ยาไกลพิไซด์ (Glipizide) – วิธีใช้ และข้อควรระวัง

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ยาไกลพิไซด์

Glipizide คือยาอะไร

ไกลพิไซด์ (Glipizide) คือ ยาที่ถูกนำมาใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2  ซึ่งไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้โดยการความคุมอาหาร จึงจำเป็นต้องใช้ยานี้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยไม่ต้องใช้อินซูลิน เนื่องจากยาชนิดนี้จะส่งเสริมให้ตับอ่อนสามารถสร้างอินซูลินได้มากขึ้นและช่วยให้ร่างกายใช้อินซูลินอย่างมีประสิทธิภาพ

คำแนะนำการใช้ยาGlipizide

  • ในการรับประทานยาGlipizideสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกินควรปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร ควรควบคุมปริมาณอาหาร ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดบุหรี่ และแอลกกอฮอล์ ควรลดความเครียด
  • ใน 2-3 สัปดาห์แรก ควรไปตามที่หมอนัดเสมอ เพื่อปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน
  • ควรเตรียมยาให้พร้อมและเพียงพอเมื่อมีการเดินทาง
  • ควรลดความเครียด เพราะความเครียดส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอาจเป็นไปได้ยากขึ้น 
  • หากมีอาการไข้ บาดเจ็บ มีการผ่าตัด หรือมีการติดเชื้อ ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจจำเป็นต้องรับการตรวจเลือด เปลี่ยนแผนการรักษา หรือเปลี่ยนยา
  • การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาหรือการงดรับประทานอาหาร อาจทำให้เวียนศีรษะ หน้ามืด และเป็นลมได้ เนื่องจากน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • การออกกำลังกายที่หนักจนเกินไป อาจทำให้เป็นลมได้เช่นกัน เนื่องจากการออกกำลังกายที่หักโหมอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ไม่ควรทำกิจกรรมที่อันตรายหรือต้องการความตื่นตัว เช่น การขับรถ การทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักร หากมีอาการหน้ามือ วิงเวียน ตาลาย มองไม่ชัด หรือง่วงนอน เนื่องจากน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำมากเกินไป
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ สาเหตุของระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

วิธีการใช้ยา Glipizide

โดยปกติผู้ป่วยรับประทานยาวันละครั้ง โดยรับประทานยาก่อนรับประทานอาหารเช้า 30 นาที และหากเป็นยาชนิดออกฤทธิ์เร็ว ห้ามหัก กัด หรือแบ่งยาโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของยาเสื่อมลง ผู้ป่วยบางราย โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ยาในขนาดสูง อาจต้องแบ่งเป็นรับประทานยาวันละสองครั้ง ขนาดยาขึ้นอยู่สภาวะทางการแพทย์ การตอบสนองต่อการรักษา แพทย์อาจสั่งให้คุณเริ่มใช้ยาในขนาดต่ำแล้วค่อยๆ เพิ่มขนาดยา เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา  ผู้ป่วยควรทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ซึ่งหากคุณกำลังใช้ยาอื่นเพื่อรักษาโรคเบาหวานอยู่ก่อนแล้ว เช่น คลอร์โพรพาไมด์ (Chlorpropamide) ควรหยุดใช้ยาเก่าและเริ่มใช้ยาไกลพิไซด์ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างระมัดระวัง และหากกำลังใช้โคลเซเวแลม (Colesevelam) ควรรับประทานยาไกลพิไซด์ก่อนยาโคลเซเวแลมอย่างน้อย 4 ชั่วโมง เนื่องจากโคลเซเวแลมสามารถลดการดูดซึมยาไกลพิไซด์ได้  และหลีกเลี่ยงการกินยานี้ร่วมกับแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้เกิดอาการหน้าแดง หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ และปวดหัว ผู้ป่วยควรสังเกตอาการของตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ

ปริมาณการใช้ยา Glipizide

  • ให้รับประทานยาก่อนอาหารเช้าครึ่งชั่วโมงโดยรับประทานวันละครั้ง ซึ่งขนาดเริ่มต้นในการรับประทานยาคือ 2.5-5 มิลลิกรัม โดยผู้ป่วยโรคตับและผู้สูงอายุให้รับประทานยาเพียงวันละ 2.5 มิลลิกรัม สามารถปรับเพิ่มขนาดของยาได้ตามปริมาณน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย โดยในช่วงเวลาที่ปรับยาควรปรับเพิ่มขึ้นวันละ 2.5-5 มิลลิกรัมเท่านั้น และมีระยะเวลาในการปรับยา 7-14 วัน หากปริมาณยาต่อวันมากกว่า 15 มิลลิกรัม ควรแบ่งการรับประทานเป็น 2 ครั้ง ผู้ป่วยไม่ควรรับประทานเกินวันละ 40 มิลลิกรัม

ทำอย่างไรถ้าลืมรับประทานยา Glipizide

ให้รับประทานทันทีที่นึกได้หากใกล้กับเวลารับประทานครั้งต่อไป ให้รับประทานยาครั้งต่อไปตามปกติโดยไม่ต้องเพิ่มยาเป็น 2 เท่า

Glipizide

ข้อควรระวังการใช้ยา Glipizide

  • ห้ามใช้ยา Glipizide เพื่อรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1
  • แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบว่ากำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ทั้งยาที่แพทย์สั่งให้ ยาที่ซื้อเอง สมุนไพร วิตามิน หรือยาแผนโบราณ เนื่องจากยา Glipizide มีอันตรกิริยากับยาอื่นหลายชนิด 
  • แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากมีประวัติเคยแพ้ยาหรือแพ้ส่วนประกอบของยาGlipizide ยานี้อาจมีส่วนประกอบที่ไม่ออกฤทธิ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
  • แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากมีประวัติแพ้ยากลุ่มซัลฟา หรือมีโรคภูมิแพ้อื่นๆ
  • แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคตับ โรคไต โรคไทรอยด์ สภาวะฮอร์โมนบางอย่าง เช่น ภาวะขาดต่อมหมวกไต (Adrenal insufficiency) ภาวะขาดต่อมใต้สมอง (Pituitary insufficiency) กลุ่มอาการของการหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสม (Syndrome of inappropriate secretion of antidiuretic hormone) อิเล็กโทรไลต์ไม่สมดุล (Electrolyte imbalance) ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatremia)
  • หากตั้งครรภ์ในระหว่างใช้ยา Glipizide ให้หยุดยา และพบแพทย์เพื่อรับการแนะนำทันที
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยา Glipizide ในสตรีตั้งครรภ์เนื่องจากยาชนิดนี้ส่งผลต่อทารกในครรภ์ ทำให้ทารกเกิดมามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างรุนแรงได้ หากจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษาโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือโรคเบาหวานรุนแรงขึ้นขณะตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่จะได้รับจาากการใช้ยาชนิดนี้อย่างเพียงพอในการจัดการระดับน้ำตาลในเลือดขณะตั้งครรภ์ แพทย์อาจต้องเปลี่ยนแผนการรักษาสำหรับโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เช่น อาหาร ยาต่างๆ รวมถึงอินซูลิน 
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยา Glipizide ในสตรีที่อยู่ในระยะให้นมบุตร เนื่องจากยาชนิดนี้อาจเจือปนไปในน้ำนมได้
  • โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เกี่ยวกับความปลอดภัยในการดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์ เนื่องจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะใช้ยา Glipizide  สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือในกรณีหายาก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจทำปฏิกิรยากับยาไกลพิไซด์ แล้วทำให้เกิดอาการรุนแรง ปฏิกิริยาเหมือนไดซัลฟิแรม (Disulfiram-like reaction) และอาการ เช่น หน้าแดง คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน ปวดท้อง
  • แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากถูกแดดเผา มีแผลหรือรอยแดงที่ผิวหนัง เนื่องจากยา Glipizide อาจทำให้ผิวมีปฏิกิริยาไวต่อแสงแดดมากขึ้น ควรออกแดดให้น้อยลง ควรทาครีมกันแดดเสมอ และสวมเสื้อผ้าป้องกันแสงแดดเมื่ออยู่ภายนอก
  • หากมีการใช้ยา Glipizide ควรแจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบก่อนการผ่าตัด
  • ควรระมัดระวังการใช้ยา Glipizide ในผู้สูงอายุ เนื่องจากอาจมีปฏิกิรยาไวต่อผลข้างเคียงของยา Glipizide ได้มากกว่า โดยเฉพาะภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Glipizide

  • มีจ้ำเลือด เลือดออกง่าย เช่น เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล
  • ระบบเลือดมีเกร็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ อาจมีภาวะโลหิตจาง 
  • เกลือแร่โซเดี่ยมต่ำ
  • น้ำตาลในเลือดต่ำ
  • คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร แน่นท้อง ท้องผูก
  • ตับอักเสบ ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระซีด ตัวเหลืองตาเหลือง
  • ระบบผิวหนังมีผื่นคัน ลมพิษ แพ้แสง
  • เหนื่อยง่าย ใจสั่น มีไข้ ซีด ซึม

เมื่อเกิดอาการข้างเคียงควรทำอย่างไร

  • อาการปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก รู้สึกมึนงง สั่น กระวนกระวาย หัวใจเต้นเร็ว อ่อนเพลีย ปากหรือลิ้นชา สับสน ตาพร่า คืออาการข้างเคียงที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ ให้ดื่มน้ำผลไม้ น้ำหวาน ให้อมลูกอมหรือกวาด ก้อนน้ำตาล ผลไม้อบแห้ง เพื่อช่วยเพิ่มน้ำตาลในเลือด และควรปรึกษาแพทย์
  • อาการกระหายน้ำผิดปกติ ปัสสาวะบ่อย หิว ปากแห้ง ผิวแห้ง รู้สึกง่วง มองไม่เห็น ลมหายใจมีกลิ่นเหมือนผลไม้ หรือน้ำหนักลด คืออาการข้างเคียงที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูง 
  • ควรนำส่งโรงพยาบาลทันทีหากมีอาการวิงเวียนหน้ามืดเหมือนจะเป็นลม
  • หากมีผื่น คัน หรือแดง ผิวไหม้แดดผิดปกติ ตาหรือผิวมีสีเหลือง อุจจาระสีซีด ปัสสาวะสีเข้ม มีไข้ เจ็บคอ ให้หยุดยาและพบแพทย์

การเก็บรักษายา Glipizide

  • ควรเก็บยาที่อุณหภูมิห้อง และเก็บยาไว้ในที่แห้ง
  • ควรเก็บยาให้พ้นแสงแดดและความชื้น ไม่ควรเก็บยาไว้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง
  • เก็บยาไว้ในภาชนะบรรจุเดิมที่ได้รับมา เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหายหรือเสื่อมสภาพ
  • ยาไกลพิไซด์บางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ

ข้อควรระวังในการเก็บรักษายา Glipizide

  • ควรเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย
  • ไม่ควรทิ้งยาไกลพิไซด์ลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ ยกเว้นหากได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรให้ทำเช่นนั้น
  • หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง ให้สอบถามจากแพทย์หรือเภสัชกร

ใครที่ควรหลีกเลี่ยงยา Glipizide

ต่อไปนี้เป็นเป็นข้อควรระวังของการใช้ ยา Glipizide อาจมีข้อห้ามหรือต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ:
  • ปฏิกิริยาการแพ้:
      • บุคคลที่มีอาการแพ้ Glipizide หรือ sulfonylureas อื่น ๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ อาการของอาการแพ้อาจรวมถึงผื่น คัน บวม เวียนศีรษะรุนแรง หรือหายใจลำบาก
  • โรคเบาหวานประเภท 1:
      • Glipizide และ sulfonylureas อื่น ๆ ไม่เหมาะสำหรับการรักษาโรคเบาหวานประเภท 1 ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือไม่มีการผลิตอินซูลิน ยาเหล่านี้ออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นการปล่อยอินซูลินออกจากตับอ่อน และในโรคเบาหวานประเภท 1 จำเป็นต้องมีการบำบัดทดแทนอินซูลิน
  • โรคเบาหวาน Ketoacidosis:
      • Glipizide ไม่เหมาะสำหรับการจัดการกับภาวะกรดคีโตซิโดซิสจากเบาหวาน ซึ่งเป็นภาวะร้ายแรงที่ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ฉุกเฉิน อินซูลินเป็นวิธีการรักษาที่แนะนำสำหรับภาวะกรดคีโตซิสจากเบาหวาน
  • โรคไตหรือตับอย่างรุนแรง:
      • บุคคลที่เป็นโรคไตหรือตับขั้นรุนแรงอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาหรือควรหลีกเลี่ยงไกลพิไซด์โดยสิ้นเชิง ยานี้ถูกขับออกมาทางตับและไตเป็นหลัก และการทำงานของอวัยวะเหล่านี้บกพร่องอาจส่งผลต่อการเผาผลาญและการกำจัดยา
  • ต่อมหมวกไตหรือต่อมใต้สมองทำงานผิดปกติ:
      • Glipizide อาจไม่เหมาะสำหรับบุคคลที่มีภาวะต่อมหมวกไตหรือต่อมใต้สมองไม่เพียงพอ เงื่อนไขเหล่านี้อาจส่งผลต่อความสามารถของร่างกายในการตอบสนองต่อยา
  • การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:
      • ความปลอดภัยของ Glipizide ในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรยังไม่เป็นที่ยอมรับ บุคคลที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเพื่อชั่งน้ำหนักความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นก่อนใช้ยานี้
  • ยาและเงื่อนไขทางการแพทย์บางประการ:
      • ไกลพิไซด์อาจเกิดปฏิกิริยากับยาหรือสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ สิ่งสำคัญคือต้องแจ้งให้ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมด รวมถึงใบสั่งยา ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพร รวมถึงอาการทางการแพทย์ที่มีอยู่
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ :
    • Glipizide อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นประจำหรือผู้ที่มีปัญหาในการจดจำอาการควรใช้ Glipizide อย่างระมัดระวัง
บุคคลที่พิจารณาหรือกำลังใช้ยา Glipizide ควรปรึกษากับผู้ให้บริการด้านสุขภาพอย่างละเอียดเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ สถานะสุขภาพในปัจจุบัน และความเสี่ยงหรือข้อห้ามที่อาจเกิดขึ้น ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพจะประเมินสถานการณ์เฉพาะของแต่ละบุคคลเพื่อกำหนดแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุดในการจัดการกับโรคเบาหวาน
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด