หูดับ (Hearing loss) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
หูดับ
อาการหูดับ (Hearing Loss) หรือภาวะสูญเสียการได้ยินเกิดขึ้นเมื่อคุณไม่สามารถได้ยินเสียงบางส่วนหรือเสียงทั้งหมดผ่านหูข้างใดข้างหนึ่งหรือหูทั้งสองข้าง โดยปกติอาการหูดับค่อยๆเกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป สถาบันโรคหูหนวกเเละความผิดปกติทางการได้ยินอื่นๆ นานาชาติรายงานว่าในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปประมาณ 25% เคยมีอาการหูดับ ชื่ออื่นๆที่ใช้เรียกอาการหูดับได้แก่
  • การได้ยินลดลง
  • อาการหูหนวก
  • สูญเสียการได้ยิน
  • การสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่อง
ส่วนประกอบหลักของหูได้แก่หูชั้นนอก หูชั้นกลางและหูชั้นใน การได้ยินเสียงเกิดขึ้นเมื่อมีคลื่นเสียงผ่านเข้าไปที่หูชั้นนอกไปยังเยื่อแก้วหูที่มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆอยู่ระหว่างหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง เมื่อคลื่นเสียงเข้าไปถึงหูชั้นนอก เยื่อแก้วหูจะเกิดอาการสั่นขึ้น  กระดูกหูสามชิ้นบริเวณหูชั้นกลางเรียกว่า ossicle ซึ่งกระดูกสามชิ้นนี้ได้แก่ กระดูก hammer กระดูก anvil และ กระดูก stirrup โดยเยื่อแก้วหูและกระดูกหู ossicle จำทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มอัตราการสั่นเมื่อคลื่นเสียงกำลังเดินทางเข้าไปยังหูชั้นใน เมื่อคลื่นเสียงเข้าสู่หูชั้นใน คลื่นเสียงจะเคลื่อนที่ผ่านของเหลวในท่อคลอเคลีย สำหรับท่อคลอเคลียมีลักษณะเป็นท่อรูปก้นหอยอยู่ภายในหูชั้นใน ซึ่งภายในท่อรูปก้นหอยนี้มีเซลล์ประสาทที่มีขนขนาดเล็กติดอยู่หลายพันตัว ขนเหล่านี้ทำหน้าที่แปลงการสั่นของคลื่นเสียงให้กลายเป็นคลื่นไฟฟ้าส่งไปยังสมอง เพื่อให้สมองแปลงความหมายของคลื่นไฟฟ้าเพื่อรับรู้ลักษณะหรือประเภทของเสียงที่ได้ยิน เสียงที่เกิดขึ้นจากการสั่นที่แตกต่างกันทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองของขนเส้นประสาทขนาดเล็กที่แตกต่างกันจึงทำให้เกิดการส่งสัญญาณเสียงที่แตกต่างกันไปสู่สมองของคุณ Hearing loss

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหูดับคืออะไร 

สถาบันนักบำบัดคำพูด การใช้ภาษาและการได้ยินรายงานว่าอาการหูดับแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทเกิดขึ้นจากปัจจัยที่แตกต่างกัน สาเหตุส่วนใหญ่ 3 ประการที่ทำการได้ยินเสียงลดลง ได้แก่การสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่องและโรคหูตึงหรือหูดับเฉียบพลัน (SNHL) รวมถึงการสูญเสียการได้ยินแบบผสมผสานกัน

การสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่อง

การสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่องเกิดขึ้นเมื่อเสียงไม่สามารถเดินทางจากหูชั้นนอกไปถึงเยื่อแก้วหูและกระดูกของหูชั้นกลางได้ เมื่อมีอาการหูดับชนิดนี้เกิดขึ้นคุณจะไม่สามารถได้ยินเสียงเบาหรือเสียงท่อไอเสียรถยนต์ได้ แต่อย่างไรก็ตามอาการหูดับชนิดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างถาวรและการรักษาทางการแพทย์สามารถช่วยรักษาอาการนี้ได้ โดยวิธีการรักษาที่นำมาใช้ได้แก่การใช้ยาปฏิชีวนะหรือผ่าตัดที่มีแผลขนาดเล็กเช่นการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม ซึ่งประสาทหูเทียมมีลักษณะเป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่ใช้ฝั่งอยู่ใต้ผิวหนังด้านหลังหู โดยประสาทหูเทียมมีหน้าที่แปลงการสั่นของคลื่นเสียงให้การเป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังสมองของคุณเพื่อทำการแปลความหมายของเสียงที่ได้ยิน     การสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่องมีสาเหตุเกิดจาก
  • หูติดเชื้อ
  • อาการแพ้
  • หูติดเชื้อในนักกีฬาว่ายน้ำ
  • มีขี้หูเกิดขึ้นภายในหู
สิ่งแปลกปลอมที่อุดตันอยู่ภายในหูเช่นเนื้องอกหรือแผลบริเวณช่องหูที่เกิดขึ้นซ้ำเนื่องจากการติดเชื้อส่งผลทำให้เกิดอาการหูดับได้ 

โรคหูตึงหรือหูดับเฉียบพลัน (SNHL) 

โรคหูตึงหรือหูดับเฉียบพลัน (SNHL) เกิดขึ้นเมื่อโครงสร้างของหูชั้นในหรือทางเดินของเส้นประสาทที่ไปยังสมองถูกทำลาย โดยปกติภาวะการสูญเสียการได้ยินชนิดนี้จะเกิดขึ้นอย่างถาวร โรคหูตึงหรือหูดับเฉียบพลัน (SNHL) ทำให้การได้ยินเสียงไม่ชัดเจน แม้ว่าจะเป็นเสียที่เกิดขึ้นในระยะปกติหรือเสียงดังอย่างเช่นเสียงท่อไอเสียรถยนต์  โรคหูตึงหรือหูดับเฉียบพลัน (SNHL) มีสาเหตุเกิดจาก
  • ความบกพร่องของโครงสร้างหูตั้งแต่กำเนิด
  • การเพิ่มขึ้นของอายุ
  • การทำงานในสิ่งเเวดล้อมที่มีเสียงดัง
  • อาการบาดเจ็บที่หัวหรือกระโหลก
  • โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของหูชั้นในที่ส่งผลทำให้เกิดการได้ยินเสียงไม่สมดุล
  • โรคเนื้องอกประสาทหูเป็นเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งที่มีการเจริญเติบโตอยู่ภายในเส้นประสาทที่เชื่อมต่อระหว่างหูและสมองซึ่งมีชื่อเรียกว่า “เส้นประสาท vestibular cochlear ” 

การติดเชื้อ

นอกจากนี้โรคที่เกิดจากการติดเชื้อดังต่อไปนี้ยังสามารถทำให้เกิดโรคหูตึงหรือหูดับเฉียบพลัน (SNHL) ซึ่งได้แก่ 

ยาที่เป็นพิษต่อหู

ยาบางชนิดอาจเป็นยาที่เป็นพิษต่อหูและสามารถทำให้เกิดโรคหูตึงหรือหูดับเฉียบพลัน (SNHL) ซึ่งมีข้อมูลจาก ASHA พบว่ายาที่มีวางขายตามร้านขายยามากกว่า 200 ชนิดและยาที่แพทย์สั่งให้คนไข้อาจทำให้เกิดอาการหูดับได้ ถ้าหากคุณกำลังใช้ยาเพื่อรักษาโรคมะเร็ง โรคหัวใจหรือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อร้ายเเรง ควรปรึกษาเเพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงของการเกิดอาการหูดับจากการใช้ยาแต่ละประเภท   

การสูญเสียการได้ยินแบบผสมผสานกัน

การสูญเสียการได้ยินแบบผสมผสานสามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อมีการสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่องและโรคหูตึงหรือหูดับเฉียบพลันเกิดขึ้นพร้อมกัน 

อาการหูดับมีอะไรบ้าง

โดยปกติอาการหูดับสามารถเกิดขึ้นเรื้อรังได้ ซึ่งตอนเเรกคุณอาจไม่ได้สังเกตุว่าการได้ยินของคุณเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตามถ้าคุณเคยมีประสบการณ์หรือเคยมีอาการดังต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง คุณควรไปพบเเพทย์ทันที 
  • อาการหูดับที่รบกวนการทำกิจวัตรประจำวัน
  • เป็นโรคหูดับที่รุนเเรงขึ้นเเละอาการที่เกิดขึ้นไม่หายไป
  • หูไม่ได้ยินข้างเดียวอย่างรุนเเรง
  • หูดับเฉียบพลัน
  • ได้ยินเสียงกริ้งในหู
  • เกิดอาการหูดับรุนเเรง
  • เกิดอาการปวดหูร่วมกับการสูญเสียการได้ยิน
  • ปวดหัว
  • มีอาการชา
  • อ่อนล้าหมดเเรง
คุณควรเข้ารับการรักษาจากเเพทย์ทันที ถ้าหากคุณมีเคยมีอาการปวดหัว อาการหูชาหรืออาการอ่อนล้าร่วมกับอาการดังต่อไปนี้
  • หนาวสั่น
  • หายใจเร็ว
  • ปวดคอ
  • อาเจียน
  • อ่อนไหวต่อแสง
  • เกิดภาวะจิตใจสับสนเฉียบพลัน 
อาการดังกล่าวเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งแต่ละอาการที่เกิดเป็นอันตรายต่อชีวิตและจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากเเพทย์โดยด่วน อย่างเช่นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ  

