ไตอักเสบ (Glomerulonephritis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ไตอักเสบคืออะไร โรคไตอักเสบเป็นการติดเชื้อของกลุ่มเลือดฝอยไตซึ่งเป็นส่วนประกอบของไตที่เกิดจากการรวมตัวของหลอดเลือดขนาดเล็ก หลอดเลือดเหล่านี้ทำหน้าที่กรองเลือดและขับของเหลวส่วนเกิน ถ้าหากเส้นเลือดฝอยที่ไตเกิดความเสียหาย ไตของคุณจะทำงานผิดปกติและทำให้เกิดภาวะไตล้มเหลวได้ บางครั้งอาการนี้เรียกว่าภาวะไตอักเสบรุนเเรง โรคไตอักเสบเป็นโรคที่รุนเเรงและเป็นอันตรายต่อชีวิตดังนั้นควรรักษาทันที โรคไตอักเสบแบ่งเป็นไตอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรังหรือเรียกว่า โรคไบร์ท  อ่านบทความนี้เพื่อเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุ การวินิจฉัยและวิธีการรักษาโรคไตอักเสบ  Glomerulonephritis

สาเหตุของโรคไตอักเสบคืออะไร

สาเหตุของโรคไตอักเสบขึ้นอยู่กับชนิดของโรคว่าเป็นชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง

ไตอักเสบเฉียบพลัน

โรคไตอักเสบเฉียบพลันเกิดจากการติดเชื้อเช่นคออักเสบหรือมีฝีเกิดขึ้นที่รากฟัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองต่อการติดเชื้อมากเกินไป โดยปกติอาการเหล่านี้สามารถหายไปเองได้โดยไม่จำเป็นต้องรักษา ถ้าหากความผิดปกติเหล่านี้ไม่หายไป จำเป็นต้องทำการรักษาเพื่อป้องกันไตเสียหายในระยะยาว โรคบางชนิดเป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคไตอักเสบเฉียบพลันได้ ซึ่งได้แก่โรคดังนี้
  • คออักเสบ
  • โรคภูมิแพ้ลูปัส
  • โรคกู๊ดพาสเจอร์เป็นโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันที่พบได้ยาก ซึ่งเกิดจากการที่แอนตี้บอดี้โจมตีเนื้อเยื่อดีของไตและปอด
  • โรคที่เกิดจากสารอะมัยลอยด์เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อมีสารโปรตีนเกิดขึ้นอย่างผิดปกติที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะ
  • โรคหลอดเลือดอักเสบ GPA หรือแกรนูโลมาโตสิส วิท โพลีแองจิไอติสเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อในหลอดเลือด
  • โรคโพลีอาเทอร์ไรติสเป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์โจมตีเส้นเลือดใหญ่
การใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เช่นยาไอบลูโพรเฟน (Advil) และยานาพรอกซิน (Aleve) เป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่ควรทานยาเหล่านี้ในปริมาณที่มากเกินไปหรือทานยาเป็นในระยะเวลานานโดยที่ไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อน

ไตอักเสบเรื้อรัง

โรคไตอักเสบเรื้อรังสามารถเกิดขึ้นได้โดยใช้ระยะเวลายาวนานหลายปีหรือมีอาการที่ปรากฎขึ้นน้อยมาก ซึ่งก่อให้เกิดอาการระคายเคืองและความเสียหายที่ไต จนกระทั่งเกิดไตล้มเหลวอย่างรุนเเรง โรคไตอักเสบเรื้อรังไม่มีสาเหตุของการเกิดที่แน่นอนเสมอไป โรคทางพันธุกรรมบางชนิดสามารถทำให้เกิดโรคนี้ได้ โรคไตรั่วเป็นโรคที่มักเกิดขึ้นกับผู้ชายที่มีอายุน้อยและมีการมองเห็นหรือการได้ยินที่ไม่ค่อยดี นอกจากนี้ยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้แก่
  • โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันบางประเภท
  • มีประวัติเป็นโรคมะเร็ง
  • สัมผัสกับสารละลายไฮโดรคาร์บอน
รวมถึงการเกิดโรคไตอักเสบเฉียบพลันที่สามารถทำให้เกิดโรคไตอักเสบเรื้อรังได้ในอนาคต

อาการของโรคไตอักเสบมีอะไรบ้าง

อาการของโรคไตอักเสบขึ้นอยู่กับประเภทเเละระดับความรุนเเรง ซึ่งแบ่งได้ตามประเภทดังต่อไปนี้

ไตออักเสบเฉียบพลัน

อาการเบื้องต้นของโรคไตอักเสบได้แก่: 

ไตอักเสบเรื้อรัง

โรคไตเรื้อรังสามารถเกิดขึ้นโดยไม่มีอาการใดเกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดโรคขึ้นแบบช้าๆจนมีอาการคล้ายกับไตอักเสบแบบเฉียบพลัน ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้
  • มีเลือดหรือโปรตีนขับออกมากับปัสสาวะ ซึ่งสามารถตรวจพบด้วยกล้องจุลทรรศน์
  • ความดันเลือดสูง
  • ข้อเท้าและใบหน้าบวม
  • ปัสสาวะบ่อยช่วงกลางคืน
  • เกิดฟองในปัสสาวะเนื่องจากโปรตีนส่วนเกิน
  • ปวดท้อง
  • เลือดกำเดาไหลบ่อย

ภาวะไตล้มเหลว

สำหรับโรคไตขั้นรุนเเรงสามารถทำให้เกิดภาวะไตล้มเหลวได้ ซึ่งก่อให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

วิธีการรักษาโรคไตอักเสบมีอะไรบ้าง

วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับอาการที่ปรากฎและสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไตอักเสบ หนึ่งในทางเลือกของการรักษาคือการควบคุมความดันเลือด โดยเฉพาะถ้าหากภาวะความเลือดสูงเป็นสาเหตุของโรคไตอักเสบ ซึ่งการควบคุมความดันเลือดทำได้ยากมากเมื่อไตทำงานผิดปกติ ในกรณีนี้แพทย์จะให้ยาทเพื่อควบคุมความดันเช่นยากลุ่ม ACE inhibitors ซึ่งได้แก่
  • ยา captopril
  • ยา lisinopril (Zestril)
  • ยา perindopril (Aceon)
นอกจากนี้แพทย์ยังสามารถให้ยา แองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล็อกเกอร์หรือ ARBs เช่น
  • ยา losartan (Cozaar)
  • ยา irbesartan (Avapro)
  • ยา valsartan (Diovan)
นอกจากนี้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ยังสามารถนำมาใช้ได้เช่นกันถ้าหากระบบภูมิคุ้มกันของคุณเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อของไต ซึ่งยาชนิดนี้จะช่วยลดการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน วิธีอื่นๆที่นำมาใช้เพื่อกดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเรียกว่าการฟอกพลาสมา (plasmapheresis) เป็นกระบวนการที่นำของเหลวออกจากเลือด ซึ่งเรียกว่าพลาสมาและทำการฉีดของเหลวเข้าเส้นเลือดดำใหญ่หรือการบริจาคพลาสมาที่ไม่มีแอนตี้บอดี้อยู่ สำหรับการรักษาโรคไตเรื้อรัง คุณจำเป็นต้องลดปริมาณของโปรตีน เกลือและโพแทสเซียมในอาหาร นอกจากนี้คุณจำเป็นต้องดื่มน้ำปริมาณมาก แพทย์แนะนำให้การทานแคลเซียมเป็นอาหารเสริมและคุณจำเป็นต้องทานยาขบปัสสาวะเพื่อลดอาการบวม ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพไตจากผู้เชี่ยวชาญและปรึกษานักโภชนาการเพื่อเลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพไตในปริมาณที่เหมาะสม ถ้าหากคุณเป็นโรคไตอักเสบรุนเเรงจนกลายเป็นภาวะไตล้มเหลว คุณจำเป็นต้องทำการฟอกไต สำหรับกระบวนการการฟอกไตทำโดยเครื่องฟอกไตที่ทำการกรองเลือด สำหรับโรคไตอักเสบชั้นรุนเเรงในท้ายที่สุดคุณอาจจำเป็นผ่าตัดปลูกถ่ายไต

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไตอักเสบ

ต่อไปนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากไตอักเสบ:
  • การบาดเจ็บที่ไตเฉียบพลัน (AKI) : การอักเสบในโกลเมอรูลีอาจทำให้การทำงานของไตลดลงอย่างฉับพลันและรุนแรง ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บที่ไตเฉียบพลัน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ปัสสาวะออกน้อยลง บวม เหนื่อยล้า และสับสน
  • โรคไตเรื้อรัง (CKD) : โรคไตอักเสบเรื้อรังเป็นเวลานานหรือรุนแรงอาจทำให้ไตเสียหายอย่างถาวร นำไปสู่โรคไตเรื้อรังได้ โรคไตวายเรื้อรังสามารถดำเนินไปตามเวลาและอาจนำไปสู่ภาวะไตวายในที่สุด จำเป็นต้องฟอกไตหรือปลูกถ่ายไต
  • โรคไต : ในบางรูปแบบของไตอักเสบ ความเสียหายต่อโกลเมอรูลีอาจทำให้พวกมันซึมเข้าไปได้มากเกินไป ส่งผลให้มีโปรตีนจำนวนมากรั่วไหลออกสู่ปัสสาวะ ภาวะนี้เรียกว่ากลุ่มอาการไต ซึ่งมีลักษณะเฉพาะด้วยอาการต่างๆ เช่น มีโปรตีนในปัสสาวะมาก อาการบวมน้ำ ภาวะอัลบูมินในเลือดต่ำ และภาวะไขมันในเลือดสูง  
  • ความดันโลหิตสูง : ความเสียหายของไตจากไตอักเสบอาจรบกวนการควบคุมความดันโลหิตของร่างกาย ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงยังส่งผลต่อความเสียหายของไตและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนของระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • ความไม่สมดุลของของเหลวและอิเล็กโทรไลต์ : ความผิดปกติของไตที่เกิดจากไตอักเสบอาจนำไปสู่การรบกวนสมดุลของของเหลวและอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น อาการบวมน้ำ ความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ (เช่น ระดับโพแทสเซียมสูง) และความไม่สมดุลของกรด-เบส
  • ความเสี่ยงต่อหัวใจและหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้น : การอักเสบเรื้อรังและความผิดปกติของไตที่เกี่ยวข้องกับไตอักเสบอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น หัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง
  • การติดเชื้อ : ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยโรคไตอักเสบอาจเพิ่มความไวต่อการติดเชื้อ เนื่องจากไตมีบทบาทในการกรองและขับของเสียรวมทั้งของเสียจากเชื้อโรคด้วย
  • โรคโลหิตจาง : การผลิตอีริโธรโพอิตินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตโดยไตที่กระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงลดลงอาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากไตถูกทำลาย สิ่งนี้สามารถนำไปสู่ภาวะโลหิตจาง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือจำนวนเม็ดเลือดแดงลดลง และความสามารถในการรับออกซิเจนของเลือดลดลง
  • ภาวะไตวาย : ในกรณีที่รุนแรง โรคไตอักเสบอาจลุกลามไปสู่โรคไตวายระยะสุดท้าย (ESRD) หรือไตวาย โดยไตจะสูญเสียความสามารถในการกรองของเสียและของเหลวส่วนเกินออกจากเลือดอย่างเพียงพอ ซึ่งมักต้องมีการฟอกไตหรือการปลูกถ่ายไต
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือภาวะแทรกซ้อนของไตอักเสบอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุเฉพาะและความรุนแรงของอาการ การวินิจฉัยโรคตั้งแต่เนิ่นๆ การรักษาพยาบาลที่เหมาะสม และการจัดการภาวะที่ซ่อนอยู่สามารถช่วยบรรเทาภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้และปรับปรุงผลลัพธ์ในระยะยาวได้ หากคุณสงสัยว่าคุณมีไตอักเสบหรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อวางแผนการรักษาเฉพาะบุคคลและติดตามภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/glomerulonephritis/symptoms-causes/syc-20355705
  • https://www.kidney.org/atoz/content/glomerul
  • https://medlineplus.gov/ency/article/000484.htm

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด