โรคคอพอก (Goiter) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ต่อมไทรอยด์โต หรือคอพอก (Goiter) เป็นภาวะที่พบบ่อย พบว่า ประมาณ 4-7% ของประชากร จะมีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (ประมาณ ครึ่งหนึ่ง จะคลำพบเป็นก้อนเดี่ยว ๆ) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ก้อนเดี่ยวของต่อมไทรอยด์ มีโอกาสเป็นมะเร็ง ประมาณ 5-10% ส่วนภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ มีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยกว่า คือ ประมาณ 1% ต่อมไทรอยด์นั้นตั้งอยู่ที่ตำแหน่งของคอด้านล่างลูกกระเดือก ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนในการควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย ได้แก่ กระบวนการเมแทบอลิซึม การเผาผลาญไขมันเป็นพลังงาน และควบคุมการเต้นของหัวใจ รวมไปถึงการย่อยอาหารและอารมณ์ การโตของไทรอยด์เรียกว่า โรคคอพอก

อาการของคอพอก

อาการโดยทั่วไปของโรคคอพอกคือมีอาการคอบวมอาการอื่น ๆ ได้แก่ :

ประเภทของคอพอก

โรคคอพอกนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีการจัดประเภทได้ดังนี้:

คอพอกแบบคอลลอยด์ (Endemic)

คอพอกคอลลอยด์เกิดจากการขาดสารไอโอดีน ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ผู้ป่วยคอพอกชนิดนี้มักเป็นผู้ที่อาศัยในบริเวณที่ไอโอดีนหาได้ยาก

คอพอกแบบไม่เป็นพิษ (Sporadic)

สาเหตุของโรคคอพอกแบบไม่เป็นพิษยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีแนวโน้มว่าจะเกิดจากยา เช่น ลิเธียม ที่ถูกใช้เพื่อรักษาความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น โรคอารมณ์แปรปรวน คอพอกแบบไม่เป็นพิษจะไม่ส่งผลกระทบต่อการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์และการทำงานของต่อมไทรอยด์

คอพอกแบบเป็นพิษ (Multinodular goiter)

คอพอกประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นก้อนเล็ก ๆอาจสามารถเพิ่มจำนวนได้มากกว่าหนึ่งก้อน โดยคอพอกประเภทนี้ทำให้เกิด Hyperthyroidism คือ ผลิตไทรอยด์มากกว่าปกติ

สาเหตุของคอพอก

สาเหตุหลักของโรคคอพอก คือ การขาดสารไอโอดีน ไอโอดีนเป็นสารจำเป็นในการช่วยต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ เมื่อขาดไอโอดีน ต่อมไทรอยด์จะทำงานอย่างหนักในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ทำให้ต่อมโตขึ้น สาเหตุอื่น ๆ ของคอพอกมีดังนี้

โรคเกรฟส์

โรคเกรฟส์เกิดขึ้นเมื่อต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติทำให้ขนาดของต่อมไทรอยด์ขยายขึ้น

โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ

โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ ทำให้ไทรอยด์ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้เพียงพอทำให้เกิดภาวะผลิตไทรอยด์ต่ำกว่าปกติ เมื่อฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำลงส่งผลให้ต่อมใต้สมองกระตุ้นการผลิตไทรอยด์มากขึ้น ซึ่งทำให้ไทรอยด์ขยายใหญ่ขึ้น

การอักเสบของต่อมไทรอยด์

ผู้ป่วยคอพอกบางรายนั้นมีสาเหตุมาจากต่อมไทรอยด์อักเสบจากเชื้อไวรัส

ก้อนที่คอ

ซีสต์แข็งหรือถุงน้ำ อาจปรากฏขึ้นที่ต่อมไทรอยด์และบวมขึ้น โดยก้อนเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง

มะเร็งต่อมไทรอยด์

มะเร็งต่อมไทรอยด์นั้นส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการบวมของต่อมไทรอยด์ 

การตั้งครรภ์

สำหรับบางคนที่ตั้งครรภ์นั้น อาจมีผลข้างเคียงคือต่อมไทรอยด์ที่ขยายขนาดขึ้นได้
อ่านเพิ่มเติม : ซีสต์ (Cyst): อาการ สาเหตุ การรักษา 

การรักษาคอพอก

แพทย์จะพิจารณาการรักษาตามขนาดและเงื่อนไขของคอพอก รวมถึงอาการที่เกี่ยวข้อง ทั้งยังพิจารณาถึงปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆที่สามารถนำไปสู่คอพอกได้

การใช้ยารักษาคอพอก

หากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ หรือเป็นต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน ไปยาที่ใช้รักษานั้นจะเป็นเพียงยาที่ช่วยให้คอพอกลดขนาดลง เช่น ยา Corticosteroids โดยมีฤทธิ์ลดการอักเสบของต่อมไทรอยด์

การผ่าตัดต่อมไทรอยด์

การผ่าตัดเพื่อนำต่อมไทรอยด์ออกนั้นเป็นทางเลือกในกรณีที่ผู้ป่วยมีการเจริญของต่อมไทรอยด์ที่โตขึ้น และไม่ตอบสนองด้วยการรักษาด้วยยา

ไอโอดีน กัมมันตรังสี

ในผู้ป่วยคอพอกแบบเป็นพิษ อาจจะจำเป็นต้องรักษาด้วยไอโอดีนกัมมันตรังสี ไอโอดีน กัมมันตรังสีจะถูกกลืนกินแล้วไปยังต่อมไทรอยด์ผ่านทางเลือด และจะทำลายเนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์ที่มีปัญหา

การดูแลตนเอง

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์นั้นขึ้นอยู่กับประเภทของต่อมไทรอยด์ ผู้ป่วยอาจจะต้องเพิ่มหรือลดการบริโภคไอโอดีน หากต่อมไทรอยด์นั้นบวมเพียงเล็กน้อยอาจจะไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใดๆ

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด