ภาวะติดเชื้อไกอาเดีย (Giardia Lamblia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะติดเชื้อไกอาเดียหรือไข้บีเวอร์ (Giardia Lamblia) คือการติดเชื้อปรสิตในระบบย่อยอาหาร ซึ่งมีอาการต่างๆ ได้แก่ ไม่สบายท้องอย่างรุนแรงและท้องเสีย แต่บางคนไม่มีอาการ โดยปรสิตชื่อไกอาร์เดีย แลมเบลีย (Giardia Lamblia)  ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่สามารถมองเห็นได้จากกล้องจุลทรรศน์เท่านั้นเป็นสาเหตุของโรคนี้ จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ภาวะติดเชื้อไกอาเดียเป็นโรคพยาธิในลำไส้ที่พบบ่อยที่สุดในสหรัฐอเมริกา ภาวะติดเชื้อไกอาเดียเกิดขึ้นได้ทั่วโลก แต่พบได้บ่อยในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี ในประเทศกำลังพัฒนาอาจส่งผลกระทบต่อประชากร 20 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ในคราวเดียว และในบางพื้นที่ ประชากร 100 เปอร์เซนต์มีภาวะติดเชื้อไกอาเดีย

อาการของภาวะติดเชื้อไกอาเดีย

อาการไม่สบายท้องและมีไข้เป็นอาการทั่วไปของภาวะติดเชื้อไกอาเดีย บางคนที่มีภาวะภาวะติดเชื้อไกอาเดียอาจไม่แสดงอาการ แต่ก็ยังสามารถแพร่เชื้อได้ อาการอาจปรากฏขึ้นในช่วง 1 ถึง 3 สัปดาห์หลังการติดเชื้อ โดยอาการอาจรวมถึง: อาการท้องร่วงทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้ หากการสูญเสียน้ำรุนแรง อาจเป็นอันตรายได้โดยเฉพาะกับเด็กทารก ซึ่งสำคัญที่ต้องทำคือต้องกินของเหลวมาก ๆ โดยเฉพาะน้ำ โดยปกติอาการจะดีขึ้นภายใน 2–6 สัปดาห์ แต่อาจใช้เวลานานกว่านี้ได้ และยาจะช่วยเร่งการฟื้นตัวได้

สาเหตุของภาวะติดเชื้อไกอาเดีย

ภาวะติดเชื้อไกอาเดียมีด้วยกัน 2 ประเภท ประสิตที่ทำอันตรายต่อร่างกายจะอยู่ในลำไส้คนเราหรือสัตว์ที่ติดเชื้อ ส่วนที่ยังเป็นก้อนหรือถุงน้ำอยู่และไม่ได้สร้างความเสียหายอะไรก็จะอย่างนั้นเป็นเวลาหลายเดือน ปรสิตออกออกจากร่างกายของโฮสต์ได้เมื่อโฮสต์ที่เป็นคนหรือสัตว์เบ่งอุจจาระขับถ่าย ประสิตเหล่านี้เมื่ออยู่นอกร่างกายของโฮสต์จะสร้างเกราะป้องกันแข็ง ๆ และจะยังเป็นซิสต์การ์เดียอยู่ ซีสต์สามารถอยู่รอดได้เป็นเวลาหลายเดือนในสิ่งแวดล้อมหนึ่ง ลมแรงสามารถเอาซีสต์จากมูลสัตว์ที่ติดเชื้อในพื้นที่เพาะปลูกและพัดไปในทิศทางใดก็ได้ การติดเชื้อมักแพร่กระจายเมื่อคนดื่มน้ำที่สัมผัสกับอุจจาระที่ติดเชื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีสุขอนามัยไม่ดี

ปัจจัยเสี่ยงในเกิดภาวะติดเชื้อไกอาเดีย

การแพร่เชื้อสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีต่อไปนี้:
  • สัมผัสพื้นผิวที่มีปรสิตแล้วแล้วเอามือมาสัมผัสปาก
  • มากับแหล่งน้ำ เช่น โดยการบริโภคน้ำหรือน้ำแข็งที่ผ่านการบำบัดไม่เหมาะสม ว่ายน้ำหรือกินอาหารที่ล้างด้วยน้ำที่ปนเปื้อนหรือปลูกในสถานที่ที่มีปรสิตไกอาเดียอาศัยอยู่
  • มาจากการล้างมือที่ไม่ถูกสุขอนามัยหลังจากใช้ห้องน้ำหรือเมื่อจัดการกับอาหาร
  • ใช้มือสัมผัสทวารหนักของผู้ที่เป็นโรค
  • เมื่อต้องดูแลคนที่ติดเชื้อ
  • ทารกที่มีภาวะติดเชื้อไกอาเดียที่สวมผ้าอ้อมในสระว่ายน้ำก็ทำให้น้ำมีประสิตนี้ปนในน้ำได้ ซึ่งคนที่ว่ายน้ำในสระเดียวกันนี้ก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ
ในสหรัฐอเมริกา ภาวะติดเชื้อไกอาเดียพบได้บ่อยในช่วงฤดูร้อนซึ่งอาจเป็นเพราะผู้คนส่วนใหญ่ใช้เวลาทำกิจกรรมกลางแจ้งและท่องเที่ยวต่างถิ่นกันมากขึ้น ซึ่งก็อาจรับเชื้อนี้ได้ในระหว่างเดินทาง แต่อาจจะไม่ได้สังเกตเห็นอาการจนกว่าจะกลับถึงบ้านแล้ว การได้รับเชื่อจากจากสัตว์เลี้ยงก็อาจเกิดขึ้นได้ แต่สัตว์มักจะมีปรสิตชนิดที่ไม่เป็นภัยต่อต่อมนุษย์

การวินิจฉัยภาวะติดเชื้อไกอาเดีย

ภาวะติดเชื้อไกอาเดียเกิดขึ้นเมื่อปรสิตทำให้เกิดอาการในลำไส้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงที่เกิดทางไปสถานที่ต่าง ๆ แพทย์จะเก็บตัวอย่างอุจจาระและส่งไปที่ห้องแล็บเพื่อตรวจหาซีสต์ไกอาเดีย บางครั้ง แพทย์อาจจะขอให้เก็บตัวอย่างหลาย ๆ ชิ้นอย่างตัวอย่าง เนื่องจากร่างกายอาจไม่ได้ขับซีสต์นี้ออกมาทุกครั้งที่ใช้ห้องน้ำ หากผลการตรวจไม่ปรากฎว่ามีซิสต์ไกอาเดียอยู่ แต่กลับมีอาการที่ดูเหมือนว่าอาจมีอาการของภาวะติดเชื้อไกอาเดียแพทย์อาจให้ตรงเพิ่ม ทั้งนี้ซึ่งอาจรวมถึงการส่องกล้องและอาจเป็นการตรวจชิ้นเนื้อจากลำไส้เล็กด้วย
Giardia

การรักษาภาวะติดเชื้อไกอาเดีย

มโทรนิดาโซล (Metronidazole) เป็นยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะติดเชื้อไกอาเดีย แพทย์จะสั่งยาและให้คำแนะนำเรื่องปริมาณการกิน ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่มีไม่บ่อยนัก เช่น: เมโทรนิดาโซล (Metronidazole) เป็นยาปฏิชีวนะที่รบกวนการทำงานของแอลกอฮอล์ดีไฮโดรจีเนส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สลายแอลกอฮอล์ ด้วยเหตุนี้ ผู้ป่วยควรเลี่ยงดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างการรักษา ยาอื่น ๆ ที่ใช้ ได้แก่ :
  • ทินิดาโซล (ฟาซิจิน)
  • นิทาโซซาไนด์ (อะลิเนีย)

ภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดภาวะติดเชื้อไกอาเดีย

หากไม่ได้รับการรักษา โรคหัวใจเต้นผิดปกติอาจกลายเป็นโรคเรื้อรังได้ แต่ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก ซึ่งสามารถอยู่ได้นานหลายปี โดยมีอาการท้องเสียซ้ำ ๆ การขาดวิตามินและรู้สึกเหนื่อยล้าตลอดเวลา ผู้ที่ฟื้นตัวโดยไม่ได้รับการรักษาอาจยังคงมีเชื้ออยู่และต้องกำจัดออก แม้ว่าอาการแทรกซ้อนอาจจะไม่เกิดขึ้นก็ตาม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกัน การป้องกันของแต่ละคนด้วย ภาวะติดเชื้อไกอาเดียในเด็กข้อมูลจากรายงานชิ้นหนึ่งที่ตีพิพม์ในปี อาจนำไปสู่การขาดสารอาหารและภาวะอื่น ๆ เช่น การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางความคิด ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้แก่ :
  • ปัญหาระบบทางเดินอาหารในระยะยาวซึ่งอาจจะเป็นอะไรก็ได้
  • รู้สึกเหนื่อยล้าเรื้อรัง
งานวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า ภาวะติดเชื้อไกอาเดียอาจทำให้เกิดความเสี่ยงสูงที่จะมี:
  • ปัญหาเกี่ยวกับสายตา
  • ภาวะแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อ
  • อาการภูมิแพ้ เช่น ลมพิษ
รายงานบางชิ้นระบุว่า อาจเกิดมะเร็งที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไกอาเดียด้วยได้ แต่จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันข้อมูลนี้

การป้องกันภาวะติดเชื้อไกอาเดีย

ให้ต้มหรือกรองน้ำดื่มให้สะอาด โดยเฉพาะน้ำที่มาจากบ่อหรือแหล่งอื่นที่ไม่ผ่านการบำบัดหรือกรอง ภาวะติดเชื้อไกอาเดียแพร่หลายในแอฟริกาตอนใต้ และเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกากลาง ทางตะวันตกของอเมริกาใต้ รัสเซีย ตุรกี โรมาเนียและบัลแกเรีย สถิติชี้ให้เห็นว่า คนราว 200 ล้านคนในแอฟริกา เอเชียและละตินอเมริกามีภาวะติดเชื้อไกอาเดียและหลายคนยังไม่ทราบว่าตัวเองมีภาวะของภาวะติดเชื้อไกอาเดียเพราะอาการไม่ปรากฎ ทังนี้ ผู้ที่เดินทางจึงควรระวังการเกิดภาวะติดเชื้อไกอาเดียและดูแลสุขอนามัยเพื่อป้องกัน ดังต่อไปนี้: ล้างมือเสมอ: ล้างมือให้สะอาดหลังจากใช้ห้องน้ำหรือเปลี่ยนผ้าอ้อมและก่อนรับประทานอาหารหรือหยิบจับอาหาร น้ำดื่มให้เพียงพอ: ระวังเรื่องน้ำกินที่มาจากแม่น้ำและทะเลสาบ เวลาไปตั้งแคมป์ ควรใช้น้ำสะอาดที่เอามาเองหรือให้ต้มน้ำหรือทำให้น้ำบริสุทธิ์ กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ: เลี่ยงการรับประทานอาหารดิบและอาหารที่ล้างด้วยน้ำที่อาจมีการปนเปื้อน ระวังเรื่องน้ำที่ใช้แปรงฟัน: ให้ใช้น้ำสะอาดแปลงฟันเสมอ

โภชาการที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อไกอาเดีย

ภาวะติดเชื้อไกอาเดียหรือที่รู้จักกันในชื่อ Giardia intestinalis หรือ Giardia duodenalis เป็นปรสิตขนาดเล็กที่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินอาหารในมนุษย์และสัตว์อื่นๆ การทำความเข้าใจโภชนาการของผู้ติดเชื้อไกอาเดีย เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการศึกษาชีววิทยา และค้นหาวิธีป้องกันหรือรักษา  ซึ่งเป็นสาเหตุจากการติดเชื้อ Giardia lamblia เป็นสิ่งมีชีวิตยูคาริโอตเซลล์เดียว และเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ มันต้องการสารอาหารบางอย่างเพื่อความอยู่รอดและการสืบพันธุ์ ประเด็นสำคัญบางประการเกี่ยวกับโภชนาการที่แนะนำเมื่อติดเชื้อไกอาเดีย คือ:
  • แหล่งพลังงาน : เชื้อ Giardia lamblia เป็นแบบไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งหมายความว่าไม่ต้องการออกซิเจนเพื่อสร้างพลังงาน แต่กลับได้รับพลังงานจากกลูโคสและน้ำตาลเชิงเดี่ยวอื่นๆ ที่พบในลำไส้ของโฮสต์แทน
  • การดูดซึมสารอาหาร : Giardia lamblia ขาดโครงสร้างเซลล์ทั่วไปบางส่วนที่พบในสิ่งมีชีวิตยูคาริโอตอื่นๆ เช่น ไมโตคอนเดรียหรือเครื่องมือ Golgi ทั่วไป สิ่งนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามันดูดซับสารอาหารผ่านผิวเซลล์แทนที่จะสร้างพลังงานผ่านการเผาผลาญแบบออกซิเดชั่น
  • กรดอะมิโน : Giardia lamblia สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนบางชนิดได้ด้วยตัวเอง แต่ก็ยังคงอาศัยสภาพแวดล้อมในลำไส้ของโฮสต์เพื่อหาแหล่งของกรดอะมิโนที่จำเป็น
  • ไขมัน : Giardia lamblia ขาดความสามารถในการสังเคราะห์ไขมันบางชนิด ดังนั้นจึงอาศัยอาหารของโฮสต์สำหรับไขมันและสเตอรอล
  • ธาตุเหล็ก : Giardia lamblia ต้องใช้ธาตุเหล็กในการเจริญเติบโตและการเผาผลาญ แต่มีกลไกที่จำกัดในการรับธาตุเหล็กจากโฮสต์ นี่อาจเป็นเป้าหมายที่เป็นไปได้สำหรับการแทรกแซงทางการรักษา
  • วิตามินและแร่ธาตุ : Giardia lamblia สามารถรับวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินบีและสังกะสี จากสิ่งที่อยู่ในลำไส้ของโฮสต์
  • ความไวต่อ pH และออกซิเจน : Giardia lamblia มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของ pH และระดับออกซิเจนในสิ่งแวดล้อม เจริญเติบโตได้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นด่างเล็กน้อยของลำไส้เล็ก
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือเชื้อไกอาเดียเป็นปรสิตในลำไส้ และความสามารถในการอยู่รอดและการสืบพันธุ์ของมันมีความเชื่อมโยงอย่างซับซ้อนกับสภาพแวดล้อมในลำไส้ของโฮสต์ เชื้อ Giardiasis การติดเชื้อที่เกิดจาก Giardia lamblia มักเกิดจากการกลืนน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน และอาจนำไปสู่อาการต่างๆ เช่น ท้องร่วง ปวดท้อง และการดูดซึมสารอาหารในโฮสต์ได้ไม่ดี การทำความเข้าใจข้อกำหนดทางโภชนาการเฉพาะและความเปราะบางของเชื้อไกอาเดีย เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาการรักษาที่มีประสิทธิภาพและมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไกอาเดียนักวิจัยยังคงศึกษาปรสิตนี้ต่อไปเพื่อทำความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับชีววิทยาและระบุเป้าหมายของยาที่อาจเกิดขึ้น

สรุป 

ภาวะติดเชื้อไกอาเดียเป็นภาวะที่มีปรสิตที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยโดยเริ่มในลำไส้ ซึ่งจะเกิดมากที่สุดในประเทศที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี แต่ในสหรัฐอเมริกาเองก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน แพทย์จะให้ยาเพื่อรักษาการติดเชื้อ นอกจากนี้ควรระมัดระวังในการใช้น้ำซึ่งควรจะต้องผ่านกรองให้สะอาดหรือต้มก่อนดื่มและล้างอาหารต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตั้งแคมป์หรือเดินไปทางไปยังประเทศที่มีภาวะติดเชื้อไกอาเดียเกิด และการล้างมือให้ถูกวิธีก็ช่วยลดความเสี่ยงได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.healthline.com/health/giardiasis
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/giardia-infection/symptoms-causes/syc-20372786
  • https://www.cdc.gov/parasites/giardia/general-info.html
  • https://kidshealth.org/en/parents/giardiasis.html

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด