โรคมือเท้าปาก (Hand, Foot, and Mouth Disease) : อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

 
พญ.พรรณิภา สุขสมบูรณ์กิจเรียบเรียงและปรับปรุงข้อมูลทางการแพทย์โดย : พญ. พรรณิภา สุขสมบูรณ์กิจ

โรคมือเท้าปากคืออะไร 

โรคมือเท้าปาก (Hand, Foot, and Mouth Disease) เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าโรคมือเท้าปากเกิดจากอะไร โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อเรียกว่า coxsackievirus โดยส่วนใหญ่เชื้อไวรัสเหล่านี้สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านการสัมผัสโดยตรงด้วยมือ นอกจากนี้ยังสามารถถ่ายทอดผ่านการสัมผัสกับน้ำลาย อุจจาระหรือลมหายใจของผู้ที่ติดเชื้อ โดยโรคมือเท้าปากเปื่อยมักพบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี แต่อย่างไรก็ตามสามารถพบได้ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ได้เช่นกัน  โรคมือเท้าปากมีลักษณะเป็นแผลพุพอง หรือแผลเปื่อยในปาก เมื่อเกิดโรคนี้ขึ้นผู้ที่มีเชื้อโรคปากเท้าเปื่อยสามารถแพร่เชื้อได้ให้คนทุกวัยได้  แต่โดยทั่วไปมักจะมีอาการเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยและสามารถหายไปเองภายในไม่กี่วัน

สาเหตุของโรคมือเท้าปาก (HFMD)

สาเหตุโรคมือเท้าและปากเปื่อยเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อว่า Coxsackievirus ซึ่งส่วนใ

หญ่เป็นเชื้อไวรัสชนิด Coxsackievirus A16 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มไวรัสที่เรียกว่า Enteroviruses ในบางกรณีอาจมีเชื้อไวรัสกลุ่ม Enteroviruses ชนิดอื่นที่ทำให้เกิดโรคมือเท้าและปากเปื่อยได้เช่นกัน

เชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ง่าย โดยระยะการแพร่เชื้อของโรคมือเท้าปากเปื่อยจะเกิดขึ้นหลังจากได้รับเชื้อ 1 อาทิตย์ โดยจะเกิดการติดเชื้อเมื่อสัมผัสกับเชื้อไวรัสของผู้ที่เป็นโรคมือเท้าปากเปื่อยผ่านทาง :

  • หนองหรือของเหลวจากแผล
  • น้ำลาย
  • อุจจาระ
  • ละอองจากการไอหรือจาม

โรคมือเท้าปากแพร่กระจายได้อย่างไร

โรคมือเท้าปากมักเกิดจากไวรัสคอกซากี วิธีหลักในการแพร่กระจายของโรคมือเท้าปากคือการสัมผัสกับของเหลวจากภายในแผลพุพอง หรือละอองที่กระจายจากการจามและไอ ไวรัสยังสามารถอยู่ในการเคลื่อนไหวของลำไส้ (poo) ได้นานหลายสัปดาห์หลังจากที่บุคคลนั้นฟื้นตัว เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคมือเท้าปาก:
  • ล้างมือให้สะอาดหลังจากสัมผัสของเหลวในร่างกายของลูก ซึ่งรวมถึงการสัมผัสแผลพุพอง ช่วยสั่งน้ำมูก เปลี่ยนผ้าอ้อมหรือช่วยเข้าห้องน้ำ
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าบุตรหลานของคุณไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ช้อนส้อม ถ้วยน้ำ ผ้าเช็ดตัว แปรงสีฟัน และเสื้อผ้า
  • ให้ลูกของคุณกลับบ้านจากโรงเรียน โรงเรียนอนุบาล หรือการดูแลเด็กจนกว่าของเหลวในตุ่มจะแห้ง

อาการโรคมือเท้าปากเปื่อย

อาการของโรคมือเท้าปากเปื่อยอาจจะปรากฎขึ้นภายใน หนึ่งอาทิตย์หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการเริ่มต้นของโรคมือเท้าปากเปื่อยจะมีไข้สูงเกิดก่อนจากนั้นจะมีอาการดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ได้แก่  อาการของโรคมือเท้าปากเปื่อยที่สามารถสังเกตึได้จากภายนอก
  • มีการบวมแดงในคอและมีตุ่มพอง
  • มีผื่นแดง ตุ่มพองที่มือเท้าและปาก
  • มีแผลเปื่อยที่มือ เท้าและปาก

ใครที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมือเท้าปากบ้าง

โดยทั่วไปแล้วโรคมือเท้าปากในเด็ก พบได้บ่อยมากกว่าในช่วงวัยอื่น ๆ หากเป็นเด็กวัยที่ต้องเข้าเรียนในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนอนุบาล สถานที่ดังกล่าวอาจเป็นแหล่งที่พบการแพร่กระจายของไวรัสได้มากกว่าสถานที่อื่นๆ เมื่อเกิดการติดเชื้อขึ้นเบื้องต้นสามารถสังเกตพบผื่นคันในเด็ก จากนั้นร่างกายของเด็กสามารถสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัสของโรคมือเท้าปากเปื่อยหลังจากได้รับเชื้อไวรัส สำหรับผู้ใหญ่สามารถเป็นรคมือเท้าปากเปื่อยได้หากร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

วิธีการรักษาโรคมือเท้าปาก (HFMD)

โรคมือเท้าปากคือ โดยทั่วไปแล้วโรคมือเท้าปากไม่มีวิธีการรักษาโดยเฉพาะ แต่เป็นการรักษาโรคตามอาการที่เกิดขึ้นเท่านั้น การติดเชื้อจะหายได้เองภายใน 7-10 วัน แต่ถ้าหากไปพบแพทย์ แพทย์อาจจะทำการรักษาได้ดังนี้: 
  • ให้ยาบรรเทาการเจ็บคอ
  • ยาแก้ปวดเช่นยาพาราเซลตามอลหรือยาไอบูโพเฟน เพื่อบรรเทาอาการปวดหัว
  • ให้ยาทาเพื่อบรรเทาอาการคันและแผลพุพอง
นอกจากนี้ผู้ป่วยยังสามารถดูแลตัวเองได้ที่บ้านอย่างเคร่งครัดเพื่อให้อาการหายเร็วขึ้น ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
  • หลีกเลี่ยงการดื่มของร้อน
  • งดรับประทานของเย็น
  • งดการดื่มโซดาหรือน้ำผลไม้ที่เป็นกรด
  • งดรับประทานอาหารรสจัดและของเค็ม
hand foot mouth disease

การวินิจฉัยโรคมือเท้าปากเปื่อย

แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคมือเท้าและปากด้วยการตรวจร่างกาย เช่นการตรวจสอบในช่องปาก เพื่อดูลักษณะของแผลและผื่นที่เกิดขึ้น รวมถึงสอบถามอาการอื่น ๆ แพทย์อาจใช้ไม้สำลีก้านยากวาดในลำคอเพื่อหาเชื้อด้วยการเก็บตัวอย่างของเหลวในลำคอหรือเก็บตัวอย่างอุจจาระเพื่อนำไปตรวจหาเชื้อไวรัส

การป้องกันโรคมือเท้าปาก

อันที่จริงแล้วไม่มีการป้องกันเฉพาะสำหรับโรคมือเท้าปากหรือการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัสที่ไม่ใช่โปลิโอ แต่ความเสี่ยงของการติดเชื้อสามารถลดลงได้ด้วยการปฏิบัติด้านสุขอนามัยที่ดี มาตรการป้องกัน ได้แก่ การล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการเปลี่ยนผ้าอ้อม การทำความสะอาดพื้นผิวที่ปนเปื้อนและสิ่งของที่เปื้อนด้วยสบู่และน้ำก่อน การหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด (การจูบ การกอด การใช้ช้อนส้อมร่วมกัน ฯลฯ) กับเด็กที่เป็นโรคมือเท้าปากอาจช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่อผู้ดูแล
  • ควรรักษาสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อยๆ ทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง
  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะ ถ้วย ช้อน แก้วน้ำ ร่วมกับผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ผู้ติดเชื้อ
  • ทานอาหารที่ปรุงสุก
  • ควรรักษาความสะอาดในบริเวณที่อยู่อาศัย

ลิงค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา

  • http://www.mayoclinic.com/health/hand-foot-and-mouth-disease/DS00599
  • https://kidshealth.org/en/parents/hfm.html
  • https://www.msdmanuals.com/professional/infectious-diseases/enteroviruses/hand-foot-and-mouth-disease-hfmd
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด