มีการใช้โกโก้ครั้งแรกในอารยธรรมมายาในอเมริกากลาง และผู้ยึดครองชาวสเปนนำโกโก้มาที่ยุโรปในศตวรรษที่ 16 และเป็นที่นิยมทันทีในฐานะยาที่ช่วยเสริมสุขภาพ
ผงโกโก้ ทำจากการบดเมล็ดโกโก้ และเอาไขมันโกโก้บัตเตอร์ออก
ทุกวันนี้ โกโก้มีชื่อเสียงเพราะเป็นสารตั้งต้นของการผลิตชอคโกแลต อย่างไรก็ดี การศึกษายุคใหม่แสดงให้เห็นว่า มันมีสารสำคัญที่ดีต่อสุขภาพด้วย
ผงโกโก้ประโยชน์มีมากมายดังนี้
ผลโกโก้มี Polyphenol มาก ซึ่งมีผลดีต่อสุขภาพ
Polyphenol เป็นสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติ พบในอาหารเช่น ผลไม้ ผัก ชา ช็อคโกแลตและไวน์ มีผลดีต่อสุขภาพมากมาย ทั้งลดการอักเสบ,ทำให้การไหลของเลือดดีขึ้น,ลดความดันเลือดและเพิ่มโคเลสเตอรอลชนิดดีและลดน้ำตาลในเลือด โกโก้เป็นหนึ่งในอาหารที่มี Polypenol สูงมาก โดยเฉพาะ Flavanol ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ อย่างไรก็ดี กระบวนการผลิตและการให้ความร้อนแก่โกโก้ ทำให้สารเหล่านี้สูญเสียไปและยังต้องใส่ด่างเพื่อลดความขมของโกโก้ ทำให้ Flavanol สูญหายไปถึง 60% ดังนั้น แม้ว่าโกโก้จะเป็นแหล่งของ Polyphenol แต่ผลผลิตต่างๆที่มีโกโก้เป็นส่วนผสม ก็ไม่ใช่จะให้ผลดีเหมือนกันเสมอไปผงโกโก้อาจช่วยลดความดันเลือด โดยเพิ่มระดับ ไนตริกออกไซด์
โกโก้ ทั้งที่เป็นผงหรือเป็นช็อคโกแลตดำ (Dark chocolate) อาจช่วยลดความดันโลหิต คนนิยมดื่มโกโก้ พบว่าคนกลุ่มนี้มีความดันเลือดต่ำกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มโกโก้ Flavanol ในโกโก้อาจช่วยเพิ่มระดับไนตริกออกไซด์ในเลือด ซึ่งช่วยให้เส้นเลือดยืดหยุ่นได้ดีและช่วยลดความดันเลือดโลหิตได้ มีรายงานจากการวิเคราะห์การทดลอง 35 ชิ้น ที่ให้คนรับประทานผลิตภัณฑ์โกโก้ 0.05-105 กรัม หรือมีflavanol ประมาณ 30-1218 มิลลิกรัม พบว่าสามารถลดความดันเลือดลงได้ 2 มิลลิเมตรปรอท ไม่มากแต่สำคัญ และผลที่ได้นี้จะมากขึ้นในคนที่มี ความดันโลหิตสูง อยู่แล้วมากกว่าผู้ที่ไม่มีปัญหา และในผู้สูงอายุมากกว่าในคนอายุน้อย อย่างไรก็ดี ควรจำไว้ว่ากระบวนการผลิตลด Flavanol ลงได้มาก ดังนั้นผลเหล่านี้อาจไม่เกิดถ้าคุณกินชอคโกแลตแท่ง สรุป การศึกษาพบว่าโกโก้มี Flavanol มาก ซึ่งช่วยลดความดันโลหิตได้โดยเพิ่มระดับไนตริกออกไซด์ในเลือดและทำให้เส้นเลือดยืดหยุ่นได้ดี โกโก้มีปริมาณ Flavanol ระหว่าง 30-1218 มิลลิกรัม ช่วยลดความดันโลหิตได้โดยเฉลี่ย 2 มิลลิเมตรปรอทน้ำโกโก้อาจช่วยลดความเสี่ยงของหัวใจวายและโรคเส้นเลือดสมอง
