ชาเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพมากที่สุดในโลก ฟังดูดีเกินจริงใช่ไหม แต่ผลการศึกษาจำนวนมากแสดงว่าน่าจะจริง ชาแต่ละชนิดแตกต่างกัน และชาบางชนิดอาจจะดีต่อสุขภาพมากกว่า ซึ่งคุณสมบัตินี้ขึ้นกับชนิดของชาและวิธีการผลิตด้วย มีผลการศึกษาชิ้นหนึ่งชี้ว่าชาทั่วๆไปมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระมากกว่า “พืชที่เป็นยาอื่นๆ เห็ดที่กินได้ ผัก ผลไม้ เปลือก และเมล็ดผลไม้และผลไม้ป่า”
ชาจีนอู่หลงคืออะไร
ชาอู่หลงจัดเป็นชาป่าและมีคุณสมบัติอเนกประสงค์มากที่สุดในบรรดาชา ทำมาจากใบชา,ยอดอ่อนและกิ่งของต้น Camellia sinensis และอยู่ตรงกลางระหว่างชาเขียว และชาดำ ซึ่งมีอัตราการผสมกับออกซิเจน(oxidation rate)ได้ตั้งแต่ 10-90% ชาอู่หลงบางชนิดเกือบจะผสมกับออกซิเจนได้100% ทำให้มีคุณสมบัติเทียบเท่าชาดำ ในขณะที่ชาอื่นมีสีเขียวและรสชาติเบา แต่ชาอู่หลงใช้ชาทั้งช่อที่มีทั้งใบและยอดอ่อน รสชาติจะมีตั้งแต่กลิ่นดอกไม้อ่อนๆจนถึงกลิ่นอบเชย กลิ่นขนมปังปิ้ง ผลไม้สุกและกลิ่นน้ำตาลไหม้ ชาอู่หลงยอดนิยมมาจากจีนและไต้หวัน นอกจากนี้แล้วยังมีประเทศอื่น ๆ ที่ปลูกชาอู่หลงเช่น ไทย เวียดนาม ญี่ปุ่นและอินเดีย แต่ละชนิดจะมีกลิ่น รสและใบที่ขึ้นกับแหล่งปลูก ไต้หวันมีชื่อเสียงในการผลิตอู่หลงบนภูเขาสูง ซึ่งสูงเกิน1,000 เมตร ความสูง ภูมิอากาศเฉพาะและอากาศเย็น ทำให้เกิดกลิ่นดอกไม้ผสมผสาน รสบางเบาและหวานซึ่งคงรสกลิ่นหอมละมุน ชาจีน Dan cong มีชื่อเสียงมากจากรสชาติที่แตกต่างกันเป็นร้อย ๆ รส และเก็บจากต้นชาที่โตเต็มที่ ไม่ใช่จากต้นชาต้นเล็ก ชาอู่หลงจาก Wu Yi เช่น Qi Lan และ Red Robe มีชื่อเสียงมากจากกลิ่นและรสชาติเฉพาะ และยังผสมกับออกซิเจนได้ดีกว่าด้วยประโยชน์ของชาอู่หลงที่ดีต่อสุขภาพ
ชาอู่หลงมีส่วนประกอบของทั้งชาเขียวและชาดำ เพราะถูกออกซิไดซ์มาครึ่งหนึ่งแล้ว จึงมี Catechins มากกว่าชาดำ แต่ปฏิกิริยาออกซิไดซ์ของชาไม่ได้มาจาก Catechins เพียงอย่างเดียว สาร Caffeine Theaflavine Gallic acid Chlorogenic acid Ellagic acid, และ Kaempferol-3-O-glucoside เหล่านี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระเช่นเดียวกัน การศึกษาในจีนประเมินความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของชา 30 ชนิด และพบว่าชาอู่หลงมีค่าเฉลี่ยในการต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาสีเข้ม ชาดำหรือชาขาว และมีค่านี้สูงกว่าชาเขียวบางชนิดถึง 100% ซึ่งที่จริงแล้ว ค่าเฉลี่ยของ Phenolic ในชาเขียวสูงกว่าในชาอู่หลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าต้องการผลดีจากการต้านออกซิเดชั่น (และมีผลต้านอนุมูลอิสระด้วย) ควรเลือกชาอู่หลงที่มีสีเขียว และออกซิไดซ์น้อยกว่า เช่น Ti Kwan Yin หากไม่มีระดับค่าออกซิเดชั่นในคำอธิบายให้สังเกตสีใบชาและวิธีการชงชา จะช่วยบอกถึงระดับค่าออกซิเดชั่นได้ ใบชาที่สีเข้มและสีน้ำชาที่ออกสีแดงเป็นตัวบ่งบอกว่ามีค่าออกซิเดชั่นสูง ชาอู่หลงนั้นถูกออกซิไดซ์มากึ่งหนึ่งแล้ว จึงมี EGCg จากการศึกษาในจีนแสดงว่าในใบชาอู่หลงแห้งหนึ่งกรัมมี EGCg 20-30 มิลลิกรัม แต่ชาดำส่วนใหญ่ที่ศึกษานั้นมีน้อยกว่าหนึ่งมิลลิกรัมในใบชาแห้งหนึ่งกรัม ชาเขียวมีประมาณ 30-60 มิลลิกรัม ชาอู่หลงส่วนใหญ่จะชงได้ 5-10 ครั้งและยังคงรสและกลิ่นที่ดี และยังเพิ่มปริมาณสารอาหารขึ้นเรื่อยๆด้วย คุณชงชาด้วยน้ำร้อนที่เกือบจะเดือดและรื่นรมย์กับรสชาติของมัน
ชาอู่หหลง สรรพคุณ
1.ชาอู่หลงลดความอ้วน
ชาอู่หลงเป็นหนึ่งในชายอดนิยมที่ใช้ลดน้ำหนัก จากการศึกษาพบว่าชาอู่หลงอาจช่วยลดน้ำหนักจากการกินอาหารที่มีไขมันมาก ชาอู่หลงอาจช่วยในการป้องกันความอ้วนได้ ที่จริงแล้วช่วยได้แม้ผู้นั้นไม่ได้ออกกำลังเพิ่มหรือพยายามจะทำอย่างอื่นเพื่อลดความอ้วน การศึกษาในจีน ในคนที่น้ำหนักเกินและอ้วน 102คน พบว่า 70% ของผู้ป่วย น้ำหนักลดไป 1 กิโลกรัมภายในหกสัปดาห์ของการดื่มชาอู่หลงทุกวัน และยิ่งกว่านั้นเกือบหนึ่งในสี่ของผู้ป่วยคือ 22% น้ำหนักลดไปถึง 3 กิโลกรัม และการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าการดื่มชาอู่หลงเข้มข้นอาจช่วยเพิ่มการเผาผลาญและออกซิเดชั่นของไขมันได้ถึง 12%2.เป็นชาลดความดันโลหิต
เมื่อ 35 ปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้พัฒนาชาชนิดพิเศษชื่อ GABA เป็นชาอู่หลงที่ผ่านการออกซิไดซ์มีกรด Amma-aminobutyric ถึง 150มิลลิกรัมต่อใบชาแห้ง 100 กรัม มากกว่าชาชนิดอื่นๆ การศึกษาพบว่าชา GABA อาจลดความดันโลหิตได้ 14-17% เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม3.ช่วยให้หลับสบาย
การวิจัยพบว่า GABA ร่วมกับL-theanine อาจช่วยให้นอนหลับเร็วและหลับได้นานขึ้น ซึ่งชาอู่หลงมีสารทั้งสองตัว ชาอู่หลงชนิดธรรมดามี GABA ราว 0.25 มิลลิกรัมต่อน้ำชา 200 มิลลิลิตร ในขณะที่ชาที่เพิ่ม GABA มีประมาณ 2 มิลลิกรัมต่อน้ำชา200 มิลลิลิตร4.ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
Polyphenol ในชาอู่หลงอาจมีประโยชน์ในการหยุดการทำงานของเอนไซม์ย่อย α–amylase การที่เอนไซม์นี้ทำงานมากไปจะทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ชาอู่หลงจึงมีประโยชน์สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2(ที่เกิดจาการดื้ออินซูลิน)5. เพิ่มแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้
ความไม่สมดุลของแบคทีเรียในลำไส้จะกระตุ้นให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ ตั้งแต่ การอักเสบของลำไส้ อาการแพ้ โรคจากการเผาผลาญที่ผิดปกติและโรคตับ ชาอู่หลงจะช่วยเพิ่มสมดุลของแบคทีเรียชนิดดีและเอื้อต่อการทำงานของมัน โดยเฉพาะเมื่อกินอาหารไขมันสูง6. ต่อสู้มะเร็ง
การศึกษาพบว่า polyphenol ในชาอู่หลงอาจช่วยหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม การศึกษาอื่นยังพบว่าชาจีน Dan cong “อาจออกฤทธิ์เป็นทดแทนตัวต้านอนุมูลอิสระและต้านมะเร็ง” การดื่มชาอู่หลงเป็นประจำอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งรังไข่ด้วย7. ลดการอักเสบของเส้นเลือด
ชาจากต้นชาทุกชนิดอาจช่วยให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น การศึกษาพบว่าชาอู่หลงอาจช่วยลดการอักเสบของเส้นเลือดที่เกิดจากการกินเนื้อแดงมาก จึงมีผลช่วยลดโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด8. ป้องกันสมอง
การดื่มชาเป็นประจำอาจช่วยป้องกันโรคจากการเสื่อมของเซลล์สมอง เช่น โรคพาร์กินสัน จากการศึกษาพบว่าการดื่มชา 3 ถ้วยต่อวันเป็นเวลาสิบปี อาจช่วยลดความเสี่ยงลงได้ถึง 28% นักวิทยาศาสตร์บอกว่าเป็นเพราะEGCg และความสามรถของมันในการต่อต้านอนุมูลอิสระ9. ลดระดับคอเลสเตอรอล
การดื่มชาอู่หลงสม่ำเสมอทุกวันมีผลต่อระดับคอเลสเตอรอล การทดลองทางคลีนิคชิ้นหนึ่งพบว่าการดื่มชาอู่หลง 600 ซีซีต่อวันลด LDL หรือโคเลสเตอรอลร้ายลงได้ 6.69% และอาจช่วยลดความเสี่ยงของการมีไขมันในเลือดผิดปกติและความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ในการทดลองอื่น ผู้ที่ดื่มชาอู่หลงวันละ 1,000 ซีซีต่อวัน พบว่าทั้งระดับ LDL และ hemoglobin A1c(ระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยย้อนหลัง 3 เดือน)ลดลง10. เพิ่มมวลกระดูก
แม้ว่าคุณอาจจะคาดไม่ถึง แต่มวลกระดูกนี้สำคัญในการป้องกันโรคกระดูกผุและกระดูกหัก Polyphenol ในชาอาจช่วยเพิ่มมวลกระดูกและความแข็งแรงของกระดูก11. ลดการเกิดหินปูน และป้องกันฟันผุ
การดื่มชาอู่หลงก่อนและหลังอาหารอาจช่วยให้ฟันสะอาด มีการศึกษาพบว่าการกลั้วปากด้วยน้ำชาอู่หลงอาจ “ช่วยหยุดการสะสมของคราบฟันได้อย่างมีนัยสำคัญ”12. เพิ่มความกระฉับกระเฉง
เหมือนกับชาจริงๆทั่วไป ชาอู่หลงมีคาเฟอีน การวิจัยในจีนแสดงว่าชาอู่หลง (Ti Kwan Yin) มีคาเฟอีนน้อยกว่าครึ่งของชาขาวและมีคาเฟอิน 26% ของคาเฟอีนในชาผู่เอ้อ แต่การศึกษาจากชาที่ขายทั่วไป 37 ชนิดพบว่าชาอู่หลง มีคาเฟอีนมากเป็นสองเท่าของชาเอิร์ลเกรย์ ชาอัสสัมและชาเบรคฟาสต์ ชาที่มีคาเฟอีนมากก็มี L-theanine มากด้วย ซึ่งL-theanine ช่วยให้ผ่อนคลาย จึงทำให้กระฉับกระเฉงแต่ไม่กระวนกระวาย13. ลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง
ชาอู่หลงและชาเขียวอาจช่วยลดความเสี่ยงของเส้นเลือดตีบ และโรคหลอดเลือดสมองข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ชี้ว่า ผู้ที่ดื่มชาอู่หลงหรือชาเขียว 1 ถ้วยต่อวันมีความเสี่ยงจากการเกิดเส้นเลือดในสมองตีบน้อยกว่าผู้ที่ดื่มชาไม่สม่ำเสมอและผู้ที่ดื่ม 3 ถ้วยต่อวันจะลดความเสี่ยงได้มากกว่าผู้ที่ดื่มวันละแก้วได้ถึง 21%14. ปรับสภาพอารมณ์และคลายความเครียด
L-theanine ในชาอาจช่วยปรับอารมณ์และคลายความเครียด กรดอมิโนนี้พบในชาเกือบทุกชนิดยกเว้นในชาผู่เอ้อซึ่งมีน้อยมาก ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งแสดงว่าชาขาว.เขียวและชาอู่หลงโดยเฉลี่ยมีL-theanineมากกว่าชาดำ จากการทดลองโดยมีผู้อาสาที่สุขภาพแข็งแรง 16 คน พบว่า L-theanine ช่วยลดความกังวลและลดความดันโลหิตสูงซึ่งเกิดจากความเครียดสูง15. การรักษา eczema ชนิดดื้อยา
การทดลองทางคลีนิคในญี่ปุ่นพบว่าการดื่มชาอู่หลง 10กรัมต่อวันมีผลให้อาการ eczema ดีขึ้น 63% หลังจากรักษาไป 1-2 สัปดาห์ผลข้างเคียง
การดื่มชาตามปกติไม่มีผลเสีย แต่ชาอู่หลงมีทั้งคาเฟอีน และ EGCg ใบชาอู่หลงแห้งหนึ่งกรัมมีEGCg ไม่เกิน 30 มิลลิกรัม ดังนั้นการดื่มชานี้วันละไม่เกิน 15 กรัม(น้ำหนักใบชาแห้ง)ถือว่าปลอดภัย (ใบชาอู่หลงแห้งหนึ่งกรัมมีคาเฟอีน 10-40 มิลลิกรัม เฉลี่ยราว 20-30 มิลลิกรัมต่อชาหนึ่งกรัม) ตัวอย่างเช่น การชงชาแบบตะวันตกใช้ใบชาราว 2-3 กรัม ในขณะที่การชงแบบตะวันออกต้องใช้ใบชาราว 5-7 กรัม ต่อการชงหนึ่งครั้ง แต่ทั้งคาเฟอีนและ EGCg ต้องการอุณหภูมิของน้ำที่สูงมากและใช้เวลาแช่ชาในน้ำร้อนนาน ในการที่จะสกัดออกมาได้เต็มที่ หากคุณไวต่อคาเฟอีนควรเลี่ยงการดื่มชามากๆอันตรายจากการดื่มชาอู่หลง
การชงชาแบบตะวันตกใช้ใบชาราว 2-3 กรัม ในขณะที่การชงแบบตะวันออกต้องใช้ใบชาราว 5-7 กรัม ต่อการชงหนึ่งครั้ง แต่ทั้งคาเฟอีนและ EGCg ต้องการอุณหภูมิของน้ำที่สูงมากและใช้เวลาแช่ชาในน้ำร้อนนาน ในการที่จะสกัดออกมาได้เต็มที่ หากคุณไวต่อคาเฟอีนควรเลี่ยงการดื่มชาในปริมาณมากๆ อันตรายที่สำคัญของชาอู่หลงคือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดื่มคาเฟอีนเรื้อรังหรือมากเกินไป ประกอบด้วย:- หัวใจเต้นเร็ว
- ใจสั่น
- นอนไม่หลับ
- ประหม่า
- อาการสั่น
- ปวดหัว
- อาการปวดท้อง
- คลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วง
- ทำให้ปัสสาวะบ่อย
- โรควิตกกังวล
- ความผิดปกติของเลือดออก
- โรคเบาหวาน
- อาการลำไส้แปรปรวน
- ต้อหิน
- ความดันโลหิตสูง
- โรคกระดูกพรุน
- กระเทียม
- กานพูล
- ขิง
- แปะก๊วย
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
วัตถุประสงค์ของบทความนี้ไม่ใช่เพื่อวินิจฉัยหรือรักษาโรคใดๆ หรือเพื่อทดแทนความเห็นของแพทย์ อย่ารักษาโรคด้วยตัวเอง หรือดื่มน้ำชาปริมาณมาก ไม่ว่าจะเป็นชาจริงหรือชาสมุนไพร คนทุกคนมีความแตกต่าง ไม่สามารถให้ความเห็นเกี่ยวกับผลดีหรือผลข้างเคียงโดยทั่วไปได้นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.healthline.com/nutrition/oolong-tea-benefits
- https://www.lifehack.org/articles/lifestyle/10-amazing-benefits-oolong-tea-you-didnt-know.html
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/319276
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น