ปวดหัวข้างขวา (Headaches on The Right Side) – สาเหตุ ประเภทของความเจ็บปวด

ภาพรวม

การปวดหัวอาจมีอาการปวดหัวตุ๊บๆ หรือปวดรุนแรง และปวดในตำแหน่งที่แตกต่างกันออกไปได้ ซึ่งรวมไปถึงการปวดหัวด้านขวาที่หนังศีรษะ ท้ายทอย และคอ ฟัน หรือบริเวณตา อาการปวดหัวเป็นเรื่องที่สร้างความไม่สบายตัว ซึ่งไม่ใช่การ “เจ็บปวดสมอง” สมอง และกระโหลกจะไม่มีปลายประสาท ดังนั้นทั้งสมอง และกระโหลกจะไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เกิดการปวดโดยตรง ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวมีหลายสาเหตุมากมายอาจมาจากตั้งแต่การนอนน้อยไปจนถึงภาวะถอนคาเฟอีน

สาเหตุของการปวดหัวข้างขวา

ปัจจัยจากการดำเนินชีวิต อาการปวดหัวข้างขวาโดยทั่วๆไปมักมีสาเหตุมาจากปัจจัย เช่น :
  • ความเครียด
  • ความเหนื่อยล้า
  • การอดอาหาร
  • กล้ามเนื้อคอมีปัญหา
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น การใช้ยาแก้ปวดที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปเป็นระยะเวลานานๆ

การติดเชื้อ และภูมิแพ้

การติดเชื้อไซนัส และภูมิแพ้ก็อาจเป็นสาเหตุของอาการปวดหัวได้ อาการปวดหัวมาจากไซนัสมีการติดเชื้อ และส่งผลให้เกิดการอักเสบ นำมาซึ่งแรงดัน และอาการปวดที่ด้านหลังโหนกแก้ม และหน้าผาก

การใช้ยามากเกินไป

การใช้ยาเพื่อรักษาอาการปวดหัวมากเกินไปอาจทำให้มีอาการปวดหัวได้ ซึ่งเป็นโรคปวดหัวที่พบได้บ่อย ส่งผลกระทบต่อคนมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ การใช้ยาแก้ปวดหัวมากเกินไปมักทำให้อาการปวดหัวแย่ลงในตอนเช้าเมื่อตื่นนอน

สาเหตุมาจากระบบประสาท

อาการปวดท้ายทอยเส้นประสาทต้นคอ: เส้นประสาทท้ายทอยในกระดูกสันหลังบริเวณลำคอส่วนบน ซึ่งวิ่งยาวมายังกล้ามเนื้อถึงหนังศีรษะ การเกิดอาการระคายเคืองกับหนึ่งในเส้นประสาทนี้ส่งผลให้เกิดอาการคล้ายไฟดูด ไฟช็อต หรือคล้ายเข็มทิ่ม มักมีอาการปวดที่หัวด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น หลอดเลือดแดงอักเสบเกิดจากการอักเสบ หรือหลอดเลือดแดงเสียหาย ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่ลำเลียงเลือดไปสู่ศีรษะ และสมอง แรงดันนี้เป็นสาเหตุให้เกิดอาการอื่นๆ เช่น ความบกพร่องทางการมองเห็น ปวดไหล่ หรือสะโพก ปวดกราม และน้ำหนักลด  โรคปวดเส้นประสาทใบหน้าเป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกับเส้นประสาทที่เป็นตัวรับความรู้สึกจากใบหน้าไปสู่สมอง การกระตุ้นเพียงเล็กน้อยบนใบหน้าก็อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดแปลบได้ 

สาเหตุอื่นๆ

สาเหตุอื่นๆที่อาจมีความรุนแรงมากกว่าของอาการปวดหัวข้างเดียวอาจรวมไปถึง:
  • การบาดเจ็บรุนแรง
  • ผนังหลอดเลือดแดงโป่งพอง
  • เนื้องอก ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งไม่เป็นอันตราย หรือแบบร้ายแรง (มะเร็ง)

ชนิดของการปวดหัว

อาการปวดหัวแบบต่างๆ แต่ละชนิดก็มีสาเหตุ และอาการที่แตกต่างกันออกไป การรู้ชนิดของอาการปวดหัวจะช่วยทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการปวดหัวได้