วิธีรักษาโรคหูดับทำอย่างไรบ้าง 

ถ้าหากคุณมีอาการหูดับเนื่องจากมีขี้หูเกิดขึ้นในช่องหู คุณสามารถนำขี้หูออกด้วยตัวเองได้ที่บ้าน นอกจากนี้ยังสามารถหาซื้อยาใช้เองได้อย่างเช่นยาละลายขี้หูที่สามารถนำขี้หูออกมาได้และการใช้สายยางฉีดน้ำอุ่นเข้าไปในหูเพื่อทำให้ขี้หูไหลออกมา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนพยายามสิ่งที่อุดตันอยู่ในหูออกด้วยตัวเอง เนื่องจากอาจเป็นการทำให้หูเสียหายโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ  สำหรับอาการหูดับในกรณีอื่นๆ คุณจำเป็นต้องไปพบแพทย์ ถ้าหากคุณมีอาการหูดับที่มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ แพทย์จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาและถ้าหากการไม่ได้ยินเสียงเกิดขึ้นจากการสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่อง แพทย์จะเเนะนำให้คุณไปพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับเครื่องช่วยฟังอย่างเช่นประสารหูเทียม

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากอาการหูดับมีอะไรบ้าง 

อาการหูดับส่งผลลบในการใช้ชีวิตของผู้คนและทำให้เกิดปัญหาทางด้านจิตใจ ถ้าหากคุณมีอาการหูดับเกิดขึ้น ภาวะนี้สามารถทำให้คุณไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นต้องการสื่อได้อย่างชัดเจนและทำให้เกิดการเข้าใจผิด และสามารถเพิ่มความกังวลที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ ดังนั้นการรักษาอาการหูดับสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพการใช้ชีวิตให้ดีขึ้นได้รวมถึงการสร้างเสริมสร้างความมั่นใจและช่วยปรับปรุงทำให้คุณสามารถสื่อสารกับคนอื่นได้ดีขึ้นอีกด้วย 

เราสามารถป้องกันอาการหูดับได้อย่างไรบ้าง 

อาการหูดับทุกประเภทไม่สามารถป้องกันได้ อย่างไรก็ตามมีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้เพื่อป้องกันอาการหูดับซึ่งได้แก่วิธีดังต่อไปนี้  
  • ทดสอบการได้ยินเป็นประจำ ถ้าหากคุณทำงานอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดัง ว่ายน้ำบ่อยหรือไปคอนเสิร์ตเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเสียงดังหรือการฟังเพลงเสียงดัง
  • ควรไปพบเเพทย์หากเกิดการติดเชื้อภายในช่องหู เนื่องจากถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาสามารถส่งผลทำให้หูเกิดความเสียหายได้ 

เคล็ดลับในการสื่อสารเมื่อคุณมีอาการหูดับ

แจ้งให้ผู้สนทนาทราบว่าคุณสูญเสียการได้ยินและนำเสนอรูปแบบการสื่อสารที่คุณต้องการ กรณีที่สามารถอ่านริมฝีปากได้:
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคู่สนทนาหันหน้ามาหาคุณ
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณสามารถมองเห็นใบหน้าของพวกเขาได้อย่างชัดเจน
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าบุคคลนั้นได้รับความสนใจจากคุณก่อนที่จะเริ่มพูด
  • ขอให้พวกเขาพูดตามปกติและอย่าขยับริมฝีปากเร็วเกินไป
ข้อมูลด้านล่างนี้มีความสำคัญเป็นพิเศษเมื่อมีคนไม่สามารถใช้สัญลักษณ์ทางสายตา เช่น ทางโทรศัพท์หรือเมื่อสวมหน้ากาก:
  • ขอให้พวกเขาพูดอย่างชัดเจน
  • ขอให้พวกเขาพูดซ้ำหรือพูดต่างออกไปหากคุณไม่เข้าใจสิ่งที่พวกเขาพูด
  • ลดเสียงรบกวนรอบข้างให้ได้มากที่สุดโดยย้ายไปยังพื้นที่ที่เงียบกว่านี้หากเป็นไปได้
  • ใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่น ไมโครโฟนระยะไกลกับเครื่องช่วยฟังเพื่อปรับปรุงคุณภาพเสียงพูดเหนือเสียงรบกวนรอบข้าง
  • จดสิ่งต่างๆ – ใช้ปากกาบนกระดาษ ข้อความบนหน้าจออุปกรณ์หรือกระดานไวท์บอร์ด
  • หากเป็นไปได้ ขอให้พวกเขาพูดคุยกับญาติหรือเพื่อน

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.cdc.gov/ncbddd/hearingloss/screening.html
  • https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/deafness-and-hearing-loss
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hearing-loss/symptoms-causes/syc-20373072
  • https://www.healthyhearing.com/help/hearing-loss

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด