โรคฮิบ (Haemophilus influenzae type b) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคฮิบ Haemophilus influenzae type b (Hib) คือ เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุจากการติดเชื้อที่อันตรายถึงแก่ชีวิตอาจนำไปสู่การเจ็บป่วยที่รุนแรงโดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นในเด็ก เช่นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (เยื่อที่หุ้มที่บริเวณสมองมีการอักเสบ), ฝากล่องเสียงอักเสบ (ฝาปิดและหลอดลมส่วนบนมีการอักเสบ) และโรคปอดบวมสามารถเกิดอาการได้อย่างรวดเร็วและจำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์ด่วน

โรคฮิบสามารถแพร่กระจายหลักๆโดยการไอหรือจาม หรือการสัมผัสสารคัดหลั่งที่มาจากจมูกหรือคอของคนที่ติดเชื้อ โรคฮิบเป็นเชื้อแบคทีเรีย และไม่ใช่ไข้หวัดใหญ่ที่มีสาเหตุมาจากไวรัส

ก่อนมีการคิดค้นวัคซีนได้ในปี 1993 โรคฮิบคือโรคติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ การได้รับวัคซีนได้ผลดีช่วยลดการเกิดโรคได้ดีในออสเตรเลีย เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบและคนที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคฮิบควรได้รับวัคซีนนี้ด้วย

สาเหตุของการติดเชื้อฮิบ

เชื้อแบคทีเรีบฮิบมีชีวิตอยู่ที่บริเวณจมูกและคอของคนปกติที่สุขภาพแข็งแรงดีโดยไม่ทำให้เกิดอาการป่วย เชื้อ Haemophilus influenzae bacteria มีหลายรูปแบบและการติดเชื้อแบบ type b (Hib) สามารถก่อให้เกิดโรคได้มากมายในคนที่อ่อนแอ ที่มีโรคประจำตัว

โรคที่มีสาเหตุจากฮิบจะแพร่กระจายจากคนสู่คน ติดต่อโดยละอองฝอยที่มีเชื้อ (จากการไอหรือจาม) หรือทางสารคัดหลั่งจากจมูกหรือคอจากคนที่มีเชื้อ ปกติจะใช้เวลาหลังจากติดเชื้อจากการสัมผัสเชื้อแบคทีเรียไปจนแสดงอาการป่วย ราว 2-4 วัน คนที่มีเชื้อฮิบในร่างกายเชื้อจะอยู่ที่จมูกและคอได้นาน การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาต้องใช้เวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมงเพื่อกำจัดเชื้อให้หมดสิ้น

หากลูกของคุณติดเชื้อฮิบ คุณควรให้หยุดเรียนหรือหยุดไปสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนจนกว่ายาปฏิชีวนะจะทำงานครบคอร์ส และแพทย์ยืนยันแล้วว่าไม่มีเชื้อเหลืออยู่แล้ว

ในบางกรณี คนที่ต้องอยู่ร่วมกับคนที่ติดเชื้อฮิบอาจมีความจำเป็นต้องทานยาปฏิชีวนะเพื่อเป็นการป้องกันด้วย

อาการของโรคฮิบ

ควรรีบพบแพทย์ด่วนหากคุณสงสัยว่าลูกของคุณมีอาการดังต่อไปนี้:

  • ปวดศีรษะรุนแรง

  • คอแข็ง

  • ชัก

  • เซื่องซึมมาก

  • ปลุกยาก

  • ไม่มีสติ

  • หายใจลำบาก

Haemophilus influenzae type b

ภาวะแทรกซ้อนสำหรับโรคฮิบ

หากลูกของคุณไม่ได้รับวัคซีนมาก่อนและสัมผัสกับโรคฮิบ อาจทำให้เกิดโรคต่อไปนี้ได้:

  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ – การติดเชื้อบริเวณเยื่อหุ้มสมอง (อาการคือมีไข้ คอแข็ง เซื่องซึม หงุดหงิดและไม่ยอมทานอาหาร)

  • ฝากล่องเสียงอักเสบ – ฝาปิดและหลอดลมส่วนบนมีการอักเสบ ซึ่งอาจไปปิดกั้นการหายใจในเด็ก (อาการคือ หายใจไม่ออกอย่างรุนแรง มีไข้ นอนไม่หลับและหงุดหงิด)

  • โรคปอดบวม – คือปอดมีอาการอักเสบ (อาการคือมีไข้ ไอ เจ็บหน้าอกและการหายใจมีปัญหา เช่นหายใจสั้นถี่)

  • โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ – ข้อต่อมีการติดเชื้อ (อาการคือ ปวดข้อ ข้อบวม ความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อต่อลดน้อยลง)

  • โรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ – มีการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง มักพบบริเวณใบหน้า

ภาวะแทรกซ้อนต่างๆเหล่านี้สามารถเกิดอาการได้อย่างรวดเร็ว หากทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาเด็กอาจเสียชีวิตได้ในระยะเวลาไม่นาน

การวินิฉัยการติดโรคฮิบ

เพราะมีเชื้อแบคทีเรีบหลายแบบที่อาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ดูคล้ายๆกัน การตรวจเฉพาะอย่างจึงมีความสำคัญเพื่อหาเชื้อฮิบ การวินิจฉัยสามารถทำได้โดย:

  • การตรวจร่างกาย

  • การตรวจเลือด

  • การตรวจน้ำจากไขสันหลัง โดยการใช้เข็ม

  • การเก็บตัวอย่างอื่นๆไปตรวจl.

การรักษาการติดเชื้อฮิบ

ขึ้นอยู่อาการป่วย ด้วยการรักษาดังต่อไปนี้:

  • รับตัวเข้ารักษาในโรงพยาบาล

  • จ่ายยาปฏิชีวนะ

เด็กที่เป็นโรคฝากล่องเสียงอักเสบอาจต้องอยู่ในห้องดูแลพิเศษและอาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อช่วยเรื่องการหายใจในเด็ก

 การป้องกันโรคฮิบ การป้องกันการติดเชื้อ Haemophilus influenzae type b (Hib) ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนและการปฏิบัติด้านสุขอนามัยที่ดีในระดับหนึ่ง ฮิบเป็นสาเหตุสำคัญของโรคร้ายแรงในเด็ก เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดบวม และฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ ก่อนที่จะมีการนำวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมาใช้ ต่อไปนี้เป็นมาตรการป้องกันที่สำคัญ:
  • การฉีดวัคซีนฮิบ : การฉีดวัคซีนเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อฮิบ วัคซีนฮิบมีหลายประเภท รวมถึงวัคซีนคอนจูเกตฮิบ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูงในการลดอุบัติการณ์ของโรคที่เกี่ยวข้องกับฮิบ โดยปกติวัคซีนจะได้รับตามตารางการฉีดวัคซีนในวัยเด็กตามปกติ และโดยทั่วไปจะฉีดหลายโดสโดยเริ่มตั้งแต่อายุ 2 เดือน
  • การฉีดวัคซีนป้องกันฮิบ : ขึ้นอยู่กับตารางการฉีดวัคซีนที่ใช้ในประเทศของคุณ อาจแนะนำให้ใช้วัคซีนป้องกันฮิบในขนาดกระตุ้นเพื่อรักษาการป้องกันจนถึงวัยเด็ก
  • ภูมิคุ้มกันหมู่ : การฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวางไม่เพียงแต่ปกป้องบุคคลเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่อีกด้วย เมื่อประชากรส่วนใหญ่ได้รับการฉีดวัคซีน จะช่วยลดความชุกของเชื้อ Hib ในชุมชนโดยรวม ซึ่งช่วยปกป้องผู้ที่ไม่สามารถฉีดวัคซีนได้ เช่น บุคคลที่มีอาการป่วยบางประการหรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • การปฏิบัติด้านสุขอนามัยที่ดี : แม้ว่าฮิบจะแพร่กระจายผ่านละอองฝอยจากทางเดินหายใจเป็นหลักเมื่อผู้ติดเชื้อไอหรือจาม แต่การปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดีสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ ซึ่งรวมถึงการปิดปากและจมูกเมื่อไอหรือจาม ทิ้งทิชชู่อย่างเหมาะสม และล้างมือบ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลที่ติดเชื้อ : หากคนในบ้านของคุณหรือผู้สัมผัสใกล้ชิดได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อฮิบ จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อควรระวังที่แนะนำเพื่อลดการแพร่กระจายของแบคทีเรียไปยังผู้อื่น
  • การวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ : การวินิจฉัยและการรักษาโรคติดเชื้อฮิบโดยทันทีสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนและการแพร่กระจายต่อไปได้ หากเด็กหรือผู้ใหญ่แสดงอาการของโรคที่เกี่ยวข้องกับฮิบ เช่น มีไข้ ปวดศีรษะรุนแรง คอเคล็ด หายใจลำบาก หรือปวดคออย่างรุนแรง ให้ไปพบแพทย์ทันที
สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเกี่ยวกับตารางการฉีดวัคซีนเฉพาะสำหรับบุตรหลานของคุณและยากระตุ้นที่แนะนำ การปฏิบัติตามตารางการฉีดวัคซีนที่แนะนำและการปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดีเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อฮิบและผลกระทบร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น

วัคซีนป้องกันโรคฮิบ

การได้รับวัคซีน hip คือทางป้องกันที่ดีที่สุดในการติดเชื้อฮิบ และถูกแนะนำให้มีการฉีดในทารกทุกคน เด็กเล็กและทุกคนที่มีความเสี่ยง

เพื่อเป็นการป้องกันโรคฮิบ ในวิคตอเรีบ การฉีดวัคซีน hip จะไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับ:

  • เด็กทารกทุกคนในช่วงอายุ 2เดือน 4เดือน 6เดือน -สามเข็มแรกที่ฉีดวัคซีนฮิบจะฉีดรวมกับวัคซีนชนิดอื่นๆคือวัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ไวรัสตับอักเสบ บี (Hepatitis B) โปลิโอและฮิบ (หกตัวในเข็มเดียว)

  • ในเด็กอายุ 18 เดือน -เข็มที่สี่เพื่อเป็นการกระตุ้นวัคซีนฮิบ

  • ในเด็กอายุ 18เดือนถึง 59 เดือนรับวัคซีนแบบรวม ในรายที่ไม่เคยได้รับแบบทีละเข็มมาก่อน

  • เด็กอายุตั้งแต่ 9 ปีขึ้นไป – สามารถมารับวัคซีนแบบเข็มรวมได้ (คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ไวรัสตับอักเสบบี โปลิโอและฮิบ)

วัคซีนแบบทีละเข็มได้มีการแนะนำให้ฉีดให้กับทุกคนที่ไม่มีม้าม หรือม้ามมีการทำงานไม่ดีและไม่เคยมีภูมิต้านทานโรคฮิบมาก่อน

คนที่มีการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ควรมีภูมิต้านทานฮิบ จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนครบทั้ง 3 เข็ม

ก่อนฉีดวัคซีนฮิบ

ก่อนได้รับวัคซีน ควรแน่ใจว่าคุณได้แจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบดังต่อไปนี้:

  • รู้สึกไม่ค่อยสบายในวันที่รับวัคซีน (อุณหภูมิสูงกว่า 38.5˚C)

  • เคยมีปฏกิริยารุนแรงจากการได้รับวัคซีนอื่นๆที่ผ่านมา

  • แพ้อะไรบ้าง

  • ตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์กับการฉีดวัคซีนฮิบ

วัคซีนฮิบไม่แนะนำให้ฉีดในสตรีที่กำลังตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมลูก หญิงตั้งครรภ์และไม่มีม้ามควรปรึกษาแพทย์

ผลข้างเคียงของวัคซีนฮิบ

การฉีดวัคซีนฮิบจะมีวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ฮิบและโรคติดเชื้ออื่นๆ (รวม 6อย่างใน1เข็ม, 4อย่างใน1เข็ม, 3อย่างใน1เข็ม, 2อย่างใน1เข็ม) เพื่อประสิทธิผลและความปลอดภัยจากตัวยาทั้งหมดโดยไม่ต้องการผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนรวมคือสิ่งผิดปกติและเจอได้ไม่บ่อย แต่ก็อาจมีอาการดังต่อไปนี้ได้:

  • เจ็บ แดงและบวมตรงบริเวณที่ฉีด

  • ในบางครั้งอาจเป็นก้อนตรงบริเวณที่ฉีดยา อาจใช้เวลาหลายอาทิตย์กว่าจะหายไปแต่ไม่มีความจำเป็นต้องรักษา

  • มีไข้ต่ำๆ

  • เด็กจะมีอาการไม่อยู่นิ่ง หงุดหงิด งอแง ไม่มีความสุข ง่วงนอนและเหนื่อยล้า

หากในวัคซีนรวมมีวัคซีนโรคโปลิโอรวมอยู่ด้วย (แบบ6อย่างใน1เข็มหรือแบบ4อย่างใน1เข็ม) อาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อได้

การจัดการกับอาการไข้หลังฉีดวัคซีน

เป็นอาการที่อาจตามมาหลังฉีดวัคซีนซึ่งเป็นไม่มากและชั่วคราว (มักเกิดอาการในวันแรกหรือสองวันหลังได้รับวัคซีน) ไม่จำเป็นต้องรักษา

สิ่งต่อไปนี้คือการรักษาที่สามารถลดอาการข้างเคียงจะวัคซีนได้:

  • ดื่มน้ำให้เยอะกว่าปกติ

  • ไม่ควรแต่งตัวให้เด็กเยอะเกินไปหากอาการร้อน

  • ไม่แนะนำให้รับประทานยาลดไข้พาราเซตามอลหลังได้รับวัคซีน หากไข้ยังอยู่ค่อยรับประทาน และควรปรึกษาแพทย์โดยเฉพาะเมื่อต้องยาพาราเซตามอลแก่เด็ก

การดูแลจัดการความรู้สึกไม่สบายบริเวณที่ฉีดยา

ผลจากการฉีดวัคซีนคือจรงบริเวณที่ฉีดจะรู้สึกเจ็บ แดง คัน บวมและไหม้ อาจมีอาการอยู่1-2 วัน สามารถใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อช่วยบรรเทาอาการได้

บางครั้งอาจเกิดก้อนแข็งนูนขึ้นตรงบริเวณที่ฉีด อาจอยู่นานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนได้ ไม่ต้องกังวลและไม่ต้องรักษา

ความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน

ด้วยบางครั้งหลังฉีดวัคซีนอาจมีอาการที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น ไม่หายไปหรือรุนแรง หากคุณรูสึกเป็นกังวลให้ปรึกษาแพทย์ทันทีเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะบางทอาจเกิดขึ้นเพราะการเจ็บป่วยอื่นๆมากกว่าเพราะฉีดวัคซีน

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนที่พบได้ไม่บ่อย

การแพ้วัคซีนเป้นความเสี่ยงที่เกิดได้ยากมาก นี่คือเหตุผลว่าทำไมถึงมีข้อแนะนำให้รออยู่ที่โรงพยาบาลหรือคลีนิคอย่างน้อย 15 นาทีหลังการฉีดวัคซวีน เพื่อหากเกิดอะไรขึ้นจะได้รักษาได้ทัน

บทสรุป

  • Haemophilus influenzae type b (Hib) หรือโรคฮิบ คือโรคติดเชื้อที่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต สามารถนำไปสู่อาการเจ็บป่วยที่รุนแรง โดยเฉพาะในเด็ก

  • อาการที่เกิดขึ้นรวมไปถึงอาการปวดศีรษะรุนแรง คอแข็ง ชัก เซื่องซึม ตื่นยาก ไม่มีสติหรือการหายใจมีปัญหา

  • ควรรีบพบแพทย์ทันทีหากคิดว่าลูกคุณมีอาการข้างต้น

  • การสร้างภูมิในเด็กควรมีต่อไปเรื่อยๆแม้ว่าจำนวนของอาการเจ็บป่วยรุนแรงจากโรคฮิบจะลดน้อยลงเป็นผลมาจากการได้รับวัคซีนฮิบก็ตาม เด็กทารกและเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคฮิบ


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.cdc.gov/vaccines/hcp/vis/vis-statements/hib.html

  • https://www.nhs.uk/conditions/hib/

  • https://www.health.gov.au/health-topics/hib-haemophilus-influenzae-type-b

  • https://kidshealth.org/en/parents/hib.html


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด