กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร Guillain Barre Syndrome คือ
กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร คือ โรคภาวะภูมิคุ้มกันที่รุนแรงที่พบได้น้อย เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันเข้าทำลายเซลล์ประสาทที่มีสุขภาพดีในระบบประสาทรอบนอก ส่งผลทำให้หมดแรง เหน็บชา และรู้สึกเสียวซ่า จนอาจทำให้เป็นอัมพาตได้ สาเหตุของโรคนี้ยังไม่รู้แน่ชัด แต่อาจเกิดจากตัวกระตุ้นบางชนิด เช่น อาการป่วยจากการติดเชื้อ เช่น กระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบ (มีอาการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้) หรือปอดติดเชื้อ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ลำไส้อักเสบเรื้อรัง กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก ส่งผลกระทบในคนราว 1 ใน 100,000 คน ตามข้อมูลของสถาบันโรคทางระบบประสาท และโรคหลอดเลือดสมองแห่งชาติ โรคนี้ยังไม่สามารถรักษาได้ แต่สามารถรักษาเพื่อช่วยลดความรุนแรงของอาการลงได้ และช่วยลดระยะเวลาในการป่วยให้สั้นลง ชนิดของกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เรมีมากมายหลายชนิด แต่รูปแบบทั่วไปที่พบบ่อยที่สุดคือ Acute Inflammatory Demyelinating Polyradiculoneuropathy (CIDP) เป็นผลมาจากไมอีลินเกิดความเสียหาย อีกชนิดหนึ่งคือ กลุ่มอาการมิลเลอร์ ฟิเชอร์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทสมองสาเหตุของกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เรคือ อะไร
สาเหตุของกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เรนั้นยังไม่รู้แน่ชัด จากข้อมูลของศูนย์ควบคุม และป้องกันโรค พบว่าคนสองในสามที่เป็นกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เรมักเป็นหลังจากป่วยด้วยโรคท้องร่วง หรือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ พบว่าการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่ไม่มีความเหมาะสมจากอาการป่วยก่อนหน้านั้นจะไปกระตุ้นให้เกิดโรคขึ้นได้ การติดเชื้อ แคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์คือ หนึ่งในเชื้อแบคทีเรียที่พบได้บ่อยที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วงในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์มักพบได้ในอาหารที่ปรุงไม่สุก โดยเฉพาะในสัตว์ปีก และยังมีการติดเชื้ออื่นๆที่มีส่วนทำให้เกิดกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร เช่น :- โรคไข้หวัดใหญ่
- ไซโตเมกะโลไวรัส (CMV) ซึ่งคือ สายพันธุ์ของไวรัสเริม
- การติดเชื้อไวรัสเอ็ปสไตบาร์ (EBV) หรือโรคโมโนนิวคลิโอสิส
- โรคปอดบวมจากเชื้อมัยโคพลาสมา ซึ่งคือ ชนิด Atypical Pneumonia ที่มีสาเหตุมาจากสิ่งมีชีวิตเหมือนแบคทีเรีย
- เอชไอวี หรือเอดส์
อาการของโรคกิลแลง-บาร์เรคือ อะไร
กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร ระบบภูมิต้านทานจะเข้าจู่โจมระบบประสาทส่วนปลายของคุณ เส้นประสาทของระบบประสาทส่วนปลายจะเชื่อมต่อกับสมองไปยังส่วนของร่างกาย และส่งสัญญานไปยังกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อจะไม่สามารถทำการตอบสนองต่อสัญญานที่ได้รับจากสมองหากเส้นประสาทเหล่านี้ถูกทำให้เสียหาย อาการแรกที่มักเกิดขึ้นคือ ความรู้สึกเสียวซ่าที่นิ้วเท้า เท้า และขา อาการเสียวซ่าจะแผ่ขึ้นด้านบนแขน และนิ้วมือ อาการสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วมากๆ ในบางรายอาจมีความรุนแรงได้ภายในเวลาเพียงแค่สองสามชั่วโมง อาการของกลุ่มโรคกิลแลง-บาร์เร คือ:- อาการเสียวซ่า หรือความรู้สึกเหมือนเข็มแทงในนิ้วมื้อ และนิ้วเท้า