นอกจากการลดความดันเลือด พบว่าโกโก้ยังอาจมีฤทธิ์ลดความเสี่ยงของอาการหัวใจวายและโรคเส้นเลือดสมองได้ โกโก้ที่มี Flavanol ปริมาณมาก ช่วยเพิ่มระดับไนตริกออกไซด์ ซึ่งช่วยคลายและขยายเส้นเลือดแดงใหญ่และเส้นเลือดอื่นๆ ทำให้เลือดไหลได้สะดวกขึ้น และยังพบว่าโกโก้ช่วยลด LDL (โคเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี) ได้ด้วย ผลเหล่านี้ มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองด้วย จากการวิจัยพบว่าคนที่รับประทานช็อคโกแลตมาก จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและตาย น้อยลงอย่างชัดเจนPolyphenols ช่วยทำให้การไหลของเลือดไปที่สมองดีขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง
การศึกษาหลายชิ้นพบว่า polyphenol เช่นที่พบในโกโก้ อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจากความเสื่อมของเซลล์ประสาท โดยการเพิ่มการทำงานของสมองและเพิ่มเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง Flavanol สามารถผ่านแนวกั้นระหว่างเลือดและสมองได้ และมีส่วนในระบบชีวเคมีที่สร้างเซลล์ประสาทและโมเลกุลสำคัญต่างๆ ที่ช่วยในการทำงานของสมอง Flavanol มีผลต่อการสร้างไนตริกออกไซด์ ซึ่งช่วยทำให้กล้ามเนื้อของหลอดเลือดคลายตัว,เพิ่มการไหลของเลือดและเพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมอง การศึกษานาน 2 สัปดาห์ ในผู้สูงอายุ 34 คน ที่ได้รับโกโก้ที่มี Flavanol สูง พบว่าเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเพิ่ม 8% หลังจาก สัปดาห์ และ 10% หลังจากสองสัปดาห์ การศึกษาต่อๆมา พบว่าการกินโกโก้ Flavanol ทุกวัน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของจิตใจในผู้ที่มีและไม่มีความบกพร่องทางจิต การศึกษาแสดงให้เห็นถึงผลทางบวกของโกโก้ต่อสุขภาพของสมอง และเป็นไปได้ที่จะมีผลทางบวกต่อโรคจากความเสื่อมของเซลล์ประสาท เช่นอัลไซเมอร์และพาร์กินสัน แต่ควรมีการศึกษาเพิ่มเติม สรุป Flavanol ในโกโก้ช่วยในการผลิตเซลล์ประสาท,การทำงานของสมองและช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อสมองดีขึ้น อาจมีบทบาทในการป้องกันการเสื่อมของสมองจากวัย เช่น อัลไซเมอร์ แต่ยังควรมีการศึกษาเพิ่มเติมน้ำโกโก้อาจช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นและลดอาการซึมเศร้า
นอกจากโกโก้จะมีผลดีต่อโรคจากความเสื่อมของสภาพจิตใจจากอายุแล้ว ผลต่อสมองยังช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น และลดอาการซึมเศร้า ผลทางบวกต่ออารมณ์นั้นอาจเกิดจาก Flavanol ในโกโก้ จากการเปลี่ยน Tryptophan เป็นสารควบคุมอารมณ์ตามธรรมชาติชื่อ serotonin ซึ่งมีคาเฟอีนอยู่ หรือเพียงแค่ความสุขที่ได้กินชอคโกแลต การศึกษาชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับการกินชอคโกแลตและระดับความเครียดในหญิงตั้งครรภ์ พบว่าการกินชอคโกแลตบ่อยมีส่วนช่วยลดความเครียดและทำให้ทารกอารมณ์ดีขึ้น ยิ่งกว่านั้น การศึกษาอื่นพบว่าการดื่มโกโก้ที่มี Polyphenol สูง ช่วยทำให้จิตใจสงบและมีความสุขFlavanols ในโกโก้อาจช่วยทำให้อาการของเบาหวานชนิดที่ 2 ดีขึ้น
แม้ว่าการกินช็อคโกแลตมากเกินไปไม่ดีต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด แต่โกโก้ช่วยได้ ที่จริงแล้วมันมีฤทธิ์ต้านเบาหวาน การทดลองในหลอดทดลองแสดงให้เห็นว่า Flavanol ในโกโก้ทำให้การย่อยคาร์โบไฮเดรตช้าลงและดูดซึมช้าลงด้วย เพิ่มการหลั่งอินซูลิน ลดการอักเสบและกระตุ้นการจ่ายน้ำตาลจากเลือดไปที่กล้ามเนื้อ การศึกษาแสดงว่าการกิน Flavanol มากขึ้น (โดยเฉพาะที่ได้จากโกโก้) จะมีผลลดความเสี่ยงของเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ การศึกษาในคนพบว่าการกินชอคโกแลตดำที่มี Flavanol สูง หรือโกโก้ ช่วยลดความไวต่ออินซูลิน,ทำให้การควบคุมน้ำตาลในเลือดดีขึ้นและลดการอักเสบ ทั้งในผู้ที่เป็นเบาหวานและไม่เป็น แม้ว่าข้อมูลนี้น่าสนใจ แต่ยังไม่มีการวิจัยอย่างต่อเนื่องว่าจะมีผลต่อการควบคุมเบาหวานมากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ดี ผลต่างๆเหล่านี้ร่วมกับผลทางบวกที่ชัดเจนที่มีต่อสุขภาพหัวใจ แสดงให้เห็นว่า polyphenol ในโกโก้ อาจส่งผลดีต่อทั้งการป้องกันและควบคุมเบาหวาน จึงควรมีการวิจัยเพิ่มเติมโกโก้ลดน้ำหนักอย่างน่าแปลกใจ
ดูจะขัดแย้งกันถ้าจะบอกว่าการกินโกโก้ แม้แต่ในรูปของช็อคโกแลต อาจช่วยควบคุมน้ำหนักได้ เชื่อกันว่าโกโก้อาจมีส่วนช่วยโดยการควบคุมการใช้พลังงาน ลดความอยากอาหารและลดการอักเสบ และเพิ่มการออกซิเดชั่นของไขมัน และความรู้สึกอิ่ม การศึกษาในประชากรพบว่าผู้ที่กินชอคโกแลตบ่อยจะมีดัชนีมวลกายต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้กินเลย แม้ว่ากลุ่มแรกจะกินอาหารที่มีไขมันและแคลอรี่สูงก็ตาม การศึกษาเกี่ยวกับการลดน้ำหนักโดยให้กินอาการคาร์โบไฮเดรตต่ำ พบว่ากลุ่มที่ได้รับช็อคโกแลตโกโก้ 81% ปริมาณ 42 กรัม ต่อวัน ลดน้ำหนักได้เร็วกว่ากลุ่มที่กินอาหารปกติ อย่างไรก็ดี การศึกษาอื่นๆพบว่าการกินช็อคโกแลตทำให้น้ำหนักเพิ่ม คนจำนวนมากไม่ทราบความแตกต่างของชนิดชอคโกแลตที่กินเข้าไป ชอคโกแลตขาวและชอคโกแลตนมไม่มีผลดีเหมือนช็อคโกแลตดำ ในภาพรวม ดูเหมือนว่าโกโก้และผลิตภัณฑ์ที่มีโกโก้มาก อาจเป็นประโยชน์ในการลดน้ำหนัก หรือคงน้ำหนัก แต่ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมผงโกโก้ประโยชน์อาจช่วยป้องกันมะเร็ง
โกโก้มี Flavanol เข้มข้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับอาหารทุกชนิดเทียบตามน้ำหนัก และควรเพิ่มเข้าไปในอาหารของคุณทุกวัน การศึกษาในหลอดทดลองเกี่ยวกับส่วนประกอบของโกโก้ พบว่ามีผลต้านอนุมูลอิสระ สามารถป้องกันความเสียหายของเซลล์จาก Reactive molecule ต่อต้านการอักเสบ ยับยั้งการเติบโตของเซลล์ ทำให้เซลล์มะเร็งตายเร็วขึ้นและช่วยป้องกันการกระจายของเซลล์มะเร็ง การศึกษาในสัตว์ โดยให้กินอาหารที่มีโกโก้สูง หรือสารสกัดจากโกโก้พบว่ามีผลดีในการลดความ เสี่ยงการเป็น มะเร็งเต้านม มะเร็งตับอ่อน มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมทั้งมะเร็งเม็ดเลือดขาวด้วยTheobromine และ Theophylline ในผงโกโก้อาจช่วยผู้ที่เป็นหอบหืดได้
หอบหืดเป็นโรคของการอักเสบเรื้อรังที่ทำให้เกิดการอุดตันและการอักเสบของทางเดินหายใจและอาจถึงแก่ชีวิต คาดว่าโกโก้อาจมีผลดีต่อผู้ที่เป็นหอบหืด เพราะมันมีสารต้านหอบหืด เช่น Theobromine และ Theophylline Theobromine คล้ายกับคาเฟอีนและอาจช่วยลดการไอเรื้อรัง ผงโกโก้หนัก100 กรัม มีสารนี้ราว 1.9 กรัม Theophylline ช่วยให้ปอดขยาย ทางเดินหายใจผ่อนคลาย และลดการอักเสบ การศึกษาในสัตว์พบว่าสารสกัดโกโก้ช่วยลดทั้งการหดเกร็งของทางเดินหายใจและลดความหนาของเนื้อเยื่อ แต่การค้นพบนี้ยังไม่มีการทดสอบในคลินิคในคน และยังไม่แน่ใจว่าโกโก้ปลอดภัยพอที่จะใช้ร่วมกับยาต้านหอบหืดหรือไม่ แม้ว่าข้อมูลเหล่านี้น่าสนใจ แต่ยังเร็วเกินกว่าจะสรุปว่าโกโก้จะถูกนำมาใช้ในการรักษาหอบหืดได้อย่างไรผลต้านแบคทีเรียและกระตุ้นภูมิคุ้มกันซึ่งอาจมีผลดีต่อฟันและผิวหนัง
การศึกษาหลายชิ้นค้นพบผลดีของโกโก้ในการป้องกันฟันผุและโรคเหงือก โกโก้มีสารที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ต้านเอนไซม์ และกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซึ่งอาจมีผลดีต่อสุขภาพปากและฟัน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาที่เห็นได้ชัดในคน และผลิตภัณฑ์โกโก้ส่วนใหญ่ที่คนกินนั้นมีน้ำตาลผสม จึงควรมีการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อให้ได้ใช้ผลดีของโกโก้ในการรักษาสุขภาพปาก และฟัน แม้ว่าคนมักคิดว่าช็อคโกแลตทำให้เกิดสิว แต่ที่จริงไม่ใช่ ที่จริงแล้ว Polyphenol ในโกโก้มีผลดีต่อผิวหนัง การดื่มโกโก้ในระยะยาวแสดงให้เห็นว่ามีส่วนช่วยในการป้องกันแสงแดด เพิ่มการไหลเวียนเลือดที่ผิวหนัง และช่วยทำให้ผิวหนังดูดีและชุ่มชื่นผสมในอาหารได้ง่าย
ยังไม่แน่ใจว่าจำนวนที่แน่นอนของโกโก้ที่ควรใส่ในอาหารเพื่อให้ได้ผลดีต่อสุขภาพ ควรเป็นเท่าไร The European Food Safety Authority แนะนำให้ใช้ผงโกโก้ที่มี Flavanol สูงปริมาณ 2.5 กรัม หรือช็อคโกแลตดำที่มีflavanol สูง(มีflavanol อย่างน้อย 200มิลลิกรัม) ปริมาณ 10 กรัมต่อวันเพื่อให้ได้ผลดีต่อสุขภาพหัวใจ แต่ตัวเลขนี้น้อยเกินไปสำหรับนักวิจัยคนอื่น ที่บอกว่าต้องเพิ่ม Flavanol ให้มากกว่านี้ เพื่อให้ได้มีผลดีตามต้องการ แต่สำคัญมากที่ต้องเลือกแหล่งของโกโก้ที่มี Flavanol สูง ยิ่งผ่านกระบวนการน้อยเท่าไรยิ่งดี กินช็อคโกแลตดำ: แน่ใจว่าเลือกที่มีคุณภาพดี และมีโกโก้อย่างน้อย 70% โกโก้ร้อน/เย็น: ผสมโกโก้กับนมเป็นช็อคโกแลตปั่น Smoothies : ใส่ใน Smoothies ได้ทุกชนิด ได้รสชาติช็อคโกแลต พุดดิ้ง : ใส่ผงโกโก้ดิบในพุดดิ้ง ช็อคโกแลตมูสมังสวิรัติ : ผสมอาโวคาโด โกโก้และนมอัลมอนด์และผลไม้หวานเช่นอินทผาลัม โรยบนผลไม้ : โรยโกโก้บนกล้วยและสตรอเบอร์รี่ Granola bars : ผสมโกโก้ใน Granola bar เพื่อให้ได้ผลดีต่อสุขภาพและเพิ่มรสชาติ เพื่อสุขภาพหัวใจ เพิ่มผงโกโก้ที่มี Flavanol สูง 2.5 กรัม หรือชอคโกแลตที่มี Flavanolสูง 10 กรัม การเพิ่มโกโก้ช่วยเพิ่มรสชาติชอคโกแลตแสนอร่อยให้อาหารของคุณด้วยรู้ก่อนดื่มโกโก้
โกโก้ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักในช็อกโกแลต มีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา:- คาเฟอีนและธีโอโบรมีน:โกโก้มีคาเฟอีนและธีโอโบรมีนตามธรรมชาติ แม้ว่าโดยทั่วไปปริมาณจะน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกาแฟ แต่บุคคลที่ไวต่อสารกระตุ้นควรระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบริโภคดาร์กช็อกโกแลตในปริมาณมาก
- ปริมาณน้ำตาล:ผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตหลายชนิดมีการเติมน้ำตาล ซึ่งอาจส่งผลต่อปริมาณแคลอรี่ส่วนเกินและปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้หากบริโภคในปริมาณมาก
- อาการแพ้:บางคนอาจแพ้โกโก้หรือส่วนประกอบในช็อกโกแลต ผู้ที่แพ้ช็อกโกแลตควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีโกโก้
- การบริโภคปานกลาง:แม้ว่าโกโก้จะมีสารต้านอนุมูลอิสระและฟลาโวนอยด์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่การบริโภคโกโก้ในปริมาณที่พอเหมาะก็เป็นสิ่งสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงปริมาณแคลอรี่ที่มากเกินไป และเพื่อให้สมดุลกับความต้องการอาหารอื่นๆ
- การเตรียมอาหารเพื่อสุขภาพ:เลือกใช้ดาร์กช็อกโกแลตที่มีเปอร์เซ็นต์โกโก้สูงกว่าและมีปริมาณน้ำตาลน้อยกว่า โดยทั่วไปดาร์กช็อกโกแลตจะมีโกโก้มากกว่าและมีน้ำตาลน้อยกว่าเมื่อเทียบกับช็อกโกแลตนม
- ปฏิกิริยากับยาบางชนิด:โกโก้อาจทำปฏิกิริยากับยาบางชนิด ตัวอย่างเช่น สามารถโต้ตอบกับยาบางชนิดที่ใช้ในการควบคุมความดันโลหิตได้ หากคุณกำลังใช้ยา ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเกี่ยวกับการโต้ตอบที่อาจเกิดขึ้น
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-812/cocoa
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4696435/
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น