเสบ อย่างไรก็ตาม การเป็นโรคตับอักเสบเฉียบพลันหรือตับอักเสบเรื้อรังก็เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาการรักษาไวรัสตับอักเสบ A
ไวรัสตับอักเสบ A มักไม่ต้องการการรักษา เนื่องจากเป็นโรคระยะสั้น แพทย์อาจแนะนำให้นอนพัก หากอาการไม่ดีขึ้น เช่น ผู้ป่วยอาเจียน หรือท้องเสียให้ทำตามคำสั่งของแพทย์ ในเรื่องของการดื่มน้ำและการรับสารอาหาร วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ A สามารถป้องกันการติดเชื้อนี้ โดยเริ่มฉีดวัคซีนให้กับเด็กในช่วงอายุ 12 และ 18 เดือน (ให้วัคซีน 2 ชุด) การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ A สำหรับผู้ใหญ่นั้นก็สามารถรับวัคซีนได้ และสามารถใช้ร่วมกับวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ B ได้เช่นกันไวรัสตับอักเสบ B
โรคไวรัสตับอักเสบ B เฉียบพลัน ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเฉพาะเจาะจง ในขณะที่โรคไวรัสตับอักเสบ B เรื้อรัง จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส การรักษารูปแบบนี้อาจมีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากระยะเวลาในการรักษาอาจจะยืดเยื้อหลายปี การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ B เรื้อรัง จำเป็นต้องเข้ารับการติดตามโรคจากทางแพทย์อย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตามโรคไวรัสตับอักเสบ B สามารถป้องกันได้ด้วยการรับวัคซีน แพทย์จะแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ B สำหรับทารกแรกเกิดทั้งหมด วัคซีนจะมีทั้งหมด 3 ชุด โดยเด็กจะได้รับในช่วงอายุไม่เกิน 6 เดือนไวรัสตับอักเสบ C
การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ C ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังนั้นมีวิธีการรักษาคือ แพทย์จะให้ยาต้านไวรัส ในผู้ที่เป็นโรคตับอักเสบ C ผู้ป่วยอาจต้องทดสอบเพิ่มเติม เพื่อกำหนดรูปแบบการรักษาที่ดีที่สุด ผู้ป่วยโรคตับแข็ง หรือโรคตับซึ่งเป็นผลมาจากโรคไวรัสตับอักเสบ C แบบเรื้อรัง มีอีกวิธีรักษาทางเลือกคือการปลูกถ่ายตับ ปัจจุบันโรคตับอักเสบชนิดนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักสบ D
ทางการแพทย์ใช้ยา Alpha interferon ในการรักษาโรคตับอักเสบ D แต่ยาตัวนี้เห็นผลในผู้ป่วยปประมาณ 25 – 30 % เท่านั้น โรคไวรัสตับอักเสบ D สามารถป้องกัน ได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ B เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B เป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโรคไวรัสตับอักเสบ Dไวรัสตับอักเสบ E
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาทางการแพทย์ที่สำหรับรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ E โดยตรง เนื่องจากการติดเชื้อจะเป็นแบบเฉียบพลัน ผู้ที่ติดเชื้อชนิดนี้แพทย์จะแนะนำให้พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมถึงหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตามสตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคนี้ จำเป็นต้องได้รับการติดตามและดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพย์โรคภูมิต้านทานทำลายเนื้อเซลล์ตับ
ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ เช่น Prednisone หรือ Budesonide เป็นยารักษาหลักในการรักษาโรคตับอักเสบจากภูมิต้านตนเองในระยะแรก โดยให้ประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยถึง 80% ยา Azothioprine (Imuran) สามารถยับยั้งระบบภูมิคุ้มกัน มักจะถูกนำมาใช้ในการรักษาเสมอ โดยมีทั้งแบบที่เป็นสเตียรอยด์และไม่มีสเตีย์รอยด์ ยาระงับภูมิคุ้มกันอื่น ๆ เช่น Mycophenolate (CellCept), Tacrolimus (Prograf) และ Cyclosporine (Neoral) สามารถใช้แทนยารักษา Azothioprine ได้นี่คือลิ้งค์แหล่งที่มาของข้อมูลของบทความของเรา
- https://medlineplus.gov/hepatitis.html
- https://www.webmd.com/hepatitis/ss/slideshow-hepatitis-overview
- https://www.niddk.nih.gov/health-information/liver-disease/viral-hepatitis
- https://kidshealth.org/en/parents/hepatitis.html
Content and expert reviews from Bupa team.
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น