- กล้ามเนื้ออ่อนแอที่ขา ซึ่งเดินทางต่อไปยังส่วนบนของร่างกาย และยิ่งแย่เมื่อเวลาผ่านไป
- การเดินมีปัญหา
- การเคลื่อนไหวดวงตา หรือใบหน้า การพูด การเคี้ยว หรือการกลืนมีความยุ่งยาก
- ปวดหลังช่วงล่างรุนแรง
- ไม่สามารถควบคุมกระเพาะปัสสาวะได้
- อัตราหัวใจเต้นเร็ว
- การหายใจมีปัญหา
- เป็นอัมพาต
ภาวะแทรกซ้อนของกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เรคืออะไร
Guillain-Barré Syndrome (GBS) เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบไม่บ่อย ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโจมตีเส้นประสาทส่วนปลายอย่างผิดพลาด กลุ่มอาการนี้อาจทำให้เกิดอาการอ่อนแรง ชา และในกรณีที่รุนแรงอาจเป็นอัมพาต แม้ว่าผู้ป่วย GBS ส่วนใหญ่จะฟื้นตัวได้เต็มที่หรือมีโอกาสฟื้นตัวได้ดี แต่ก็มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ และบางคนอาจได้รับผลกระทบในระยะยาว ต่อไปนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นที่เกี่ยวข้องกับ Guillain-Barré Syndrome:1. ภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ:
- คำอธิบาย:กรณีที่รุนแรงของโรค Guillain-Barré อาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อที่รับผิดชอบในการหายใจ ทำให้เกิดภาวะหายใจลำบากหรือล้มเหลว
- การจัดการ:บุคคลอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อช่วยหายใจจนกว่าการทำงานของระบบทางเดินหายใจจะดีขึ้น
2. ภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือด:
- คำอธิบาย:การมีส่วนร่วมของระบบประสาทอัตโนมัติใน GBS อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต
- การจัดการ:การติดตามและการจัดการการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือดอาจจำเป็นในบางกรณี
3. กล้ามเนื้อลีบและความอ่อนแอ:
- คำอธิบาย:ความอ่อนแอและอัมพาตเป็นเวลานานอาจส่งผลให้กล้ามเนื้อลีบ (สูญเสีย) และความอ่อนแอ
- การจัดการ:กายภาพบำบัดและการฟื้นฟูสมรรถภาพถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันกล้ามเนื้อลีบ เพิ่มความแข็งแรง และปรับปรุงการเคลื่อนไหว
4. ความเจ็บปวดและโรคระบบประสาท:
- คำอธิบาย:บุคคลบางคนอาจมีอาการปวดอย่างต่อเนื่อง รู้สึกเสียวซ่า หรือความผิดปกติทางประสาทสัมผัสอื่นๆ แม้ว่า GBS ระยะเฉียบพลันจะหายดีแล้วก็ตาม
- การจัดการ:อาจแนะนำให้ใช้กลยุทธ์การจัดการความเจ็บปวด รวมถึงการใช้ยาและการกายภาพบำบัด
5. ความเหนื่อยล้า:
- คำอธิบาย:ความเหนื่อยล้าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย และบุคคลอาจรู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนแรงอย่างต่อเนื่อง
- การจัดการ:กลยุทธ์การอนุรักษ์พลังงาน กิจกรรมการเว้นจังหวะ และการฟื้นฟูสามารถช่วยจัดการกับความเหนื่อยล้าได้
6. ภาวะแทรกซ้อนทางเดินอาหาร:
- คำอธิบาย: GBS อาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อที่รับผิดชอบการทำงานของลำไส้ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในทางเดินอาหาร
- การจัดการ:อาจแนะนำให้ปรับเปลี่ยนอาหาร การใช้ยา และการดำเนินการอื่นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาระบบทางเดินอาหาร
7. ความผิดปกติของระบบอัตโนมัติ:
- คำอธิบาย: GBS อาจส่งผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ และการทำงานของร่างกายโดยไม่สมัครใจอื่นๆ
- การจัดการ:อาจจำเป็นต้องมีมาตรการติดตามและสนับสนุนเพื่อจัดการความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ
8. GBS ที่เกิดซ้ำ:
- คำอธิบาย:แม้ว่าจะเกิดขึ้นได้ยาก แต่บางคนอาจเกิดอาการ Guillain-Barré Syndrome ซ้ำได้
- การจัดการ:กรณีที่เกิดซ้ำอาจต้องมีการประเมินและการจัดการทางการแพทย์เพิ่มเติม
9. ผลกระทบทางจิตวิทยา:
- คำอธิบาย:การจัดการกับความท้าทายทางกายภาพและความไม่แน่นอนของกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เรอาจมีผลกระทบทางจิต รวมถึงความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า
- การจัดการ:การสนับสนุนด้านจิตวิทยา การให้คำปรึกษา และกลุ่มสนับสนุนสามารถมีคุณค่าสำหรับบุคคลและครอบครัว
การวินิจฉัยกลุ่มโรคกิลแลง-บาร์เร ทำอย่างไร
กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร จะยากต่อการวินิจฉัยในช่วงแรก เพราะอาการมีความคล้ายคลึงกับโรคทางประสาทอื่นๆ หรือโรคที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท เช่น โรคโบทูลิซึม โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือภาวะพิษจากโลหะหนัก ภาวะพิษจากโลหะหนักอาจมีสาเหตุจากสสารเช่น ตะกั่ว ปรอท และสารหนู แพทย์จะถามคำถามเกี่ยวอาการเฉพาะ และประวัติโรคประจำตัว ตงแน่ใจว่าแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับอาการผิดปกติทุกอย่าง และหากคุณเพิ่งหายจากการป่วย หรือการติดเชื้อ การตรวจต่อไปนี้ใช้ช่วยให้การวินิจฉัยแน่ชัดยิ่งขึ้น:การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง
การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง คือ การนำเอาของเหลวจำนวนเล็กน้อยออกจากไขกระดูกบริเวณหลังช่วงล่าง ของเหลวนี้เรียกว่า น้ำหล่อเลี้ยงสมอง และไขสันหลัง จากนั้นจึงนำไปตรวจเพื่อหาระดับของโปรตีน คนที่เป็นโรคกลุ่มกิลแลง-บาร์เรมักมีระดับโปรตีนสูงกว่าปกติในน้ำไขสันหลังการตรวจคลื่นกล้ามเนื้อ เส้นประสาทด้วยกระแสไฟฟ้า
การตรวจคลื่นกล้ามเนื้อ เส้นประสาทด้วยกระแสไฟฟ้าคือ การตรวจการทำงานของเส้นประสาท โดยอ่านจากการทำงานของกระแสไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อเพื่อช่วยให้แพทย์รู้หากพบว่ามีกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยมีสาเหตุมาจากประสาทเสียหาย หรือกล้ามเนื้อเสียหายการตรวจการทำงานของเส้นประสาท
การตรวจการทำงานของเส้นประสาทอาจถูกนำมาใช้เพื่อตรวจการทำงานระบบประสาท และกล้ามเนื้อที่ตอบสนองต่อกระแสไฟโรคกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เรรักษาอย่างไร
โรคกลุ่มกิลแลง-บาร์เร คือ การอักเสบของภูมิต้านทานที่ทำลายตนเอง ซึ่งนั้นหมายความว่ามันจะสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง แต่อย่างไรก็ตามทุกคนสามารถเป็นโรคนี้ควรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อเฝ้าสังเกตอย่างใกล้ชิด อาการอาจแย่ลงได้อย่างรวดเร็ว และอาจทำให้เสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษา ในรายที่รุนแรง คนที่เป็นโรคกิลแลง-บาร์เรสามารถกลายเป็นโรคอัมพาตเต็มตัวได้ กลุ่มอาการกิลแลง บาร์เร สามารถทำให้เสียชีวิตได้หากอัมพาตส่งผลต่อกะบังลม หรือกล้ามเนื้อหน้าอก เป้าหมายของการรักษาคือ ลดความรุนแรงการจู่โจมระบบภูมิต้านทาน และช่วยการทำงานของร่างกาย เช่น การทำงานของปอด ในขณะระบบประสาทมีการฟื้นตัว การรักษาอาจรวมไปถึง:การเปลี่ยนถ่ายพลาสม่า
ระบบภูมิต้านทานจะผลิตโปรตีนที่เรียกว่าแอนติบอดี้ ซึ่งปกติจะทำการจู่โจมสารบุกรุกที่เป็นอันตราย เช่น เชื้อแบคทีเรีย และไวรัส กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เรเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิต้านทานเข้าใจผิดจึงสร้างแอนติบอดี้เข้าจู่โจมเส้นประสาทที่มีสุขภาพดีของระบบประสาท การเปลี่ยถ่ายพลาสม่าคือ การนำเอาแอนติบอดี้ที่จู่โจมเส้นประสาทออกจากเลือดของคุณ ในระหว่างการผ่าตัด เลือดจะถูกเอาออกจากร่างกายด้วยเครื่อง เครื่องนี้จะเอาแอนติบอดี้ออกจากเลือดของคุณ และจากนั้นก็ใส่เลือดกลับเข้าไปใหม่อีกครั้งการฉีดอิมมูโนโกลบูลลิน
อิมมูโนโกลบูลลินในปริมาณสูงสามารถช่วยปิดกั้นแอนติบอดี้ที่เป็นสาเหตุของโรคกิลแลง-บาร์เร อิมมูโนโกลบูลลินที่มีแอนติบอดี้มี่มีสุขภาพดี และเป็นปกติจะได้มาจากผู้บริจาค การเปลี่ยนถ่ายพลาสม่า และการฉีดอิมมูนโนโกลบูลลินมีประสิทธิภาพพอๆกัน ขึ้นอยู่กับคุณ และแพทย์ตัดสินใจในการรักษาที่ดีที่สุดแนวโน้มการเกิดภาวะแทรกซ้อนของกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เรคือ อะไร
กิลแลง-บาร์เร ส่งผลกระทบต่อประสาท การอ่อนแอ และอัมพาตที่เกิดขึ้นสามารถส่งผลหลายส่วนต่อร่างกาย ภาวะแทรกซ้อนอาจรวมไปถึงการหายใจลำบากเมื่อเป็นอัมพาต หรืออ่อนแรงแผ่ไปยังกล้ามเนื้อที่ควบคุมการหายใจ คุณอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องที่เรียกว่าเครื่องช่วยหายใจเพื่อช่วยการหายใจหากเกิดสิ่งนี้ขึ้น ภาวะแทรกซ้อนอาจรวมไปถึง:- อ่อนแรง ชา หรือความรู้สึกแปลกๆหลังการฟื้นตัว
- ความดันเลือด หรือหัวใจมีปัญหา
- เจ็บปวด
- การทำงานของกระเพาะปัสสาวะ หรือลำไส้น้อยลง
- ลิ่มเลือด และแผลกดทับในระหว่างเป็นอัมพาต
การเฝ้าติดตามระยะยาวคือ อะไร
ช่วงการฟื้นฟูสำหรับโรคกิลแลง-บาร์เรใช้เวลานาน แต่ส่วนใหญ่ฟื้นฟูได้ อาการจะแย่ลงสอง หรือสี่สัปดาห์ก่อนจะมีอาการคงที่ การฟื้นฟูสามารถเกิดขึ้นได้นับตั้งแต่สองสามสัปดาห์แต่ส่วนใหญ่จะฟื้นฟูได้ใน 6 ถึง 12 เดือนI ราว 80 เปอร์เซ็นต์ของคนที่ได้รับผลกระทบจาดโรคกิลแลง-บาร์เรสามารถเดินได้อย่างเป็นอิสระในหกเดือน และราว 60 เปอร์เซ็นต์ฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้แข็งแรงได้ในหนึ่งปี ในบางคนการฟื้นฟูอาจยาวนานกว่านั้น ราว 30 เปอร์เซ็นต์จะยังคงมีอาการอ่อนแรงอยู่หลังผ่านไปแล้วสามปี ราว 3 เปอร์เซ็นต์ของคนที่ได้รับผลกระทบจากโรคกิลแลง-บาร์เรอาการอาจกลับมากำเริบได้อีกครั้ง เช่น การอ่อนแรงและเสียวแปลบ พบได้ไม่บ่อยนักที่โรคนี้อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะหากคุณไม่ได้รับการรักษา ปัจจัยที่อาจทำให้อาการแย่ลงอาจรวมไปถึง- ผู้สูงอายุ
- กระบวนการป่วยเกิดขึ้นรวดเร็ว หรือรุนแรง
- การรักษาล่าช้า ซึ่งเป็นผลของสมองเสียหายมากขึ้น
- ใช้เครื่องช่วยหายใจระยะยาว ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/guillain-barre-syndrome/symptoms-causes/syc-20362793
- https://www.nhs.uk/conditions/guillain-barre-syndrome/
- https://www.ninds.nih.gov/disorders/patient-caregiver-education/fact-sheets/Guillain-barr%C3%A9-syndrome-fact-shee
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น