ผู้ชายมีนม หรือภาวะเต้านมโตผิดปกติในผู้ชาย (Gynecomastia) หมายถึงการขยายตัวเนื้อเยื่อบริเวณเต้านมของผู้ชาย ซึ่งผู้ชายมีนมโตปกตินี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัยตั้งแต่เด็ก วัยรุ่นและผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ซึ่งภาวะนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงตามปกติของร่างกาย
นอกจากนี้ สาเหตุของเต้านมใหญ่ในผู้ชายอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหรือผลข้างเคียงของยา ทั้งนี้ ภาวะนมโตผิดปกติในผู้ชายอาจเกิดขึ้นได้กับเต้านมข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้
อย่างไรก็ตาม ภาวะเต้านมโตในผู้ชายไม่แท้ (Pseudogynecomastia) จะไม่กล่าวถึงในบทความนี้ เพราะภาวะเต้านมโตในผู้ชายเกิดจากโรคอ้วนและไขมันในเนื้อเยื่อเต้านมที่มีมากขึ้น แต่ไขมันที่เกิดขึ้นไม่ได้ทำให้เนื้อเยื่อต่อมเต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น
โดยส่วนใหญ่ผู้ชายที่มีภาวะเต้านมโตไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะเต้านมโตในผู้ชายนี้อาจส่งผลต่อบุคคลิกภาพ เช่น การเห็นคุณค่าในตัวเองทำให้ผู้ชายที่มีเต้านมโตตัดสินใจไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
ทั้งนี้ภาวะเต้านมโตในผู้ชายสามารถรักษาให้หายได้ ด้วยการใช้ยา การผ่าตัด หรือโดยการหยุดใช้ยาบางชนิด รวมถึงยาบางประเภทที่ผิดกฎหมาย
อาการของภาวะเต้านมโตในผู้ชายมีอะไรบ้าง
อาการของภาวะเต้านมโตในผู้ชาย ได้แก่ :
- มีหน้าอกบวม
- มีสารคัดหลั่งออกมาจากเต้านม
- กดเต้านมแล้วรู้สึกเจ็บ
นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นเกิดขึ้นได้เช่นกัน ถ้าหากคุณพบภาวะเต้านมโตผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อระบุสาเหตุของการเกิดภาวะเต้านมโต
สาเหตุของการเกิดภาวะเต้านมโตในผู้ชาย
โดยปกติการลดลงของฮอร์โฒนเทสเทอโรนและการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะเต้านมโตในผู้ชาย ซึ่งการผันผวนของฮอร์โมนเหล่านี้เป็นเรื่องปกติในช่วงการเปลี่ยนผ่านของวัย เช่นเด็กทารก วัยเด็กที่กำลังเข้าสู่ช่วยวัยรุ่นและผู้สูงอายุ
ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย
ภาวะพร่องฮอร์โมนในเพศชายมีลักษณะคล้ายกับช่วงวัยหมดประจำเดือนของผู้หญิง ในช่วงระหว่างที่การผลิตฮอร์โมนเพศชายลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดลงของฮอร์โมนเทสเทอโรนติดต่อกันหลายปี โดยปกติมักเกิดขึ้นในช่วงวัยกลางคนทำให้เป็นปัญหาฮอร์โมนไม่สมดุล เป็นสาเหตุของภาวะนมโตผิดปกติ ผมร่วง และนอนไม่หลับ
ช่วงวัยรุ่น
แม้ว่าร่างกายของเด็กผู้ชายสามารถผลิตแอนโดรเจน (ฮอร์โมนเพศชาย) นอกจากนี้พวกเขายังสามารถผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนของเพศหญิงด้วยเช่นกัน เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ผู้ชายอาจสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนมากกว่าแอนโดรเจน ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะเต้านมโตในผู้ชายได้ โดยปกติภาวะนี้มักเกิดขึ้นชั่วคราวและลดลงเมื่อร่างกายปรับระดับฮอร์โมนให้สมดุลแล้ว
น้ำนมแม่
ทารกเพศชายอาจเกิดภาวะเต้านมโตได้เมื่อดื่มน้ำนมจากแม่ เนื่องจากมีฮอร์โมนเอสโตรเจนมีอยู่ในน้ำนมแม่ ดังนั้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจพบว่ามีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้นในทารกเล็กน้อย
การใช้ยา
ยาชนิดต่าง ๆ เช่น ยาสเตียรอยด์และแอมเฟตามีนอาจทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและอาจส่งผลให้เกิดภาวะเต้านมโตในผู้ชายได้
โรคประจำตัวอื่น ๆ
สาเหตุของภาวะเต้านมโตในผู้ชายที่พบได้ไม่บ่อยนัก ได้แก่ เนื้องอกในลูกอัณฑะ ตับวาย (ตับแข็ง) ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินและไตวายเรื้อรัง
การวินิจฉัยภาวะเต้านมโตในผู้ชายอย่างไร
เพื่อหาสาเหตุของภาวะเต้านมโตในผู้ชาย แพทย์จะซักประวัติผู้ป่วยเกี่ยวกับประวัติโรคต่าง ๆ และประวัติการป่วยของสมาชิกในครอบครัวเพิ่มเติม นอกจากนี้ แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและอวัยวะเพศของผู้ป่วยอีกด้วย สำหรับการเกิดภาวะเต้านมโตผิดปกติในผู้ชายนั้นหมายถึงเนื้อเยื่อเต้านมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 0.5 เซนติเมตร
ถ้าหากสาเหตุของภาวะเต้านมโตในผู้ชายไม่ชัดเจน แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจเลือด เพื่อตรวจระดับฮอร์โมน และการตรวจแมมโมแกรม หรืออัลตราซาวนด์ เพื่อดูเนื้อเยื่อเต้านม และตรวจดูการเติบโตที่ผิดปกติของเนื้อเยื่อต่าง ๆ
ในบางกรณี แพทย์อาจให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจด้วยวิธีเฉพาะทางเช่น การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) การตรวจด้วยถ่ายภาพด้วยรังสีเอ็กซ์ (X-rays) หรือ การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ (Biopsies)
การรักษาภาวะเต้านมโตในผู้ชายสามารถทำอย่างไร
โดยปกติภาวะเต้านมโตในผู้ชายไม่จำเป็นต้องรักษา เนื่องจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นสามารถหายไปเองได้ อย่างไรก็ตามหากเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ แพทย์ก็จำเป็นต้องรักษาอาการของโรคที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิดการขยายตัวของเต้านมผิดปกติ
ในกรณีที่ภาวะเต้านมโตในผู้ชายทำให้เกิดความเจ็บปวดอย่างรุนแรง หรือทำให้ผู้ป่วยไม่กล้าเข้าสังคม แพทย์หรือศัลยแพทย์อาจรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อแก้ไขปรับลักษณะของเต้านม
การผ่าตัด
ศัลยแพทย์อาจเลือกวิธีการผ่าตัดไขมันส่วนเกินจากเต้านมและเนื้อเยื่อต่อมเต้านม ในกรณีที่เนื้อเยื่อเต้านมเกิดอาการบวม แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตัดเต้านม ซึ่งเป็นการผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อส่วนเกินออก
การรักษาด้วยยา
แพทย์จะให้ใช้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระดับฮอร์โมน เช่นยาทาโมซิเฟนและยาราร็อกซิเฟน
การให้คำปรึกษา
ภาวะเต้านมโตในผู้ชายอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอายและไม่กล้าเข้าสังคม หากคุณรู้สึกว่า มีเต้านมโตผิดปกติที่ทำให้รู้สึกวิตกกังวลและไม่มั่นใจ รวมถึงส่งผลกระทบต่อการกิจกรรมหรือการเข้าสังคม ควรไปปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทันที
ภาวะแทรกซ้อนของเต้านมโตในผู้ชาย
ภาวะเต้านมโตในผู้ชายเป็นภาวะทางการแพทย์ที่มีลักษณะการขยายตัวของเนื้อเยื่อเต้านมในเพศชาย มันสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเมื่อเทียบกับฮอร์โมนเพศชาย โดยทั่วไปจะไม่เป็นอันตรายและมักเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่ก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจาก ภาวะนี้ได้แก่:- ผลกระทบทางจิตใจและอารมณ์ : ภาวะเต้านมโตในผู้ชายสามารถนำไปสู่ความทุกข์ทางอารมณ์ ลดความภาคภูมิใจในตนเอง และปัญหาภาพลักษณ์ร่างกาย วัยรุ่นและผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาวที่มีภาวะเต้านมโตในผู้ชายอาจประสบปัญหาการล้อเลียน การกลั่นแกล้ง หรือการแยกตัวออกจากสังคม ซึ่งอาจส่งผลทางจิตใจในระยะยาว
- ความเจ็บปวดและไม่สบายตัว : เนื้อเยื่อเต้านมที่ขยายใหญ่ขึ้นอาจทำให้ร่างกายรู้สึกไม่สบายหรือกดเจ็บบริเวณหน้าอก สิ่งนี้สามารถสังเกตได้ชัดเจนเป็นพิเศษหากมีการกดดันหรือระหว่างออกกำลังกาย
- เงื่อนไขทางการแพทย์ที่สำคัญ : ภาวะเต้านมโตในผู้ชายบางครั้งอาจเป็นอาการของสภาวะทางการแพทย์ที่สำคัญ เช่น ความไม่สมดุลของฮอร์โมน เนื้องอกในอัณฑะ หรือยาบางชนิด การระบุและแก้ไขสาเหตุที่ซ่อนอยู่เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพิ่มเติม
- ผลข้างเคียงของการรักษา : หากภาวะเต้านมโตในผู้ชายได้รับการรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัด อาจมีผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาเหล่านี้ ขั้นตอนการผ่าตัด เช่น การดูดไขมันหรือการผ่าตัดเต้านมออก มีความเสี่ยง เช่น การติดเชื้อ แผลเป็น และอาการไม่พึงประสงค์จากการดมยาสลบ
- ความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง : แม้จะพบไม่บ่อย แต่บางกรณีของภาวะเต้านมโตในผู้ชายอาจเชื่อมโยงกับมะเร็งเต้านมในชาย การเปลี่ยนแปลงขนาดหน้าอก รูปร่าง หรือพื้นผิวที่เกิดขึ้นใหม่หรือกะทันหันควรได้รับการประเมินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขจัดความเป็นไปได้นี้
- ผลกระทบต่อยา : ภาวะเต้านมโตในผู้ชาย บางครั้งอาจเกิดจากยาบางชนิด เช่น อะนาโบลิกสเตียรอยด์ ยาต้านแอนโดรเจน หรือยาแก้ซึมเศร้าบางชนิด สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพหากคุณสงสัยว่ายาอาจทำให้เกิดภาวะเต้านมโตในผู้ชาย เนื่องจากสามารถช่วยพิจารณาว่าจำเป็นต้องเปลี่ยนยาหรือไม่
- การวินิจฉัยภาวะผิดปกติที่ล่าช้า : หากภาวะเต้านมโตในผู้ชาย เป็นผลมาจากสภาวะทางการแพทย์ที่สำคัญ การวินิจฉัยและการรักษาภาวะดังกล่าวล่าช้าอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงยิ่งขึ้นได้
- การกลับเป็นซ้ำ : ในบางกรณีภาวะเต้านมโตในผู้ชายสามารถเกิดขึ้นอีกหลังการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากความไม่สมดุลของฮอร์โมนหรือปัจจัยเชิงสาเหตุอื่น ๆ ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเพียงพอ
คำแนะนำเพิ่มเติม
ภาวะเต้านมโตในผู้ชายสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กผู้ชายและผู้ใหญ่เพศชาย ดังนั้นการปรึกษาหรือพูดคุยกับแพทย์ช่วยทำให้ค้นพบสาเหตุของการเกิดภาวะเต้านมโตผิดปกติได้ โดยแพทย์สามารถรักษาภาวะเต้านมโตด้วยวิธีการรักษาต่าง ๆ โดยขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดโรคเป็นหลัก
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gynecomastia/symptoms-causes/syc-20351793
-
https://www.medicinenet.com/gynecomastia/article.htm
-
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/16227-enlarged-male-breast-tissue-gynecomastia
-
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3987263/
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team