โรคสมองจากโรคตับคืออะไร
โรคสมองจากโรคตับ (Hepatic Encephalophathy) คือ ภาวะการทำงานของสมองที่ลดลงเป็นผลมาจากโรคตับขั้นรุนแรง โรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากตับเสียหายจนไม่สามารถกำจัดสารพิษออกจากเลือดได้หมด ทำให้มีสารพิษสะสมในระบบไหลเวียนโลหิตและเข้าสู่สมองจนก่อให้เกิดความเสียหาย
โรคสมองจากโรคตับอาจเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน (ระยะสั้น) หรือแบบเรื้อรัง (ระยะยาว) ในบางรายของผู้ป่วยโรคสมองจากโรคตับอาจมีอาการไม่ตอบสนอง และเข้าสู่ภาวะโคม่า และเสียชีวิตได้
ประเภทของโรคสมองจากตับ
โรคสมองจากโรคตับชนิดเฉียบพลันเกิดขึ้น เพราะโรคตับเสียหายขั้นรุนแรง สิ่งที่เกิดขึ้นหลักๆในผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้คือ:
-
ไวรัสตับอักเสบชนิดรวดเร็ว ความรุนแรงแบบฉับพลัน
-
ตับอักเสบเป็นพิษ อาจมีสาเหตุมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเคมี ยาหรืออาหารเสริม
-
กลุ่มอาการรายพบได้ยาก และเป็นโรครุนแรงที่มักพบในเด็กไปจนถึงช่วงอายุไม่เกิน 20 ปี ส่งผลให้เกิดอาการบวมกระทันหัน และเกิดการอักเสบของตับและสมอง
โรคสมองจากโรคตับชนิดเฉียบพลันอาจเป็นสัญญานของภาวะตับวาย
โรคสมองจากโรคตับชนิดเรื้อรังสามารถเกิดขึ้นแบบถาวรหรือกลับมาเป็นซ้ำๆได้
สำหรับการเกิดซ้ำๆ ของโรคนั้นจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยยับยั้งอาการที่จะเกิดขึ้น เพราะมักจะพบว่าทำให้เกิดแผลในตับ และตับแข็งอย่างรุนแรง
สำหรับบางรายที่เป็นแบบถาวรนั้นพบได้ยาก โดยมีอาการดังต่อไปนี้
-
ไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ
สาเหตุของโรคสมองจากโรคตับ
ยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่มีการสันนิษฐานว่าเกิดมาจากการสะสมของสารพิษในกระแสเลือด ซึ่งเกิดขึ้นเพราะตับกำจัดสารพิษไม่ได้
ตับของเรามีหน้าที่กำจัดสารพิษสารเคมีที่ได้รับจากภายนอก หรือสารที่ร่างกายสร้างขึ้น เช่น แอมโมเนีย สารพิษเหล่านี้จะถูกทิ้งไว้หลังจากโปรตีนถูกเผาผลาญ หรือการล้มเหลวในการนำไปใช้สู่ร่างกาย จากนั้นจะมีการเปลี่ยนสารพิษเหล่านี้ให้เป็นสารที่ปลอดภัยจากนั้นก็จะขับออกทางปัสสาวะ
เมื่อตับเสียหายจะไม่สามารถกรองของสารพิษทั้งหมดได้ ทำให้มีสารพิษสะสมอยู่ในกระแสเลือด และอาจไปสู่สมองได้ การสะสมของสารพิษสามารถสร้างความเสียหายให้กับอวัยวะอื่นๆ และระบบประสาท
โรคสมองจากโรคตับสามารถถูกกระตุ้นโดย:
-
ภาวะการติดเชื้อเช่นปอดบวม
-
มีปัญหาไต
-
ภาวะพร่องออกซิเจน หรือระดับออกซิเจนต่ำ
-
ร่างกายเพิ่งได้รับบาดเจ็บหรือการผ่าตัดมา
-
การได้รับยาที่ส่งผลต่อระบบภูมิต้านทาน
-
การรับประทานโปรตีนมากเกินไป
-
การได้รับยาที่ส่งผลต่อระบบประสาท เช่น ยากลุ่มบาร์บิทุเรต หรือยากลุ่มเบนโซไดอะเซปีนทรานวิไลเซอร์
-
สารอิเล็กโทรไลต์ไม่สมดุล โดยเฉพาะเมื่อโพแตสเซียมลดลงหลังจากอาเจียนหรือรับประทานยาขับปัสสาวะ
อาการของโรคสมองจากโรคตับ
อาการของโรคสมองจากโรคตับขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้ตับเสียหาย
อาการทั่วไปของโรคสมองจากโรคตับ:
-
กระบวนการความคิดมีปัญหา
-
บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง
-
ไม่มีสมาธิ
-
มีปัญหาด้านการเขียน หรือเคลื่อนไหวมือ
-
สับสน
-
หลงลืม
-
ตัดสินใจลำบาก
-
ลมหายใจเหม็นอับ
เมื่อรุนแรงขึ้นจะมีอาการเหล่านี้ตามมา:
-
สับสน มึนงง
-
ง่วงซึม
-
ชัก
-
บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง
-
เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
-
มีปัญหาในการเรียบเรียงคำพูด
-
เคลื่อนไหวร่างกายช้าลง
หากมีอาการตามด้านบนควรรีบปพบแพทย์ เพราะหากรักษาไม่ทันท่วงทีจะทำให้เกิดอาการโคม่าได้
วินิจฉัยโรคสมองจากโรคตับ
การตรวจหาโรคสมองจากโรคตับสามารถใช้วิธีการวินิจฉัยได้หลายแบบ
การตรวจสอบเลือด
การตรวจนับจำนวนเม็ดเลือด เพื่อตรวจสอบจำนวนเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด หากพบว่ามีเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำสามารถแสดงถึงภาวะเม็ดเลือดต่ำ หรือเลือดขาดออกซิเจนได้
การตรวจเลือดยังสามารถทำโดยการตรวจสอบระดับของโซเดียม โพแทสเซียม และแอมโมเนียได้ด้วย ซึ่งถ้ามีมากไป แสดงว่าการทำงานของตับผิดปกติ
การแสกนร่างกาย
การด้วยด้วยภาพ เช่น ซีทีสแกน หรือสแกนเอ็มอาร์ไอ จะสามารถตรวจการมีเลือดออกในสมองหรือศีรษะได้
การตรวจการทำงานของตับ
การตรวจการทำงานของตับ เพื่อดูระดับเอมไซม์ที่เพิ่มมากขึ้น เพราะหากพบว่าเพิ่มมากขึ้นนั้นอาจหมายความว่าตับของผู้ป่วยเสียหาย
ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากป่วยเป็นโรคตับหรือไต เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง
ระยะของโรคสมองจากโรคตับ
โรคสมองจากโรคตับแบ่งระยะจากความรุนแรงของอาการได้ 5 ระยะคือ:
- ระยะ 0 ในช่วงระยะนี้อาการจะปรากฏให้เห็นน้อยมาก
- ระยะ 1 อาการมีน้อย สมาธิสั้นลง และพฤติกรรมการนอนเปลี่ยนไป เช่น ภาวะการนอนมากเกินหรือนอนไม่หลับ
- ระยะ 2 คือระยะปานกลาง ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจรู้สึกสับสน หรือเซื่องซึม
- ระยะ 3 จะมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยจะไม่สามารถทำงานได้ แม้แต่งานง่ายๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกสับสน และมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
- ระยะ 4 ระยะนี้เป็นขั้นโคม่า
การรักษาโรคทางสมองจากโรคตับ
ทางเลือกในการรักษาสำหรับโรคสมองจากโรคตับขึ้นอยู่กับความรุนแรง และสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค คุณอาจต้องรับประทานอาหารประเภทโปรตีนให้น้อยลง หากการรับประทานโปรตีนมากเกินไปเป็นสาเหตุของการเกิดโรค แต่ด้วยโปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกายที่เหมาะสม แพทย์ทางโภชนาการจะสามารถวางแผนรูปแบบอาหารให้ผู้ป่วยได้รับโปรตีนได้เพียงพอต่อความต้องการแต่จะไม่ทำให้อาการแย่ลงได้ อาหารที่มีโปรตีนสูงเช่น:
-
เนื้อสัตว์ปีก
-
เนื้อแดง
-
ปลา
การรับประทานยาสามารถช่วยลดอัตราการดูดซึมสารพิษของเลือดได้ แพทย์จะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะ และแล็กทูโลส (Enulose) น้ำตาลสังเคราะห์ ยาสามารถดึงแอมโมเนียที่สร้างโดยแบคทีเรียในลำไส้จากเลือดสู่ลำไส้ใหญ่ จากนั้นร่างกายจะขับเลือดออกจากลำไส้ใหญ่
ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจส่งผลให้เกิดการหายใจลำบาก ในระยะรุนแรงอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมด้วย
ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องรักษาด้วยการปลูกถ่ายตับ
การเฝ้าติดตามระยะยาว
ผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองจากโรคตับชนิดเรื้อรังจะมีอัตราการการฟื้นฟูได้ดีกว่าแบบเฉียบพลัน อัตราการฟื้นฟูจะเพิ่มมากขึ้นหากผู้ป่วยได้รับการรักษาทันก่อนที่อาการจะแย่ลง โรคสมองจากโรคตับ และอาการต่างๆสามารถฟื้นฟูได้หากได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ภาวะแทรกซ้อนที่มาพร้อมกับโรคสมองจากโรคตับคืออะไร
ภาวะแทรกซ้อนของโรคไม่สามารถรักษากลับมาให้เหมือนเดิมได้ เช่น:
-
ความผิดปกติทางสมอง
-
อวัยวะล้มเหลว (Organ failure)
โรคสมองจากโรคตับสามารถป้องกันได้อย่างไร
วิธีป้องกันโรคสมองจากโรคตับที่ดีที่สุด คือ การป้องกัน หรือจัดการกับโรคตับ แต่สามารถลดความเสี่ยงได้ดังนี้
-
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
-
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารไขมันสูง
-
รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
-
ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
การหลีกเลี่ยงโรคไวรัสตับอักเสบได้ดังนี้
-
ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังใช้ห้องน้ำ
-
ไม่ใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น
-
หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่ป่วยเป็นไวรัสตับอักเสบ
-
รับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบชนิดเอ และชนิดบี
โภชนาการจากโรคสมองจากโรคตับ
โรคสมองจากโรคตับเป็นภาวะที่ส่งผลต่อการทำงานของสมองของผู้ที่เป็นโรคตับ มักเกิดจากโรคตับแข็งหรือภาวะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับตับ โภชนาการที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการจัดการโรคสมองจากโรคตับและส่งเสริมสุขภาพตับโดยรวม เป้าหมายหลักของการรับประทานอาหารที่ผู้ป่วยโรคสมองจากโรคตับควรใส่ใจรับประทาน คือ การลดการผลิตและการดูดซึมแอมโมเนียในร่างกาย เนื่องจากแอมโมเนียในเลือดในระดับสูงสามารถทำให้เกิดอาการของโรคสมองจากโรคตับได้ ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำด้านโภชนาการสำหรับการจัดการโรคสมองจากโรคตับ:-
ปริมาณโปรตีน:
-
- จำกัดการบริโภคโปรตีน โดยเฉพาะจากสัตว์ เนื่องจากการเผาผลาญโปรตีนในตับสามารถผลิตแอมโมเนียได้ อย่างไรก็ตาม การจำกัดโปรตีนควรอยู่ในระดับปานกลางและไม่ควรนำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการ ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือนักโภชนาการเพื่อพิจารณาความต้องการโปรตีนเฉพาะของคุณ
- แหล่งโปรตีนคุณภาพสูง เช่น เนื้อสัตว์ปีกไม่ติดมัน ปลา และผลิตภัณฑ์จากนม เป็นที่ต้องการมากกว่าเนื้อแดงและเนื้ออวัยวะ
-
กรดอะมิโนสายโซ่กิ่ง (BCAAs):
-
- BCAAs เป็นกรดอะมิโนที่พบในโปรตีนบางชนิดและถือว่ามีประโยชน์สำหรับบุคคลที่เป็นโรคสมองจากโรคตับ ได้แก่ ลิวซีน ไอโซลิวซีน และวาลีน
- อาหารเสริม BCAA หรืออาหารที่อุดมไปด้วย BCAA อาจช่วยลดระดับแอมโมเนียและปรับปรุงการทำงานของจิตใจ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนที่จะเพิ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร BCAA ลงในอาหารของคุณ
-
ไฟเบอร์:
-
- อาหารที่มีเส้นใยสูงสามารถช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกายและปรับปรุงความสม่ำเสมอของลำไส้ได้ แหล่งใยอาหารที่ดีได้แก่ ผลไม้ ผัก ธัญพืชเต็มเมล็ด และพืชตระกูลถั่ว
-
แลคโตโลสและแลคติทอล:
-
-
- แลคโตโลสและแลคติทอลเป็นน้ำตาลที่ไม่สามารถดูดซึมได้ซึ่งจะช่วยลดระดับแอมโมเนียในร่างกายโดยส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ใหญ่ ซึ่งเปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็นสารประกอบที่ไม่สามารถดูดซึมได้
- ยาเหล่านี้มักจ่ายให้กับผู้ที่เป็นโรคสมองจากโรคตับ และการใช้ยาเหล่านี้ควรได้รับการจัดการโดยผู้ให้บริการด้านการแพทย์
-
-
ความชุ่มชื้นในร่างกาย:
-
-
- การมีน้ำเพียงพอเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่เป็นโรคตับ การให้ความชุ่มชื้นที่เพียงพอสามารถช่วยล้างสารพิษออกจากร่างกายและป้องกันอาการท้องผูก ซึ่งอาจทำให้อาการของโรคสมองจากโรคตับแย่ลงได้
-
-
หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นอาการ:
-
-
- อาหารบางชนิด เช่น อาหารแปรรูปที่มีโซเดียมสูงและวัตถุเจือปนอาหารบางชนิด อาจทำให้อาการของโรคสมองจากโรคตับรุนแรงขึ้นได้ ขอแนะนำให้จำกัดหรือหลีกเลี่ยงอาหารกระตุ้นเหล่านี้
-
-
ทานมื้อเล็กๆ บ่อยๆ:
-
- การรับประทานอาหารมื้อเล็กๆ แต่บ่อยครั้งมากขึ้นสามารถช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่และป้องกันการผลิตแอมโมเนียที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
-
วิตามินและแร่ธาตุ:
- ภาวะทุพโภชนาการอาจเป็นปัญหาในผู้ที่เป็นโรคตับ ลองรับประทานอาหารเสริมวิตามินและแร่ธาตุตามคำแนะนำของผู้ให้บริการด้านสุขภาพหรือนักโภชนาการเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://emedicine.medscape.com/article/186101-overview
-
https://www.webmd.com/digestive-disorders/hepatic-encephalopathy-overview
-
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5421503/
-
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/21220-hepatic-encephalopathy
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team