การปวดหัวจากความเครียด

การปวดหัวจากความเครียดเป็นชนิดที่พบได้บ่อยมากที่สุด ประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่ มักส่งผลให้ปวดหัวทั้งสองข้าง หรือเกิดขึ้นข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ ความรู้สึกปวดคล้ายกับ: ปวดตุบๆ หรือปวดบีบ อาจส่งผลต่อบริเวณหัวไหล่ และคอ

Headaches on The Right Side

ปวดหัวไมเกรน

ปวดไมเกรนอาจเกิดขึ้นได้ที่ข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจเกิดขึ้นได้ทั้งสองข้าง ส่งผลให้ไวต่อเสียง และแสง คลื่นไส้ และอาเจียน ตาพร่า หรือรู้สึกเสียวแปลบ ชา ความรู้สึกคล้ายกับ: ปวดขมับขวาตุบๆรุนแรง  ช่วงก่อน หรือระหว่างมีอาการไมเกรน บางคนอาจเห็น “แสงออร่า” ซึ่งส่วนใหญ่มักเห็นเป็นภาพ แสงออร่าอาจเป็นอาการได้ทั้งอาการด้านบวก และอาการด้านลบ อาการด้านบวกเกิดขึ้นเพราะการกระตุ้นของระบบประสาทส่วนกลาง อาการด้านบวกคือ
  • มีการรบกวนทางการมองเห็น เช่น เห็นภาพบิดเบี้ยว หรือแสงวาบ
  • มีปัญหาด้านการได้ยิน เช่น เสียงแว่วในหู
  • มีอาการทางระบบประสาทรับความรู้สึก เช่น รู้สึกร้อนผ่าว หรือเจ็บปวด
  • การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อผิดปกติ เช่น มีการกระตุก หรือการเคลื่อนไหวซ้ำๆ
อาการทางลบคือ อาการที่ให้เห็นจากการทำงานที่เสียไป ซึ่งรวมไปถึงการสูญเสียการมองเห็น การได้ยิน หรือเป็นอัมพาต

การปวดหัวแบบคลัสเตอร์

การปวดหัวแบบคลัสเตอร์มักมีอาการปวด และจะปวดข้างใดข้างหนึ่ง อาจมีอาการกระสับกระส่าย หน้าซีด หรือผิวร้อนผ่าว ตาแดง และมีน้ำมูกไหล ความรู้สึกคล้ายกับ: ปวดอย่างรุนแรง โดยเฉพาะจะมีอาการปวดตาที่ข้างใดข้างหนึ่ง และแผ่กระจายไปยังบริเวณคอ ใบหน้า ศีรษะ และหัวไหล่

อาการปวดหัวเรื้อรัง

อาการปวดหัวเรื้อรังที่เกิดขึ้นนาน 15 วัน หรือเป็นเดือน เป็นอาการปวดหัวเกิดจากความเครียด หรือปวดไมเกรนเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคเพื่อหาสาเหตุ

ควรพบแพทย์เมื่อไร

น้อยรายคนปวดหัวที่อาการปวดหัวจะเป็นอาการฉุกเฉิน ควรรีบพบแพทย์ทันทีหากมีอาการปวดหัวที่ตามมาหลังการได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการปวดหัวร่วมกับอาการดังต่อไปนี้:
  • มีไข้สูง
  • คอแข็ง
  • อ่อนแรง
  • สูญเสียการมองเห็น
  • เห็นภาพซ้อน
  • มีปัญหาเรื่องการออกเสียง
  • ปวดขมับข้างเดียว
  • อาการปวดเพิ่มขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวหรือไอ
คุณอาจต้องรีบพบแพทย์หากอาการปวดหัวเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และรุนแรง ตื่นขึ้นกลางดึก หรือมีอาการแย่เพิ่มมากขึ้น

แพทย์จะสามารถวินิจฉัยอาการปวดหัวอย่างไร

นัดแพทย์หากอาการปวดหัวเปลี่ยนแปลงไปเป็นบ่อยขึ้น หรือรุนแรงมากขึ้น เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะตรวจร่างกาย และสอบถามโรคประจำตัว และอาการที่เกิดขึ้น คุณควรเตรียมตอบคำถามดังต่อไปนี้:
  • อาการปวดหัวเริ่มขึ้นเมื่อไร?
  • อาการที่เกิดขึ้นคือ อะไร?
  • อาการแรกของอาการปวดหัวคือ ?
  • มีอาการปวดหัวบ่อยแค่ไหน ?
  • มีใครในครอบครัวมีประวัติปวดหัว ไมเกรน หรือไม่?
  • เคยสังเกตมาก่อนไหมว่าอะไรมากระตุ้นอาการปวดหัวได้?
แพทย์อาจมีการตรวจเพื่อวินิจฉัยด้วยการตรวจอื่นๆ เช่น
  • การตรวจเลือด เพื่อมองหาการติดเชื้อที่ไขสันหลัง หรือสมอง หาสารพิษ หรือปัญหาเส้นเลือด
  • การตรวจ Cranial CT Scans เพื่อเห็นภาพตัดของสมอง ซึ่งจะช่วยวินิจฉัยการติดเชื้อ เนื้องอก เลือดออกในสมอง และสมองเสียหาย
  • การสแกนเอ็มอาร์ไอศีรษะ เพื่อให้ได้เห็นภาพรายละเอียดของเส้นเลือด และสมอง รวมไปถึงความผิดปกติในสมอง และระบบประสาท เลือดออกในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง ปัญหากับเส้นเลือด และการติดเชื้อ 

วิธีบรรเทาอาการปวดศีรษะอย่างรวดเร็ว

ต่อไปนี้คือ วิธีแก้อาการปวดหัวข้างเดียวอย่างรวดเร็ว เคล็ดลับบรรเทาอาการอย่างรวดเร็ว
  • ใช้การประคบอุ่นที่บริเวณด้านหลังคอ
  • อาบน้ำอุ่น
  • ปรับท่วงท่าให้ดีขึ้นเพื่อบรรเทาความตึงเครียดจากศีรษะ คอ และหัวไหล่
  • ออกจากห้อง และไปยังสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ โดยเฉพาะหากแสง เสียง หรือกลิ่นเป็นสาเหตุของอาการปวดหัวข้างขวา กระบอกตา
  • นอนงีบกลางวัน อาจช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้
  • ปล่อยผม หากการมัดผมหางม้า ถักเปีย หรือมวยผมไว้
  • ดื่มน้ำให้มากเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะขาดน้ำ
การบำบัดทางกายภาพก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบำบัดอาการปวดหัวจากความเครียด หรือการปวดหัวจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อคอ ซึ่งการปวดจากคอมีปัญหา กล้ามเนื้อตึงที่คออาจทำให้คอแข็ง และกดเส้นประสาทจนทำให้เกิดอาการปวด นักกายภาพบำบัดอาจช่วยจัดการกับบริเวณดังกล่าวได้ และช่วยสอนวิธียืดเส้นเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อขึงตึง และสอนการออกกำลังกายที่จะช่วยบรรเทาอาการในระยะยาวได้

ประเด็นสำคัญ

อาการปวดหัวมีหลายชนิดแตกต่างกันออกไปที่อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวข้างเดียว หรือใบหน้า หลายชนิดไม่เป็นอันตรายและสามารถหายได้เอง การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต เช่น การปรับท่วงท่า การดื่มน้ำมากๆ หรือการพักสายตาก็อาจช่วยได้  ควรนัดแพทย์หากอาการปวดหัวเกิดขึ้นทุกวัน แพทย์เท่านั้นที่จะสามารถวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการปวดหัวได้ และสามารถตัดโรคที่รุนแรงอื่นๆออกมาได้ แพทย์จะแนะนำวิธีในการจัดการอาการปวด และวิธีป้องกันอาการปวดหัวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ แม้ว่าอาการปวดหัวอาจมีสาเหตุหลายประการ เช่น ความตึงเครียด การขาดน้ำ การนอนหลับไม่เพียงพอ หรือสภาวะสุขภาพที่ซ่อนอยู่ ปัจจัยด้านอาหารบางอย่างอาจมีส่วนช่วยหรือบรรเทาอาการปวดหัวได้ หากคุณกำลังปวดหัวด้านขวา ต่อไปนี้คือข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับโภชนาการ:

ความชุ่มชื้น:

  • การคายน้ำ:การขาดน้ำที่เหมาะสมอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอตลอดทั้งวัน

ตัวกระตุ้นด้านอาหาร:

  • ปริมาณคาเฟอีน:
    • คาเฟอีนมากเกินไป:การบริโภคคาเฟอีนมากเกินไปหรือการถอนอย่างกะทันหันอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ หากคุณบริโภคคาเฟอีนเป็นประจำ พยายามรักษาระดับคาเฟอีนให้สม่ำเสมอ
  • อาหารที่มีไทรามีน:
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่อุดมด้วยไทรามีน:คนบางคนไวต่อไทรามีน ซึ่งเป็นสารประกอบที่พบในอาหารบางชนิด แหล่งที่มาทั่วไป ได้แก่ ชีสบ่ม เนื้อสัตว์แปรรูป และอาหารหมักบางชนิด
  • ผงชูรส (โมโนโซเดียมกลูตาเมต):
    • จำกัดผงชูรส:บางคนอาจไวต่อผงชูรสซึ่งเป็นวัตถุเจือปนอาหาร มักพบในอาหารแปรรูปและอาหารในร้านอาหาร ใส่ใจกับฉลากและหลีกเลี่ยงการรับประทานมากเกินไป

ระดับน้ำตาลในเลือด:

  • อาหารที่สมดุล:
    • มื้ออาหารที่สมดุลเป็นประจำ:รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่โดยการรับประทานอาหารที่สมดุลสม่ำเสมอซึ่งประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน โปรตีน และไขมันที่ดีต่อสุขภาพผสมกัน
  • หลีกเลี่ยงการข้ามมื้ออาหาร:
    • กำหนดเวลามื้ออาหาร:หลีกเลี่ยงการข้ามมื้ออาหาร เนื่องจากรูปแบบการกินที่ผิดปกติอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดผันผวนได้

การขาดสารอาหาร:

  • แมกนีเซียม:
    • รวมอาหารที่อุดมด้วยแมกนีเซียม:การขาดแมกนีเซียมเชื่อมโยงกับอาการปวดหัว รวมอาหารที่อุดมด้วยแมกนีเซียม เช่น ผักใบเขียว ถั่ว เมล็ดพืช และธัญพืชไม่ขัดสี
  • วิตามินบี:
    • วิตามินบี:ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้รับวิตามินบีอย่างเพียงพอจากแหล่งต่างๆ เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี เนื้อไม่ติดมัน ปลา ไข่ และผักใบเขียว

แพ้อาหารหรือแพ้:

  • ระบุทริกเกอร์:
    • ไดอารี่อาหาร:เก็บไดอารี่อาหารไว้เพื่อระบุตัวกระตุ้นที่อาจเกิดขึ้น บุคคลบางคนอาจมีอาการปวดศีรษะเนื่องจากการแพ้อาหารหรือความไวต่ออาหารโดยเฉพาะ

ข้อควรพิจารณาอื่นๆ:

  • ปริมาณแอลกอฮอล์:
    • ปริมาณแอลกอฮอล์ปานกลาง:การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะและให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ
  • สารให้ความหวานเทียม:
    • จำกัดการใช้สารให้ความหวานเทียม:บางคนอาจมีความไวต่อสารให้ความหวานเทียม ดังนั้นควรพิจารณาลดหรือเลิกใช้สารให้ความหวานเหล่านี้จากอาหารของคุณ

ปัจจัยด้านไลฟ์สไตล์:

  • การจัดการความเครียด:
    • จัดการความเครียด:ความเครียดเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัว ฝึกเทคนิคการจัดการความเครียด เช่น การหายใจลึกๆ การทำสมาธิ หรือโยคะ
  • การนอนหลับที่เพียงพอ:
    • จัดลำดับความสำคัญการนอนหลับ:ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณนอนหลับเพียงพอและมีคุณภาพ เนื่องจากการนอนไม่เพียงพออาจทำให้เกิดอาการปวดหัวได้
สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าการตอบสนองต่ออาหารของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป หากคุณกำลังปวดหัวอย่างต่อเนื่องหรือรุนแรง แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อรับการประเมินอย่างละเอียด พวกเขาสามารถช่วยระบุสาเหตุเฉพาะของอาการปวดหัวของคุณและให้คำแนะนำส่วนบุคคลโดยพิจารณาจากประวัติสุขภาพและความต้องการของคุณ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.livehealthily.com/your-symptoms/unilateral-headache+sudden-headache
  • https://health.clevelandclinic.org/when-should-i-worry-about-a-one-sided-headache/
  • https://www.webmd.com/migraines-headaches/headache-location-types
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด