เหงือกอักเสบ (Gingivitis) คือโรคเหงือกเกิดจากอาการอักเสบขึ้นบริเวณเหงือก โดยปกติแล้วมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แล้วไม่ได้ทำการรักษา ปล่อยไว้นานไปจึงทำให้เกิดการติดเชื้อ อักเสบ ทำให้เหงือกบวมแดง หรือมีหนองได้ และหากรุนแรงก็จะกลายเป็นโรคปริทันต์ (periodontitis) หรือที่เรียกอีกอย่างว่ารำมะนาดที่จะส่งผลไปถึงอวัยวะหุ้มปลายรากฟัน และกระดูกเบ้าฟันได้ และเป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันหลุดร่วง
นอกจากนี้แล้วยังมีหลายคนที่นำสมุนไพรเข้ามาทำการประยุกต์ใช้เป็นวิธีรักษาเหงือกอักเสบ โดยสมุนไพรแก้เหงือกบวม มีดังนี้
อ่านเพิ่มเติม : ขนคุด (หนังไก่) Keratosis Pilaris (Chicken Skin) : อาการ สาเหตุ การรักษา
- มะนาว การนำสำลีมาชุบน้ำมะนาวแล้วทาเหงือกบริเวณที่อักเสบหรือบวมจะสามารถช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้
- ขิงสดเป็นสมุนไพรแก้เหงือกอักเสบที่เป็นที่นิยม ให้นำมาขุดให้ละเอียด นำมาผสมเกลือแล้ววางตรงเหงือกที่อักเสบจะช่วยรักษาเหงือกอักเสบได้ดี
- เปลือกมังคุด การนำเปลือกมังคุดมาต้มทำน้ำยาบ้วนปากจะช่วยให้เหงือกแข็งแรงและแก้อาการเหงือกบวม
สาเหตุของโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์
สาเหตุเหงือกอักเสบเกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อจุลิทรีย์เกิดการสะสมในซอกเหงือกหรือฟันและตกค้างกลายเป็นคราบพลัค แล้วไม่ได้รับการรักษา อาจจะทำให้เกิดเหงือกบวมและอักเสบ และหากปล่อยไว้ให้ลุกลาม เชื้อแบคทีเรียนี้อาจจะลงลุกไปยังเยื่อหุ้มรากฟัน ร้ายแรงมากอาจจะทำให้เกิดหนองและทำให้เกิดความเจ็บปวดและความเสียหายต่อเบ้าฟันหรือรากฟันได้ อาการของโรคเหงือกอักเสบ มีคนจำนวนมากที่ไม่ได้สังเกตเห็นอาการของโรคเหงือก เนื่องจากบางครั้งเมื่อเหงือกอักเสบไม่มากนั้น อาการอาจจะยังไม่แสดงออกมา แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการได้ดังนี้:- เหงือกบวม แดง และอ่อนลง
- มีเลือดออกเมื่อแปรงฟัน
- เหงือกเปิดไม่ยึดติดกับฟัน
- ฟันหลุดร่วง
- เหงือกมีสีแดงเข้ม หรือคล้ำ
- เหงือกมีหนอง
- ฟันโยก
- มีกลิ่นปาก และได้รับรสชาติแปลก ๆ ในปาก
- ปวดฟันเมื่อเคี้ยวอาหาร
ใครที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์
โดยทั่วไปแล้วในทุกคนอาจจะมีความเสี่ยงเป็นโรคเหงือก แต่มีบุคคลบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป คือ :- ผู้ป่วยที่ใช้ยาบางประเภทเช่น ยาสเตียรอยด์ ผู้ป่วยที่รับยาบำบัดคีโม ยาบล็อคแคลเซียม ยากันชักและอื่น ๆ
- คนที่สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติดชนิดอื่น ๆ
- คนที่มีฟันซ้อนหรือฟันเก
- ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่นโรคเอดส์ หรือลูคีเมีย (Leukemia)
- ผู่ป่วยที่ตั้งครรภ์ หรือมีการใช้ยาชนิดใด ๆ ที่ส่งผลต่อฮอร์โมน
- ผู้ป่วยที่เกิดการติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อราบางชนิด
- คนที่ไม่ดูแลรักษาสุขภาพช่องปากให้ดี
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การวินิฉัยโรคเหงือกอักเสบ
ในการตรวจอาการของเหงือกอักเสบนั้น แพทย์จะทำการตรวจภายในช่องปากเพื่อหาสัญญาณของอาการอักเสบ อาการเหงือกบวม แดง เลือดออก รวมไปถึงคราบหินปูน หรืออาจจะมีการเอ็กซ์เรย์ เพื่อให้เห็นแน่ชัด และผู้ป่วยควรจะแจ้งให้แพทย์ทราบหากตนเองอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงตามอาการที่กล่าวมาข้างต้นอ่านเพิ่มเติม : ขนคุด (หนังไก่) Keratosis Pilaris (Chicken Skin) : อาการ สาเหตุ การรักษา
วิธีการรักษาโรคเหงือกอักเสบ และการรักษาโรคปริทันต์
วิธีรักษาโรคเหงือกอักเสบเบื้องต้นนั้นผู้ป่วยควรที่ใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเป็นพิเศษ และลดการสูบบุหรี่ และควรปฎิบัติตามคำแนะนำดังนี้ :- รักษาความสะอาดในบริเวณช่องปาก
- รับประทานยาฆ่าเชื้อ หรือยารักษาเหงือกอักเสบ ที่แพทย์สั่งจ่าย
- ทำการผ่าตัดหากมีอาการรุนแรง
- ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อกำจัดคราบพลัค
- หากมีฟันผุควรอุดฟัน
- ใช้ไหมชัดฟันเพื่อลดเศษอาหารที่ร่องเหงือก
เราสามารถป้องกันโรคเหงือกอักเสบได้อย่างไร
การรักษาดูแลสุขอนามัยในช่องปากอย่างเหมาะสมเป็นการป้องกันโรคเหงือกอักเสบได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แล้วคุณยังสามารถทำตามข้อแนะนำได้ดังนี้ :- แปรงฟันวันละสองครั้งด้วยยาสีฟันที่ผสมฟูออไรด์
- พบทันตแพทย์เพื่อทำการขจัดคราบหินปูนอย่างสม่ำเสมอ
- ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ
โรคอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์
กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคเหงือกอักเสบนั้น มีความเกี่ยวข้องและอาจจะเป็นสาเหตุที่จำเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอื่น ๆ ได้ เช่น :- โรคเบาหวาน
- โรคหัวใจ
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคปอด
การรักษาโรคเหงือกอักเสบที่บ้านได้ผลจริง
วิธีที่ 1: การดึงน้ำมัน
วิธีการรักษาที่บ้านอย่างแรกที่เราแนะนำคือการกลั้วปากด้วยน้ำมัน ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติทางอายุรเวชโบราณ การกลั้วปากด้วยน้ำมันในปากเป็นเวลา 20 นาทีเพื่อขจัดสารพิษและแบคทีเรีย น้ำมันที่ดีที่สุดสำหรับการกลั้วปากคือน้ำมันมะพร้าว น้ำมันงา หรือน้ำมันมะกอก เพียงใช้น้ำมันที่ต้องการ 1 ช้อนโต๊ะ กลั้วในปากประมาณ 20 นาที แล้วบ้วนทิ้ง จากนั้นบ้วนปากด้วยน้ำและแปรงฟันตามปกติวิธีที่ 2: บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ
วิธีรักษาตามธรรมชาติที่ดีอีกวิธีหนึ่งในการจัดการกับโรคเหงือกอักเสบ คือ การใช้น้ำเกลือบ้วนปาก น้ำเกลือสามารถช่วยลดการอักเสบและบวม รวมทั้งฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเหงือก เพียงใส่เกลือ 1 ช้อนชาลงในน้ำอุ่น 1 แก้ว แล้วคนให้เกลือละลาย กลั้วส่วนผสมของน้ำเกลือในปากเป็นเวลา 20-30 วินาที จากนั้นบ้วนออกและบ้วนปากด้วยน้ำเปล่า ทำซ้ำสองหรือสามครั้งต่อวันเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดวิธีที่ 3: ใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ล้างออกเพื่อให้หายเร็วขึ้น
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคเหงือกอักเสบที่บ้านได้เองภายในหนึ่งสัปดาห์ น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพนี้สามารถช่วยในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเหงือก รวมทั้งบรรเทาความเจ็บปวดและการอักเสบ ในการใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ให้ผสมน้ำและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในสัดส่วนเท่าๆ กันในถ้วยหรือชาม กลั้วสารละลายในปากเป็นเวลา 30 วินาที บ้วนทิ้งแล้วล้างออก ทำซ้ำหลายครั้งต่อวันเพื่อการรักษาที่รวดเร็ววิธีที่ 4: ใช้น้ำมันทีทรีบ้วนปากเพื่อกำจัดโรคเหงือกอักเสบ
น้ำมันทีทรีสามารถใช้รักษาโรคเหงือกอักเสบได้เช่นกัน น้ำมันหอมระเหยนี้มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียและต้านการอักเสบที่แข็งแกร่งซึ่งต่อสู้กับแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของเหงือกอักเสบและลดอาการบวม การใช้น้ำมันทีทรี:- เติมน้ำมันสองสามหยดลงในน้ำหนึ่งถ้วยแล้วคนให้เข้ากัน
- บ้วนปากของคุณเป็นเวลาอย่างน้อย 30 วินาทีก่อนที่จะบ้วนทิ้ง
- ทำซ้ำสองหรือสามครั้งต่อวัน
วิธีที่ 5: กินวิตามินซีให้มากขึ้น
วิตามินซียังช่วยรักษาโรคเหงือกอักเสบได้อีกด้วย วิตามินที่จำเป็นนี้ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันซึ่งสามารถช่วยให้ร่างกายของคุณต่อสู้กับแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเหงือกได้ คุณสามารถรับวิตามินซีได้มากขึ้นโดยการรับประทานส้ม สตรอเบอร์รี่ พริกหยวก และคะน้า คุณยังสามารถทานวิตามินซีเสริมเพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับสารอาหารที่สำคัญนี้อย่างเพียงพอ มีการรักษาโรคเหงือกอักเสบที่บ้านอื่นๆ อีกมากมาย วิธีรักษาอื่นๆ ที่ได้ผลในการทำให้โรคเหงือกอักเสบหายอย่างรวดเร็ว ได้แก่ การใช้ ว่านหางจระเข้ กินโยเกิร์ต นวดเหงือกด้วยน้ำมันสะเดา และใช้ขมิ้น ทดลองกับตัวเลือกการรักษาต่างๆ เพื่อดูว่าอะไรดีที่สุดสำหรับคุณ โรคเหงือกอักเสบเป็นภาวะที่พบได้บ่อย แต่ก็สามารถป้องกันและรักษาได้เช่นกัน ด้วยสุขอนามัยช่องปากที่เหมาะสมและการเยียวยาที่บ้านที่ถูกต้อง คุณสามารถกำจัดโรคเหงือกอักเสบได้อย่างรวดเร็วนี่คือลิงค์ที่มาของแหล่งบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gingivitis/symptoms-causes/syc-20354453
- https://crest.com/en-us/oral-health/conditions/gums/gingivitis-symptoms-causes-treatments
- https://www.webmd.com/oral-health/guide/gingivitis-periodontal-disease
- https://www.nhs.uk/conditions/gum-disease/
- https://www.msdmanuals.com/en-sg/professional/dental-disorders/periodontal-disorders/gingivitis
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น