การปวดศีรษะ (Headache) หรือการปวดหัวบ่อย ๆ เป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนในทุกเพศและทุกวัย โดยอาการปวดหัวนั้นจะเกิดขึ้นบริเวณศรีษะหรือคอส่วนบน อาการปวดหัว นั้นอาจจะมีอาการปวดที่ไม่รุนแรงไปจนถึงอาการปวดขั้นรุนแรง โดยอาการปวดที่รุนแรงนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันต่าง ๆ ได้
ปวดหัวเกิดจากสาเหตุอะไร
สาเหตุหลักของอาการปวดหัว
แพทย์ได้จำแนกสาเหตุของอาการปวดหัวไว้มากมายว่า ปวดหัวเกิดจากอะไรบ้าง สาเหตุการปวดหัวหลักนั้นอาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับ เงื่อนไขทางการแพทย์แต่อย่างใด แต่จะมีผลสืบเนื่องมาจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง เช่น การปวดไมเกรน ปวดแบบคลัสเตอร์ และอาการเครียดสาเหตุรองของการปวดหัว
สาเหตุรองของการปวดหัวนั้นมักจะเกี่ยวข้องกับอาการป่วย หรือโรคที่ผู้ป่วยเป็นและส่งผลให้เกิดอาการปวดหัว โดยโรคต่าง ๆ ดังนี้ที่อาจจะก่อให้เกิดอาการปวดหัวได้เนื้องอกในสมอง หรือหลอดเลือดในสมองโป่ง
การเกิดเนื้องอกในสมอง เกิดการกดทับเนื้อเยื่อในสมองทำให้เกิดการบกวนการทำงานของระบบประสาท ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน รวมไปถึงผลข้างเคียงอื่น ๆโรคที่เกิดจากความผิดปกติของคอส่วนบน
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของคอส่วนบน ที่อาจจะมีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพไปตามวัย หรือมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บทำให้ข้อต่อเกิดการอักเสบ หรือการกดทับปมประสาท ส่งผลให้มีอาการปวดร้าวตั้งแต่คอจนไปถึงปวดขมับทั้งสองข้างการใช้ยาบางประเภทเป็นเวลานานเกินไป หรือมากเกินขนาด
สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีการใช้ยาแก้อาการปวดหัวบางประเภท เช่น Hydrocodone ปริมาณมากเกินไป และมีการลดปริมาณลง หรือหยุดการใช้ยาภายหลัง ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้เกิดอาการปวดหัวได้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้สมองได้รับการกระทบกระเทือน
หากผู้ป่วยเคยประสบอุบัติเหตุที่ทำให้สมองเกิดการกระทบกระเทือน นี่อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดหัวบ่อยได้ไซนัส
สาเหตุของการปวดหัวจากเยื่อบุไซนัสมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ไซนัสมีการบวม หรืออักเสบส่งผลให้เกิดการปวดหัวและกระบอกตาประเภทของการปวดหัว
ประเภทของการปวดหัวมีอยู่หลายแบบด้วยกัน แต่สามารถแบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ปวดหัวจากการตึงเครียด
ปวดหัวจากความเครียดนั้นพบได้โดยทั่วไป และมักจะพบในเพศหญิงอายุช่วง 20 ปี การปวดหัวประเภทนี้ ผู้ปวดจะมีความรู้สึกเหมือนกับมีสิ่งบีบรัดอยู่รอบศีรษะ โดยมีสาเหตุมาจากการตึงของกล้ามเนื้อต้นคอและหนังศีรษะ การยศาสตร์ในการนั่งที่ไม่ถูกต้องและความเครียดเป็นสาเหตุหลักของอาการปวดหัวประเภทนี้ การปวดหัวจากการตึงเครียดนั้น เกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาไม่กี่นาที ไปจนถึงยาวนานตลอดทั้งวัน และมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการปวดหัวแบบนี้ซ้ำได้อีกปวดหัวแบบคลัสเตอร์
การปวดหัวแบบคลัสเตอร์นั้นไม่ใช่การปวดหัวอย่างรุนแรง แต่จะมีอาการปวดหัวข้างเดียวบ่อยๆ หรือปวดในส่วนของกระบอกตา การปวดหัวแบบนี้จะทำให้ปวดบริเวณตาและมีอาการคัดจมูก การปวดหัวแบบคลัสเตอร์มักจะขยายเวลาการปวดหัวออกไปได้ยาวนาน ซึ่งสามารถยาวนานได้ถึง 6 สัปดาห์ การปวดหัวแบบคลัสเตอร์สามารถเกิดได้ในทุกๆวัน และสามารถเกิดได้มากกว่า 1 ครั้งต่อวัน สาเหตุของการปวดหัวประเภทนี้ยังไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัด แต่อย่างไรก็ตามการปวดหัวแบบนี้เป็นสิ่งที่พบได้ยาก แต่มักจะพบในเพศชายอายุระหว่าง 20 – 40 ปีการปวดหัวไมเกรน
การปวดหัวไมเกรนนั้นสามารถทำให้มีอาการปวดตึบๆ และรู้สึกปวดแบบบีบรัดได้ โดยมักจะเกิดที่ศีรษะด้านใดด้านหนึ่ง การปวดหัวแบบไมเกรนนั้นสามารถแบ่งได้เป็นอีกหลายแบบเช่นกัน แต่ในที่นี้จะขอพูดถึงการปวดหัวไมเกรนแบบโครนิกไมเกรน การปวดหัวแบบนี้จะปรากฏนานถึง 15 วัน หรือมากกว่านั้นตลอดระยะเวลา 1 เดือน การปวดหัวไมเกรนแบบครึ่งซีกนั้นมีอาการคล้ายกับการปวดหัวแบบเป็นอัมพาตที่พบในสโตรค ผู้ที่เป็นไมเกรนสามารถที่จะไม่มีอาการปวดหัวร่วมด้วย แต่อาจจะมีอาการอื่นๆ เช่น การคลื่นไส้ อาเจียน มองเห็นได้ไม่ชัดเจน และเวียนศีรษะ แต่ไม่มีอาการปวดหัวการปวดหัวแบบรีบาวด์
การปวดหัวแบบรีบาวด์มักจะพบในผู้ที่หยุดใช้ยาระงับอาการปวดหัวอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่ปวดหัวประเภทนี้มักจะพบในผู้ที่เคยใช้ยาดังต่อไปนี้ อะซีตามิโนเฟน,ทริปเทนส์, เออร์โกทาร์ไมน์ และยาอื่นๆ เช่น ไทลินอลที่มีส่วนผสมของโคดีนการปวดหัวเหมือนฟ้าผ่า
การปวดหัวเหมือนฟ้าผ่านี้จะเกิดโดยกระทันหันอย่างไม่ทันได้ตั้งตัว อาการเหล่านี้มักจะปรากฏขึ้นโดยไม่มีสัญญาณเตือน สามารถเกิดได้ยาวนาน 5 นาที โดยการปวดหัวแบบนี้เป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง หากคุณมีอาการนี้คุณควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันทีลักษณะอาการที่บ่งบอกว่าเป็นการปวดหัวประเภทใด
การปวดหัวจากการตึงเครียด
การปวดหัวจากการตึงเครียดจะประกอบไปด้วยลักษณะอาการดังนี้- ตึงที่คอ
- ปวดหัว
- เจ็บที่หนังศีรษะ
- ตึงบริเวณไหล่
- เจ็บบีบรัดหรือปวดบริเวณหน้าผาก โดยสามารถลุกลามไปที่ศีรษะด้านหลังได้
การปวดหัวแบบคลัสเตอร์
การปวดหัวแบบคลัสเตอร์มักจะปรากฏในระยะเวลาอันสั้น และทำให้ปวดบริเวณกระบอกตา การปวดหัวแบบนี้มักจะปวดบริเวณศีรษะด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งอาจจะมีอาการปวดตึบ ๆ หรือปวดแบบคงที่ การปวดหัวแบบนี้อาจจะปวดภายใน 1 – 2 ชั่วโมงหลังจากที่คุณเข้านอน การปวดหัวแบบนี้คล้ายคลึงกับการปวดหัวแบบไมเกรนแต่จะไม่ก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้ร่วมด้วยการปวดหัวแบบไมเกรน
การปวดหัวแบบไมเกรนมักจะพบลักษณะอาการดังต่อไปนี้:- ปวดตึบๆ ภายในศีรษะ
- คลื่นไส้
- ปวดที่ด้านใดด้านหนึ่งของศีรษะ
- ประสาทสัมผัสไวต่อเสียงและแสง
- ปวดหัวอย่างรุนแรง
- อาเจียน
การปวดหัวแบบรีบาวด์
การปวดหัวแบบรีบาวด์นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างวัน และมักจะเกิดอย่างรุนแรงในช่วงเช้า ผู้ที่มีอาการปวดหัวแบบนี้มักจะบรรเทาอาการปวดหัวด้วยการกลับไปใช้ยาซ้ำ ลักษณะอาการของผู้ปวดหัวแบบนี้ประกอบไปด้วย- หงุดหงิด
- คลื่นไส้
- กระสับกระส่าย
- มีปัญหาในการจดจำรายละเอียด
การปวดหัวแบบฟ้าผ่า
การปวดหัวแบบฟ้าผ่านั้นจะปวดแบบรุนแรงและกระทันหันในระยะเวลาอันสั้น เมื่อแพทย์พบว่าคุณมีอาการปวดหัวแบบนี้ มักจะทำการวินิจฉัยและทดสอบดังต่อไปนี้- การตรวจนับเม็ดเลือดสมบูรณ์ (CBC) การตรวจสอบเลือดสามารถแสดงอาการติดเชื้อได้
- การเอ็กซเรย์กะโหลก สามารถทำให้เห็นรายละเอียดภายในกะโหลกศีรษะได้ชัดเจน
- การเอ็กซเรย์ไซนัส สามารถทำให้ตรวจสอบได้ว่ามีอาการไซนัสอักเสบหรือไม่
- การสแกนCT or MRI สามารถตรวจสอบความผิดปกติของหลอดเลือดสมองและการอุดตันของหลอดเลือดสมองได้
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
หากอาการปวดหัวไม่ได้มีผลข้างเคียงมาจากการป่วยเป็นโรคร้าย ผู้ป่วยสามารถใช้วิธีบรรเทาอาการปวดหัวได้เอง แต่หากอาการปวดหัวนั้นส่งผลมาจากการกระทบกระเทือนทางอุบัติเหตุ และมีอาการข้างเคียงตามมา ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ทันที หากมีอาการดังนี้ :- วิงเวียน
- มีไข้
- อาเจียน
- มีอาการชาบริเวณใบหน้า
- ไม่สามารถออกเสียงได้ตามปกติ
- แขนขาอ่อนแรง
- ชัก
- ปวดตึงรอบดวงตา
- เจ็บคอ
การรักษาอาการปวดหัว
การรักษาอาการปวดหัวนั้นมักจะใช้วิธีแก้อาการปวดหัวหรือวิธีรักษาที่แตกต่างกันออกไปตามสาเหตุ หากการปวดหัวนั้นเกิดขึ้นจากอาการป่วย เมื่ออาการป่วยหายเป็นปกติ อาการปวดหัวก็จะหายไป แต่หากอาการปวดหัวนั้นเกิดมาจากโรคประจำตัว หรือความเครียดที่ไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง ผู้ป่วยสามารถทานยาแก้ปวดหัวจำพวก แอสไพริน หรือ ไทลีนอล หรือไอบลูโปรเฟน เพื่อบรรเทาอาการปวดได้การบรรเทาอาการปวดหัวด้วยวิธีธรรมชาติ
ในบางครั้งการรับประทานวิตตามินหรือสมุนไพรที่มาจากธรรมชาติอาจจะช่วยบรรเทาอาการปวดศรีษะได้ด้วยเช่นกัน- การรับประทาน Coenzyme Q10 ปริมาณ 100 มิลลิกรัม 3 เวลา จะช่วยแก้ปวดหัวไมเกรนได้ ถือเป็นการแก้ไมเกรนเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี
- การฉีดแมกนีเซียมในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการไมเกรนอย่างรุนแรงสามารถลดอาการปวดหัว ได้
- การดื่มน้ำขิงขิงจะสามารถช่วยบรรเทาอาการไมเกรนได้ ด้วยการยับยั้งการสังเคราะห์ prostaglandin จึงส่งผลให้อาการปวดลดลง
การป้องกันการปวดหัว
การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ และดูแลสุขภาพสม่ำเสมอ จะช่วยลดปัจจัยเร้าในการเกิดอาการปวดหัวและเป็นกุญแจสำคัญที่จะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอื่น ๆ ตามมา การหลีกอาหารที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการปวดหัว สำหรับผู้ป่วยบางคนนั้น อาหารมีส่วนที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ อาทิเช่น ชีส ไวน์ ช็อคโกแลต หัวหอม เนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการแปรรูป ดังนั้นผู้ป่วยควรสังเกตอาการเมื่อรับประทานอาหารบางประเภทเป็นประจำแล้วก่อให้เกิดอาการปวดหัวซ้ำ ๆ นั่นอาจจะเป็นสาเหตุได้- หลีกเลี่ยงการรับคาเฟอีนที่มากเกินไป การดื่มกาแฟ 6 แก้วต่อวัน หรือมากกว่านั้น สามารถเป็นสาเหตุที่นำมาสู่การปวดหัวแบบโครนิกได้ ควรจำกัดการดื่มกาแฟเพียง 2-3 แก้วต่อวันเท่านั้น
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับไม่เพียง วิธีป้องกันการปวดหัวจากสาเหตุนี้ที่ดีที่สุดคือ การคำนวณเวลาพักผ่อนต่อคืนให้เพียงพอ เพื่อที่จะได้ตื่นขึ้นมาในตอนเช้าอย่างสดชื่น จะได้ไม่ต้องมีอาการปวดหัวบ่อย
- การใช้วิธีบำบัดหรือบรรเทาด้านร่างกาย เทคนิคนี้เป็นการเน้นเรื่องจิตใจ การสูดลมหายใจเข้าลึกๆ และการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
- การนวดแก้ปวดหัวและคลายเครียด การกดจุดแก้ปวดหัว รวมถึงการรักษาไคโรพราทิกสามารถช่วยป้องกันการปวดหัวได้ในผู้ป่วยบางราย อย่างไรก็ตามเราควรจะพบแพทย์ก่อนที่จะเริ่มวิธีการบำบัดใดๆ
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ และครั้งละ 30 นาทีเป็นอย่างต่ำ สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหัวจากความเครียด ซึ่งบ่อยครั้งที่เราเครียดแล้วปวดหัว่่่่่่่่่่่ แต่อย่างไรก็ตามถ้าคุณมีเวลาไม่มากพอ การเบรคเพื่อออกกำลังกาย 10 – 15 นาที ก็สามารถช่วยคุณได้เช่นกัน
คำถามที่พบบ่อย
การเยียวยาธรรมชาติสำหรับอาการปวดหัว- ดื่มน้ำ การขาดน้ำที่เพียงพออาจทำให้คุณปวดหัวได้
- ทานแมกนีเซียม
- จำกัด แอลกอฮอล์
- นอนหลับให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีฮีสตามีนสูง
- ลองใช้น้ำมันหอมระเหย
- ลองกินวิตามินบีรวม
- บรรเทาอาการปวดด้วยการประคบเย็น
ลิงค์ด้านล่างเป็นแหล่งข้อมูลบทความของเรา
- https://www.webmd.com/migraines-headaches/migraines-headaches-basics
- https://www.health.harvard.edu/pain/headache-when-to-worry-what-to-do
- https://www.mayoclinic.org/symptoms/headache/basics/definition/sym-20050800
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น