เจนเชียน ไวโอเลต หรือชื่อที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี นั่นก็คือยาม่วง ยาม่วง เป็นยาฆ่าเชื้อที่มีมาตั้งสมัยยุควิคตอเรีย จนมาถึงปัจจุบันนี้ โดยมีการใช้ยาม่วงในการฆ่าเชื้อรา ไม่ว่าจะเป็นเชื้อราในช่องปาก หรือช่องคลอด รวมไปถึงรักษาอาการของโรคผิวหนัง เจนเชียน ไวโอเลต (Gentian Violet) เป็นสารเคมีเฉดสีน้ำเงินออกไปทางสีม่วงมีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อรา ด้วยการแตกตัวออกเป็นประจุบวก และลบ ทำให้สามารถแทรกซึมผนังเซลล์ของเชื้อโรคทั้งแกรมบวก และแกรมลบได้ ได้แก่ ส่วนของ Lipopolysaccharide, Peptidoglycan และ DNA โดยมีความเป็นพิษ และทำให้เซลล์แบคทีเรียกลายพันธุ์ได้ และชักนำให้เกิดกระบวนการ Photodynamic ด้วยกลไกของสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งนำไปสู่การยับยั้งระบบทางเดินหายใจ และการตายของเซลล์บุกรุกในที่สุด
ในขณะที่เชื้อราในช่องปากมีชื่อว่า Candida albicans – คือ โดยเป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่บนผิวหนัง ในช่องปาก และทางเดินอาหาร – ซึ่งปกติแล้งร่างกายของเรามีมีแบคทีเรียและจุลินทรีย์ที่ดีที่สามารถต่อต้านเชื้อราประเภทนี้ได้
แต่หากร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำลง เชื้อรา Candida albicans ก็จะเจริญเติบโตจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้
สรรพคุณของยาม่วง
- ใช้รักษาอาการปากเปื่อย ลิ้นและปากเป็นแผล
- ใช้รักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง
- แก้อาการฝ้าขาวในเด็ก
- รักษาเชื้อราแคนดิดา เชื้อราในช่องปากและอวัยวะเพศ
ทารกและเด็กเล็ก
หรือชื่อที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี นั่นก็คือยาม่วง ยาม่วง เป็นยาฆ่าเชื้อที่มีมาตั้งสมัยยุควิคตอเรีย จนมาถึงปัจจุบันนี้ โดยมีการใช้ยาม่วงในการฆ่าเชื้อรา ไม่ว่าจะเป็นเชื้อราในช่องปาก หรือช่องคลอด รวมไปถึงรักษาอาการของโรคผิวหนัง โดยมากแล้วเชื้อรามักจะเกิดขึ้นในช่องปากกับเด็กเล็ก หรือที่เรียกว่าฝ้าขาวเกิดขึ้นบริเวณเหงือกหรือกระพุ้งแก้ม ส่งผลให้เด็กมีอาการเจ็บปวดระหว่างทานนมได้หากมีอาการติดเชื้อแม่ให้นมบุตร
บางครั้งรอบๆ หัวนมคุณแม่จะมีรอยแดงที่ชัดเจน หรือรอยแดงจางๆ แต่ทั้งนี้จะเกิดอาการปวดหรือแสบร้อนบริเวณหัวนมเมื่อให้นมลูก และเชื้อรานี้อาจแพร่กระจายไปยังบริเวณหลังหรือแขนได้วิธีใช้ยาม่วง
Gentian Violet มาในรูปแบบยาน้ำสีม่วง มีความเข้มข้นที่ 1 และ 2 เปอร์เซ็นต์ สารละลาย 2 เปอร์เซ็นต์นั้นอาจแรงเกินไปสำหรับการรักษาฝ้าขาว หากมีสารละลาย 2 เปอร์เซ็นต์ ให้เจือจางเป็น 1 เปอร์เซ็นต์ โดยเติมน้ำสะอาดในปริมาณที่เท่ากันลงไป โดยการนำมาใช้จะอยู่ที่ประมาณ 2 ช้อนชาการใช้ยาม่วงกับทารก
- ป้ายน้ำมันมะกอกหรือวาสลีนลงบนแก้มและริมฝีปากของลูกน้อยเพื่อลดคราบสีม่วง
- ใช้สำลีสะอาดป้ายยาม่วงให้ทั่วปากของทารก
- ทาวันละสองครั้งติดต่อกันเป็นเวลา 3 ถึง 4 วัน
ยาม่วงมีอันตรายหรือไม่
ในผู้ป่วยบางกรณีพบว่าเมื่อใช้ยาม่วงป้ายแผลในบริเวณช่องปาก อาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุผิวหนังในช่องปากได้ รวมถึงหากใช้ในสัตว์อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองจนทำให้สัตว์เลี้ยงไม่สามารถกลืนกินอาหารได้ตามปกติ แต่ในคนแล้วไม่พบผลกระทบที่อันตรายเกิดขึ้นแต่หากจำเป็นต้องใช้ตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น