กระเพาะทะลุ (Gastrointestinal Perforation) : อาการ สาเหตุ การรักษา

กระเพาะทะลุ (Gastrointestinal Perforation) คือ การที่กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ หรือลำไส้เล็ก มีรูทะลุผ่าน อาจจะเกิดจากโรค เช่น ไส้ติ่งอักเสบและโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ อีกทั้งการบาดเจ็บก็เป็นสาเหตุให้เกิดรูทะลุได้ เช่น แผลถูกแทงหรือถูกยิง รูทะลุหากเกิดที่ถุงน้ำดีจะมีอาการคล้ายกับอาการทางเดินอาหารทะลุ

รูทะลุที่เกิดขึ้นภายในระบบทางเดินอาหาร หรือถุงน้ำดี สามารถนำไปสู่ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบได้ ซึ่งภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบเป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อภายในช่องท้อง

เยื่อบุช่องท้องอักเสบจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีสิ่งต่อไปนี้เข้ามาภายในช่องท้อง:

  • แบคทีเรีย

  • น้ำดี

  • กรดในกระเพาะอาหาร

  • อาหารที่ถูกย่อยบางส่วน

  • อุจจาระ

ทางเดินกระเพาะอาหารทะลุเป็นภาวะฉุกเฉินที่ควรรักษาอย่างเร่งด่วน เป็นภาวะที่เสี่ยงต่อชีวิต สามารถทำให้ติดเชื้อในช่องท้องและติดเชื้อในกระแสเลือด  แต่หากไปพบแพทย์ตั้งแต่อาการเริ่มแรกจะทำให้มีโอกาสในการฟื้นหายมากขึ้นหากได้รับการวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่นๆ

อาการของกระเพาะหรือทางเดินอาหารทะลุ

อาการมีดังนี้:

สัญญาณของอาการของกระเพาะทะลุ

ภาวะลำไส้ทะลุเป็นภาวะทางการแพทย์ที่ร้ายแรงซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีรูหรือฉีกขาดที่ผนังของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งรวมถึงกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ ภาวะนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และต้องได้รับการดูแลทันที สัญญาณและอาการของการเจาะระบบทางเดินอาหารอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของการเจาะทะลุ แต่สัญญาณที่พบบ่อย ได้แก่:
  • อาการปวดท้องรุนแรง:อาการแรกที่โดดเด่นที่สุดและมักเป็นอาการแรกคือปวดท้องรุนแรงฉับพลัน อาการปวดนี้สามารถเฉพาะที่บริเวณรอยเจาะหรืออาจแผ่กระจายไปทั่วช่องท้อง
  • ท้องแข็ง :ช่องท้องอาจแข็งต่อการสัมผัส เนื่องจากการอักเสบและการระคายเคืองของเยื่อบุช่องท้อง
  • คลื่นไส้และอาเจียน:การเจาะระบบทางเดินอาหารอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน อาเจียนอาจมีอาหารที่ย่อยได้บางส่วนหรือแม้กระทั่งอุจจาระหากการทะลุเกี่ยวข้องกับลำไส้
  • ไข้:การติดเชื้ออาจเกิดขึ้นได้หากแบคทีเรียจากระบบทางเดินอาหารรั่วไหลเข้าไปในช่องท้องผ่านการเจาะทะลุ สิ่งนี้อาจทำให้เกิดไข้และจำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น
  • อาการท้องอืด:เมื่ออากาศและ/หรือของเหลวรั่วไหลเข้าไปในช่องท้อง ช่องท้องอาจขยายหรือบวมได้
  • เสียงลำไส้ลดลงหรือหายไป:แพทย์อาจสังเกตเห็นเสียงลำไส้ลดลงหรือหายไปเมื่อตรวจ เนื่องจากเสียงลำไส้ปกติจะหยุดชะงักเมื่อมีกระเพาะทะลุ
  • ภาวะช็อก:ในกรณีที่รุนแรง ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะช็อกได้ โดยมีลักษณะดังนี้ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว สับสน และผิวหนังเย็นชื้น นี่เป็นสถานการณ์ที่คุกคามถึงชีวิตและต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ทันที
หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักกำลังประสบกับอาการเหล่านี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไปพบแพทย์ทันที การเจาะระบบทางเดินอาหารอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง รวมถึงเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (การอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง) และภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที มักต้องมีการผ่าตัดฉุกเฉินเพื่อซ่อมแซมรอยเจาะและป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพิ่มเติม สร้างใหม่
Gastrointestinal Perforation

เมื่อคุณมีทางเดินทะลุและเยื่อบุช่องท้องเกิดอักเสบ ภายในช่องท้องของคุณจะรู้สึกปวดมาก เจ็บมากขึ้นหากมีใครมาจับหรือคลำบริเวณท้อง หรือเวลาเคลื่อนไหวร่างกาย อาการปวดทั่วไปจะดีขึ้นหากอยู่กับที่ หน้าท้องที่เกิดการอักเสบภายใน จะยื่นออกมามากกว่าปกติ และรู้สึกหน่วงท้อง

นอกจากอาการทั่วไปของทางเดินอาหารทะลุแล้ว อาการเยื่อบุช่องท้องอักเสบอาจรวมถึง:

สาเหตุของทางเดินอาหารทะลุ

การเจ็บป่วยที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดทางเดินอาหารทะลุ:

  • ไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งส่วนใหญ่มักพบในผู้สูงอายุ

  • โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ เป็นโรคเกี่ยวกับการย่อยอาหาร

  • แผลในกระเพาะอาหาร

  • นิ่วในถุงน้ำดี

  • ถุงน้ำดีติดเชื้อ

  • โรคที่เกิดการอักเสบของลำไส้ เช่น โรคโครห์น (Crohn’s disease) พบได้น้อย

  • การอักเสบของ Meckel’s diverticulum เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดของลำไส้เล็กที่มีลักษณะคล้ายกับไส้ติ่งอักเสบ

  • โรคมะเร็งในทางเดินอาหาร

ซึ่งภาวะดังกล่าวอาจเกิดจาก:

  • การบาดเจ็บจากการกระทบกระแทกบริเวณท้อง

  • ถูกมีดแทงหรือถูกปืนยิงเข้าที่ท้อง

  • การผ่าตัดช่องท้อง

  • แผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากการรับประทานยาแอสไพริน ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และยาสเตียรอยด์ (มักพบได้ในผู้สูงอายุ)

  • การกลืนเอาสิ่งแปลกปลอมหรือสารกัดกร่อน

การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอร์ที่มากเกินไปจะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของการเกิดทางเดินอาหารทะลุ

ส่วนน้อยที่ลำไส้เกิดการบาดเจ็บจากการส่องกล้องในทางเดินอาหาร หรือทางทวารหนัก

การวินิจฉัยกระเพาะอาหารทะลุ

การวินิจฉัยกระเพาะทะลุแพทย์จะทำการ X-ray หน้าอกหรือช่องท้อง เพื่อตรวจหาอากาศภายในช่องท้อง แพทย์อาจจะทำ CT scan เพื่อให้เห็นภาพรูทะลุที่ชัดเจนกว่า รวมไปถึงการสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อ:

  • หาสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวที่สูง

  • ประเมินระดับฮีโมโกลบิน ซึ่งจะสามารถระบุถึงภาวะสูญเสียเลือดได้

  • ประเมินแร่ธาตุในร่างกาย

  • ประเมินระดับความเป็นกรดในเลือด

  • ประเมินการทำงานของไต

  • ประเมินการทำงานของตับ

แนวทางในการรักษาทางเดินอาหารทะลุ

ส่วนใหญ่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อปิดรูดังกล่าวและรักษาอาการ โดยเป้าหมายของการผ่าตัดทำเพื่อ:

  • แก้ไขปัญหาทางร่างกาย

  • แก้ไขสาเหตุที่ทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบ

  • นำวัตถุแปลกปลอมภายในช่องท้องที่ก่อให้เกิดปัญหาออกมา เช่น อุจจาระ น้ำดี และอาหาร

น้อยรายที่แพทย์จะไม่ทำการผ่าตัดและให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเพียงอย่างเดียว หากรูสามารถปิดได้ด้วยตัวมันเอง

บางครั้ง จำเป็นต้องตัดชิ้นส่วนของลำไส้เล็กออก ซึ่งการตัดออกบางส่วนดังกล่าว ไม่ว่าลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่อาจทำให้เกิดทวารเทียม (Colostomy) หรือทวารเทียมชนิดลำไส้เล็ก (Ileostomy) ซึ่งจะช่วยระบายของเหลวภายในลำไส้เล็ก หรือทำเป็นทางเปิดเชื่อมต่อกับผนังหน้าท้องโดยมีถุงรองรับอยู่

ภาวะแทรกซ้อนที่สัมพันธ์กับทางเดินอาหารทะลุ

ภาวะแทรกซ้อนที่สัมพันธ์กับกระเพาะทะลุได้แก่:

  • ภาวะเลือดออก

  • ภาวะติดเชื้อ ซึ่งเป็นภาวะคุกคามชีวิตโดยการติดเชื้อแบคทีเรีย

  • การเกิดฝีในช่องท้อง

  • การติดเชื้อของแผล

  • ลำไส้ขาดเลือด ซึ่งเกิดจากการตายของส่วนของลำไส้

  • เกิดทวารเทียมถาวร

บางรายแผลอาจไม่หาย หมายถึง แผลไม่ดีขึ้น หรือไม่เกิดการสมานแผลเลย ปัจจัยที่ส่งเสริมได้แก่:

  • ภาวะขาดสารอาหาร 

  • การสูบบุหรี่

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ปริมาณมากเกิน

  • การเสพยาเสพติด

  • ไม่มีสุขอนามัย

  • การติดเชื้อ

  • ยูรีเมีย เป็นการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุมาจากไตวาย

  • โรคอ้วน

  • เกิดก้อนเลือดคั่ง ซึ่งเกิดเมื่อเลือดสะสมนอกหลอดเลือด

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2

  • การรักษาด้วยยาสเตียรอย หรือการใช้คอติโคสเตียรอย ซึ่งเป็นยาต้านการอักเสบ โดยออกฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันและสามารถปกปิดการติดเชื้อได้อย่างต่อเนื่องและชะลอการวิจินฉัย

  • การใช้สารชีวภาพสำหรับอาการ เช่น โรคโครห์น (Crohn’s disease), ลำไส้อักเสบ โรครูมาตอยด์

ภาพรวมโรคกระเพาะทะลุในระยะยาว

ความสำเร็จของการผ่าตัดรักษารูทะลุขึ้นอยู่กับขนาดของรู และระยะเวลาก่อนการรักษา โอกาสในการฟื้นหายขึ้นอยู่กับการวินิจฉัย และการรักษาแต่เนิ่นๆ ปัจจัยที่ขัดขวางการรักษา ได้แก่:

  • อายุที่มากขึ้น

  • โรคลำไส้ที่มีอยู่เดิม

  • ภาวะแทรกซ้อนจากการมีเลือดออก

  • ขาดสารอาหาร

  • เงื่อนไขทางธรรมชาติของสาเหตุการเกิดโรคเดิม

  • การสูบบุหรี่

  • การดื่มแอลกอฮอร์และเสพสารเสพติด

  • โรคมะเร็งที่กำลังรักษาอยู่

  • อาการที่ต้องรักษาด้วยยาสเตียรอย หรือสารชีวภาพ เช่น โรครูมาตอยด์ และอาการใกล้เคียง

  • อาการทางการแพทย์อื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคตับหรือไต และโรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)

หากคุณเคยปวดหรือมีไข้ และคุณมีความเสี่ยงที่จะเกิดกระเพาะทะลุควรไปพบแพทย์ยิ่งเร็วยิ่งดี เพื่อแนวโน้มในการรักษาที่ดียิ่งขึ้น

การป้องกันกระเพาะอาหารทะลุ

มีหลายสาเหตุที่ทำให้กระเพาะทะลุ ตัวอย่างเช่น มีประวัติเคยเป็นโรคทางเดินอาหารจะสามารถเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดรูทะลุได้ การเข้าพบแพทย์หากมีอาการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่ผิดไปจากปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีอาการปวดท้องและมีไข้ จะช่วยรักษาอาการนั้นๆ ได้ก่อนที่กระเพาะอาหารที่จะทะลุได้


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/322008

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK538191/

  • https://medlineplus.gov/ency/article/000235.htm


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด